FA Guide ตอน ขั้นตอนสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

FA Guide คือ ซีรีส์บทความที่จะมาเล่าเรื่องอาชีพสายการเงินอาชีพหนึ่ง เป็นอาชีพที่เป็นนายตัวเอง มีอิสระในการจัดการเวลาในชีวิตของตัวเอง ได้ใช้ความรู้ทางการเงินในการช่วยเหลือผู้อื่นให้ไปถึงเป้าหมายที่เขาต้องการ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างรายได้เลี้ยงดูตนเองได้ อาชีพนั้นก็คือ ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) หรือเรียกสั้นๆ ว่า FA นั่นเองครับ

สำหรับ FA Guide ตอนแรก เขียนขึ้นมาสำหรับผู้ที่สนใจในสายอาชีพนี้โดยเฉพาะ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร บทความนี้จะพาไปดูกันตั้งแต่พื้นฐานว่า การเป็น FA ต้องทำอะไรบ้าง ทักษะความรู้อะไรบ้างที่จำเป็นในการเป็น FA ที่ดี และที่สำคัญก็คือ ใบอนุญาต (License) ต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีในการประกอบอาชีพนี้

6 ขั้นตอนสู่การเป็น Financial Advisor มีอะไรบ้าง? เชิญอ่านได้ในบทความครับ

ขั้นตอนที่ 1: เข้าใจหน้าที่ของ FA

FA Guide ตอน ขั้นตอนสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

ที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ Financial Advisor เป็นคำที่ครอบคลุมความหมายค่อนข้างกว้างมาก เพราะการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ถ้าแปลแบบกระชับที่สุด FA คือ มืออาชีพที่ให้คำปรึกษาในการบริหารเงินของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในชีวิต การบริหารเงินนี้รวมไปถึงการให้คำแนะนำเรื่องการเก็บออม การทำประกัน การวางแผนการศึกษาบุตร วางแผนเกษียณ รวมไปถึงแนะนำการลงทุนในหุ้น กองทุน อสังหาฯ ฯลฯ เพื่อให้เงินเก็บของลูกค้างอกเงยด้วย

พอเรื่องเงินเป็นเรื่องที่แทรกซึมอยู่ในทุกจังหวะชีวิต แทบจะทุกเรื่องต้องใช้เงิน ดังนั้น FA ที่จะให้คำปรึกษาลูกค้าได้ดี ต้องทำความรู้จัก และเข้าใจไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่ดูแลอยู่เป็นอย่างดีด้วย

FA ไม่ใช่อาชีพที่มุ่งมั่นแต่จะขายผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่ FA คืองานบริการ คือการให้คำปรึกษาที่ต้องยึดความต้องการลูกค้าเป็นหลัก ภาพการทำงานของ FA จะไม่ใช่การพบเจอพูดคุยกับลูกค้าเพียงครั้งเดียว จัดพอร์ตอะไรให้ลูกค้าเสร็จแล้วก็จบกันไป แต่อาจจะต้องนัดเจอพูดคุยกับลูกค้าถึง 3-5 ครั้ง กว่าจะเริ่มวางแผนการเงินให้กับลูกค้าได้

FA จะต้องทำความรู้จักกับลูกค้าให้มากที่สุด ทำความเข้าใจเป้าหมายของลูกค้า ทำความเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างไปถึงเป้าหมาย แล้วถึงค่อยออกแบบแผนทางการเงินให้กับลูกค้าว่าเขาเหมาะกับผลิตภัณฑ์อะไร ในสัดส่วนเท่าไร และเมื่อวางแผนเสร็จแล้ว FA ก็มีหน้าที่ในการดูแลกันไปตลอดเส้นทาง จนกว่าลูกค้าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นี่คือภาพรวมบทบาทคร่าวๆ ของ FA หรือการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินครับ

ขั้นตอนที่ 2: ตรวจสอบว่าตนเองเหมาะกับอาชีพนี้หรือไม่

FA Guide ตอน ขั้นตอนสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

FA เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะหลากหลายรอบด้าน ทั้งศาสตร์และศิลป์ต้องใช้ครบหมด ต่อไปนี้เป็นคุณสมบัติที่ FA ควรจะต้องมี ถ้าเกิดอ่านแล้วรู้สึกว่ามันใช่คุณ คุณสามารถทำอาชีพ FA ได้ดีแน่นอน

