FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

สถานการณ์การแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจโดยรวมของทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เมื่อประกอบกับสงครามราคาน้ำมันซึ่งอยู่ในภาวะอุปทานล้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่งผลให้ความกังวลในตลาดการลงทุนเพิ่มขึ้นทั่วโลก

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 1 นโยบายการเงินที่ Fed ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา l Source :  Bloomberg As of 01/04/2020

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางและรัฐบาลทั่วโลกต่างทราบถึงปัญหาจากทั้ง 2 ปัจจัยนี้ และเริ่มดำเนินนโยบายในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ ที่ดำเนินนโยบายการเงินแบบฉุกเฉินเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนดังกล่าวถึง 7 ครั้งด้วยกัน ส่งผลให้นักลงทุนคลายความกังวลได้บางส่วน ประกอบกับการปรับตัวลงของสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้นักลงทุนเริ่มหันมาสนใจสินทรัพย์เสี่ยงในเชิงเทคนิค จึงเป็นผลให้ตลาดปรับตัวเป็นบวกได้

FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าการปรับตัวขึ้นดังกล่าวเป็นการปรับตัวขึ้นในเชิงเทคนิค (Bear Market Rally) ท่ามกลางตลาดซึ่งมีแนวโน้มระยะยาวที่ยังเป็น Bear market เท่านั้น ซึ่งหมายถึงเป็นการปรับตัวขึ้นระยะสั้นเพื่อปรับตัวลงต่อ ทำให้ยังคงแนะนำกระจายความเสี่ยงเพื่อรักษาอำนาจการซื้อ และสภาพคล่องเพื่อรอคอยจังหวะที่เหมาะสมต่อไป

เชื้อไวรัสและราคาน้ำมันส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหนักหน่วง

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 2 จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกและรายประเทศ l Source : FINNOMENA COVID As of 31/03/2020

อัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป เป็นผลให้หลายประเทศในยุโรปต้องใช้มาตรการ lockdown เช่นเดียวกับภูมิภาคเอเชียที่ถึงแม้จะมีแนวโน้มที่ดีกว่า แต่หลายประเทศเริ่มใช้มาตรการ lockdown สถานการณ์ดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อภาคเศรษฐกิจทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งห่วงโซ่อุปทานที่ชะงักงัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งกระทบรุนแรงต่อรายได้และกำไร

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 3 จำนวนตราสารหนี้ของบริษัทที่มีการซื้อขายในตลาด ณ ปัจจุบันและเข้าข่ายต้องปรับโครงสร้าง (Distressed debt) l Source : Bloomberg As of 30/3/2020

สัญญาณความกังวลเริ่มปรากฏผ่านส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (OAS Spread) ทั้ง Investment grade และ High yield ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากความกังวลสภาพทางการเงินของบริษัท นักลงทุนเทขายหุ้นกู้เอกชนและเข้าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว (Developed market) ล่าสุดจำนวนหุ้นกู้ของบริษัทที่เข้าข่ายต้องปรับโครงสร้าง (Distressed debt) ได้เพิ่มจำนวนขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับวิกฤติปี 2008 ด้วยจำนวน 1,595 หลักทรัพย์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 899,200 ล้านดอลลาร์ กระจายในทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพลังงานยานยนต์ บันเทิง หรือแม้กระทั่งสื่อสาร

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 4 จำนวนตราสารหนี้ของบริษัทที่มีการซื้อขายในตลาด ณ ปัจจุบันและเข้าข่ายต้องปรับโครงสร้าง (Distressed debt) รายอุตสาหกรรม l Source : Bloomberg As of 30/3/2020

