(เงินล้าน) 10 มายาคติแห่งความจน (ตอนที่ 1)

คุณเคยมีพฤติกรรมแบบนี้หรือไม่

การจับจ่ายใช้สอยที่มากเกินความจำเป็นในปัจจุบัน

ชอบลงทุนอะไรง่ายๆ ไม่ใส่ใจค้นคว้าหาข้อมูล

ไม่กล้าลงทุน กลัวจะขาดทุน รับไม่ได้ถ้าขาดทุน

ไม่เคยคิดเรื่องเตรียมเงินเพื่อเกษียณอายุ

ไม่กล้าซื้อสินค้าการเงิน หรือลงทุน เพราะกลัวตัดสินใจพลาด

ไม่ทำประกัน เพราะมั่นใจว่า ตัวเองไม่เจ็บป่วย และ เกิดอุบัติเหตุ

รู้ว่า ออมและการลงทุนดี แต่ก็ไม่เคยทำ

พฤติกรรมของคุณเกิดจากมายาคติของคุณ 

มายาคติของคุณ ส่งผลทำให้พฤติกรรมผิดพลาด 

พฤติกรรมการเงินที่ผิดพลาด ทำให้วิธีใช้เงินผิดพลาด 

วิธีใช้เงินผิดพลาด นำมาสู่ความจน มาดูกันว่ามีความคิดแบบไหนบ้าง บทความนี้ขอนำมาให้ศึกษากัน 5 ข้อก่อน

(เงินล้าน) 10 มายาคติแห่งความจน (ตอนที่ 1)

1) อยู่กับปัจจุบันดีกว่า อย่าเพิ่งคิดถึงอนาคต

ทำไมไม่ต้องวางแผนเกษียณด้วย อีกนาน เราต้องทำอยู่กับปัจจุบันก่อนสิ…

ผมเองเคยเจอกับมายาคติของผู้รับคำปรึกษาของผมแบบนี้มาแล้ว

คนที่คิดแบบนี้กำลังเจอกับ Present Bias เกิดจากการที่คนให้น้ำหนักกับปัจจุบันมากกว่าอนาคต เช่น การจับจ่ายใช้สอยที่มากเกินความจําเป็นในปัจจุบัน ทำให้ไม่มีเงินสะสมเก็บไว้ใช้ช่วงเกษียณ

อาการสายตาสั้น ทำให้ไม่เคยคิดไปข้างหน้า ขอสบายวันนี้ก่อน ทำให้ไม่เคยคิดเรื่องเป้าหมายการเกษียณในอนาคต เพราะเห็นว่ายาวนานเกินไป

2) มะเร็งเหรอ ไม่เกิดกับผมหรอกครับ ผมแข็งแรง

…คือสิ่งที่ผมได้ยินบ่อยมากเวลาพูดเรื่องการวางแผนการจัดความเสี่ยง

คนที่คิดแบบนี้กำลังเจอกับ Over Confidence Bias เป็นอคติของคนที่เกิดจากความมั่นใจมากเกินไป การลงทุนของเราได้กำไรแน่นอน หุ้นตัวนี้เราดูมาอย่างดี ขึ้นแน่นอน

เราไม่เป็นโรคมะเร็งหรอกจะทำประกันไปทำไม

เราไม่คิดเจ็บป่วยหรอกจะต้องจ่ายค่าประกันเสียไปทำไม

ความตายเหรอ ยังห่างไกล เราตายยาก

หุ้นตัวนี้ เซียนบอกมา เด็ดมาก ขึ้นแน่นอน แบบนี้ต้องจัดเต็ม

สิ่งเหล่านี้คือการมั่นใจในตัวเองมากเกินไป

Overconfidence Bias ความมั่นใจตัวเองมากเกินไปเป็นความประมาท

ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตาย แต่ความประมาททางการเงินเป็นบ่อเกิดแห่งความจน

