มุมมองตลาดปัจจุบัน
ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับแรงกดดันความกังวลเกี่ยวกับการระบาดรอบสองของไวรัสโควิด-19 หลังจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าอาจมีการกลับมาใช้มาตรการล็อคดาวน์อีกครั้ง รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน แรงเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหลังราคาปรับตัวขึ้นมามาก ความล่าช้าของมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจสหรัฐ และความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
อย่างไรก็ดี ข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่แข็งแกร่ง ข่าวความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 และข่าวรัฐสภาสหรัฐและทีมงานของประธานาธิบดีสหรัฐตกลงกันได้เกี่ยวกับมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนมีทิศทางดีขึ้น ในขณะที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอาจส่งผลลบต่อบรรยากาศการลงทุน
บลจ. กรุงศรี คาดว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะกลับมาปรับตัวดีขึ้น โดยได้แรงหนุนจากมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจของสหรัฐ และความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะกลับมาเป็นทิศทางขาขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากการเติบโตของเทคโนโลยียังคงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่อยู่ในกองทุน KF-HUSINDX, KFGBRAND-A, KF-HEUROPE และ KFACHINA-A โดยที่ KF-HEUROPE อาจได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐหลังจากสหรัฐประกาศรายละเอียดของมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ
ในส่วนของตลาดหุ้นไทย หุ้นขนาดใหญ่ในปีนี้ปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดโดยรวม ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีนี้ถึงสิ้นเดือนกันยายน SET50 Total Return Index ปรับตัวลดลงมากกว่า SET Total Return Index กว่า 5% อย่างไรก็ดี แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้น และราคาหุ้นขนาดใหญ่หลายตัวที่ปรับตัวลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ น่าจะส่งผลให้ KFENS50-A ปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป
สำหรับกองทุนตราสารหนี้ยังคงมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว เนื่องจากนักลงทุนลดความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ หลังเศรษฐกิจทั่วโลกมีทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอน การฟื้นตัวของตราสารหนี้จึงมีแนวโน้มเป็นไปอย่างช้า ๆ
ในภาพรวม ทีมผู้จัดการกองทุนยังคงให้น้ำหนักการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์เสี่ยง ที่มีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีมากขึ้น ในขณะที่โอกาสในการรับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี คาดว่าความผันผวนในตลาดอาจยังคงมีอยู่
กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค
กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ
KFAFIX-A:
- ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผลตอบแทนของกองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลางมีความผันผวน เนื่องจากเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) ปรับตัวชันขึ้น ตามผลกระทบจากการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ของกระทรวงการคลังจำนวน 100,000 ล้านบาท และการประกาศเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Corporate Spread) ของหุ้นกู้เอกชนไทยยังปรับตัวขึ้นอีกเล็กน้อย
- สำหรับแนวโน้มในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้าคาดว่าส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนกลุ่มที่มีคุณภาพเครดิตสูงจะเริ่มปรับลดลงได้ ภายหลังจากสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ปรับตัวดีขึ้นทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง จึงทำให้คาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนกลุ่มนี้มีความน่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น อาทิเช่น กองทุน KFAFIX-A (ขั้นตํ่า 1 ปี ขึ้นไป)
กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
KF-SINCOME/ KF-CSINCOM:
- กองทุนยังคงเห็นโอกาสการลงทุนบนตราสารหนี้ภาคเอกชนระดับลงทุนได้ (Investment Grade) โดยค่อย ๆ เพิ่มการลงทุนบนตราสารหนี้ High Yield และ Agency MBS ตั้งแต่ต้นปี โดยจะเน้นตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันที่เป็นที่ต้องการสูง ได้รับการชำระหนี้คืนก่อนตราสารด้อยสิทธิ และกลุ่มธุรกิจที่มีการกำกับดูแลดี เช่น ภาคธนาคาร โดยจะหลีกเลี่ยงตราสารหนี้ในประเทศเกิดใหม่ที่มีหนี้สินต่อ GDP สูง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน
กองทุนตราสารทุนในประเทศ
KFENS50-A:
- กองทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET 50
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
Developed market equity
KFGBRAND-A / KFGBRAND-D:
- กองทุนลงทุนหุ้นที่มีคุณภาพสูง เน้นหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลกที่มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เติบโตสม่ำเสมอในระยะยาว ทนทานในทุกวัฏจักรเศรษฐกิจ ทำให้กองทุนมี Downside ที่น้อยกว่าตลาดหุ้นโลก เมื่อตลาดปรับตัวลดลง
KF-HUSINDX:
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นของ FED ที่เพิ่มสภาพคล่องให้ตลาด อย่างไรก็ตาม ตลาดสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงจากความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในประเด็นเรื่องฮ่องกงและสงครามการค้า โดยจีนยกเลิกการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ขณะที่สหรัฐฯ เองก็สั่งห้ามการค้าขายกับ Huawei และอาจห้ามบริษัทจีนมาจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทั้งนี้ ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะยังคงอยู่จนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปลายปีนี้
- กองทุนหลักเน้นลงทุนใน iShares Core S&P500 ETF ซึ่งจะมีผลการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนี โดยคาดการณ์การเติบโตยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น การปฏิรูปภาษี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
KF-EUROPE/ KF-HEUROPE:
- ตลาดยุโรปยังคงมีความผันผวนหลังหลายพื้นที่เริ่มกลับมาเห็นผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้น ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเองก็มีทิศทางชะลอตัวลง โดยต้องจับตามองนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่หลังจากมีการผ่านงบประมาณราว 7.5 แสนล้านยูโร ทั้งนี้ กองทุนหลักเน้นการลงทุนในหุ้นเติบโตและมีคุณภาพสูง โดยเลือกลงในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เป็นต้น
Emerging market equity
KFACHINA-A:
- ตลาดจีนอาจมีความผันผวนในระยะสั้น จากความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและการค้า โดยคาดว่าแรงกดดันดังกล่าวจะมีต่อเนื่องจนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ภาพเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยรัฐบาลและธนาคารกลางยังคงมีนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจ
Multi-Asset
KFAINCOM-A / KFAINCOM-R:
- ในช่วงที่ภาวะตลาดทุนมีแนวโน้มผันผวน การลงทุนแบบ Multi-Asset Income Fund กระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั้ง หุ้น ตราสารหนี้และสินทรัพย์ทางเลือกที่ให้ Yield ที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดปรับตัวผันผวนขณะที่ยังคงได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจ
Krungsri Asset Management
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungsri The Masterpiece สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENAสำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungsri The Masterpiece คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
หมายเหตุ:
- กองทุน KFGBRAND-A, KFGBRAND-D, KF-EUROPE, KFACHINA-A ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- กองทุน KF-SINCOME, KF-CSINCOM, KFAINCOM-A, KFAINCOM-R, KF-HUSINDX, และ KF-HEUROPE ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757