เมื่อพิจารณาจำนวนหุ้นกู้ของบริษัทที่เข้าข่ายต้องปรับโครงสร้าง (Distressed debt) ที่เพิ่มขึ้นมาตลอดครึ่งหลังของเดือนมีนาคม พบว่ามีบริษัทในกลุ่มพลังงานเป็นสัดส่วนหลัก นอกจากแรงกดดันของอุปสงค์ที่น้อยลงแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากประเด็นสงครามราคาน้ำมันที่กดดันรายได้บริษัทธุรกิจพลังงาน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 5 ดัชนี MSCI World Index, MSCI World Energy Sector Index เทียบราคาน้ำมัน และ OAS Spread ของ Investment Grade และ High Yield ของบริษัทกลุ่มพลังงานในสหรัฐฯ l Source Bloomberg As of 27/03/2020

ส่งผลให้มีแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานในปริมาณที่สูง ปรับตัวลงต่ำที่สุดกว่า 59% สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับตราสารหนี้ในกลุ่มดังกล่าวที่มีแรงเทขายจนส่งผลให้ Option Adjust Spread (OAS) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ความกังวลการผิดนัดชำระหนี้ปรับเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20%

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 6  ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเอกวาดอร์, อาร์เจนติน่า และกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ I Source : Bloomberg As of 26/3/2020

ไม่เพียงแต่บริษัทเอกชนที่ถูกกดดันจาก 2 ปัจจัยที่กล่าวมา พันธบัตรของประเทศตลาดเกิดใหม่เป็นอีกสินทรัพย์ที่ส่งสัญญาณออกมาเช่นกัน ล่าสุดประเทศเอกวาดอร์มีแนวโน้มสูงที่จะพิจารณาผิดนัดชำระหนี้จำนวน 320 ล้านดอลลาร์ ที่จะครบกำหนดชำระหนี้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ความสำคัญต่อปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

แบงค์ชาติเซอร์ไพร์ส คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้หดตัว 5.3%

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 7 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย  l Source : Bloomberg As of 01/04/2020

เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การบริโภคภายใน หรือแม้กระทั่งการส่งออก ทำให้นักลงทุนทั้งในและนอกประเทศเกิดความกังวลต่อสภาพทางการเงินของบริษัทจึงเทขายทั้งหุ้นและหุ้นกู้ออกมาตลอดเดือนมีนาคม

ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) จึงมีมติลดอัตราดอกเบี้ยแบบฉุกเฉินจาก 1.00% มาที่ 0.75% พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือกองทุนตราสารหนี้หลังเผชิญแรงเทขายหน่วยลงทุนและสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ที่ลดลงอย่างมาก

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 8 ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย l Source : ธนาคารแห่งประเทศไทย As of 25/03/2020

นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 จากเดิมคาดขยายตัวที่ +2.8% เป็นหดตัว -5.3% อีกทั้งยังระบุว่านโยบายการคลังจะเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนี้  ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษี ช่วยเหลือแรงงานนอกระบบ การพักชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจในไทยและทั่วโลกจากการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 จะยังคงสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะการบริโภค เป็นผลไปยังภาคการส่งออกของไทย และมีแนวโน้มที่เศรษฐกิจของประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะ Technical Recession สร้างแรงกดดันต่อตลาดการเงินและค่าเงินบาท

ทั่วโลกออกมาตรการกระตุ้นทั้งการเงินการคลังขนาดใหญ่

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 9 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ  l Source : Bloomberg As of 01/04/2020

ธนาคารกลางสหรัฐฯ หันกลับมาใช้นโยบายแบบผ่อนคลายอย่างเต็มตัว เริ่มด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาแตะระดับ 0-0.25% รวมแล้วตลอดเดือนมีนาคม ลดอัตราดอกเบี้ยลงมา 1.5% พร้อมกับเพิ่มวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์การเงิน (QE) แบบไม่จำกัด ที่นอกจากจะเข้าซื้อพันธบัตรแล้วยังครอบคลุมไปยังหุ้นกู้เอกชน อีกทั้งกลับมาเข้าซื้อ Commercial MBS และอัดฉีดสภาพคล่องให้ภาคธนาคารผ่านตลาด Repo และลดอัตราดอกเบี้ย Repo จากระดับ 0.1% มาที่ 0%

