ปีที่ผ่านมานับเป็นช่วงเวลาที่โดดเด่นของการเสนอขายหุ้น IPO ในอินเดีย โดยมีผู้ประกอบการถึง 7 รายก้าวขึ้นสู่ทำเนียบมหาเศรษฐีพันล้านดอลลาร์ (Billionaire) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เริ่มต้นในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
หนึ่งในนั้นคือ Chiranjeev Singh Saluja ผู้ก่อตั้ง Premier Energies บริษัทผลิตเซลล์และโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอินเดีย รองจาก Adani Group
“คุณพ่อของผมเริ่มต้นธุรกิจด้วยการจัดหาปั๊มน้ำมือหมุนให้หมู่บ้านในชนบทที่แทบไม่มีไฟฟ้าใช้ และก่อตั้ง Premier Solar ในปี 1995”
Saluja เล่าถึงจุดเริ่มต้นของบริษัท ปัจจุบัน Premier Energies มีมูลค่าตลาดราว 7,000 ล้านดอลลาร์ หลังหุ้นของบริษัทพุ่งขึ้นเกือบ 3 เท่านับตั้งแต่จดทะเบียนในตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2024
นอกจาก Saluja แล้วยังมีผู้ประกอบการด้านพลังงานหมุนเวียนอีก 3 รายที่ประสบความสำเร็จจากการ IPO ได้แก่
รายงานจาก Frost & Sullivan ระบุว่า อินเดียตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์อีก 100 GW ภายใน 4 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมนี้
อย่างไรก็ตาม Saluja เตือนว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วอาจนำไปสู่การรวมตัวของอุตสาหกรรม (Consolidation) ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่บริษัทหลายแห่งในอุตสาหกรรมเดียวกันรวมตัวกันหรือควบรวมกิจการ เพื่อสร้างองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แข็งแกร่งขึ้น หรือมีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากขึ้น
“ในอีก 18-24 เดือน จะมีการขยายกำลังการผลิตเซลล์และโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ครั้งใหญ่ ผู้ที่สามารถปรับตัวและขยายธุรกิจได้เท่านั้นที่จะอยู่รอด” Saluja กล่าว
ปี 2024 เป็นปีที่ตลาด IPO อินเดียเติบโตอย่างมาก โดยมีการระดมทุนรวม 1.66 ล้านล้านรูปี (19,820 ล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากปีก่อนหน้า พร้อมกับจำนวนผู้ลงทุนรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น 27% แตะ 109 ล้านคน
ในปี 2025 คาดว่าจะมีบริษัท 85 แห่งเข้าจดทะเบียนในตลาด โดยตั้งเป้าระดมทุนรวมประมาณ 1.53 ล้านล้านรูปี (18,000 ล้านดอลลาร์) บริษัทที่เตรียม IPO รวมถึง
นอกจากนี้ Reliance Industries ของ Mukesh Ambani ก็คาดว่าจะนำธุรกิจค้าปลีกและโทรคมนาคมมาแยกจดทะเบียนในตลาด
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตลาด IPO อินเดียถูกขับเคลื่อนโดยบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSME) ที่ 90% ระดมทุนต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์
Vishnu Agarwal ซีอีโอของ Stock Knocks กล่าวว่า
“ผู้ก่อตั้งบริษัทเริ่มมองเห็นประโยชน์ของการถือหุ้น 75% ในบริษัทมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ ที่จดทะเบียนในตลาด มากกว่าการถือหุ้น 100% ในบริษัทมูลค่าเพียง 10 ล้านดอลลาร์”
นอกจากนี้ เขายังเสริมว่า
“ปีหน้าเราจะได้เห็นดีลจำนวนมหาศาล เพราะผู้ก่อตั้งบริษัทต่างกระหายการเติบโต”
Finnomena Funds แนะนำกองทุน B-BHARATA กองทุนรวมหุ้นอินเดีย ที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศอินเดีย และมีน้ำหนักการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เพื่อโอกาสเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call
ดูรายละเอียดกองทุน B-BHARATA ได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/B-BHARATA
และกองทุน TISCOINA-A กองทุนรวมหุ้นอินเดียซึ่งเน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Management และคัดเลือกหุ้นด้วยวิธี Bottom-up โดยลงทุนผ่าน 3 กองทุนหลักในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ตามคำแนะนำ FundTalk Call และ Mr.Messenger Call
โดย 3 กองทุนหลักที่ TISCOINA-A เข้าลงทุนได้แก่
ดูรายละเอียดกองทุน TISCOINA-A ได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/TISCOINA-A
อ้างอิง: Business Standard
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
วันนี้ (3 มกราคม 2025) ดัชนีหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2% โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้น SK Hynix ที่ปรับตัวขึ้นถึง +6.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยความคืบหน้าที่สำคัญในการพัฒนาชิป High-bandwidth Memory รุ่น HBM3E 16 เลเยอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่ารุ่น 12 เลเยอร์ถึง 18 เท่า ทั้งนี้ SK Hynix มีแผนเปิดตัวชิปรุ่นดังกล่าวในงาน CES 2025 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 10 มกราคม ที่ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ด้านการเมืองเกาหลีใต้ ความตึงเครียดยังคงเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้มีความพยายามจับกุมนาย ยุน ซอก ยอล อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ซึ่งถูกรัฐสภามีมติถอดถอนออกจากตำแหน่งเนื่องจากการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อเดือนธันวาคม 2024 โดยศาลเกาหลีใต้ได้อนุมัติหมายจับตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามการจับกุมในวันนี้ได้ถูกขัดขวางจากกลุ่มผู้สนับสนุนของนายยุน ทั้งนี้หมายจับมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 6 มกราคม 2025 นี้เท่านั้น
ในขณะเดียวกัน นาย รี ชางยง ผู้ว่าการธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BoK) กล่าวในแถลงการณ์เนื่องในวันปีใหม่ว่า ธนาคารกลางจะใช้แนวทางที่ยืดหยุ่นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยพิจารณาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
Finnomena Funds มองว่าอุปสงค์ของอุตสาหกรรมชิปยังคงแข็งแกร่งจากกระแสการใช้งานด้าน AI จะหนุนให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสามารถเติบโตได้ อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจเป็นปัจจัยกดดันของหุ้นเกาหลีในระยะสั้น
เรายังคงแนะนำ “ถือ” กองทุน SCBKEQTG และ DAOL-KOREAEQ
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ปี 2024 ที่ผ่านมา Definit by Finnomena ได้เริ่มให้คำแนะนำหุ้นรายตัว “Definit SET Select หรือ DSS” ซึ่งทำผลตอบแทนบวก 13% (หักทุกค่าธรรมเนียม) ชนะ SET TRI ขาดลอย ที่บวกเพียง 1% 1 ผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากกระบวนการคัดเลือกหุ้นอย่างเข้มข้นที่ผสมผสานระหว่างปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค พร้อมทั้งมีการปรับพอร์ตอัตโนมัติเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะตลาดควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยง
1 ผลตอบแทนของ SET TRI คำนวนตามรอบการลงทุนของ DSS เนื่องจาก DSS ได้เคยให้แนะนำแบบ Subscription ซึ่งออกบทความทุกต้นเดือน แต่หากนับตามวันที่ตามปฏิทิน SET TRI +2%
กราฟผลตอบแทนสุทธิรายเดือนประจำปี 2024 2
Source: Definit, Bloomberg as of 31 Dec 2024
2 ผลตอบแทนรายเดือนหัก commission fee | ผลตอบแทนสะสม (cumulative return) หัก commission fee, management fee คิดบนสมมติฐานข้อมูลเฉลี่ยระหว่างเงินลงทุนต้นปีและปลายปี และ performance fee ที่ 15% โดยคิด high water mark ต่อเนื่องจากผลตอบแทนช่วง backtest | หากนับตามวันที่ตามปฏิทิน SET TRI +2%
กราฟผลตอบแทนรายปีสุทธินับแต่ Backtest, Live Test และเริ่มแนะนำจริง 3
Source: Definit, Bloomberg as of 31 Dec 2024
3 ผลตอบแทนหัก commission fee, management fee คิดบนสมมติฐานข้อมูลเฉลี่ยระหว่างเงินลงทุนต้นปีและปลายปี และ performance fee ที่ 15% โดยคิด high water mark ต่อเนื่องจากผลตอบแทนช่วง backtest | หากนับตามวันที่ตามปฏิทิน SET TRI +2% ในปี 2024
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ลองมาดูรายละเอียดของหุ้นรายตัวที่สร้างผลตอบแทนอันโดดเด่นในแต่ละเดือน ซึ่งช่วยผลักดันผลตอบแทนของ Defint SET Select เหนือกว่า SETTRI ได้ในปี 2024
KAMART +11.2% หลังบริษัทเปิดเผยว่าตั้งเป้าผลประกอบการ 3-5 ปีข้างหน้า โตเฉลี่ยปีละ 30-40% จากการขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ครบ Category ขณะเดียวกันจะขยายการส่งออก ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ผลักดันสัดส่วนรายได้ในระยะยาวของพอร์ตเป็น Modern Trade 30% ร้านค้าทั่วไป 30% ส่งออกและออนไลน์ 30-40%
ICHI +10.7% หลังบริษัทรายงานกำไรปี 2566 โต 71% ที่ 642 ล้านบาท จากการบริโภคที่ฟื้นตัวและเป็นปีที่อากาศร้อนยาวนาน นอกจากนี้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นสู่ 23.4% จาก 18.7% ในปีก่อนหน้า พร้อมประกาศจ่ายปันผลเพิ่มอีกหุ้นละ 0.50 บาท
KCG +7.9% บริษัทได้ตั้งเป้ารายได้ปี 2024 เติบไม่ต่ำกว่า 10% พร้อมขยายธุรกิจในต่างประเทศ และเตรียมนำ EV Truck เข้ามาเสริมศักยภาพตั้งเป้าเป็น 30% ของจำนวนรถขนส่งทั้งหมดของบริษัท
AAI +16.4% โดยบริษัทเปิดเผยว่ายอดคำสั่งซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงในยุโรปและอเมริกาดีขึ้น ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์เลี้ยงลดลง นอกจากนี้ได้ยังได้อานิสงส์จากเงินบาทที่อ่อนค่า
NSL+21.3% หลังผู้บริหาร NSL ตั้งเป้ารายได้ปี 2024 เติบโตโดดเด่น 19% YoY ขณะที่กำไรสุทธิในปี 2024 คาดว่าจะไม่ต่ำกว่าปี 2023 ที่ระดับ 333.48 ล้านบาท โดยในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา (มกราคม-กุมภาพันธ์) ยอดขายยังคงอยู่ในกรอบที่บริษัทวางไว้ โดยรายได้เติบโตจะมาจาก 3 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย
CCET+12.1% โดยได้รับ Sentiment หนุนจากหุ้นกลุ่ม AI ทั่วโลกที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น นอกจากนี้ยังมีความคาดหวังเรื่องความสามารถใตการทำกำไรที่โดดเด่นและการลดต้นทุน ตลอดจนเน้นขายสินค้ามาร์จิ้นสูง และบริษัทได้เตรียมรองรับอุปสงค์สินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัว
AAV+13.1% จากความคาดหวังการฟื้นตัวของผลประกอบการในครึ่งหลังของปี 2024 จากปัจจัยฤดูกาล รวมถึงราคาน้ำมันเครื่องบินที่ปรับตัวลดลงทำให้ต้นทุนของบริษัทปรับตัวลง
PLANB +12.4% หลังบริษัทรายงานงบ 2Q24 โดยรายได้รวม 2,241 ล้านบาท เติบโต 10.20% YoY โดยได้รับแรงหนุนจากทุกกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ OOH ที่สร้างรายได้ 1,820 ล้าน ขณะที่กำไรอยู่ที่ 264 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.1% YoY
AURA+12.% โดยบริษัทให้ guidance ว่าผลการดำเนินงานน่าจะเติบโตจากปีที่แล้ว แต่มีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าจากปัจจัยทางดูกาล ผู้บริหารเปิดเผยว่าความต้องการของผู้บริโภคสำหรับสิบสินเชื่อทองค่ายังคงแข็งแกร่ง ทำให้มูลค่าพอร์ตสินเชื่อสูงกว่าเป้าหมายสิ้นปีที่ 4.5 พันล้านบาท
BA+10.0% หลังบริษัทเผยว่าราคาตั๋วโดยสารที่ทรงตัวในระดับสูงพร้อมเพิ่มเป้าหมายราคาตั๋วโดยสารเฉลี่ยปี 2024 ใหม่เป็นไม่น้อยกว่า 4,000 บาท จากเดิม 3,900 บาท และปรับเพิ่มคาดการอัตราบรรทุกผู้โดยสารเป็น 85% จาก 83% รวมถึงยอดจองตั๋วล่วงหน้าใน 3Q24 สูงกว่า 3Q23
TASCO +5.5% หลังบริษัทเปิดเบกำไร 3Q24 เติบโต 264%YoY สู่ระดับ 743 ล้านบาท จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศที่ขึ้นสูงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการจัดสรรงบประมาณปี 2024 ของรัฐบาลในช่วงปลายไตรมาส 2 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ภายหลังการอนุมัติงบประมาณปี 2025 แล้วคาดการณ์ว่าความต้องการยางมะคอยจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปี 2025
ONEE+10.7% หลัง Content ฟอร์มยัก 3 เรื่องได้แก่ “แม่หยัว” “การุณยฆาต” และ “ทิชา” ได้รับกระแสตอบรับที่ดีและมีโอกาสช่วยหนุนผลประกอบการ 4Q24 ของบริษัท
Definit SET Select คือกลยุทธ์คัดเลือกหุ้นไทยเน้น ๆ ไม่เกิน 20 ตัว โดยพิจารณา 3 ปัจจัย 1) Earnings หุ้นที่ถูกปรับประมาณการกำไรขึ้น 2) Valuation หุ้นที่มูลค่าถูกกว่าอุตสาหกรรม และ 3) Technical หุ้นที่มีโมเมนตัมเชิงบวกของราคาในระยะสั้น
รับข้อมูลเพิ่มเติมและบริการ Definit SET Select : https://www.definitinvestment.com/contact-form
ที่มา:
