เรามีมุมมอง Positive ต่อหุ้นกลุ่ม Blockchain จากตลาด Cryptocurrency ได้รับแรงหนุนจากนโยบายสนับสนุนของทรัมป์ รวมถึง Fund Flow ของ Bitcoin และ Ethereum Spot ETF เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปลายปี 2024 โดยเราแนะนำกองทุน ASP-DIGIBLOC และ KT-BLOCKCHAIN-A ที่เน้นลงทุนในหุ้น Blockchain และได้อานิสงส์จากตลาด Cryptocurrency
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
สำหรับ 2 บทความที่แล้ว ได้แนะนำกองทุนลดหย่อนภาษีของสินทรัพย์ไทยและฝั่งเอเชีย รวมถึงสหรัฐ บทความนี้จะขอแนะนำเพิ่มเติมกองทุนต่างประเทศในสายโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานทางเลือก และสินค้าโภคภัณฑ์ ที่รวมเรียกว่า ‘สินทรัพย์ทางเลือก‘ ดังนี้
เริ่มจาก กองทุนลดหย่อนภาษีเกี่ยวกับ Infrastructure ซึ่งนอกจากจะหมายถึงโครงสร้างพื้นฐานในทางกายภาพ อาทิ ด้านไฟฟ้า ประปา และถนนหนทาง ยังหมายรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) จากความต้องการ data center สำหรับการสร้างระบบ AI อย่างมหาศาล นอกจากนี้ อุปสงค์ต่อ Infrastructure ด้าน Green Economy ยังเพิ่มมากขึ้นจากการแข่งขันของประเทศต่าง ๆและบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สูงขึ้นเพื่อลดก๊าซคาร์บอน มลพิษที่ปล่อยออกมา ท้ายสุด ประชาชนที่มีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว การพัฒนาเข้าสู่ความเป็นเมือง (Urbanization) ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และการทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกเข้าสู่ยุคดิจิตัล ล้วนส่งผลให้ความต้องการทรัพยากรด้าน Infrastructure ให้มีสูงขึ้น
กองทุนประหยัดภาษีในตลาดหุ้นต่างประเทศ แนว Infrastructure ที่ผมมองว่าน่าสนใจมีอย่างน้อย 2 กองทุน ได้แก่ KFINFRARMF ซึ่งมีกองทุน UBS (Lux) Infrastructure Equity Fund เป็น Feeder Fund และ KGIFRMF ซึ่งมีกองทุน Wellington Enduring Assets Fund, USD S Accumulating Unhedged เป็นกองทุนหลักที่อ้างอิง
โดย KFINFRARMF ผ่านกองทุน UBS (Lux) Infrastructure ตั้งเป้าลงทุนในธีมที่เน้นบริษัททั่วโลกที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบสมัยใหม่ รวมถึงสินค้าและบริการในแนวทางดังกล่าว ในขณะที่ KGIFRMF ผ่านกองทุน Wellington Enduring Assets Fund เน้นบริษัททั่วโลกซึ่งมีสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน อาทิ เซกเตอร์ Utility, การขนส่ง, พลังงาน, อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม ซึ่งเชื่อว่ามีความสามารถในการแข่งขันและมีความผันผวนของกำไรที่ต่ำ
ในมิติของเซกเตอร์หรือธุรกิจที่ลงทุน KFINFRARMF โฟกัสไปที่ธุรกิจการจัดเก็บพลังงาน Oil & Gas และการขนส่ง ส่วน KGIFRMF โฟกัสไปที่ Electric และ Multi Utilities ในขณะที่ทั้งคู่ลงทุนในหุ้นสหรัฐราว 55-58% ของทั้งหมด KFINFRARMF ลงทุนในหุ้นยุโรป 34% ด้าน KGIFRMF ลงทุนในหุ้นยุโรป 24% โดยที่เหลือลงทุนในตลาดเกิดใหม่และญี่ปุ่น อีก 17%
นั่นคือ KFINFRARMF เน้นธุรกิจการจัดเก็บพลังงาน Oil & Gas ในยุโรป ส่วน KGIFRMF เน้นลงทุนใน Electric และ Multi Utilities ทั่วโลก ซึ่งโดยส่วนตัวชอบโมเดลของ KGIFRMF มากกว่าเล็กน้อย
ด้านผลประกอบการของกองทุน ณ 4 ธ.ค. 2024 ในระยะ 1 และ 3 ปี KGIFRMF ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า KKFINFRARMF ราว 5% และ 2% ตามลำดับ ส่วนในระยะ 5 ปี KFINFRARMF ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า KGIFRMF ราว 1.4% โดยทั้งคู่ถือว่าให้ผลตอบแทนที่ดีมากในกลุ่ม Infrastructure
โดยสรุป ทั้ง KFINFRA-RMF และ KGIFRMF ถือว่าน่าสนใจสำหรับผู้ที่มองหากองทุนลดหย่อนภาษีที่เป็นสินทรัพย์ทางเลือก
หันมาพิจารณากองทุนลดหย่อนภาษีแนวพลังงานทางเลือกและสิ่งแวดล้อม กันบ้าง โดยแม้ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ จะมิได้มีนโยบายที่เน้นแนวรักษ์สิ่งแวดล้อม ทว่าอิลอน มัสก์ ฐานเสียงสำคัญของทรัมป์มีธุรกิจ EV ซึ่งทำให้นโยบายแนวโลกสีเขียวยังน่าจะได้ไปต่อในรัฐบาลของทรัมป์
กองทุนที่แนะนำ ได้แก่ B-SIPRMF ซึ่งมี Feeder Fund อยู่ 2 กอง ได้แก่ Pictet – Global Environmental Opportunities ซึ่งมีนโยบายลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางทำให้สิ่งแวดล้อมโลกดีขึ้นผ่านสินค้าและบริการในห่วงโซ่อุปทานเพื่อช่วยให้โลกมีคาร์บอนต่ำลง และ Pictet – Clean Energy Transition ที่ลงทุนสัดส่วน 2 ใน 3 ของทั้งหมดเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างสู่โลกคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืน โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการลงทุนที่โฟกัสอัตราส่วนทางการเงินเพื่อให้วัตถุประสงค์สามารถสำเร็จลุล่วงได้
ในมิติของเซกเตอร์ที่กองทุนต้นทางอ้างอิงทั้งสองลงทุน จะพบว่าในขณะที่ Pictet – Global Environmental Opportunities เน้นบริษัทในเซกเตอร์อุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโลกสีเขียวทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยหุ้น Top 5 ได้แก่ Carrier Gobal, Republic Services, Waste Connections, Agilent Technologies และ Equinix ด้าน Pictet – Clean Energy Transition จะโฟกัสไปที่เซกเตอร์เทคโนโลยีซึ่งมีการใช้ Know-how ด้านพลังงานทางเลือกเป็นหลัก โดยหุ้น Top 5 ได้แก่ Broadcom, Nextera Energy, Trane Technologies, Linde และ Iberdrola
สำหรับผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่าทั้งคู่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดโดยรวมของสหรัฐ แม้ว่าในช่วงที่ตลาดหุ้นร้อนแรง จะขึ้นน้อยกว่าตลาดเล็กน้อย แต่ในช่วงขาลง ราคาของกองทุนก็สามารถยืนได้ดีกว่าตลาด จัดว่าเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์แนวการลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจ
สินทรัพย์การลงทุนทางเลือกที่น่าจะจำเป็นที่สุดในพอร์ตของทุกท่าน น่าจะเป็น ‘ทองคำ’ ซึ่งในยุคที่โดนัลด์ ทรัมป์ ให้การสนับสนุน crypto แบบสุดตัว ยิ่งทำให้ทองคำจำเป็นมากขึ้นในพอร์ตเผื่อไว้ในกรณีที่สินทรัพย์ดิจิตัลอย่าง crypto เกิดสะดุดขึ้นมาในอนาคต จะได้เป็นกำลังหลักในพอร์ตที่น่าจะจำเป็นมากสำหรับการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตซึ่งตลาดหุ้นสหรัฐมีผลกระทบจาก crypto มากขึ้นกว่าในอดีต โดยผมมองไปที่ BGOLDRMF และ KGDRMF ว่าน่าสนใจกว่าเพื่อน แม้ว่ากองทุนทองประหยัดภาษีอื่น ๆ ก็น่าจะสามารถทำหน้าที่กระจายความเสี่ยงได้ดีเช่นกัน
ทั้งนี้ ว่ากันว่าสินทรัพย์การลงทุนทางเลือกควรจะมีอยู่ในพอร์ตราว 5-10% ของทั้งหมด เพื่อใช้ในการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทน โดยจะทำให้พอร์ตการลงทุนมีความยืดหยุ่นและหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
MacroView, macroviewblog.com
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
พอร์ตการลงทุน GMAI ปรับพอร์ตรอบใหม่ คัดเลือก 5 กองทุนโมเมนตัมเด่น ทีมงาน Deepscope GURUPORT จึงแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุน และ Rebalance ตามคำแนะนำด้านล่างนี้
จากประเด็นข้างต้น บวกกับวิเคราะห์โมเมนตัมโดย AI ทำให้รอบการปรับพอร์ตนี้ พอร์ตโฟลิโอ GMAI คัดเลือกกองทุนที่ผลงานดีโมเมนตัมเด่น โดยเน้นไปทางกองทุนที่ลงทุนในหุ้น US & Tech เป็นหลัก หลังจากมีโมเมนตัมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
(ทุกกองทุนมีสัดส่วน 20% เท่ากัน)
ที่มา: Deepscope ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2024
ล้วงลึกทุกกองทุนจากพลัง AI ที่ไร้ขีดจำกัด ด้วยพอร์ต Growth Momentum AI (GMAI) โดย Deepscope
ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-deepscope