1. มีความสนใจเรื่องการเงินการลงทุน

ทักษะแรกที่สำคัญที่สุด (ขาดข้ออื่นไปยังพอทำงานได้ แต่ขาดข้อนี้ไปจบเลย) คือ “ความรู้เรื่องการเงินการลงทุน” ขอใช้คำว่ามีความสนใจเรื่องการเงินการลงทุนแทนละกันนะครับ เพราะถ้าเรายังสนใจและศึกษาอยู่เรื่อยๆ ความรู้เราต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน

แล้วความรู้เรื่องไหนบ้างที่ FA ควรจะมี? คำถามนี้ขอหยิบไปตอบในขั้นตอนที่ 3 ครับ

2. มีใจบริการ

FA เป็นคนที่ให้คำปรึกษากับ “ลูกค้า” เพราะฉะนั้นโฟกัสตลอดการทำงานเป็น FA คือ การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) FA ต้องไม่แนะนำผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่มให้กับลูกค้าเพียงเพื่อให้ตัวเองได้ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมสูงๆ แต่ FA ต้องยึดเป้าหมายของลูกค้ามาก่อน แล้วค่อยออกแบบแผนการเงินให้สอดคล้องตามนั้น ซึ่งการจะเอาความต้องการของลูกค้ามาก่อนความต้องการส่วนตัว ต้องมาจากการมีใจรักในการบริการ

3. มีทักษะในการพูดคุยและรับฟัง

การจะรู้จักใครซักคน เราต้องพูดคุยกับคนคนนั้นเยอะๆ FA จะรู้จักลูกค้าและเข้าใจไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้ ก็ต้องผ่านการพูดคุยเยอะๆ เหมือนกัน

ทักษะนี้เป็นทักษะที่ FA หลายคนอาจจะมองข้ามไป เพราะไปโฟกัสที่การมี hard skill มากกว่า แต่จริงๆ แล้วการมี soft skill เรื่องทักษะในการพูดคุย การมีมนุษยสัมพันธ์ การเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นทักษะที่จะชี้วัดเลยว่า คุณจะเป็น FA ที่คนชื่นชอบได้หรือเปล่า เพราะถึงคุณจะมีความรู้แน่น แต่ถ้าไม่สามารถถ่ายทอดให้คนเชื่อถือได้ หรือไม่สามารถพูดให้คนเปิดใจกับคุณได้ ก็ไม่มีใครไว้ใจให้คุณดูแลอยู่ดี

4. กล้าตัดสินใจ

กล้าตัดสินใจในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าให้เราไปบังคับให้ลูกค้าทำตามที่เราบอกนะครับ แต่การกล้าตัดสินใจ หมายถึง การที่เราออกแบบแผนการเงินที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของเราอย่างชัดเจน แล้วอธิบายเหตุผล ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้ลูกค้าฟัง ให้ลูกค้าเข้าใจในทุกแง่มุมแล้วตัดสินใจเอง

แต่อย่างไรก็ตามมันไม่มีแผนการเงินไหนที่การันตีว่ามันจะได้ผล 100% ทุกแผนมีความเสี่ยงที่จะไม่เป็นไปตามแผน FA ต้องกล้าที่จะตัดสินใจจากความรู้และประสบการณ์ที่มี และรายงานความเสี่ยงทุกอย่างให้กับลูกค้าทราบ FA ต้องมั่นใจที่จะนำทางให้ลูกค้า เพราะถือว่าเรามีความรู้ความเข้าใจด้านการวางแผนการเงินมากกว่า และความรู้ตรงนั้นสามารถทำให้ชีวิตผู้อื่นดีขึ้นได้

5. Active ในการเรียนรู้อยู่เสมอ

ทุกวันมีเรื่องให้เรียนรู้ใหม่อยู่ตลอด ไม่ใช่เฉพาะเรื่องความรู้ทางการเงิน แต่หมายถึงทุกอย่างที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต เพราะอย่างที่เขียนไว้ในตอนต้นว่า เรื่องเงินเป็นเรื่องที่แทรกซึมอยู่ในทุกด้านของชีวิต คนที่ใช้ชีวิตได้ดีก็จะแนะนำเรื่องการเงินได้ดีด้วย ดังนั้น FA ต้องเป็นคนที่กระตือรือร้นในการอัปเดตข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ให้คำปรึกษากับลูกค้าได้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน

จริงอยู่ว่าเรื่องหลักการวางแผนหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอาจจะเปลี่ยนไม่มาก แต่เรื่องมุมมองการลงทุนรับรองว่าเปลี่ยนบ่อยแน่นอน ซึ่ง FA ทุกท่านสามารถติดตามข่าวสารของตลาดและมุมมองการลงทุนจาก FINNOMENA ได้ตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ LINE หรือเว็บไซต์ รับรองว่าอัปเดตตลอดไม่ตกข่าวแน่นอนครับ

ขั้นตอนที่ 3: เพิ่มพูนความรู้และทักษะ

FA Guide ตอน ขั้นตอนสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

หลังจากเข้าใจหน้าที่ของ FA และสำรวจตนเองเรียบร้อยแล้วว่าเรามีทักษะที่เหมาะกับการเป็น FA ขั้นต่อไปคือการศึกษาหาความรู้เรื่องการวางแผนการเงิน และฝึกทักษะในการให้คำปรึกษาครับ

ความรู้ที่ FA ควรจะต้องมี หรือ Service Solution ที่ควรจะสามารถมอบให้ลูกค้าได้ ถ้าจะพูดถึงเรื่องนี้พูดทั้งวันก็คงไม่จบ เพราะมันกว้างมากๆ FA อาจจะให้คำแนะนำง่ายๆ อย่างการออมเงิน ไปจนถึงการที่ลูกค้ามาปรึกษาเรื่องควรจะเลือกหมอผ่าตัดที่โรงพยาบาลไหนดี อะไรที่เกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ FA ควรจะให้คำปรึกษาได้ หรือถ้าหากไม่รู้ก็ควรจะชี้แนะแนวทางในการแก้ปัญหาให้ได้

กรณีนั้นอาจจะเป็นกรณีพิเศษหน่อย แต่สำหรับเคสปกติแล้ว ตัวอย่างสกิลที่ FA ควรจะต้องมี เช่น การบริหารเงินส่วนบุคคล, ความรู้เรื่องภาษี, การวางแผนเกษียณ, การซื้อประกัน (เพื่อปกป้องเงินของลูกค้ากรณีเกิดเหตุไม่คาดคิด) และการลงทุน (เพื่อสร้างเงินให้งอกเงย) ทั้งหมดนี้ก็พอจะครอบคลุมในการให้คำปรึกษาแล้ว

สำหรับทักษะที่ต้องเพิ่มพูน เช่น ทักษะในการสื่อสารและรับฟัง คนที่เป็น FA ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีมากๆ ต้องมี empathy ในการเข้าใจผู้อื่น เป็นคนที่น่าเชื่อถือและกล้าตัดสินใจ ซึ่งทักษะต่างๆ เหล่านี้สามารถสร้างได้แน่นอน โดยเริ่มจากการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และใส่ใจเขาอย่างเต็มที่ ด้วยความตั้งใจที่อยากจะช่วยให้ชีวิตของเขาดีขึ้นจริงๆ

ขั้นตอนที่ 4: สอบ License

FA Guide ตอน ขั้นตอนสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

หมายเหตุ: บทความนี้จะพูดถึงเฉพาะ License ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้แนะนำการลงทุน

ในขั้นตอนที่ 3 คือการสั่งสมความรู้ที่อยู่ในหัว ส่วนในขั้นตอนที่ 4 คือการพิสูจน์ว่าเรามีความรู้นั้นจริงๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็คือ การสอบใบอนุญาต (License) ในการเป็นผู้แนะนำการลงทุน

สำหรับคนที่สงสัยเรื่อง License การสอบสายการเงินต่างๆ ในประเทศไทยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

  1. กลุ่มใบอนุญาต
    ใบอนุญาต คือ สิ่งที่ต้องมีในการประกอบอาชีพผู้แนะนำการลงทุนตามที่ กลต. กำหนด ถ้าไม่มีถือว่าผิดกฎหมาย การสอบใบอนุญาต เช่น IC (Investment Consultant), IP (Investment Planner) หรือ IA (Investment Analyst)
  1. กลุ่มคุณวุฒิ
    ใบคุณวุฒิ คือสิ่งที่ยืนยันว่าเราผ่านการอบรมในระดับต่างๆ จะมีหรือไม่มีก็ได้ในการประกอบอาชีพ ตัวอย่างคุณวุฒิสายการเงิน เช่น CFP, AFPT, CFA