หมายเหตุ: การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม | การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลตอบแทนในอดีตปี 2013-2022 เป็นการ Back test ไม่สามารถเป็นการันตีถึงผลตอบแทนในอนาคต | ผลตอบแทนในปี 2013-2023 คำนวนโดยใช้ราคาปิดวันที่ 1 | Live test เริ่มตั้งแต่ปี 2023 | ผลตอบแทนที่แสดงอาจไม่ตรงกับผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจริงเนื่องจากผลของค่าธรรมเนียม ราคาซื้อขายหุ้นที่เกิดขึ้นจริง และปัจจัยอื่นๆ | ผลตอบแทนเดือนม.ค. – ก.ค. ปี 2024 คำนวนโดยราคาซื้อใช้ราคาปิดของวันที่ออกบทความ และราคาขายใช้ราคาเปิดของวันที่ออกบทความ ณ เดือนถัดไป เนื่องจากช่วงดังกล่าว Definit ให้คำแนะนำแบบ Subscription | ผลตอบแทนตั้งแต่เดือน ส.ค.-ก.ย. ปี 2024 คำนวนโดยราคาซื้อใช้ราคาปิดของวันที่ 2 ของเดือน และราคาขายใช้ราคาเปิดของวันที่ 2 ของเดือนถัดไป (หากตรงกับวันหยุดจะใช้วันทำการถัดไป) | ผลตอบแทนตั้งแต่เดือน ต.ค. 2024 จะคำนวนผลตอบแทนตามเดือนนั้นๆ โดยใช้ราคาปิดของสิ้นเดือนนั้น | ผลตอบแทนรวมเงินปันผล | ผลตอบแทนสุทธิ (net return) ของโมเดลพอร์ตหักค่า commission ที่ 0.25%+VAT โดยคิด turnover ที่ 80%, ค่าธรรมเนียมการจัดการ (management fee) คิด 0.75% ต่อปีโดยคิดบนสมมติฐานข้อมูลเฉลี่ยระหว่างเงินลงทุนต้นปีและปลายปี, ค่าธรรมเนียมตามกำไร (performance fee) คิด 15% ของผลตอบแทนที่สูงกว่า high water mark ซึ่งคิดเป็นรายปี | เดือน พ.ย. 2024 Definit Quant Portfolio ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Definit SET Select
คำเตือน
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (บริษัท) ไม่สามารถยืนยันหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ บทวิเคราะห์ในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ การตัดสินใจซื้อหรือขาย หลักทรัพย์ใดใดของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลมาจากวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดๆ กับ บริษัท
วันนี้ (2 มกราคม 2025) ดัชนี HSCEI หรือหุ้น H-Share ของจีนปรับตัวลดลงกว่า 2% หลังจากการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิต (Caixin Manufacturing PMI) ชะลอตัวจาก 51.5 ในเดือนพฤศจิกายน สู่ระดับ 50.5 ในเดือนธันวาคม ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 51.6
นอกจากนี้ ยังมีรายงานระบุว่าธนาคารกลางจีน (PBoC) อาจปรับลดอัตราส่วนเงินสำรอง (Reserve Requirement Ratio) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2025 หลังจากที่เคยส่งสัญญาณว่าจะดำเนินการดังกล่าวภายในสิ้นปี 2024 สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีน ได้แสดงความเชื่อมั่นในสุนทรพจน์เนื่องในโอกาสปีใหม่ว่า GDP ของจีนจะขยายตัว 5% ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่จีนตั้งไว้ โดยคาดว่ารัฐบาลจีนจะกำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2025 ที่ระดับเดียวกับปี 2024 ทางการจีนพร้อมที่จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบจากนโยบายภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
Finnomena Funds มองว่า การชะลอตัวของภาคการผลิตในจีนและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ อาจจะเพิ่มความกดดันให้กับตลาดหุ้นจีน
เราจึงแนะนำให้ “ลดสัดส่วน” การลงทุนในหุ้นจีน แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มเห็นปริมาณธุรกรรมที่ฟื้นตัวบ้าง แต่ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นจีนในอนาคต ขณะที่มูลค่าตลาดหุ้นจีนในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกให้ผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่มีความผันผวนสูง โดยในช่วงต้นเดือนตลาดยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับแรงกดดันจากความเห็นของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นช่วงๆ เช่น การประกาศว่าจะเก็บภาษีนำเข้าจากแคนาดา เม็กซิโก และจีน ในอัตราที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงแรงหลังเฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยน้อยลงในปี 2568 และ 2569 อย่างไรก็ดี คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงเติบแข็งแกร่งในปี 2568 โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง ส่งผลให้ความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับสูง และคาดว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะไม่ดำเนินนโยบายที่รุนแรงอย่างที่ได้ประกาศไว้ เพราะบางนโยบายอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยการประกาศนโยบายต่างๆที่ผ่านมาของนายทรัมป์ น่าจะเป็นเพียงการกดดันเพื่อให้เกิดการเจรจามากกว่า ในส่วนตลาดหุ้นโลก คาดว่าตลาดหุ้นจีนจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากมาตรการของว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์มากที่สุด ในขณะที่คาดว่าตลาดหุ้นอินเดียอาจได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจอินเดียขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลก โดยได้รับแรงกดดันจากเงินทุนไหลออก ความกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีน ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากนโยบายของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ และปัจจัยเฉพาะในหุ้นขนาดใหญ่บางตัว ทั้งนี้ คาดว่าตลาดหุ้นไทยในช่วงต้นปี 2568 น่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น มาตรการ Easy E-receipt เป็นต้น
ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของเฟด หลังเฟดส่งสัญญาณชัดเจนถึงการชะลอการลดดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ทิศทางดอกเบี้ยในระยะยาวยังคงเป็นขาลง การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะกลางและระยะยาวที่บริหารแบบเชิงรุก (active management) จึงน่าจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
บลจ. กรุงศรีฯ แนะนำคงน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยไว้ที่ระดับต่ำ เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังคงต่ำกว่าหลายประเทศ และคาดการณ์การเติบโตของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนฯยังคงอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ แนะนำปรับพอร์ตการลงทุนโดยเพิ่ม KFGG-A ใน Satellite port เนื่องจากคาดว่าหุ้น growth และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะให้ผลตอบแทนที่โดดเด่น ทั้งนี้ น้ำหนักการลงทุนใน KFGG-A จะถูกแบ่งออกมาจาก KFWINDX-A และ KFINDIA-A เพื่อลดความเสี่ยงเชิงลบจากการดำเนินนโยบายของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
