Update พฤศจิกายน 2020

ปี 2020 ใกล้จะจบลงในอีกไม่ช้า แต่ต้องยอมรับเลยว่าการลงทุนปีนี้เป็นปีที่ยากจริงๆ ตั้งแต่ต้นปีมา มีประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอยู่หลายเรื่อง เช่น

  • วิกฤติ COVID-19 ที่ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกต้องจบลง จากการปิดเมือง
  • ราคาน้ำมัน ที่ตกต่ำจนกดดันบริษัทและหุ้นกลุ่มพลังงานต่าง ๆ มากมาย
  • Fed ทำ QE ชุดใหญ่ ส่งผลให้ตำราการลงทุนแบบเดิม ๆ ถูกฉีกกฎเกณฑ์
  • หุ้นมีความผันผวนเป็นอย่างมาก ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลงราว ๆ พันจุดภายใน 2 เดือน และฟื้นตัวไปแตะจุดเดิมในระยะเวลาเพียง 5 เดือน
  • GDP ในหลายประเทศติดลบอย่างรุนแรง จากผลของ COVID-19 เช่น GDP สหรัฐในไตรมาส 2 ที่ติดลบถึงราว ๆ 30% ก่อนปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
  • ดัชนี PMI ชะลอตัวอย่างหนักก่อนปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว (PMI คือ อะไร? อ่านต่อได้ที่ คลิก)

แม้ตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีความผันผวนแบบนี้ แต่เราสามารถลดความผันผวนได้ด้วยการจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Global Asset Allocation ค่ะ

จัดพอร์ตการลงทุนแบบ Global Asset Allocation คืออะไร?

ก่อนอื่น มารู้จักกับคำว่า Asset Allocation กันก่อน Asset Allocation คือ การจัดสรรเงินลงทุน โดยกระจายการลงทุนไปยังหลายๆ สินทรัพย์เพื่อกระจายความเสี่ยง สินทรัพย์ที่ว่า แบ่งเป็น 4 สินทรัพย์หลัก คือ

  1. ตราสารทุน (Equity)
  2. ตราสารหนี้ (Bond)
  3. การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) – อสังหาริมทรัพย์ (Property), สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) และ
  4. เงินสด (Cash)

เมื่อเพิ่มคำว่า Global เข้ามาด้านหน้า หมายถึงการจัดสรรเงินลงทุนไปยังหลายประเทศทั่วโลก ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) และประเทศที่กำลังพัฒนา (Emerging Market) ซึ่งมีข้อดีอย่างไร มาดูกันต่อเลยค่ะ

จัดพอร์ตการลงทุนแบบ Global Asset Allocation สำคัญอย่างไร?

asset allocation คืออะไร

ข้อมูลจาก Novelinvestor ได้แสดงผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2006 จนถึง YTD ของปี 2021 นี้ ซึ่งใน Novelinvestor บอกว่าข้อมูลอัปเดตล่าสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2021 จะเห็นว่าไม่มีสินทรัพย์ใด ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในทุกๆ ปี และไม่มีสินทรัพย์ใด ให้ผลตอบแทนแย่ที่สุดในทุกๆ ปีเช่นกัน มีขึ้นมีลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ

อย่างในปี 2008 ที่เกิดวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการปล่อยสินเชื่อเงินกู้ให้กับลูกหนี้ที่มีเครดิตทางการเงินต่ำกว่ามาตรฐาน (Sub-Prime) เป็นจำนวนมาก โดยใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ทำให้บริษัทที่ปล่อยเงินกู้เกิดปัญหาเงินขาดมือ ส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงของสถาบันการเงิน หลายๆ กิจการต้องปิดตัวไป ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย เพราะสหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดผู้นำเศรษฐกิจโลก

เป็นปีที่ตลาดหุ้นติดลบทั่วโลก ในเมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวน เป็นปกติที่นักลงทุนจะโยกเงินออกจากตลาดหุ้นเข้าสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย อย่างเงินสดและตราสารหนี้ ทำให้สินทรัพย์ที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุดในปี 2008 มีเพียง 2 สินทรัพย์นี้เท่านั้น เป็นตัวอย่างจริงที่ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า ไม่มีสินทรัพย์ใดให้ผลตอบแทนดีที่สุดตลอดทุกปี

asset allocation คืออะไร

แต่จะเห็นว่ามีอยู่ 1 สินทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนอยู่กลางๆ ตลอด ไม่โดดเด่นที่สุด แต่ก็ไม่ได้แย่ที่สุด นั่นคือ AA ค่ะ AA ในความหมายของ Novelinvestor ย่อมาจาก Asset Allocation Portfolio เป็นการจัดพอร์ตการลงทุน โดยมีการกระจายการลงทุนทั่วโลก ทั้งใน ตราสารทุน, ตราสารหนี้ และ การลงทุนทางเลือก โดยแบ่งสัดส่วนเป็น ดังนี้