บทความโดย Deepscope สำหรับพอร์ต Growth Momentum AI (GMAI) ที่ Finnomena Funds เท่านั้น ข้อมูล ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2024
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Omakase – 16 December 2024
ที่มา: บลจ. ทิสโก้ วันที่ 16 ธันวาคม 2024
ผลตอบแทนพอร์ตกองทุนนับจากวันที่ 18พ.ย. จนถึง 16 ธ.ค. 2024 ปรับเพิ่มขึ้น +0.62% และ นับจากต้นปี พอร์ตปรับเพิ่มขึ้น +4.04%
บลจ. ทิสโก้
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Finnomena Funds เปิดตัวพอร์ตลงทุนใหม่ ภายใต้ชื่อ Dynamic Contrarian Model Portfolio (DCM) ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนแบบ Multi-Assets (สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์) ที่ต่อยอดมาจาก FundTalk the Contrarian Portfolio (FTCP) ซึ่งอาศัยแนวคิดการลงทุนแบบ Contrarian Investor หรือ “ย่อซื้อ ขึ้นขาย”
นั่นคือการเข้าซื้อเมื่อราคาปรับตัวลงมา โดยสินทรัพย์ที่จะเข้าซื้อจะต้องเป็นสินทรัพย์มีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ราคาในระยะสั้นมีปรับตัวลดลง หรือปรับตัวขึ้นน้อยกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ มี Valuation ในระดับที่ถูก และมีการขายทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวขึ้น หรือ Valuation มีการตึงตัว และมีการควบคุมความเสี่ยงโดยรวมด้วยการรักษาวินัยในการตัดขาดทุน (Cut Loss) เป็นพอร์ตลงทุนที่มีการปรับพอร์ตรวดเร็ว Dynamic ตามสถานการณ์ มีการรักษาวินัยการลงทุน ทั้ง Take Profit และ Stop Loss เมื่อเห็นว่าภาพรวมของสินทรัพย์นั้น ๆ มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ยาก
พอร์ตลงทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีกรอบเวลาการลงทุนตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ชอบลงทุนในสไตล์ Contrarian รับความเสี่ยงได้สูง และมีความ Active ในการปรับพอร์ตลงทุนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยพอร์ตนี้จะคาดหวังผลตอบแทนที่ 8% ต่อปี (ไม่ใช่การการันตี) และมีการทบทวนสัดส่วนรายเดือนหรือตามสถานการณ์ มีเงินลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกอยู่ที่ 2 ล้านบาท และครั้งถัดไปอยู่ที่ 25,000 บาท
ในปี 2024 ที่ผ่านมา Finnomena Funds ได้มีการออกคำแนะนำ FundTalk Call ซึ่งใช้แนวคิด “ย่อซื้อ ขึ้นขาย” และออกคำแนะนำการลงทุนแบบ FundTalk the Contrarian Portfolio โดยนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดเป็นพอร์ตลงทุนให้กับนักลงทุนของ Finnomena สามารถลงทุนตามได้ด้วยตนเอง ผ่านแผนการลงทุน DIY โดยนับตั้งแต่เริ่มต้นคำแนะนำเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2024 จนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2024 FundTalk the Contrarian Portfolio มีผลตอบแทนอยู่ที่ 11.05%
สนใจลงทุนในพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio คลิก https://finnomena.onelink.me/10bl/dcm
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT
รัฐบาลจีนประกาศแผนออกพันธบัตรพิเศษในปี 2025 มูลค่า 14 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชะลอตัว พร้อมเตรียมรับแรงกดดันจากมาตรการการค้าของสหรัฐฯ ที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น
ยอดการออกพันธบัตรในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นถึง 9.36 ล้านล้านบาท จากปีนี้ โดยรายได้จะถูกนำไปใช้ในโครงการสำคัญ ได้แก่
นอกจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมจัดสรรงบประมาณกว่า 4.68 ล้านล้านบาท ในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ และพลังงานสีเขียว เพื่อสร้าง “กำลังการผลิตใหม่” และยกระดับเศรษฐกิจให้แข่งขันได้ในอนาคต
