สร้างฐานะตัวเองให้เป็น "เศรษฐี" มีวิธีไหนบ้าง?

นิยามของคนรวย คือ คนที่มีทรัพย์สิน มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 30 ล้านบาท

แล้วเราจะเป็นคนรวยได้อย่างไร?

จากงานวิจัยของคุณ Thomas C. Corley ที่สัมภาษณ์เศรษฐี 233 คน พบว่าเราสามารถสร้างฐานะให้เป็นเศรษฐีได้ 3 วิธีครับ

1. นักออม

โดยจากงานวิจัย เศรษฐีประมาณ  22% สร้างฐานะของตนเองจากการประหยัดอดออมและลงทุน โดยออมเงินไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้ กลุ่มนี้ใช้เวลาออมและลงทุนจนเป็นเศรษฐีภายในเวลา 32 ปี โดยมีทรัพย์สิน 3.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 100 ล้านบาท

2. ผู้เชี่ยวชาญ

โดยจากกงานวิจัย มีเศรษฐีแบบนี้อยู่  28% ครับ ซึ่งคนกลุ่มนี้คือคนที่พัฒนาตัวเองจนเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งเป็นอันดับต้นๆ ของวงการ และมักอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงที่ได้ผลตอบแทนสูงมาก หรือเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มุ่งมั่นและประสบความสำเร็จในธุรกิจ คนกลุ่มนี้ใช้เวลาสะสมความมั่งคั่ง 20 ปีโดยประมาณจนมีความมั่งคั่ง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 120 ล้านบาท

3. นักล่าฝัน

มีสัดส่วนประมาณ 51% เป็นผู้มีความฝันที่อยากทำอะไรบางอย่างและสามารถเปลี่ยนความฝันหรือสิ่งที่ตัวเองรัก ให้กลายเป็นธุรกิจจริงๆ ได้ กลุ่มนี้ใช้เวลา 12 ปี ในการสะสมความมั่งคั่ง 7.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 220 ล้านบาท ซึ่งเดี๋ยวนี้อาจจะเป็นการสร้างบริษัท Startup แล้วขยายธุรกิจจนสามารถเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ หรือว่ามีบริษัทใหญ่มาซื้อกิจการต่อนั่นเอง

จากงานวิจัยจะเห็นได้ว่าเราสามารถเป็นเศรษฐีได้จากหลายวิธี

แต่ว่าอาจจะมีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะเป็นเศรษฐีจากการเป็นนักล่าฝันหรือผู้เชี่ยวชาญเพราะว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมีอยู่อย่างจำกัด การสร้างกิจการ SME ก็ต้องทุ่มเทและใช้เวลาค่อนข้างนาน ส่วนการเป็นนักล่าฝันนั้นก็มีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยกว่า ถึงแม้ว่าถ้าทำสำเร็จจะเป็นคนกลุ่มที่รวยที่สุดก็ตาม

ดังนั้นในความเห็นของผม พวกเราในฐานะมนุษย์เงินเดือนหรือว่าคนทำงานทั่วไปสามารถเป็นเศรษฐีได้จากการเป็นนักออมครับ โดยตัวอย่างของคนกลุ่มนี้ในบ้านเราก็มีให้เห็นมากมาย เช่น ดร. นิเวศน์  เหมวชิรวรากร ต้นแบบนักลงทุน VI เมืองไทย แต่ว่าการจะมั่งคั่งถึงขนาดระดับ 100 -1,000 ล้านอย่างนักลงทุน VI (ที่มีพอร์ตใหญ่ๆ) ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องการเงินการลงทุน การตลาด กลยุทธ์ธุรกิจ สภาวะในอุตสาหกรรมที่ลงทุนอยู่และการประเมินมูลค่าหุ้น ซึ่งก็ค่อนข้างที่จะต้องใช้ความพยายามทุ่มเทในการแสวงหาและวิเคราะห์ข้อมูลจนรู้จักบริษัทเป็นอย่างดีไม่ต่างไปจากเจ้าของกิจการเลยทีเดียว การลงทุนแบบนี้อาจจะทำผลตอบแทนได้ 15-25% ต่อปีโดยประมาณ เส้นทางนี้จึงอาจจะเหมาะกับคนที่ตั้งใจจริงๆ มากกว่าครับ

แต่สำหรับใครที่ต้องการจะเก็บเงินเพื่อการเกษียณ โดยต้องการเงินประมาณ 10-20 ล้านบาทตอนเกษียณ เราอาจจะสามารถทำได้โดยไม่ยากจนเกินไปโดยการลงทุนผ่านกองทุนรวมและมีการบริหารพอร์ตอย่างเหมาะสม สมมติว่าเราออมเงินเดือนละ 8,000 บาท โดยมีระยะเวลาการออม 30 ปี และมีผลตอบแทนทบต้นโดยเฉลี่ยที่ 8%  ต่อปี ในปีสุดท้ายเราจะมีทรัพย์สินขนาด 11 ล้านบาท ซึ่งถ้าเทียบกับเงินลงทุนประมาณ 2.8 ล้านบาทนับว่าการลงทุนสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าเงินออมของเราได้ถึงเกือบ4 เท่าทีเดียว (ถ้าอยากรู้ว่าลงทุนกี่ปีจะมีเงินเพิ่ม1 เท่า สามารถติดตามได้จากบทความ  ลงทุนกี่ปีถึงจะมีเงินเพิ่มเท่าหนึ่ง? ค้นหาคำตอบด้วย “กฎแห่งเวลา”)

ถ้าเราทำงานไปเรื่อยๆ และได้เลื่อนตำแหน่งได้เงินเดือน ได้โบนัสเพิ่ม เราก็แบ่งเงินส่วนนี้มาเพื่อออมเพิ่ม เราอาจจะถึงเป้าหมายการเกษียณได้เร็วขึ้นอีกโดยอาจจะใช้เวลาลดลงถึง 5  ปีทีเดียวครับ นอกจากนี้การที่เราสนใจการลงทุนยังทำให้เรามีความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจและธุรกิจของบริษัทต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งบางส่วนเราอาจจะนำมาใช้พัฒนาการทำงานของเราได้

สำหรับใครที่สนใจลงทุนแต่ไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลการลงทุนเองอาจจะสามารถลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งเดี๋ยวนี้มีบริษัทที่ให้ให้บริการการลงทุนผ่านกองทุนรวมมากมาย ทั้ง บลจ. และ บลน. ซึ่งเราสามารถใช้บริการ ในการวางแผนการลงทุนแบบต่างๆ  ได้ ทาง FINNOMENA ซึ่งเป็น บลน. ก็มีบริการนี้ครับ สามารถสร้างแผนลงทุนด้วยแอป LINE ได้ง่ายๆ ผ่านมือถือ คลิกเลย!
https://www.finnomena.com/line/intro

สุดท้ายนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นเศรษฐีแบบไหน  หรือจะเป็นแค่มนุษย์เงินเดือน ในที่สุดคุณก็ต้องเกษียณจากการทำงานดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับวัยเกษียณโดยเริ่มการออมตั้งแต่วันนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าสิ่งที่ทำให้เงินของคุณเพิ่มมูลค่าได้มากที่สุดคือ อัตราผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ และระยะเวลาที่ยาวนานครับ

ข้อมูลอ้างอิง                                

“คุณอยากจะเป็นคนรวยแบบไหน” Facebook Page ถามอีกกับอีกเรื่องการลงทุน
https://www.facebook.com/Tam.eig/posts/1861117400651259/


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

TSF2024