ตราสารทุน 50%* ตราสารหนี้ 40%**  และ การลงทุนทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์) 10%*** 

*แบ่งสัดส่วนเป็น 15% Large Caps Stocks วัดจาก  S&P 500 Index, 15% International Developed Stocks วัดจาก MSCI EAFE Index เป็นดัชนีที่วัดผลการดำเนินงานจากโซน Europe, Australasia และ Far East, 10% Small Cap Stocks วัดจาก Russell 2000 Index เป็นดัชนีที่ใช้วัดผลการดำเนินงานของบริษัทขนาดเล็กสุด 2,000 บริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา, 10% Emerging Market Stocks วัดจาก MSCI Emerging Markets Index

**ลงทุนในตราสารหนี้ High-grade bonds หรือในภาษาง่ายๆ คือเลือกลงทุนกับเจ้าหนี้ที่มีความมั่นคงค่อนข้างสูง มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ดัชนีที่ใช้วัดคือ Barclay’s U.S. Aggregate Bond Index

***ดัชนีที่ใช้วัดคือ REITs FTSE NAREIT All Equity Index

และมีการทำ Rebalancing ทุกปี Rebalancing คือการปรับสมดุลของพอร์ตการลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่เรากำหนดไว้ในตอนแรก โดยขายสัดส่วนของสินทรัพย์ที่เกินกำหนดออกมา (ส่วนของกำไร) และนำเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนต่ำกว่ากำหนด ให้กลับมาเท่าเดิม

เมื่อได้ทำ Global Asset Allocation แล้ว จะเห็นว่าในปี 2008 AA จะติดลบไป 22.4% เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นเพียงกลุ่มเดียว อย่าง EM หรือ Emerging Market ติดลบ 53.2% และ DM หรือ Developed Market ติดลบ 43.1% จะเห็นว่าการทำ Global Asset Allocation จะขาดทุนน้อยลงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว

ทั้งนี้ผู้อ่านที่สนใจการลงทุนแบบ Global Asset Allocation ทาง FINNOMENA มีพอร์ตการลงทุนแบบ Global Asset Allocation เช่นกัน โดยแบ่งเป็น 4 แผนการลงทุนหลัก* ได้แก่

  1. GAR (Global Absolute Return) : สะสมมูลค่าด้วยพอร์ตเสี่ยงค่อนข้างสูง จะเน้นลงทุนในตราสารทุนในระดับค่อนข้างสูง โดยมีสัดส่วนการลงทุนดังนี้ ตราสารทุน 70% การลงทุนทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์) 20% การลงทุนทางเลือก (ทองคำ) 5% ตราสารหนี้ 5%
  2. GCP (Global Conservative Portfolio) : รักษาเงินต้นด้วยพอร์ตเสี่ยงต่ำ จะลงทุนในตราสารทุนในระดับต่ำ โดยมีสัดส่วนการลงทุนดังนี้ กองทุนรวมผสม 35% ตราสารหนี้ 30% การลงทุนทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์) 15% การลงทุนทางเลือก (ทองคำ) 5% ตราสารทุน 15%
  3. TOP 5 เติบโตด้วยพอร์ตเสี่ยงสูง โดยลงทุนเพียง 5 กองทุนเท่านั้น จะเน้นลงทุนในตราสารทุนในระดับสูง โดยมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน 100%
  4. GIF (Global Income Focus) : สร้างรายได้จากการลงทุน จะเน้นลงทุนเพื่อให้ได้รับกระแสเงินสดกลับมาในทุกๆ เดือน โดยมีสัดส่วนการลงทุนดังนี้ กองทุนรวมผสม 35% ตราสารทุนในประเทศ 30% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 15% การลงทุนทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์) 20%

*ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2021

เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง จะมีการแจ้งเตือนปรับพอร์ต และมีการทำ Rebalancing ด้วย โดยจะมีการแจ้งเตือนผ่าน Application FINNOMENA และ E-mail ให้ฟรี! สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  finno.me/ports

ก่อนจะจากกันไปขอย้ำอีกสักนิดว่า การทำ Global Asset Allocation ไม่ใช่เป็นการจัดพอร์ตเพื่อไม่ให้เกิดผลขาดทุนเลย แต่เป็นการทำเพื่อกระจายความเสี่ยง ทำให้ลดโอกาสการขาดทุนได้ในยามที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ 

เริ่มวันนี้… คุณก็สามารถสร้างความมั่งคั่งให้ด้วยเองได้ตั้งแต่วันนี้ แล้วเราจะ Get Wealth Soon ไปด้วยกันนะคะ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ

TSF2024