มาตรการนี้ยังมุ่งบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากประธานาธิบดี Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งและดำเนินการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจีนถึง 60% ตามที่เคยประกาศไว้
ปีนี้เศรษฐกิจจีนเผชิญความท้าทายหลายประการ เช่น วิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ หนี้สินท้องถิ่นที่สูง และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้รัฐบาลต้องพึ่งพาการใช้จ่ายภายในประเทศเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
แผนการออกพันธบัตรพิเศษครั้งนี้สะท้อนถึงความตั้งใจของรัฐบาลจีนที่จะใช้เครื่องมือทางการคลังอย่างเต็มที่เพื่อฟื้นเศรษฐกิจ ทั้งการกระตุ้นการบริโภค การลงทุนในนวัตกรรม และการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาว แม้ต้องแบกรับภาระหนี้เพิ่มขึ้นก็ตาม
อ้างอิง: CNBC
บทความนี้ Finnomena ได้รวบรวมทุกประเด็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับ “ภาษีคริปโตฯ” ตั้งแต่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวทางการเสียภาษีคริปโตฯ และสรุป Q&A ในหัวข้อต่างๆ เพื่อคลายทุกข้อสงสัยที่คาใจเหล่านักลงทุน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ใน พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 นั้นหมายถึง คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล นั่นแปลว่ากำไรที่มาจากสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าเกณฑ์เสียภาษี
โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ คือ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่ได้แก้ไขข้อกฎหมายเพิ่มเติมในมาตรา 40 และมาตรา 50 ดังนี้
มาตรา 40 (4) (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล
มาตรา 40 (4) (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
มาตรา 50 (ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้
ครม. มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่กรมสรรพากรได้เสนอไว้ โดยจะผ่อนปรนการเก็บภาษีภายใต้กฎหมายปัจจุบัน ดังนี้
สรุปง่าย ๆ คือ สำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. นั้น กรมสรรพากรจะยังไม่เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงนักลงทุนสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้
Q: สามารถนำธุรกรรมที่ขาดทุนมาหักลบจากกำไรของธุรกรรมอื่นได้หรือไม่?
A: ได้ เพราะกรมสรรพากรได้มีแนวทางผ่อนปรนให้สามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกันได้ แต่ต้องทำธุรกรรมผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.เท่านั้น
Q: คำนวณต้นทุนของคริปโตฯ ยังไง
A: สามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) และ วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average cost) ซึ่งเมื่อเลือกวิธีใดไปแล้วต้องใช้วิธีนั้นในการคำนวณต้นทุนตลอดปีภาษี
Q: ควรใช้ราคาอ้างอิงจากแหล่งใด
A: กรมสรรพากรกำหนดแหล่งอ้างอิงดังนี้ โดยหากไม่มีตามข้อก่อนหน้าก็ให้ใช้วิธีการตามข้อถัดไป
Q: ต้องมีหลักฐานแนบสำหรับการยื่นภาษีหรือไม่?
A: โฆษกฯ กรมสรรพากรระบุว่า การยื่นภาษีสามารถกรอกตัวเลขได้เลยโดยไม่ต้องแนบหลักฐานการมีรายได้ แต่แนะนำให้บันทึก statement เผื่อในกรณีที่ถูกตรวจสอบ
Q: ขายคริปโตฯ ในต่างประเทศแล้วได้กำไรต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่?
A: ถ้าปีนั้นอยู่ในประเทศไทยรวมแล้วเกิน 180 วัน และมีการนำกำไรกลับเข้าประเทศภายในปีเดียวกันจะต้องเสียภาษี
Q: มีกำไรแต่เก็บไว้ในกระดานเทรด (Exchange) ยังไม่ได้ถอนเงินสดออกมา ต้องเสียภาษีหรือไม่?
A: เกณฑ์เงินได้ของกรมสรรพากรคือ เกิดรายได้เมื่อไรนับเป็นเงินได้เมื่อนั้น ดังนั้นหากขายคริปโตฯ แล้วได้กำไรแม้จะยังไม่ได้ถอนออกมาก็นับเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
Q: มีกรณีใดที่ได้กำไรจากการขายคริปโตฯ แล้วไม่ต้องเสียภาษีบ้าง?