นอกจากนี้ยังใช้มาตรการกระตุ้นที่คล้ายคลึงกับนโยบายการคลัง โดยตั้งวงเงินกู้สำหรับธุรกิจบางประเภท และเงินกู้พิเศษสำหรับประชาชน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 10 อัตราดอกเบี้ยที่ถูกปรับลดนับตั้งแต่วันที่ 01/01/2020 (basis point) l Source : Bloomberg As of 30/03/2020

ไม่เพียงแต่ Fed ที่ใช้มาตรการการเงินชุดใหญ่ออกมาเพื่อรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส แต่ธนาคารกลางทั่วโลกเลือกใช้การผ่อนคลายนโยบายการเงินเช่นเดียวกัน เมื่อรวมการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา พบว่าโดยรวมปรับลดลงมาแล้วประมาณ 80 bps โดยเป็นธนาคารกลางของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วกว่า 100 bps

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 11 PBOC Repo rate และ Net Injection l Source : Bloomberg As of 30/03/2020

ล่าสุดวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Repo อายุ 7 วัน มาที่ 2.2% จาก 2.4% พร้อมอัดฉีดเงินเข้าตลาด Repo จำนวน 50,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบการเงินในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 12 ขนาดมาตรการกระตุ้นทางการคลังเทียบกับขนาด GDP l Source : Goldman Sachs As of 30/03/2020

ช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา วุฒิสภาสหรัฐฯ และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อนุมัติร่างมาตรการกระตุ้นครั้งใหญ่ ด้วยวงเงินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 13 รายละเอียดมาตรการกระตุ้นทางการคลังจำนวน 2 ล้านล้านดอลลาร์ l Source Visual Capitalist As of 30/03/2020

ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินเยียวยาโดยตรงให้ประชาชน รวมไปถึงผู้ว่างงาน รวมแล้วกว่า 600,000 ล้านดอลลาร์ และกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจการบินและอากาศยาน เตรียมงบประมาณไว้สำหรับเป็นสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 377,000 ล้านดอลลาร์ อัดฉีดงบประมาณแก่รัฐบาลท้องถิ่นกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์ เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกว่า 179,500 ล้านดอลลาร์

ไม่ใช่เพียงสหรัฐฯ ที่อัดฉีดมาตรการการคลังขนาดใหญ่ซึ่งมีขนาดประมาณ 7.5% ของ GDP แต่หากนับรวมทั่วโลกแล้วนโยบายการคลังที่นำมาใช้คิดเป็น 3.6% ของ GDP โลก โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วใช้นโยบายการคลังรวมกันคิดเป็น 4.7% ของตัวเลข GDP

ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวด้วยความหวังจากมาตรการกระตุ้น

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 14 ดัชนี S&P 500 ระหว่างวันที่ 01/09/2008 – 01/01/2009 l Source: Bloomberg As of 30/03/2020

ในระยะสั้นตลาดตอบรับข่าวที่มีการเปิดเผยออกมา โดยเฉพาะตัวเลขผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ และยุโรปที่พุ่งขึ้น ซึ่ง Fed ได้รับมือต่อผลกระทบด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและหันกลับมาใช้นโยบาย QE ด้วยปริมาณที่ไม่จำกัด (Limitless QE) โดยตลาดไม่ได้คาดว่า Fed จะใช้มาตรการนโยบายการเงินขนาดใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนขนาดนี้ เช่นเดียวกับมาตรการการคลังขนาด 2 ล้านล้านดอลลาร์ ที่ผ่านการอนุมัติเป็นที่เรียบร้อย

ซึ่งเมื่อมองผ่านรูปแบบการปรับตัวลงของตลาดหุ้นในวิกฤตรอบที่ผ่านมา จะพบว่า มีแรงซื้อเข้ามาเป็นระยะ ๆทำให้เกิด Bear Market Rally ในบางช่วง ซึ่งไม่ได้ยืนยันว่า ตลาดหุ้นจะกลับมาเป็นขาขึ้น จนกว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดในวิกฤต ณ ตอนนั้นจะได้รับการแก้ไข หรือ คลายความกดดันได้อย่างแท้จริง

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 15 Fed, ECB & BOJ Balance Sheet to GDP และคาดการณ์ขนาด Fed Balance Sheet l Source : Bloomberg As of 01/04/2020

นักวิเคราะห์จาก Bloomberg ได้คาดการณ์ว่าขนาดสินทรัพย์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Balance Sheet) จะเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 9 ล้านล้านดอลลาร์ หรือมากกว่าจุดสูงสุดเดิมที่เคยมีมาถึง 2 เท่า (4.5 ล้านล้านดอลลาร์) 

มาตรการชุดใหญ่ขนาดนี้ เพียงพอหรือไม่?