3) ตลาดหุ้นคือ บ่อน

“ตลาดหุ้นคือบ่อนของคนรวยที่ถูกกฏหมาย” เป็นคำที่ผมเคยได้ยินมาจากคนหลายคนและอาจจะเป็นความฝังใจของคนส่วนใหญ่ แต่การพนัน ต่างกับการลงทุนอย่างมาก

การพนันจะเป็นเดาและการเสี่ยงโชค ไม่ได้ใช้เหตุผลในการซื้อหรือขาย แต่ถ้าลงทุนจะต้องผ่านการวิเคราะห์มาอย่างดี ก่อนจะที่ลงทุน

คนลงทุนในตลาดมีหลากหลายประเภท แต่คนที่มีชนะตลาดเพียง 20% และพวกเขาไม่ใช่นักพนันแน่นอน 

4) ไม่เอาแล้ว ลงทุนแล้วขาดทุน มีแบบผลตอบแทนการันตีไหม

…คือสิ่งที่ผมได้ยินบ่อยมากเวลาพูดเรื่องการวางแผนการลงทุน กับคนที่เคยลงทุนด้วยตัวเอง หรือ คนที่ได้ยินข่าวไม่ดีเกี่ยวกับการลงทุน

นี่คือ Regrets Bias เป็นอคติของคนที่เกิดจากการรู้สึกกลัว ความไม่กล้าต่อการตัดสินใจ ไม่กล้าลงทุน เพราะกลัวขาดทุน ไม่กล้าขายหุ้นที่แพงแล้ว เพราะกลัวขายแล้วหุ้นขึ้น ไม่กล้าซื้อหุ้นถูก เพราะกลัวซื้อแล้วหุ้นลงต่อ

ลงทุนไปแล้วขาดทุน ทำให้เกิดความกลัวในการลงทุน ซึ่งแท้จริงแล้ว อาจจะเป็นเพราะว่า ไม่เข้าใจการลงทุนอย่างแท้จริง เมื่อไม่เข้าใจพอ ก็ขาดทุน ทำให้เกิดทัศนคติไม่ดีต่อการลงทุน

5) เอาเงินไปลงทุนเองดีกว่าซื้อประกันสุขภาพ

คนที่คิดแบบนี้จะมองด้านบวกของการลงทุนเพียงอย่างเดียว คือ  ได้กำไร

มองด้าน upside ไม่ได้มองด้านที่ลงทุนแล้วผิดพลาดจะต้องเสียเงิน

แต่คนมองการซื้อประกันสุขภาพคือการเสียเงิน

ค่าใช้จ่ายประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นปีละ 7-8%  จะลงทุนอะไรได้ปีละ 7-8% โดยไม่ขาดทุน ไม่มีความผันผวน อยากจะถอนเอาเงินออกมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อไรก็ได้?

การทำประกันสุขภาพคือการจัดการความเสี่ยง หากไม่ทำประกัน ถ้าเกิดเจ็บป่วย  จะต้องนำเงินจากการลงทุนหรือเงินออม ไปจ่ายค่ารักษาพยาบาล ทำให้สูญเสียโอกาสในการลงทุนแบบต่อเนื่อง ที่สำคัญการลงทุนมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน ถ้าลงทุนแล้วขาดทุนอยู่ โชคร้ายยังต้องเจ็บป่วย ยังต้องถอนเงินจากการลงทุนมาอีก

…ก็ยิ่งขาดทุน

WealthGuru

ติดตาม WealthGuru ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/wealthguruconsulting


เริ่มลงทุนเพื่อเกษียณด้วยพอร์ตลงทุนแบบ Global Aggressive Hybrid พอร์ตกองทุนที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต สามารถดูรายละเอียดและลงชื่อรับบริการได้ที่นี่
https://www.finnomena.com/port/wealthguru/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างเลย

พอร์ตเก็บเงินก้อนเพื่อลูก และเพื่อเกษียณโดย WealthGuru

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน