มุมมองตลาดปัจจุบัน
ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีทั้งปรับตัวดีขึ้นและแย่ลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ในบางส่วนในบางประเทศ อย่างไรก็ดี การที่สหรัฐผ่านมาตรการเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจและผ่านร่างงบประมาณ ซึ่งช่วยให้หน่วยงานภาครัฐหลีกเลี่ยงการถูกชัตดาวน์ และธนาคารกลางยุโรปมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมถึงสหราชอาณาจักรสามารถบรรลุข้อตกลงการค้ากับสหภาพยุโรปก่อนการ Brexit และเริ่มมีการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ในหลายประเทศ ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนโดยรวมดีขึ้น
ในส่วนของตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนพฤศจิกายนมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่การส่งออกหดตัวน้อยลง อย่างไรก็ดี การพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายและลดการเดินทาง จึงต้องรอดูผลกระทบโดยรวมต่อไป
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจำนวนมาก ส่งผลให้ SET Index ร่วงลงกว่า 80 จุดในวันที่ 21 ธันวาคม อย่างไรก็ดี ดัชนีฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังนายกรัฐมนตรีระบุว่ายังไม่ประกาศล็อกดาวน์ทั่วประเทศ แต่ใช้การแบ่งโซนตามระดับความเสี่ยง รวมถึงการปรับขึ้นแรงของหุ้นบางตัวที่มีสภาพคล่องต่ำแต่มีขนาดมาร์เก็ตแคปใหญ่
ในส่วนของตราสารหนี้ ผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว เนื่องจากภาวะดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก และทิศทางการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางที่ยังคงเอื้อต่อการลงทุน ทั้งนี้ เริ่มมีสัญญาณการเข้าซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนมากขึ้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาครัฐอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจส่งผลให้ความเสี่ยงที่ภาคเอกชนจะผิดนัดชำระหนี้มีน้อยลง
การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่รัฐบาลอาจกลับมาประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการระบาด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และรัฐบาลจะต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป อย่างไรก็ดี บลจ. กรุงศรีฯ ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยในปีนี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะฟื้นตัวได้ดีหลังจากที่ในปีที่แล้วเป็นตลาดที่ปรับตัวแย่กว่าตลาดหุ้นอื่น ๆ รวมถึงน่าจะได้แรงหนุนจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศจากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลัก
พอร์ตการลงทุน
กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค
กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ
KFAFIX-A:
- ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง – ยาว ยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ต่อเนื่อง โดยได้รับประโยชน์จากการปรับตัวลดลงของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) ประกอบกับส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Corporate Spread) ของหุ้นกู้เอกชนไทยในกลุ่มที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงยังคงทยอยปรับตัวลดลงทำให้กองทุนที่มีการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนได้รับประโยชน์เพิ่มเติมอีกด้วย
- สำหรับแนวโน้มในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้าคาดว่าส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนกลุ่มที่มีคุณภาพเครดิตดีจะยังคงทยอยปรับลดอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับคุณภาพด้านเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้เอกชน อีกทั้งสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ยังคงอยู่ในระดับสูง จึงทำให้คาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนกลุ่มนี้มีความน่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น โดยปัจจุบันกรอบ Duration เฉลี่ยของกองทุน KFAFIX-A = 2 – 3 ปี
กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
KF-SINCOME/ KF-CSINCOM:
- ตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ และ Agency MBS ของสหรัฐฯ ยังคงเป็นการลงทุนส่วนใหญ่ของกองทุน สำหรับประเทศเกิดใหม่กองทุนเน้นลงทุนในประเทศที่มีสถานะการคลังแข็งแกร่ง เช่น เม็กซิโก บราซิล และ รัสเซีย ซึ่งการลงทุนในประเทศเหล่านี้เพิ่มระดับผลตอบแทนให้แก่กองทุน แต่ราคาของตราสารเหล่านี้อาจมีความผันผวนบ้าง ในส่วนของตราสารหนี้อื่น ๆ กองทุนเน้นการลงทุนในภาคการธนาคาร
กองทุนตราสารทุนในประเทศ
KFENS50-A:
- กองทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET 50
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
Developed market equity
KFGBRAND-A / KFGBRAND-D:
- กองทุนลงทุนหุ้นที่มีคุณภาพสูง เน้นหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลกที่มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เติบโตสม่ำเสมอในระยะยาว ทนทานในทุกวัฏจักรเศรษฐกิจ
KF-HUSINDX:
- ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ซึ่ง Joe Biden ได้รับชัยชนะ โดยพรรค Democrat คุมเสียงรัฐสภา ขณะที่วุฒิสภาเป็นของ Republican ส่งผลบวกต่อตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากนโยบายภายใต้รัฐบาลใหม่จะเป็นมิตรกับตลาดมากขึ้น การขึ้นภาษีทำได้ยากขึ้น ขณะที่รัฐบาลเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่
- กองทุนหลักเน้นลงทุนใน iShares Core S&P500 ETF ซึ่งจะมีผลการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนี โดยคาดการณ์การเติบโตยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น การปฏิรูปภาษี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
KF-EUROPE/ KF-HEUROPE:
- ตลาดยุโรปยังคงถูกกดดันด้วยการระบาดรอบ 2 โดยจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงต่อเนื่องส่งผลให้หลายพื้นที่ในยุโรปต้องกลับมาใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป ทั้งนี้ ตลาดคาดว่าทาง ECB อาจจำเป็นต้องมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ โดยอาจเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจต่อ
KF-HJPINDX
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่นทำระดับสูงสุดในรอบ 29 ปี จากผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ และความหวังเรื่องวัคซีน ซึ่งมีแนวโน้มส่งผลบวกต่อภาคการส่งออกและเศรษฐกิจทั่วโลก กระแสเงินทุนยังไหลเข้าตลาดญี่ปุ่นต่อเนื่อง โดยหุ้นขนาดกลาง – เล็ก กลับมา Outperform หุ้นขนาดใหญ่
KFHHCARE
- ได้รับปัจจัยบวกจากสภาที่แยกเป็น 2 พรรค เนื่องจากไบเดนออกมาตรการมาควบคุมกลุ่ม Healthcare ได้ยาก พร้อมกับพื้นฐานของกลุ่มยังแข็งแกร่ง ได้รับปัจจัยบวกจากยาใหม่ ๆ ที่จะได้รับอนุมัติค่อนข้างมากในช่วงใกล้ ๆ นี้ สร้างการเติบโตให้อุตสาหกรรม
Emerging market equity
KFACHINA-A:
- เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณฟื้นตัวแข็งแกร่ง ทั้งภาคการบริโภค ภาคส่งออกและการผลิต หลังจากรัฐบาลจีนประสบความสำเร็จในการควบคุม Covid-19 ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ โดยรวมเป็นบวกต่อตลาดจีน เนื่องจากสงครามการค้าจะคลี่คลายลง
Krungsri Asset Management
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungsri The Masterpiece สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENAสำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungsri The Masterpiece คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
หมายเหตุ:
- กองทุน KFGBRAND-A, KFGBRAND-D, KF-EUROPE, KFACHINA-A ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- กองทุน KF-SINCOME, KF-CSINCOM, KFAINCOM-A, KFAINCOM-R, KF-HUSINDX, และ KF-HEUROPE ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757