A: มีทั้งหมด 3 กรณี
อ้างอิง
Highlight (คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจได้เลย)
ในโลกการลงทุนที่ผันผวน การค้นหาหุ้นที่จ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอเป็นเหมือนการตามหาขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ แต่มีบริษัทหนึ่งที่โดดเด่นด้วยประวัติการจ่ายปันผลที่ยาวนานและไม่เคยขาดตอนมากว่า 54 ปี นั่นคือ Campbell’s บริษัทที่พิสูจน์ให้เห็นว่าอาหารกระป๋องธรรมดา ๆ ก็สามารถสร้างความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน และยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในยุคที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
Joseph Campbell และ Abraham Anderson | Source: Campbell’s
เรื่องราวของ Campbell’s เริ่มต้นในปี 1869 เมื่อ Joseph A. Campbell พ่อค้าขายผลไม้หาบเร่ ได้ร่วมลงทุนกับ Abraham Anderson พ่อค้าขายกล่องน้ำแข็ง ก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Anderson & Campbell เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตผักกระป๋อง เยลลี่ เครื่องปรุงรส และอาหารอื่น ๆ
แต่หลังจากผ่านไปเพียง 7 ปี Anderson กลับตัดสินใจถอนตัว ทำให้ Campbell กลายเป็นผู้ดูแลธุรกิจจนเกษียณและส่งต่อตำแหน่งให้กับ Arthur Dorrance ผู้จัดการโรงงาน และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Joseph Campbell Preserve Co.
John T. Dorrance | Source: Campbell’s
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 1897 เมื่อ Arthur Dorrance ดึงตัวหลานชาย John T. Dorrance นักเคมีผู้จบการศึกษาจาก MIT และมหาวิทยาลัย Göttingen มาร่วมงาน ด้วยความรู้ด้านเคมีระดับสูง Dorrance ได้คิดค้นกระบวนการกลั่นซุปโดยลดปริมาณน้ำ ทำให้ได้ซุปเข้มข้นที่คงคุณภาพไว้ได้อย่างสมบูรณ์ นวัตกรรมนี้ช่วยลดต้นทุนทั้งด้านบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง และการเก็บรักษา ส่งผลให้ Campbell’s สามารถจำหน่ายซุปในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด
ตั้งแต่ Campbell’s ก่อตั้งมา ได้มีการผลิตซุปรสชาติต่าง ๆ ไปมากกว่า 100 รสชาติแล้ว โดยรสชาติแรกที่ผลิตออกมาก็คือ ซุปมะเขือเทศ ซึ่งผลิตขึ้นมาครั้งแรกในปี 1895
และตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัว จนมาถึงตอนนี้ ซุปมะเขือเทศของ Campbell’s ก็เป็นที่นิยมติด Top 5 ตลอดมา
โดยรสชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่
อันดับ 1 ซุปบะหมี่ไก่ข้น
อันดับ 2 ซุปมะเขือเทศ
อันดับ 3 ซุปครีมไก่
อันดับ 4 ซุปครีมเห็ด
อันดับ 5 ซุปไก่และข้าว
ซุปกระป๋องของ Campbell’s ยังคงครองใจผู้บริโภคชาวอเมริกันเสมอมา โดยจากการสำรวจพบว่าชาวอเมริกันกว่า 95% ชื่นชอบซุป Campbell’s และ 1 ใน 4 เคยนำซุปกระป๋อง Campbell’s มาเสิร์ฟแขก แต่อ้างว่าเป็นซุปโฮมเมด แสดงให้เห็นถึงการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในด้านรสชาติและคุณภาพ
ยอดขายของ Campbell’s แยกตามผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ปี 2017 – 2023 | Source Statista
ปัจจุบัน Campbell’s ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตซุปเท่านั้น แต่ได้ขยายธุรกิจครอบคลุมถึงอาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะธุรกิจขนมขบเคี้ยวที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากสัดส่วนรายได้ 28% ในปี 2017 เพิ่มขึ้นเป็น 47 – 49% ในปัจจุบัน จนนำไปสู่การตัดสินใจเปลี่ยนชื่อบริษัทครั้งแรกในรอบ 100 ปี จาก Campbell Soup Company เป็น Campbell’s Company
สิ่งที่น่าทึ่งคือตั้งแต่ปี 1970 บริษัทไม่เคยพลาดการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นแม้แต่ปีเดียว โดยปี 2024 นับเป็นปีที่ 54 ที่จ่ายปันผลติดต่อกัน
Campbell’s เป็นตัวอย่างของบริษัทที่แม้จะดูเก่าแก่และทำธุรกิจไม่หวือหวา แต่มีความแข็งแกร่งสูง ทั้งในด้านแบรนด์ การปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย รวมถึงมีสถานะการเงินที่มั่นคง และแน่นอนว่าจุดแข็งที่ทำให้ Campbell’s ประสบความสำเร็จก็คือ
อ้างอิง: Marketeer Online, ลงทุนเกิร์ล, MarketThink, Campbell’s Investor Relations