ที่ FINNOMENA เราเปิดรับพาร์ทเนอร์ FA ที่มีใบอนุญาตตั้งแต่ IC Complex 2 ขึ้นไป (สามารถแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมและตราสารหนี้ที่มีลักษณะซับซ้อนได้) ซึ่งในแต่ละที่ก็จะมีเงื่อนไขในการเป็นพาร์ทเนอร์แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องการใบอนุญาต IC หรือ IP ไม่เกินนี้

อาชีพ FA ไม่จำกัดว่าต้องเรียนจบทางด้านสายการเงินมา เพียงแค่จบปริญญาตรี ผ่านการอบรมความรู้ต่างๆ และสอบใบอนุญาตผ่าน เท่านี้ก็สามารถเป็น FA ได้แล้ว ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับฝีมือล้วนๆ ครับ

ขั้นตอนที่ 5: เลือกพาร์ทเนอร์ที่อยากร่วมงานด้วย

FA Guide ตอน ขั้นตอนสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

ขึ้นชื่อว่าเป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระก็จริง แต่การลุยเดี่ยวออกไปทำคนเดียวนั้นทำได้ยาก การจะไปหาลูกค้าแล้วเรียกเก็บเป็นค่าแนะนำการลงทุนก็คงไม่มีใครอยากจ่ายให้ ดังนั้นการมีพาร์ทเนอร์จะช่วยทั้งในเรื่องการให้คำปรึกษาลูกค้า และช่วยในเรื่องการสร้างรายได้ให้กับ FA ได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่เปิดรับ FA เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ (บางที่จะเรียกว่า IIP: Independent Investment Planner) โดยให้สิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันไป สำหรับที่ FINNOMENA เราก็เปิดรับ FA เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์กับเราเช่นกัน ท่านที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ finnomena.com/fa/ ได้เลยครับ และใน FA Guide ตอนหน้า ทางทีม FINNOMENA จะมีการเขียนรีวิวให้อ่านกันอย่างละเอียดด้วยว่า เมื่อเข้ามาเป็น FA ร่วมกับ FINNOMENA แล้วจะได้อะไรบ้าง

ขั้นตอนที่ 6: ออกไปหาลูกค้าคนแรก

FA Guide ตอน ขั้นตอนสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

ขั้นตอนสุดท้าย คือการเริ่มออกไปให้คำปรึกษาเรื่องการเงินให้กับลูกค้าคนแรกของคุณ เริ่มแรกที่ยังไม่มีคอนเนคชั่นหรือชื่อเสียงที่จะทำให้ลูกค้าแนะนำกันปากต่อปาก การหาลูกค้าอาจจะทำได้ยาก ดังนั้นเริ่มต้นง่ายที่สุดคือการให้คำปรึกษากับคนใกล้ตัวครับ อาจจะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงของเราก็ได้ หรือถ้ายังไม่ได้วางแผนการเงินส่วนตัวก็เริ่มจากตัวเองนี่แหละครับ เราต้องดูแลตัวเราเองให้ดีก่อนถึงจะไปดูแลคนอื่นได้

การเดินทางหมื่นลี้เริ่มจากก้าวหนึ่งก้าว การจะเป็น FA ที่ดูแลลูกค้าหลักร้อยก็ต้องเริ่มจากดูแลลูกค้าคนแรกให้ดีก่อน จาก 1 คนเป็น 2 คน จาก 2 คนเป็น 3 คน ค่อยๆ สั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ถ้าเรายังรักและหลงใหลในอาชีพนี้ รับรองว่าความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ

ส่งท้าย…

ครบทั้ง 6 ขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับเส้นทางการเป็น FA หรือที่ปรึกษาทางการเงิน หวังว่าจะเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจในอาชีพสายนี้ไม่มากก็น้อยครับ

📌 งานสัมมนา FINNOMENA FA Summit 2021 เปิดประตูสู่การเป็น Financial Advisor โอกาสครั้งสำคัญในสายอาชีพ สร้าง รายได้หลักแสนกับการเป็น Financial Advisor มืออาชีพ พร้อมฟังเรื่องราวความสำเร็จ กลยุทธ์ และเทคนิคจาก FINNOMENA FA ตัวจริงเสียงจริง

อ่านเพิ่มเติม โอกาสที่คุณจะได้เจอในงาน FA Summit 2021

ผู้ที่สนใจร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://finno.me/fa-summit-2021-wb3

FA Guide ตอน ขั้นตอนสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

เขียนโดย FINNOMENA Admin