สำหรับมาตรการกระตุ้นที่ประกาศออกมาแล้ว FINNOMENA Investment Team มองว่ามีโอกาสที่จะไม่เพียงพอที่จะรับมือต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากยังไม่สามารถประเมินขอบเขตของการระบาดทั้งในแง่ของจำนวนผู้ติดเชื้อและระยะเวลา

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 16 นโยบาย Yield curve control ที่ Fed เคยดำเนินการในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 l Source : Bloomberg As of 01/04/2020

มีโอกาสที่หลังจาก Fed ใช้มาตรการทางการเงินทั้งการลดดอกเบี้ยและเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน (QE) แล้ว เฟดจะเริ่มใช้นโยบาย Yield curve control ซึ่งเป็นนโยบายที่ถูกใช้มาแล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งในปัจจุบันธนาคารกลางญี่ปุ่นกำลังดำเนินนโยบายดังกล่าวเช่นเดียวกัน

โดยปกติธนาคารกลางมักจะเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นเพื่อควบคุมอัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันการเงิน ซึ่งมักมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ดังนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยของการกู้ยืมเงินอยู่ในระดับต่ำและสามารถคาดการณ์ได้ ก็เป็นการหนุนให้นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทประกันให้เข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวในลักษณะเก็งกำไรซึ่งจะส่งผลดีต่อกลุ่มสถาบันการเงิน

เมื่อภาครัฐมั่นใจได้ว่าจะมีแรงซื้อเข้ามาในพันธบัตรระยะยาวก็ทำให้ภาครัฐสามารถกู้ยืมเงินเพิ่มขึ้นได้ผ่านการออกพันธบัตรระยะยาว แล้วจึงนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรไปใช้เพื่อมาตรการกระตุ้นทางการคลัง

จากสถานการณ์ที่กล่าวมาทั้งหมด คาดได้ว่าจะมีอีกหลายประเทศที่ต้องใช้มาตรการ lockdown เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนทางเศรษฐกิจ  แม้จะมีมาตรการกระตุ้นออกมาเพื่อรับมือผลกระทบแต่ด้วยสถานการณ์ที่ยังไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้ ทั้งด้านตัวเลขผู้ติดเชื้อและระยะเวลา  ส่งผลให้หลายฝ่ายคาดการณ์ในทิศทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะหดตัวอย่างน้อยในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี (Technical Recession) ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระยะต่อไป

สินทรัพย์ทางเลือกและสินทรัพย์ปลอดภัยยังน่าจับตามอง

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 17 อัตราการปันผล, Yield Spread และ ดัชนี SEPREIT Index l Source : Bloomberg As of 01/04/2020

ผลจากการปิดอาคารและสถานที่ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว หรือสำนักงาน สร้างแรงกดดันต่อดัชนี SETPREIT ที่เป็นดัชนีกองทุนรวมอสังหาฯ และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ให้ปรับตัวลงตามตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันอัตราการปันผลเฉลี่ย 12 เดือนย้อนหลังปรับตัวขึ้นมาที่ประมาณ 7.15% สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018

อย่างไรก็ตาม FINNOMENA Investment Team ยังติดตามสถานการณ์พร้อมประเมินผลที่จะกระทบต่ออัตราการปันผลในอนาคต เพื่อประเมินจุดที่น่าสะสม ซึ่งมักจะสร้างผลตอบแทนได้น่าสนใจหลังผ่านพ้นช่วงที่เศรษฐกิจมีภาวะหดตัว

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 18 ราคาทองคำ, ปริมาณการถือครองทองคำของกองทุน ETF และ Vix Index l  Source : Bloomberg As of 01/04/2020

ในขณะที่ทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่มีความน่าสนใจในภาวะวิกฤติ แม้ราคาจะยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปยืนในระดับสูงสุดได้ แต่ปริมาณทองคำที่ถูกถือครองโดยกองทุน ETF ปรับตัวขึ้นทะลุระดับสูงสุดไปเรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนั้นระดับ VIX Index พุ่งตัวขึ้นไปที่ 65.54 จุด ซึ่งเป็นระดับเดียวกับช่วงวิกฤติปี 2008 จึงนับได้ว่าเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ความกังวลของนักลงทุนในตลาดได้เป็นอย่างดี

วิกฤตย่อมเสนอโอกาสให้นักลงทุนอยู่เสมอ

FINNOMENA Investment Team คาดว่าผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้ จึงต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยในช่วง 1-3 เดือนหลังจากนี้ เราพบว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญที่ตลาดตราสารหนี้จะพบกับปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ในบริษัทต่างประเทศ ที่ประสบปัญหามาอยู่ก่อนวิกฤต Covid-19 และถูกซ้ำเติมด้วยการขาดสภาพคล่อง ณ ตอนนี้

FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าตลาดการเงินโลกยังอยู้ในภาวะ Risk off ขณะเดียวกันก็ประเมินสถานการณ์พร้อมทั้งกำหนดจุดกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้งเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย หรือ Valuation อยู่ในระดับที่ต่ำมาก ตามแผนการที่เรากำหนดไว้ดังนี้

1. ปัจจัยกดดันตลาดส่งสัญญาณคลี่คลาย

หากสถานการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เช่น ผู้ติดเชื้อทั่วโลกต่อวันลดลงอย่างมีนัยยะ หรือมีการค้นพบวัคซีนและยารักษาที่สามารถนำมาใช้การได้จริง

2. เมื่อระดับ Valuation ต่ำอย่างมีนัยสำคัญ

แม้สถานการณ์ COVID-19 อาจยังไม่คลี่คลาย แต่หากสินทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง

โดยในเบื้องต้น FINNOMENA Investment Team ประเมินจุดที่น่าสะสมสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งอยู่ในตลาดที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่าง ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จีน และไทย ดังนี้

SET Index

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 19 Trailing EPS, P/E และกราฟของดัชนี SET Index  l Source Bloomberg As of 19/03/2020

ดัชนี SET มีระดับ 12 Months trailing EPS ที่ 85.99 บาทต่อหุ้น และใช้อัตราส่วน P/E จากในอดีตที่ 10.66, 10.45 และ 6.45 เท่า ทำให้ได้เป้าหมายราคาที่ 916.55, 898.59 และ 554.63 จุด ตามลำดับ

S&P 500 Index

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 20 Trailing EPS, P/E และกราฟของดัชนี S&P 500  l Source Bloomberg As of 19/03/2020

ดัชนี S&P500 มีระดับ 12 Months trailing EPS ที่ 151.88 ดอลลาร์ต่อหุ้น และใช้อัตราส่วน P/E จากในอดีตที่ 12.61 และ 12.07 เท่า ทำให้ได้เป้าหมายราคาที่ 1,915.20 และ 1,833.19 จุด ตามลำดับ

CSI300 Index

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 21 Trailing EPS, P/E และกราฟของดัชนี CSI300  l Source Bloomberg As of 19/03/2020

ดัชนี CSI300 มีระดับ 12 Months trailing EPS ที่ 281.66 หยวนต่อหุ้น และใช้อัตราส่วน P/E จากในอดีตที่ 12.17 และ 11.43 เท่า ทำให้ได้เป้าหมายราคาที่ 3,427.80 และ 3,219.38 จุด ตามลำดับ

นอกจากนั้นแล้วตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า แม้ในช่วงที่ตลาดการลงทุนอยู่ในแนวโน้มขาลง ตลาดก็ยังสามารถมีจังหวะการปรับตัวขึ้นได้ในระยะสั้นที่เรียกว่า Bear Market Rally ซึ่งในส่วนนี้ FINNOMENA Investment Team จะติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อทำการแนะนำในเชิง Tactical Call เพื่อให้ลูกค้าได้รับโอกาสการลงทุนสูงสุด

พอร์ตการลงทุนแนะนำของ FINNOMENA

พอร์ตการลงทุนของ FINNOMENA ในเดือนเมษายนยังคงอยู่ในรูปแบบระมัดระวังตัวเป็นหลัก โดยมีคำแนะนำให้นักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุนจากกองทุนรวมตราสารหนี้ ซึ่งมีการถือครองหุ้นกู้ไปยังกองทุนตลาดเงิน หรือ ตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในพันธบัตรภาครัฐ และเงินฝากเป็นหลักแทน เพื่อลดผลกระทบที่อาจได้รับจากสภาวะสภาพคล่องตึงตัวในตลาดตราสารหนี้ไทย และถือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรอจังหวะการลงทุนอีกครั้ง

โดยกองทุนที่ FINNOMENA แนะนำให้เข้าลงทุนทดแทนได้แก่ SCBTMFPLUS-I และ K-CASH ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมากกว่า 85% ขึ้นไป มีสภาพคล่องสูง และเข้าเกณฑ์การสนับสนุนสภาพคล่องของ ธปท.และ ก.ล.ต. อีกทั้งยังคงมี Fundflow เข้าซื้ออย่างต่อเนื่อง

สัดส่วนการลงทุน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 22 สัดส่วนการลงทุนของกองทุน SCBTMFPLUS-I และ K-CASH l Source Thaibma As of 27/03/2020

Fundflow และ ขนาดของกองทุนรวม

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 23 Asset Size และ Fundflow ของกองทุน SCBTMFPLUS-I และ K-CASH l Source Thaibma As of 27/03/2020

FINNOMENA Recommendation

พอร์ตการลงทุน GAR, TOP 5, GCP และ GIF

FINNOMENA Investment Team แนะนำ ลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุนที่มีน้ำหนักลงทุนในหุ้นกู้เอกชน เพื่อลดความเสี่ยง และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพื่อรักษาสภาพคล่อง และสร้างความปลอดภัยให้กับเงินลงทุนให้มากที่สุด เพื่อเตรียมหาจังหวะการลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต

GAR (Global Absolute Return)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

แนะนำลดสัดส่วน PRINCIPAL DPLUS-A 20% (ทั้งหมด), แนะนำลดสัดส่วน TISCOSTF 10% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน K-CASH 30%

แนะนำลดสัดส่วน TMBTM 30% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน SCBTMFPLUS-I 30%

GIF (Global Income Focus)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

แนะนำลดสัดส่วน LHSTPLUS 10% (ทั้งหมด), แนะนำลดสัดส่วน TMBTM 10% (ทั้งหมด),

เพิ่มสัดส่วน SCBTMFPLUS-I 10%

TOP5

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

แนะนำลดสัดส่วน ASP 20% (ทั้งหมด),แนะนำลดสัดส่วน SCBSFFPLUS-I 20% (ทั้งหมด)

เพิ่มสัดส่วน SCBTMFPLUS-I 40%

แนะนำลดสัดส่วน PRINCIPAL DPLUS-A 20% (ทั้งหมด) ,แนะนำลดสัดส่วน TMBTM 20% (ทั้งหมด),

 เพิ่มสัดส่วน K-CASH 40%

GCP (Global Conservative Port)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX-A 25% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน K-CASH 25%

แนะนำลดสัดส่วน PHATRA PLUS 10% (ทั้งหมด), แนะนำลดสัดส่วน PRINCIPAL DPLUS-A 10% (ทั้งหมด), แนะนำลดสัดส่วน TMBTM 10% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน SCBTMFPLUS-I 30%