หุ้น Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSMC) พุ่งแตะระดับสูงสุดตลอดกาล หลังจากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1.4% ในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน (TWSE) ทะลุจุดสูงสุดเดิมที่ทำไว้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น TSMC ตลอดปี 2024 | Source: Tradingview
ตลอดปี 2024 ราคาหุ้นของ TSMC เพิ่มขึ้นถึง 82% สะท้อนถึงความสนใจในเทคโนโลยี AI ที่มีอย่างต่อเนื่อง และยังคงเป็นปีที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ผลิตชิปยักษ์ใหญ่จากไต้หวัน ซึ่งเตรียมทำสถิติ Performance ดีที่สุดในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่ปี 1999
ทั้งนี้ Kevin Net หัวหน้าฝ่ายหุ้นเอเชียของ Financiere de L’Echiquier กล่าวว่า
“TSMC คือโอกาสที่ดีในการลงทุนด้าน AI โดยไม่ต้องเลือกเทคโนโลยีหรือผู้ชนะ พร้อมกับยังมีมูลค่าหุ้นที่สมเหตุสมผล”
Kevin Net ยังได้แนะนำให้ติดตามการแถลงข่าวของ Nvidia ที่งาน CES 2025 ในเดือนหน้า รวมถึงผลประกอบการจาก TSMC ที่จะเผยในอนาคต
TSMC ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการลงทุนใน AI โดยมีการเติบโตที่โดดเด่นจากลูกค้าระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม เช่น Apple (AAPL) และ Advanced Micro Devices (AMD)
สำหรับไตรมาส 4 ที่จะสิ้นสุดในเดือนธันวาคมนี้ TSMC คาดว่าจะมีการเติบโตของยอดขายเพิ่มขึ้น 36% และทำกำไรขั้นต้นได้สูงถึง 58.3% ซึ่งถือเป็นอัตรากำไรที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2022
Finnomena Funds แนะนำกองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ SCBSEMI(A) กองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ ที่คัดมาเฉพาะผู้นำในอุตสาหกรรมจำนวน 25 บริษัท โดยโฟกัสที่ธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call
SCBSEMI(A) เป็นกองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบกระจุกตัว ทำให้เมื่อตลาดหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวดีขึ้น กองทุนนี้จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์อื่น ๆ
ปัจจุบัน SCBSEMI(A) มีสัดส่วนการถือหุ้น TSMC ที่ประมาณ 11.43% (ข้อมูลวันที่ 24/12/2024)
และกองทุนหุ้นเทคโนโลยี B-INNOTECH ที่เน้นบริษัทพื้นฐานดีทั่วโลก กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และราคาไม่แพง รวมทั้งยังทนทานต่อความผันผวนในระยะสั้นได้ดี ตามคำแนะนำ FundTalk Call และ MEVT Call
B-INNOTECH เป็นกองทุนหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลกแบบ Active จาก Fidelity Funds ที่เน้นการเสาะหาหุ้นเติบโต (Growth) สูงภายใต้ Valuation ที่เหมาะสม พร้อมรับอานิสงส์จากงบหุ้น Big Tech ที่คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง โดยปัจจุบัน B-INNOTECH มีสัดส่วนการถือหุ้น TSMC ประมาณ 6.4% (ข้อมูล ณ วันที่ 31/11/24)
อ้างอิง: Yahoo Finance, CNN, Tech Xplore, TrendForce
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ในปัจจุบันสินทรัพย์ดิจิทัลกำลังเติบโตและปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งบล็อกเชนมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงอนาคตของโลกการเงินและธุรกิจอย่างลึกซึ้ง โดยช่วยลดการพึ่งพาสถาบันกลางและสนับสนุนการทำธุรกรรมที่โปร่งใสและปลอดภัย ผ่านการกระจายอำนาจและการบันทึกข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
กองทุน ASP-DIGIBLOC จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างมีระบบ
ในบทความนี้เราจะไปทำความรู้จักกับ 10 ข้อสำคัญเกี่ยวกับกองทุน ASP-DIGIBLOC ที่จะช่วยให้เข้าใจถึงศักยภาพและโอกาสของการลงทุนในเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล
เมื่อพูดถึงบล็อกเชน หลายคนอาจนึกถึงคริปโตเคอร์เรนซี แต่แท้จริงแล้ว บล็อกเชนคือเทคโนโลยีที่มีศักยภาพมหาศาล เปรียบได้กับอินเทอร์เน็ตยุคเริ่มต้น เมื่อครั้งที่ผู้คนยังไม่เข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตสามารถเปลี่ยนโฉมการสื่อสารและธุรกิจได้อย่างไร บล็อกเชนกำลังเดินทางในเส้นทางเดียวกัน ด้วยการสร้างเครือข่ายที่โปร่งใสและปลอดภัย เหมาะสำหรับการทำธุรกรรมในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การเงิน การขนส่ง ไปจนถึงสุขภาพและการศึกษา
