คุยคริปโต Podcast EP2 : ทำไม Blockchain ถึงมีเสถียรภาพ ถึงขั้นที่ 20 ภาคธุรกิจยังต้องให้ความสำคัญ
Blockchain คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับ Bitcoin
ในยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างแพร่หลาย การส่งข้อความหรือข้อมูลต่างๆแทบจะสามารถทำได้ทันที ที่เราเรียกยุคนี้ว่ายุค Information เราสามารถส่งข้อมูลหาใครก็ได้ในโลก โดยที่เรายังมีต้นฉบับหรือ File อยู่กับตัว เพราะสิ่งที่เราส่งหาคนอื่นก็เป็นแค่เพียงสำเนาเท่านั้น แต่ข้อเสียคือ ปลายทางสามารถดัดแปลงแก้ไขข้อมูลนั้นได้ และส่งต่อข้อมูลนั้นไปได้อีกไม่รู้จบ จนทำให้เราตรวจสอบความถูกต้องและลำดับของข้อมูลนั้นได้ยาก อีก 1 ข้อจำกัดคือ เราไม่สามารถส่งสิ่งที่มี Value หรือมูลค่าให้กันได้ผ่านระบบกระจาย เพราะจะเกิดปัญหาที่เรียกว่า Double Spending จึงได้มีตัวกลาง “ที่น่าเชื่อถือ” เข้ามาคั่นตรงกลางมากมายเพื่อทำให้การส่งผ่าน Value ให้กันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
A (ผู้โอนเงิน) ——- ธนาคาร ——- B (ผู้รับเงิน)
A (เจ้าของหุ้น) ——- ตลาดหลักทรัพย์ ——- B (ผู้ที่ต้องการซื้อหุ้น)
โดยที่ตัวกลางจะมีการคิดค่าบริหารจัดการซึ่งเป็นต้นทุนในการทำธุรกรรม แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือตัวกลางเหล่านี้เป็นสถานที่ที่รวบรวมข้อมูลธุรกรรมต่างๆเอาไว้มากมาย ซึ่ง Data ทั้งหมดกลับมีค่ามากมายสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปแสวงผลประโยชน์ต่อ จนทำให้มีการซื้อขายข้อมูล การขโมยข้อมูล ตามข่าวที่มีมาตลอด จนมีคนหรือกลุ่มคนนามว่า Satoshi Nakamoto ได้ออกแบบ New System โดยมีลักษณะเป็นระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ คล้ายๆเครือข่ายใยแมงมุม โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายนี้ (Node) จะได้ข้อมูลเดียวกันมา แต่ละ Node จะทำการบันทึกข้อมูลชุดเดียวกันนี้และต่างเขียนข้อมูลลงฐานข้อมูลตัวเอง ไม่มีการรอ Node อื่นๆ และข้อมูลที่ Node ส่วนใหญ่มีในการครอบครอง หรือข้อมูลไหนปรากฏตาม Node ต่างๆในเครือข่ายมากที่สุด เราจะถือว่านั่นเป็นข้อมูลต้นแบบ และข้อมูลต่างๆก็จะถูกจัดเก็บไว้ใน Block และก็ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆจนได้ Block ต่อมา ทั้งนี้ธุรกรรมต่างๆนั้นจะมีการเชื่อมต่อกันเป็นสาย (Chain) รวมเรียกว่า Blockchain ซึ่งแก้ปัญหาต่างๆได้ดังนี้
- ลดปัญหา Double Spending จนทำให้คนส่วนใหญ่เรียกยุคนี้ว่า Internet of Value คือส่ง Value หากันได้แล้ว
- ลดปัญหาตัวกลาง ทำให้มีค่าใช้จ่ายธุรกรรมที่ลดลง แต่ยังคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือนั่นก็คือ ระบบ
- ความน่าเชื่อของข้อมูลที่มี คือสามารถตรวจสอบที่มาและไม่สามารถแก้ไขธุรกรรมได้ เป็นต้น
แต่อย่างที่ อดัม สมิธ เคยเขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Wealth of Nations ว่าไม่มีใครที่จะทำงานให้ใครฟรีๆ มันจำเป็นต้องมีแรงจูงใจ หรือ “Incentive” ทุก Node ที่คอย Run ระบบ Blockchain นั้นก็ต้องมีแรงจูงใจเพื่อให้เขาเหล่านั้นทำงานกันอย่างแข็งขัน จึงเป็นที่มาของ Bitcoin กล่าวคือ ในทุก Node นั้นจะต้องแข่งขันกันใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการถอดสมการคณิตศาสตร์ และผู้ที่ชนะที่จะได้ Bitcoin เป็นรางวัล ด้วย Bitcoin ที่มีจำนวนจำกัด ผิดกับเงินในปัจจุบันที่พิมพ์แล้วพิมพ์อีกจนกระดาษปึกนั้นแทบจะไร้ค่าในบางประเทศ ถึงแม้จะไม่มีธนาคารกลางหนุนหลัง Bitcoin แต่ผู้คนก็เริ่มเชื่อมั่นกับมันมากขึ้น เพราะมันคือของที่หายาก แปลมแปลงยากและมีจำนวนจำกัด (คุณสมบัติบางส่วนของเงิน) เลยถือว่า Bitcoin นั้นคือเงินสกุลหนึ่ง (Cryptocurrency เงินที่ถูกเข้ารหัส) สามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ ด้วยระบบ Blockchain ที่ถือเป็น New System หรือยุคที่ 2 ของอินเตอร์เน็ตทำให้ทั้ง Blockchain และ Bitcoin เป็นที่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆในตอนนี้
สรุปง่าย ๆ ก็คือ Blockchain คือที่ ๆ บรรจุธุรกรรมทั้งหมดเอาไว้ รวมถึง Block Data ส่วน Bitcoin คือ Incentive ที่เป็นรางวัลให้กับผู้ที่ต้องการ Verified ธุรกรรมบน Blockchain ครับ
ภาพอ้างอิงราคาหุ้นบริษัท Docusign จากเนื้อหาใน Podcast
ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast