หากพูดถึงตำนานนักลงทุนที่เป็นตำนานหลายๆคนอาจจะกล่าวถึง “Warren Buffett” นักลงทุนเน้นคุณค่าในระยะยาว
แต่หากจะไม่กล่าวถึงอีกหนึ่งคนที่เป็นอีกหนึ่งตำนาน ที่มีชื่อเสียงเรียงนามเคียงคู่กับ วอเรน บัฟเฟต มาโดยตลอดในฐานะนักลงทุนแนวคิดขั้วตรงข้ามอย่าง “George Soros” ก็คงจะไม่ได้ ในฐานะนักลงทุนที่มีสไตล์ดุดัน เก็งกำไรและพนันไปกับการกลับตัวของตลาด
และหนึ่งในการพนันที่เป็นที่กล่าวถึงของเขาก็คือการ Short (ซื้อขาลง) ค่าเงินบาท ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งของไทย
ในวันนี้เราจะมาแนะนำอีกหนึ่งนักลงทุนที่มีสไตล์เช่นเดียวกับ George Soros ผู้ซึ่งเป็นมือขวาของเขาอย่าง Stanley Druckenmiller ซึ่งฝีมือไม่ได้ด้อยหรือน้อยไปกว่ากันเลยทีเดียว
โดยกองทุน Duquesne Capital Management ที่อยู่ภายใต้การจัดการของเขาสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ถึงปีละ 30% โดยไม่ขาดทุนแม้แต่ปีเดียว แม้ในปีสุดท้ายที่เขาประกาศวางมือ ผลตอบแทนจะ -5% ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นปีเดียวเท่านั้นที่ติดลบ
ในวันนี้เราจะพามาสำรวจมุมมองตลาด แนวคิด รวมถึงสินทรัพย์ที่ Stanley Druckenmiller ของอีกหนึ่งนักลงทุนระดับตำนานคนนี้กัน ถ้าพร้อมแล้วก็เชิญชมกันได้เลย
มุมมองตลาดโดยรวมจาก Stanley Druckenmiller
- มีการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลก จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับตํ่า
- Stanley มองว่าเรากำลังยืมเงินในอนาคตมาใช้กันอยู่ โดยจุดจบสุดท้ายจะกลายเป็นว่าธนาคารกลางต้องใช้นโยบายการเงินแบบรัดกุม (Tightening monetary policy) เช่น การขึ้นดอกเบี้ย และเกิดปัญหาหนี้เสียขึ้น โดยจุดจบอาจรุนแรงเหมือนตอนปี 2007
- นโยบายการคลังและการเงินจะดำเนินไปในเชิงผ่อนคลาย
- ปัญหาทางการค้าที่จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ทาง Stan มองว่า Trade-war นั้นเป็น zero sum game ที่ส่งผลเสียต่อทั้งสองฝ่ายหรือก็คือ สหรัฐฯและจีน
- ในระยะกลางตลาดหุ้นยังดีอยู่
สินทรัพย์ที่ถืออยู่
หากพูดถึง George Soros เราคงจะไม่กล่าวถึงการ Short คงจะไม่ได้ เพราะ ถือว่าเป็นตำนานในการกอบโกยกำไรจากสถานการณ์วิกฤติ เช่นเดียวกันกับมือขวาของเขา Stanley Druckenmiller เรามาดูกันว่าในตอนนี้ Stan ถือ position long และ short ในสินทรัพย์ใดบ้าง
Long position ปัจจุบันของ Stanley Druckenmiller
- หุ้น, commodity currencies (สกุลเงินที่รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสินค้าโภคภัณฑ์), ทองแดง, เงินปอนด์ (British Pound)
- ในส่วนของหุ้น Stan มีการเปิดเผยหุ้นที่ถือบางส่วน โดยเปิดเผยว่าตนถือหุ้นในกลุ่มธนาคาร การเงิน หุ้นญี่ปุ่น รวมถึง Microsoft
Short position ปัจจุบันของ Stanley Druckenmiller
- ตราสารหนี้ (Fixed income), ค่าเงิน yen
นอกจากนั้น Stan ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของ Fed ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
- Stan มองว่าทาง Fed ดำเนินนโยบายได้อย่างไม่เหมาะสม
- โดยในปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นปรับตัวลง การกู้ยืมอยู่ในระดับตํ่า และเศรษฐกิจยํ่าแย่ ทาง Fed กลับขึ้นดอกเบี้ย รวมถึงทำ Quatitative tightening (ดำเนินนโยบายอย่างรัดกุม) ซะอย่างนั้น
- กลับกันในปีนี้การกู้ยืมปรับตัวขึ้น, บริษัท IPO ผุดขึ้นมา ทาง Fed กลับลดดอกเบี้ย
- มุมมองที่น่าสนใจเป็นอย่างมากอีกหนึ่งมุมมองก็คือ ประธานาธิบดีอย่าง Donald Trump อาจกดดันการดำเนินนโยบายของ Jerome Powell ถึงแม้ว่า Powell จะเคยยืนกรานว่า “ จะดำเนินนโยบายตามสมควร”
- โดยพูดทิ้งท้ายติดตลกว่า “Jerome Powell เหมือน Jenet Yellen (ประธาน Fed คนเก่า) ในเวอร์ชั่นที่อ่อนกว่า การดำเนินนโยบายของ Fed สมัยนี้ไม่ห้าวหาญเอาซะเลย”
- โดยรวมมองว่าทาง Jerome Powell จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยและไม่ลดเช่นกัน (คงที่) ในปีนี้
- อีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจก็คือ Stan กล่าวไว้ว่า “การดำเนินนโยบายในยุคปัจจุบันมันช่างยากที่เราจะลงเงินแล้วพนันไปกับมัน” รวมถึงทิ้งท้ายติดตลกไว้ว่า “อย่าตาม Fed เพราะการกระทำของ Fed มันผิดมากๆ”
มุมมองเกี่ยวกับอังกฤษ
- Stan กล่าวว่า เศรษฐกิจของอังกฤษจะกลับมาดีอีกครั้ง เพราะ…
- Boris Johnson เหมือน Donald Trump ในเวอร์ชั่นที่ฉลาดกว่า
- มองว่าชาวอังกฤษไม่ได้ชื่นชอบระบบสังคมนิยม (Socialism) หรือพูดเป็นนัยยะว่าชาวอังกฤษสนับสนุนระบบทุนนิยมมากกว่า (Capitalsim)
- อัตราหนี้ต่อ GDP (Debt to GDP) อยู่ที่ 2 เท่าแต่ถือว่าอยู่ในระดับที่ตํ่ากว่าอเมริกา รวมถึงรายได้และ yield ที่อยู่ที่ 4%
มุมมองเรื่องอัตราเงินเฟ้อ (Inflation)
- Stan มองว่าอัตราเงินเฟ้อที่ 1.70% นั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่างจาก Fed ที่ตั้งเป้าที่ 2.00%
เทคโนโลยีที่ลํ้าหน้าจะทำให้เกิดเงินฝืด (Deflation) หรือไม่?
- ทางผู้ให้สัมภาษณ์ถาม Stan ว่า “เทคโนโลยีทุกวันนี้จะทำให้เกิดภาวะเงินฝืดหรือไม่? เนื่องจากเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง ส่งผลให้ราคาสินค้าลดลง (ของถูกไม่เกิดเงินเฟ้อ)
- Stan ยกตัวอย่างว่า “คุณคิดว่าการที่สินค้าราคาถูกลง จะทำให้คนคิดว่า พรุ่งนี้ของถูกกว่าวันนี้แล้วคนจะไม่ซื้อของเหรอ? ผมคิดว่ามันเป็นแค่ทฤษฎีในจินตนาการเท่านั้นแหละ” พูดง่ายๆของถูกคนก็รีบซื้อกันอยู่แล้ว
- ดังนั้นเทคโนโลยีเลยไม่เกี่ยวกับเงินเฟ้อเลย ผลผลิต (production) ต่างหากที่เกี่ยวข้อง
มุมมองเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐ
- Stan มองว่า หาก Elizabeth Warren ชนะอาจจะส่งผลดีต่อตลาดขาลง แต่ในขณะเดียวกันก็มองว่า Donald Trump ไม่ใช่ตัวเลือกที่ถูกต้อง เพราะ เราต้องการผู้นำแบบทุนนิยมที่ดำเนินงานอย่างชาญฉลาด อาจจะด้วยทรัมป์เป็นผู้นำที่สุดโต่งเกินไป
แนวคิดการลงทุนในปัจจุบันของ Stanley Druckenmiller
- เขาเคยใช้การอ่านพฤติกรรมราคาและเขามองว่ามันมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเขามาคิดวิเคราะห์ในแนวพื้นฐานมากขึ้น
ภาพจุดจบของตลาดในหัวของ Stanley Druckenmiller
Stan ได้แบ่งเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดจุดจบของตลาดเป็น 3 เคสที่อาจเกิดขึ้นได้
- การเลือกตั้งและสถานการณ์ทางการเมือง
- การดำเนินนโยบายของ Fed ที่จบที่การขึ้นดอกเบี้ย
- ฟองสบู่แตก (เทขายกันซะเฉยๆ)
และได้กล่าวไว้อีกว่าในสิ้นปีนี้ เราอาจจะได้เห็นเงินเฟ้อที่ถึงเป้า โดยนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยและการดำเนินนโยบายแบบรัดกุม
References:
https://www.youtube.com/watch?v=Cs-0aC9Rd8g&t=2s