ในส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ไทย KFAFIX-A และลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ KF-CSINCOM เนื่องจากการชะลอการลดดอกเบี้ยของเฟดส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศอาจให้ผลตอบแทนน้อยลง ในขณะที่ความผันผวนยังคงสูงกว่ากองทุนตราสารหนี้ไทย
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
เชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านน่าจะได้ลงทุนในกองทุนรวม Healthcare ของสหรัฐ อาจจะในรูปแบบกองทุนรวม หรือ กองทุนลดหย่อนภาษี อย่าง RMF หรือ SSF โดยหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งใหญ่ ได้มีการประกาศว่าจะแต่งตั้ง 3 ขุนพลหลัก อันประกอบด้วย โรเบิร์ต เอฟ เคเนดี จูเนียร์ หรือ RFK เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข เจย์ บาธาชญา เป็นหัวหน้าสถาบันด้านสาธารณสุขแห่งชาติ และ เฮอร์เมท ออซ ดูแลด้านหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งทั้ง 3 ท่าน มีแนวทางการทำงานและปรัชญาด้านการสาธารณสุขที่แตกต่างจากยุคของโจ ไบเดน อย่างสิ้นเชิง โดยออกจะเป็นไปในแนวทางที่บริษัทด้านธุรกิจเกี่ยวกับสาธารณสุขในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐไม่ค่อยคุ้นชินเท่าไรนัก อาทิ การไม่ค่อยเห็นด้วยกับการฉีดวัคซีน หรือ การไม่เห็นด้วยการ Lock down ในช่วงโควิด โดยทั้ง 3 ท่านยังต้องรอการรับรองจากสภาคองเกรสก่อนจะดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ดังนี้
ขอเริ่มจาก โรเบิร์ต เอฟ เคเนดี จูเนียร์ หรือ RFK กันก่อน
แต่เดิมนั้น RFK มาจากสายรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้โลกเราเป็นสีเขียวมาพักใหญ่ถึงขนาดนิตยสาร Times เคยกล่าวชื่นชมเป็นบุคคลที่น่าชมเชยด้านโลกสีเขียว ครั้นมาถึงช่วงโควิด-19 RFK ได้เริ่มแสดงจุดยืนด้านสาธารณสุข โดยนำสไลด์พรีเซนเตชั่นว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างการฉีดวัคซีนกับโรคออทิสซึ่มไปให้ แอนโธนี ฟาวชี ที่คุมหน่วยงานด้านจัดการโควิดหรือ CDC ในยุคนั้นได้พิจารณา ทว่ามีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นกล่าวว่า หลังจากได้พูดคุยกันแล้ว เขาเองเลิกสงสัยในช้อกังขาของ RFK อีกต่อไป
ทั้งนี้ ในวงการตลาดหุ้นสหรัฐ มีความกังวลว่าหาก RFK เข้ารับตำแหน่ง รมว. สาธารณสุข ซึ่งดูแลงบประมาณถึง $1.7 ล้านล้านโดยมาคุมหน่วยงานด้านการสาธารณสุขต่าง ๆ นับตั้งแต่ FDA ที่ทำหน้าที่กำกับด้านการรับรองยารักษาโรคออกสู่ตลาด, CDC ที่ดูแลด้าน Public Health ของสหรัฐ รวมถึง CMS ที่ดูแลงบประมาณด้านการประกันสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ/ผู้มีรายได้น้อย หรือ Medicare/Medicaid น่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือไม่ เนื่องจาก RFK แสดงความไม่ศรัทธาในวัคซีน ยาลดน้ำหนัก รวมถึงการให้แหล่งเงินในการพัฒนายารักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรคทั่วไปหรือยาที่รักษาโรคเรื้อรัง ซึ่งจุดที่กังวลคือปริมาณการรับรองประเภทวัคซีนจากทางการสหรัฐที่จะรักษาโรคต่าง ๆจะลดลง เนื่องจากผู้ดูแลนโยบายเองมีความกังวลถึงผลข้างเคียงของวัคซีนเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนหน้าแล้ว
ท่านที่สอง ได้แก่ เจย์ บาธาชญา นักการแพทย์สาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด เป็นหัวหน้าสถาบันด้านสาธารณสุขแห่งชาติ หรือ NIH จุดที่ทำให้ บาธาชญาโด่งดัง ได้แก่ การให้ความเห็นในเชิงไม่เห็นด้วยต่อการ Lockdown ในสมัยโควิด-19 เนื่องจากประเมินว่าอัตราส่วนผู้เสียชีวิตจากโควิดกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด ต่ำกว่าตัวเลขที่ทางการประกาศหลายสิบเท่า เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อจริงมีจำนวนมากกว่าตัวเลขที่ทางการรายงานเป็นอย่างมาก ดังนั้น การ Lockdown ถือว่าเป็นการทำเกินกว่าเหตุทั้งในแง่ประชาธิปไตยและเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งครั้งหนึ่ง Twitter เคยสั่งแบนบาธาชญาจากความเห็นในลักษณะดังกล่าว จะเห็นได้ว่าทรัมป์แต่งตั้งบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีความเห็นตรงกันข้ามกับแนวทางปฏิบัติในยุคโจ ไบเดนอย่างสิ้นเชิง
อีกหนึ่งแนวคิดของบาธาชญาว่าด้วยการทำวิจัยในวงการด้านสาธารณสุขของสหรัฐ คืองบประมาณและความก้าวหน้าของนักวิจัยด้านการแพทย์ มักจะเป็นไปในลักษณะที่เป็นเพียงการปรับปรุงแนวคิดเดิมเพียงเล็กน้อยจากนักวิชาการรุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ เพื่อให้บทวิจัยของตนเองได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งทำให้การอ้างอิงบทความทางวิชาการเดิม (Citations) ของวงการด้านสาธารณสุขมีจำนวนมากมาย แทนที่จะทำบทวิจัยที่ฉีกแนวออกไปให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการให้ก้าวกระโดดไปจากแนวทางเดิม ซึ่งสาเหตุหลักคือความกังวลต่อความเจริญก้าวหน้าทางอาชีพการงานของตนเองที่หากทำเช่นนั้นจะไม่สดใสนั่นเอง
ท่านที่สาม ได้แก่ เฮอร์เมท ออซ ดูแลด้านหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (CMS) ซึ่งรู้จักกันดีในฉายา Dr. Oz ที่มีรายการทอล์คโชว์ซึ่งได้รับความนิยมในทีวีสหรัฐเป็นระยะเวลากว่าสิบปี ทั้งนี้ ออซต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการ Senate Financial Commitee ก่อนที่จะรับรองจากสภาคองเกรสอีกต่อหนึ่ง
โดยออซ จบการศึกษาด้านการผ่าตัดหัวใจ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย และเคยเป็นที่ปรึกษาด้านฟิตเนส โภชนาการ และสุขภาพ ของทรัมป์ในรัฐบาลชุดก่อนของเขา
ตำแหน่งที่ออซจะขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ถือว่าเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านประกันสุขภาพให้ผู้สูงอายุและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีเม็ดเงินหมุนเวียนกว่า $1 ล้านล้าน ต่อปี หลายคนประเมินว่าออซจัดเป็นบุคลากรแนว Influencer มากกว่าผู้ดูแลผลประโยชน์ด้านประกันสุขภาพให้กับคนทั่วไป นอกจากนี้ เนื้อหาในรายการของเขาในอดีตก็เคยได้รับการร้องเรียนว่าไม่ได้สอดคล้องกับแนวทางการแพทย์ปัจจุบัน แม้ว่าออซจะถือเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ทรัมป์บอกว่ามาจับงานที่ตรงกับสิ่งที่เรียนมา
โดยออซกับ RFK ถือว่ามีความใกล้ชิดกันมาก จาการที่ RFK ได้เช่าบ้านของออซที่ฟลอริดาอาศัยซึ่งรายงานนี้มาจากข้อมูลของสื่อมวลชนอเมริกัน
ทั้งหมดนี้ ทำให้หุ้นและกองทุนรวม Healthcare สหรัฐ ในช่วงที่ผ่านมาและถัดไป อาจจะมีความเสี่ยงทั้งเชิงลบและบวกจากผู้บริหารภาครัฐที่ดูแลหน่วยงานสำคัญในยุคของทรัมป์อยู่ไม่มากก็น้อย
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
MacroView, macroviewblog.com
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort
ช่วงต้นปีแบบนี้ เป็นโอกาสดีที่เราจะหันกลับมาทบทวนตัวเอง พร้อมตั้งเป้าหมายใหม่เพื่อต้อนรับปี 2025 และหนึ่งในเป้าหมายยอดฮิตที่หลายคนให้ความสำคัญก็คือ “เป้าหมายทางการเงิน”
ความพิเศษของการเริ่มต้นวางแผนการเงินในช่วงนี้ คือการได้เริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ไปพร้อมกับปีใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นในทุกด้าน
อย่าปล่อยให้เป้าหมายของเราเป็นแค่คำพูดหรือความตั้งใจที่จางหายไป
ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะตั้งเป้าหมายยังไงดี FinSpace มีมาฝากครับ … เริ่มต้นปีใหม่นี้แฮปปีแน่นอน
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/money-new-years-resolutions/
ปี 2024 กำลังจะผ่านพ้นไป ได้เวลาที่ Thematic Investor ต้องทบทวนบทเรียนจากการลงทุน เพื่อมองไปข้างหน้า
สำหรับผม วิธีทำความเข้าใจธีมลงทุนของตลาดที่ดีและเร็วที่สุด คือการมองย้อนกลับไปในอดีต จากดัชนีธีมการลงทุนกว่า 200 กลุ่มที่ผมติดตามอยู่ Magnificent 7, Semiconductors, Machine Learning, Thai Tech และ Blockchain คือหัวตารางผลงานโดดเด่น ส่วนธีมที่ทำผลงานย่ำแย่ประกอบด้วย Solar, Clean Tech, China Healthcare, Lithium, และ Thai Healthcare
ประเด็นที่ทำให้ผมแปลกใจ ไม่ได้เกิดขึ้นจากธีมไหนทำผลงานได้ดีหรือแย่เกินคาด แต่กลับเป็นธีมที่ดี ดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ธีมลงทุนที่แย่ ก็แย่ลงไปอีก ทำให้ตลาดยิ่งกระจุกตัว
บทเรียนจากปี 2024 จึงเหมือนกับปี 2023 คือ (1) ถ้าใครไม่มีหุ้นใหญ่สหรัฐผลตอบแทนจะแพ้ตลาดแน่นอน และ (2) ฟองสบู่ทางการเงินสามารถอยู่ได้นานกว่าที่หลายคนคาด
ส่วนบทเรียนที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ ผมมองว่าเป็น (3) แม้ตลาดจะกระจุกตัว แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเกิดขึ้น การกระจุกตัวจะไม่หายไป บริษัทใหญ่บางบริษัท อาจมีความสำคัญมากกว่าเศรษฐกิจบางประเทศก็เป็นได้
สำหรับปี 2025 ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะทรงตัว เงินเฟ้อลดลง ธนาคารกลางลดเบี้ย ความกระจุกตัวทำให้ Valuation แพงผิดปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างกำลังจะเกิดขึ้นจากประธานาธิบดี Donald Trump ในอีก 4 ปีข้างหน้า
5 ธีมลงทุนในปี 2025 ของผมจึงประกอบด้วยธีมเก่าอย่าง Magnificent 7 และ AI ผสมกับธีมปรับใหม่อย่าง Power Demand, Deregulated Finances และ China Recovery ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงรอบนี้
ตั้งแต่ต้นปีถึงปลายเดือนพฤศจิกายน Bloomberg Magnificent 7 Index ให้ผลตอบแทนถึง 42% จุดแข็งของหุ้นในกลุ่มนี้ คือกำไรที่เติบโตสูงกว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัด
แม้ในปี 2025 ตลาดจะเริ่มมองว่า S&P 493 หรือหุ้นสหรัฐนอก Magnificent 7 จะฟื้นตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นใหญ่จะต้องถูกขายทันที
ผมเชื่อว่าหุ้นใหญ่เหล่านี้จะทำผลตอบแทนไม่แพ้ตลาด อย่างน้อยจนกว่าจะมีนโยบายเศรษฐกิจที่กดดันหุ้นในกลุ่มโดยตรง เช่น กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antitrust)
แม้ปี 2024 จะไม่ใช่ปีที่หุ้นกลุ่ม AI ขึ้นนำตลาด แต่ Indexx Artificial Intelligence Index ก็สามารถทำผลตอบแทนถึง 22% เกาะไปกับดัชนี S&P 500
ผมคงมุมมองเดิมว่า AI เป็นนวัตกรรมที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมในอนาคตได้ ธีมนี้จะมีโอกาส Outperform ตลาดไปอย่างน้อยจนกว่าเราจะเห็นผู้นำที่แท้จริงในธีม AI ถือกำเนิดขึ้น
ปี 2025 ควรเป็นปีที่ตลาดควรเห็นการนำเทคโนโลยีไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริงมากขึ้น อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ สื่อสาร ซอฟต์แวร์ ค้าปลีก การเงิน และการขนส่ง
สำหรับใครที่สนใจลงทุน AIQ หรือ Global X Artificial Intelligence & Technology ETF เป็นตัวเลือกที่กระจายลงทุนในผู้นำกลุ่ม AI ได้อย่างดี
อย่างไรก็ดี บทเรียนในปี 2024 สอนว่าถ้าเราต้องรอผู้นำการเติบโตของธีม AI ที่เกิดขึ้นช้า ระหว่างทางควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไว้ก่อน
ด้วยความตื่นตัวของ AI ทำให้เกิดการลงทุนใน Data Center มากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปพร้อนกัน ดัชนี Solactive Data Center REITs & Digital Infrastrcuture Index ทำผลตอบแทนได้ 20% พร้อมกับ MSCI World Utilities ที่ปรับตัวขึ้น 11%
Goldman Sachs คาดว่า Data Center ในสหรัฐจะมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นราว 8% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมในปี 2030 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียงราว 3% คิดเป็นการเติบโตของการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นราว 2.4% ต่อปีจากที่ไม่เติบโตเลยมากว่า 2 ทศวรรษ
แม้จะเป็นการเติบโตที่ไม่สูงมาก แต่เชื่อว่ามีความยั่งยืนและสามารถยืดหยุ่นไปกับกระแส AI ที่กำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วยความผันผวนที่ต่ำกว่าหุ้น Tech ใหญ่ โดยมี ETF ที่น่าสนใจเป็น VPN หรือ Global X Data Center & Digital Infrastructure ETF
ผมมองว่ากลุ่มการเงินเป็น Sector ที่คาดว่าจะได้รับแรงหนุนทั้งในภาคการเงินดั้งเดิมและการเงินสมัยใหม่
ข้อเสนอยกเลิกกฎ Basel III Endgame จะช่วยลดข้อจำกัดด้านเงินทุนที่ธนาคารขนาดใหญ่เรื่องการตั้งสำรอง เพิ่มอิสระให้ธนาคารขนาดเล็กในกิจกรรมควบรวมกิจการ (M&A) และการลงทุน คาดว่าจะหนุนให้ทั้งธุรกิจการเงินและสินเชื่อกลับมาเติบโต
นอกจากนี้ ผมเชื่อว่าการเพิ่มความชัดเจนในกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ Crypto จะทำให้แพลตฟอร์มทางการเงินปัจจุบันมีโอกาสขยายการเข้าถึงลูกค้าและบริการใหม่ๆ เราสามารถเลือกลงทุนหาโอกาสหรือป้องกับความเสี่ยงไปพร้อมกันได้
ธีมการเงินสายเติบโตผมเลือก ARKF หรือ ARK Fintech Innovation ETF ที่มีการผสมผสาน e-commerce เข้าไปด้วย ส่วนสายป้องกัน ผมเลือก Amplify Cybersecurity (HACK) เนื่องจากเป็น ETF ที่เน้นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
สินค้าฟุ่มเฟือยในยุโรปเป็นธีมลงทุนสายกลับตัว (Turnaround) ธีมเดียวที่ผมเลือกในปีนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัว และ Luxury Goods เป็นออุตสาหกรรมที่มักได้รับแรงหนุนมากเป็นพิเศษ
ขณะเดียวกัน ผมเชื่อว่าปี 2025 เป็นปีที่เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวช้า สนับสนุนการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายจาก ECB กดให้ EUR มีแนวโน้มอ่อนค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าหรูยุโรป
ตัวเลือกที่น่าสนใจมีตั้งแต่หุ้นใหญ่ในยุโรปอย่าง LVMH, Hermès, Kering, หรือ Richemont ส่วนถ้าใครอยากลงทุนเป็นธีม ก็สามารถเลือกลงทุน CD9 หรือ Amundi MSCI Europe Consumer Discretionary ETF และ Amundi S&P Global Luxury UCIT ETF (GLUX) ที่จดทะเบียนในตลาดฝรั่งเศสได้ทั้งคู่
ถึงตรงนี้ผมเชื่อว่า Thematic Investor คงมองเห็นโอกาสสำหรับการลงทุนในปีงูเล็ก 2025 บ้างแล้ว
ในมุมมองของผม ไม่ว่าพอร์ตปัจจุบันของเราจะเป็นแบบไหน เราสามารถสอดแทรกส่วนประกอบของธีมลงทุนเหล่านี้เข้าไปในพอร์ตได้ สิ่งที่สำคัญคือต้องเรียนรู้ที่จะผสมผสานให้มีทั้งธีมเติบโต ตั้งรับ และธีมกลับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง แบ่งสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสม ตามความเสี่ยงที่รับได้
ผมเชื่อว่าธีมเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจตลาด และประสบความสำเร็จในการลงทุนปี 2025 ครับ
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
ภาพรวมผลตอบแทนสินทรัพย์ทั่วโลก ตลอดทั้งปี 2024 (มกราคม-ธันวาคม) นี่คือสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้โดดเด่นที่สุด พร้อมด้วยกองทุนแนะนำ Finnomena Pick ของแต่ละสินทรัพย์
กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: KT-BLOCKCHAIN-A
กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: AFMOAT-HA, MEGA10-A
กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: SCBGOLDH, SCBGOLD
กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: UOBSGC
กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: AFMOAT-HA, MEGA10-A
ภาพรวมผลตอบแทน Global Asset จะเห็นว่าเป็นที่ราคา Bitcoin กลับมา Outperform ราคาทะลุ 100,000 เหรียญได้สำเร็จ และกลับสู่ตลาดกระทิงอีกครั้งหลังผ่านเหตุการณ์ Halving ครั้งที่ 4 ประกอบกับการอนุมัติ Bitcoin ETF ส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้าถือครอง Bitcoin แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงหุ้นกลุ่ม Blockchain ที่ได้รับอานิงสงส์ไปด้วย
ในขณะที่สินทรัพย์ทางเลือกอย่าง ทองคำ ก็เป็นปีที่ All-Time High เช่นกัน ด้วยแรงหนุนของอัตราดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาลง สงครามตะวันออกกลางรุนแรงขึ้น ความผันผวนจากการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และการสะสมสำรองทองคำที่มากขึ้นของธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก
ส่วนตลาดหุ้นที่โดดเด่นที่สุด คือ หุ้นสหรัฐฯ และหุ้นไต้หวัน เนื่องจากการเติบโตของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี อุตสาหกรรม Semiconductor และ Generative AI
อัปเดตข้อมูล ณ วันที่ 23/12/2024
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
สรุปข่าวเด่นรายเดือนตลอดทั้งปี 2024 รวมมาให้กับทุกเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแวดวงเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน มากมายด้วยสีสัน มีดีและร้ายปะปนกันไป เพราะโลกแห่งการลงทุนนี้ไม่เคยจะหยุดนิ่ง และนับวันก็ยิ่งหมุนในอัตราที่เร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
สำหรับ 2 บทความที่แล้ว ได้แนะนำกองทุนลดหย่อนภาษีของสินทรัพย์ไทยและฝั่งเอเชีย รวมถึงสหรัฐ บทความนี้จะขอแนะนำเพิ่มเติมกองทุนต่างประเทศในสายโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานทางเลือก และสินค้าโภคภัณฑ์ ที่รวมเรียกว่า ‘สินทรัพย์ทางเลือก‘ ดังนี้
เริ่มจาก กองทุนลดหย่อนภาษีเกี่ยวกับ Infrastructure ซึ่งนอกจากจะหมายถึงโครงสร้างพื้นฐานในทางกายภาพ อาทิ ด้านไฟฟ้า ประปา และถนนหนทาง ยังหมายรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) จากความต้องการ data center สำหรับการสร้างระบบ AI อย่างมหาศาล นอกจากนี้ อุปสงค์ต่อ Infrastructure ด้าน Green Economy ยังเพิ่มมากขึ้นจากการแข่งขันของประเทศต่าง ๆและบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สูงขึ้นเพื่อลดก๊าซคาร์บอน มลพิษที่ปล่อยออกมา ท้ายสุด ประชาชนที่มีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว การพัฒนาเข้าสู่ความเป็นเมือง (Urbanization) ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และการทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกเข้าสู่ยุคดิจิตัล ล้วนส่งผลให้ความต้องการทรัพยากรด้าน Infrastructure ให้มีสูงขึ้น
กองทุนประหยัดภาษีในตลาดหุ้นต่างประเทศ แนว Infrastructure ที่ผมมองว่าน่าสนใจมีอย่างน้อย 2 กองทุน ได้แก่ KFINFRARMF ซึ่งมีกองทุน UBS (Lux) Infrastructure Equity Fund เป็น Feeder Fund และ KGIFRMF ซึ่งมีกองทุน Wellington Enduring Assets Fund, USD S Accumulating Unhedged เป็นกองทุนหลักที่อ้างอิง
โดย KFINFRARMF ผ่านกองทุน UBS (Lux) Infrastructure ตั้งเป้าลงทุนในธีมที่เน้นบริษัททั่วโลกที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบสมัยใหม่ รวมถึงสินค้าและบริการในแนวทางดังกล่าว ในขณะที่ KGIFRMF ผ่านกองทุน Wellington Enduring Assets Fund เน้นบริษัททั่วโลกซึ่งมีสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน อาทิ เซกเตอร์ Utility, การขนส่ง, พลังงาน, อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม ซึ่งเชื่อว่ามีความสามารถในการแข่งขันและมีความผันผวนของกำไรที่ต่ำ
ในมิติของเซกเตอร์หรือธุรกิจที่ลงทุน KFINFRARMF โฟกัสไปที่ธุรกิจการจัดเก็บพลังงาน Oil & Gas และการขนส่ง ส่วน KGIFRMF โฟกัสไปที่ Electric และ Multi Utilities ในขณะที่ทั้งคู่ลงทุนในหุ้นสหรัฐราว 55-58% ของทั้งหมด KFINFRARMF ลงทุนในหุ้นยุโรป 34% ด้าน KGIFRMF ลงทุนในหุ้นยุโรป 24% โดยที่เหลือลงทุนในตลาดเกิดใหม่และญี่ปุ่น อีก 17%
นั่นคือ KFINFRARMF เน้นธุรกิจการจัดเก็บพลังงาน Oil & Gas ในยุโรป ส่วน KGIFRMF เน้นลงทุนใน Electric และ Multi Utilities ทั่วโลก ซึ่งโดยส่วนตัวชอบโมเดลของ KGIFRMF มากกว่าเล็กน้อย
ด้านผลประกอบการของกองทุน ณ 4 ธ.ค. 2024 ในระยะ 1 และ 3 ปี KGIFRMF ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า KKFINFRARMF ราว 5% และ 2% ตามลำดับ ส่วนในระยะ 5 ปี KFINFRARMF ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า KGIFRMF ราว 1.4% โดยทั้งคู่ถือว่าให้ผลตอบแทนที่ดีมากในกลุ่ม Infrastructure
โดยสรุป ทั้ง KFINFRA-RMF และ KGIFRMF ถือว่าน่าสนใจสำหรับผู้ที่มองหากองทุนลดหย่อนภาษีที่เป็นสินทรัพย์ทางเลือก
หันมาพิจารณากองทุนลดหย่อนภาษีแนวพลังงานทางเลือกและสิ่งแวดล้อม กันบ้าง โดยแม้ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ จะมิได้มีนโยบายที่เน้นแนวรักษ์สิ่งแวดล้อม ทว่าอิลอน มัสก์ ฐานเสียงสำคัญของทรัมป์มีธุรกิจ EV ซึ่งทำให้นโยบายแนวโลกสีเขียวยังน่าจะได้ไปต่อในรัฐบาลของทรัมป์
กองทุนที่แนะนำ ได้แก่ B-SIPRMF ซึ่งมี Feeder Fund อยู่ 2 กอง ได้แก่ Pictet – Global Environmental Opportunities ซึ่งมีนโยบายลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางทำให้สิ่งแวดล้อมโลกดีขึ้นผ่านสินค้าและบริการในห่วงโซ่อุปทานเพื่อช่วยให้โลกมีคาร์บอนต่ำลง และ Pictet – Clean Energy Transition ที่ลงทุนสัดส่วน 2 ใน 3 ของทั้งหมดเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างสู่โลกคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืน โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการลงทุนที่โฟกัสอัตราส่วนทางการเงินเพื่อให้วัตถุประสงค์สามารถสำเร็จลุล่วงได้
ในมิติของเซกเตอร์ที่กองทุนต้นทางอ้างอิงทั้งสองลงทุน จะพบว่าในขณะที่ Pictet – Global Environmental Opportunities เน้นบริษัทในเซกเตอร์อุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโลกสีเขียวทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยหุ้น Top 5 ได้แก่ Carrier Gobal, Republic Services, Waste Connections, Agilent Technologies และ Equinix ด้าน Pictet – Clean Energy Transition จะโฟกัสไปที่เซกเตอร์เทคโนโลยีซึ่งมีการใช้ Know-how ด้านพลังงานทางเลือกเป็นหลัก โดยหุ้น Top 5 ได้แก่ Broadcom, Nextera Energy, Trane Technologies, Linde และ Iberdrola
สำหรับผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่าทั้งคู่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดโดยรวมของสหรัฐ แม้ว่าในช่วงที่ตลาดหุ้นร้อนแรง จะขึ้นน้อยกว่าตลาดเล็กน้อย แต่ในช่วงขาลง ราคาของกองทุนก็สามารถยืนได้ดีกว่าตลาด จัดว่าเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์แนวการลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจ
สินทรัพย์การลงทุนทางเลือกที่น่าจะจำเป็นที่สุดในพอร์ตของทุกท่าน น่าจะเป็น ‘ทองคำ’ ซึ่งในยุคที่โดนัลด์ ทรัมป์ ให้การสนับสนุน crypto แบบสุดตัว ยิ่งทำให้ทองคำจำเป็นมากขึ้นในพอร์ตเผื่อไว้ในกรณีที่สินทรัพย์ดิจิตัลอย่าง crypto เกิดสะดุดขึ้นมาในอนาคต จะได้เป็นกำลังหลักในพอร์ตที่น่าจะจำเป็นมากสำหรับการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตซึ่งตลาดหุ้นสหรัฐมีผลกระทบจาก crypto มากขึ้นกว่าในอดีต โดยผมมองไปที่ BGOLDRMF และ KGDRMF ว่าน่าสนใจกว่าเพื่อน แม้ว่ากองทุนทองประหยัดภาษีอื่น ๆ ก็น่าจะสามารถทำหน้าที่กระจายความเสี่ยงได้ดีเช่นกัน
ทั้งนี้ ว่ากันว่าสินทรัพย์การลงทุนทางเลือกควรจะมีอยู่ในพอร์ตราว 5-10% ของทั้งหมด เพื่อใช้ในการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทน โดยจะทำให้พอร์ตการลงทุนมีความยืดหยุ่นและหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
MacroView, macroviewblog.com
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
พอร์ตการลงทุน GMAI ปรับพอร์ตรอบใหม่ คัดเลือก 5 กองทุนโมเมนตัมเด่น ทีมงาน Deepscope GURUPORT จึงแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุน และ Rebalance ตามคำแนะนำด้านล่างนี้
จากประเด็นข้างต้น บวกกับวิเคราะห์โมเมนตัมโดย AI ทำให้รอบการปรับพอร์ตนี้ พอร์ตโฟลิโอ GMAI คัดเลือกกองทุนที่ผลงานดีโมเมนตัมเด่น โดยเน้นไปทางกองทุนที่ลงทุนในหุ้น US & Tech เป็นหลัก หลังจากมีโมเมนตัมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
(ทุกกองทุนมีสัดส่วน 20% เท่ากัน)
ที่มา: Deepscope ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2024
ล้วงลึกทุกกองทุนจากพลัง AI ที่ไร้ขีดจำกัด ด้วยพอร์ต Growth Momentum AI (GMAI) โดย Deepscope
ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-deepscope
บทความโดย Deepscope สำหรับพอร์ต Growth Momentum AI (GMAI) ที่ Finnomena Funds เท่านั้น ข้อมูล ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2024
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Omakase – 16 December 2024
ที่มา: บลจ. ทิสโก้ วันที่ 16 ธันวาคม 2024
ผลตอบแทนพอร์ตกองทุนนับจากวันที่ 18พ.ย. จนถึง 16 ธ.ค. 2024 ปรับเพิ่มขึ้น +0.62% และ นับจากต้นปี พอร์ตปรับเพิ่มขึ้น +4.04%
บลจ. ทิสโก้
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Finnomena Funds เปิดตัวพอร์ตลงทุนใหม่ ภายใต้ชื่อ Dynamic Contrarian Model Portfolio (DCM) ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนแบบ Multi-Assets (สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์) ที่ต่อยอดมาจาก FundTalk the Contrarian Portfolio (FTCP) ซึ่งอาศัยแนวคิดการลงทุนแบบ Contrarian Investor หรือ “ย่อซื้อ ขึ้นขาย”
นั่นคือการเข้าซื้อเมื่อราคาปรับตัวลงมา โดยสินทรัพย์ที่จะเข้าซื้อจะต้องเป็นสินทรัพย์มีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ราคาในระยะสั้นมีปรับตัวลดลง หรือปรับตัวขึ้นน้อยกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ มี Valuation ในระดับที่ถูก และมีการขายทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวขึ้น หรือ Valuation มีการตึงตัว และมีการควบคุมความเสี่ยงโดยรวมด้วยการรักษาวินัยในการตัดขาดทุน (Cut Loss) เป็นพอร์ตลงทุนที่มีการปรับพอร์ตรวดเร็ว Dynamic ตามสถานการณ์ มีการรักษาวินัยการลงทุน ทั้ง Take Profit และ Stop Loss เมื่อเห็นว่าภาพรวมของสินทรัพย์นั้น ๆ มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ยาก
พอร์ตลงทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีกรอบเวลาการลงทุนตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ชอบลงทุนในสไตล์ Contrarian รับความเสี่ยงได้สูง และมีความ Active ในการปรับพอร์ตลงทุนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยพอร์ตนี้จะคาดหวังผลตอบแทนที่ 8% ต่อปี (ไม่ใช่การการันตี) และมีการทบทวนสัดส่วนรายเดือนหรือตามสถานการณ์ มีเงินลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกอยู่ที่ 2 ล้านบาท และครั้งถัดไปอยู่ที่ 25,000 บาท
ในปี 2024 ที่ผ่านมา Finnomena Funds ได้มีการออกคำแนะนำ FundTalk Call ซึ่งใช้แนวคิด “ย่อซื้อ ขึ้นขาย” และออกคำแนะนำการลงทุนแบบ FundTalk the Contrarian Portfolio โดยนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดเป็นพอร์ตลงทุนให้กับนักลงทุนของ Finnomena สามารถลงทุนตามได้ด้วยตนเอง ผ่านแผนการลงทุน DIY โดยนับตั้งแต่เริ่มต้นคำแนะนำเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2024 จนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2024 FundTalk the Contrarian Portfolio มีผลตอบแทนอยู่ที่ 11.05%
สนใจลงทุนในพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio คลิก https://finnomena.onelink.me/10bl/dcm
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT
รัฐบาลจีนประกาศแผนออกพันธบัตรพิเศษในปี 2025 มูลค่า 14 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชะลอตัว พร้อมเตรียมรับแรงกดดันจากมาตรการการค้าของสหรัฐฯ ที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น
ยอดการออกพันธบัตรในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นถึง 9.36 ล้านล้านบาท จากปีนี้ โดยรายได้จะถูกนำไปใช้ในโครงการสำคัญ ได้แก่
นอกจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมจัดสรรงบประมาณกว่า 4.68 ล้านล้านบาท ในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ และพลังงานสีเขียว เพื่อสร้าง “กำลังการผลิตใหม่” และยกระดับเศรษฐกิจให้แข่งขันได้ในอนาคต
มาตรการนี้ยังมุ่งบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากประธานาธิบดี Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งและดำเนินการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจีนถึง 60% ตามที่เคยประกาศไว้
ปีนี้เศรษฐกิจจีนเผชิญความท้าทายหลายประการ เช่น วิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ หนี้สินท้องถิ่นที่สูง และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้รัฐบาลต้องพึ่งพาการใช้จ่ายภายในประเทศเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
แผนการออกพันธบัตรพิเศษครั้งนี้สะท้อนถึงความตั้งใจของรัฐบาลจีนที่จะใช้เครื่องมือทางการคลังอย่างเต็มที่เพื่อฟื้นเศรษฐกิจ ทั้งการกระตุ้นการบริโภค การลงทุนในนวัตกรรม และการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาว แม้ต้องแบกรับภาระหนี้เพิ่มขึ้นก็ตาม
อ้างอิง: CNBC
บทความนี้ Finnomena ได้รวบรวมทุกประเด็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับ “ภาษีคริปโตฯ” ตั้งแต่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวทางการเสียภาษีคริปโตฯ และสรุป Q&A ในหัวข้อต่างๆ เพื่อคลายทุกข้อสงสัยที่คาใจเหล่านักลงทุน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ใน พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 นั้นหมายถึง คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล นั่นแปลว่ากำไรที่มาจากสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าเกณฑ์เสียภาษี
โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ คือ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่ได้แก้ไขข้อกฎหมายเพิ่มเติมในมาตรา 40 และมาตรา 50 ดังนี้
มาตรา 40 (4) (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล
มาตรา 40 (4) (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
มาตรา 50 (ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้
ครม. มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่กรมสรรพากรได้เสนอไว้ โดยจะผ่อนปรนการเก็บภาษีภายใต้กฎหมายปัจจุบัน ดังนี้
สรุปง่าย ๆ คือ สำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. นั้น กรมสรรพากรจะยังไม่เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงนักลงทุนสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้
Q: สามารถนำธุรกรรมที่ขาดทุนมาหักลบจากกำไรของธุรกรรมอื่นได้หรือไม่?
A: ได้ เพราะกรมสรรพากรได้มีแนวทางผ่อนปรนให้สามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกันได้ แต่ต้องทำธุรกรรมผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.เท่านั้น
Q: คำนวณต้นทุนของคริปโตฯ ยังไง
A: สามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) และ วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average cost) ซึ่งเมื่อเลือกวิธีใดไปแล้วต้องใช้วิธีนั้นในการคำนวณต้นทุนตลอดปีภาษี
Q: ควรใช้ราคาอ้างอิงจากแหล่งใด
A: กรมสรรพากรกำหนดแหล่งอ้างอิงดังนี้ โดยหากไม่มีตามข้อก่อนหน้าก็ให้ใช้วิธีการตามข้อถัดไป
Q: ต้องมีหลักฐานแนบสำหรับการยื่นภาษีหรือไม่?
A: โฆษกฯ กรมสรรพากรระบุว่า การยื่นภาษีสามารถกรอกตัวเลขได้เลยโดยไม่ต้องแนบหลักฐานการมีรายได้ แต่แนะนำให้บันทึก statement เผื่อในกรณีที่ถูกตรวจสอบ
Q: ขายคริปโตฯ ในต่างประเทศแล้วได้กำไรต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่?
A: ถ้าปีนั้นอยู่ในประเทศไทยรวมแล้วเกิน 180 วัน และมีการนำกำไรกลับเข้าประเทศภายในปีเดียวกันจะต้องเสียภาษี
Q: มีกำไรแต่เก็บไว้ในกระดานเทรด (Exchange) ยังไม่ได้ถอนเงินสดออกมา ต้องเสียภาษีหรือไม่?
A: เกณฑ์เงินได้ของกรมสรรพากรคือ เกิดรายได้เมื่อไรนับเป็นเงินได้เมื่อนั้น ดังนั้นหากขายคริปโตฯ แล้วได้กำไรแม้จะยังไม่ได้ถอนออกมาก็นับเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
Q: มีกรณีใดที่ได้กำไรจากการขายคริปโตฯ แล้วไม่ต้องเสียภาษีบ้าง?
A: มีทั้งหมด 3 กรณี
อ้างอิง