Money Plus

แนะนำลดสัดส่วน TMBTM 50% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน K-CASH 50% 

Plus

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

แนะนำลดสัดส่วน TMBTM 100% (ทั้งหมด), เพิ่มสัดส่วน K-CASH 100% 

พอร์ต GOAL & 1stM

สำหรับพอร์ต GOAL & 1stM ซึ่งเป็นพอร์ตสำหรับการลงทุนต่อเนื่องในระยะยาว เราแนะนำให้ปรับพอร์ตส่วนตราสารหนี้ไทยทั้งหมดไปที่กองทุน PHATRA MP

ทั้งนี้สำหรับกองทุน TMBABF ซึ่งล่าสุดทาง TMBAM Eastspring ตัดสินใจปิดกองทุนเพื่อชำระบัญชีนั้น ในส่วนของเงินลงทุนเดิมของนักลงทุน ทาง TMBAM Eastspring จะทยอยคืนเงินลงทุนให้ในระยะเวลาประมาณ 90 วัน ซึ่งเมื่อได้รับเงินลงทุนคืนแนะนำให้นักลงทุนต่อใน PHATRA MP

ขณะที่เงินลงทุนใหม่ และเงินลงทุนเพิ่มรายเดือนทาง FINNOMENA แนะนำให้ลงทุนใน PHATRA MP

DCA 20,000 Up

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX-A และ TMBABF ทั้งหมด เพิ่มสัดส่วน PHATRA MP แทน ในพอร์ต Goal Lv.1-3

DCA Under 20,000

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX-A และ TMBABF ทั้งหมด เพิ่มสัดส่วน PHATRA MP แทน ในพอร์ต Goal Lv.1-3 

1st Million

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

แนะนำลดสัดส่วน TMBABF ทั้งหมด เพิ่มสัดส่วน PHATRA MP แทน ในพอร์ต 1st Million ทุกระดับความเสี่ยง

Performance Review

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

รูปที่ 24 Global Asset & FINNOMENA Port Performance  l Source Bloomberg As of 26/03/2020

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาตลาดการลงทุนทั่วโลกมีความผันผวนในระดับที่สูง จากการแพร่ะกระจายของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกในอัตราเร่งที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อให้เกิดแรงเทขายในทุกสินทรัพย์ ไม่เว้นแม้กระทั่งทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อแปลงสินทรัพย์เหล่านั้นเป็นเงินสด

อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินจากธนาคารกลาง และนโยบายการคลังจากรัฐบาล สามารถช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้บางส่วน ส่งผลให้เกิดภาวะ Technical Rebound ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงกลับมาปรับตัวลดลงน้อยกว่าในช่วงกลางเดือนมีนาคม

ขณะที่พอร์ตการลงทุนของ FINNOMENA ได้มีการแนะนำปรับพอร์ตการลงทุนลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมดในช่วงวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา และเข้าลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นหลักแทน ส่งผลให้สามารถจำกัดผลการขาดทุนลงได้อย่างมีนัยยสำคัญ พร้อมกับคงการถือครองเงินสดเพื่อจับจังหวะการลงทุนเมื่อถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งในเชิงสถานการณ์คลี่คลาย และระดับ Valuation ที่น่าสนใจอีกครั้ง

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น
2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT

Technical View

S&P 500 (Daily Chart as of 2 Apr 2020)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

NASDAQ (Daily Chart as of 2 Apr 2020)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

CSI 300 (Daily Chart as of 2 Apr 2020)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

ISHARES MSCI All Country Asia Ex Japan (Daily Chart as of 2 Apr 2020)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

SET Index (Daily Chart as of 2 Apr 2020)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

SET REITs & Property (Daily Chart as of 2 Apr 2020)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

GOLD (Daily Chart as of 2 Apr 2020)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

WTI Crude Oil (Weekly Chart as of 2 Apr 2020)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

Dollar Index (Daily Chart as of 2 Apr 2020)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนเมษายน 2020 : A crossover of fiscal and monetary policy

FINNOMENA Investment Team

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น
2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน

TSF2024