การยอมรับ (Adoption) ของ Internet เทียบกับคริปโตเคอร์เรนซี | Source: World Bank, Crypto.com
As of March 2024
ข้อมูลจาก World Bank ซึ่งเปรียบเทียบการเติบโตของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและคริปโตเคอร์เรนซี โดยเส้นสีน้ำเงินแสดงการเติบโตของผู้ใช้งานคริปโตที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงปี 2022 ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต (เส้นสีเขียว) ในปี 1998
โดยจุดตัดในปี 2022 บ่งชี้ว่าคริปโตมีโอกาสเข้าสู่ช่วง “การยอมรับในวงกว้าง” (Mass Adoption) หากแนวโน้มนี้ดำเนินต่อไป
คาดการณ์ขนาดตลาดเทคโนโลยีบล็อกเชน 2022 – 2032 | Source: Market.us
As of April 2024
ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลจาก Market.us คาดการณ์ว่าขนาดตลาดเทคโนโลยีบล็อกเชนจะเพิ่มขึ้นจากระดับประมาณ 1.97 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2024 สู่ระดับเกือบ 13 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2032 จากการยอมรับจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น DeFi (Decentralized Finance) และ NFT (Non-Fungible Tokens)
ใครที่สนใจเทคโนโลยีบล็อกเชน แต่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการซื้อเหรียญคริปโตโดยตรง ยังมีทางเลือกอื่นที่น่าสนใจ คือการลงทุนในบริษัทชั้นนำที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับบล็อกเชน ตัวอย่างเช่น บริษัทที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบล็อกเชน หรือให้บริการด้านคลาวด์ที่รองรับการทำงานของเทคโนโลยีนี้
นอกจากนี้ การลงทุนในกองทุนดัชนีที่ติดตามสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน (Digital Asset & Blockchain ETF) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและเข้าถึงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีระบบ โดยการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลหรือบล็อกเชน มีข้อดีดังนี้
กองทุน VanEck Digital Transformation ETF (DAPP) ซึ่งเป็นกองแม่ของ ASP-DIGIBLOC มีนโยบายการลงทุนในบริษัททั่วโลกที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลกองทุน โดยมีการกระจายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Digital Assets คลอบคลุมในหลายด้าน ดังนี้
บริษัทที่ให้บริการดำเนินการชำระเงินบนเว็บไซต์ แพลตฟอร์มการซื้อขาย รวมถึงร้านค้าแบบดั้งเดิม ด้วยการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล
บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับการขุดหรือจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัล
บริษัทที่ทำหน้าที่ประมวลผลธุรกรรมระหว่างผู้ใช้บัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์ หรือเหมืองขุดสินทรัพย์ดิจิทัล
บริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
บริษัทที่มีสินทรัพย์ดิจิทัลใน Balance Sheet หรือมีการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนสูง
บริษัทที่สร้างซอฟต์แวร์หรืออำนวยความสะดวกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินทรัพย์ดิจิทัล
บริษัทที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างระบบการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม และระบบการให้บริการสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลยุคใหม่
กองทุน ASP-DIGIBLOC ได้รับการยอมรับว่าเป็นกองทุนที่มีโอกาสร้างผลตอบแทนโดดเด่นในกลุ่มสินทรัพย์ดิจิทัล ด้วยกลยุทธ์การลงทุนในบริษัทชั้นนำที่มีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล
ผลการดำเนินงานย้อนหลังของ ASP-DIGIBLOC | Source: ASP-DIGIBLOC Fund Fact Sheet
As of 31/10/24
*คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
จากกราฟแสดงผลการดำเนินงานของกองทุน ASP-DIGIBLOC และเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ชัดเจนว่า ASP-DIGIBLOC มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม
เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงาน ในช่วง 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี กองทุน ASP-DIGIBLOC มีผลการดำเนินงานอยู่ที่ 1.78% 34.30% และ 103.75%
ซึ่งหากพิจารณาผลการดำเนินงานในช่วง 1 ปี พบว่าผลการดำเนินงานของ ASP-DIGIBLOC โดดเด่นกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มเดียวกันโดยมีอัตราการเติบโตอยู่ 103.75% ขณะที่ค่าเฉลี่ยในกลุ่มเดียวกันที่ 38.84%
ผลการดำเนินงานของ Bitcoin หลังวัน Halving | Source: Finnomena Funds, Macrobond
As of 12/11/24
*คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
Bitcoin Halving ซึ่งเกิดขึ้นทุก ๆ 4 ปี ซึ่งเป็นกระบวนการที่รางวัลของนักขุด Bitcoin ลดลงครึ่งหนึ่ง เพื่อควบคุมอุปทานและสร้างความขาดแคลนในระบบของ Bitcoin ส่งผลให้ราคามักปรับตัวสูงขึ้นในช่วงหลังจากเหตุการณ์นี้
โดยเหตุการณ์ Bitcoin Halving ในปีนี้ได้ดันราคา Bitcoin ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 178% (ข้อมูล จาก Tradingview ณ 18/12/2024) หากเทียบกับการ Halving ในอดีตเมื่อปี 2020 ราคา Bitcoin ปรับตัวขึ้น 555.6% หลังจากการ halving ไปแล้ว 1 ปี และในปี 2016 ราคา Bitcoin ปรับตัวขึ้น 299.7% หลังจากการ halving ไปแล้ว 1 ปี (ที่มา Bitcoin Halving)
นอกจากนี้ การอนุมัติกองทุน Bitcoin ETF จากหน่วยงานกำกับดูแลยังช่วยเพิ่มกระแสเงินลงทุนจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม 2024 ซึ่งสะท้อนถึงความสนใจใน Bitcoin ของนักลงทุนผ่าน ETF และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้สินทรัพย์ดิจิทัลยังคงมี Upside ที่น่าสนใจ
Donald Trump มีแนวโน้มที่จะออกนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น ปลด Gary Gensler อดีตประธาน SEC (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ของสหรัฐอเมริกา, ปล่อยตัว Ross Ulbricht ผู้ก่อตั้ง Silk Road, สนับสนุนการขุด Bitcoin เช่นการ Minted & Mined ที่ต้อง Made in US และจัดตั้งทุนสำรอง Bitcoin แห่งชาติ
นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยกับ CBDC (Central Bank Digital Currency) พร้อมทั้งส่งเสริมสิทธิในการดูแลสินทรัพย์ด้วยตนเอง
ตลาดคาดหวังว่านโยบายดังกล่าวมีโอกาสช่วยเร่งการยอมรับสินทรัพย์ดิจิทัลในวงกว้าง และส่งผลให้ตลาดมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง
หนึ่งในข้อได้เปรียบของการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเชนผ่านกองทุน ASP-DIGIBLOC คือความผันผวนน้อยกว่าการซื้อคริปโตโดยตรง การกระจายความเสี่ยงไปยังหลายบริษัทช่วยลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนของราคาคริปโต ในขณะเดียวกันยังคงได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรม
ASP-DIGIBLOC เน้นลงทุนในบริษัทบล็อกเชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและการเงิน เช่น บริษัทที่พัฒนาและใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน บริษัทที่ให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัล หรือบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีในภาคการเงิน (FinTech)
นอกจากนี้ยังสามารถลงทุนในบริษัทที่มีธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งช่วยสร้างการผสมผสานระหว่างการเงินดิจิทัลและเทคโนโลยีให้มีความสมดุลและสร้างโอกาสเติบโตในระยะยาว
*ข้อมูลจาก Financial Times ณ วันที่ 18/12/24 สัดส่วนอาจมีการเปลี่ยนแปลง
เดิมที MicroStrategy เป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรในวงกว้าง แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา MicroStrategy ได้กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากในฐานะ “บริษัทที่ถือครอง Bitcoin มากที่สุดในโลก”
Coinbase เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา และยังเป็นผู้พัฒนา USDC ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ผูกติดกับมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงยังมีธุรกิจที่เกี่ยวของกับ Digital Asset ที่ครอบคลุมเช่นธุรกิจ Custodian หรือผู้ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับบริษัทจัดการลงทุน
Hut 8 Corp เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการขุดสินทรัพย์ดิจิทัล (Mining) โดยเฉพาะ Bitcoin และให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีบล็อกเชน
MARA Holdings หรือ Marathon Digital Holdings เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการขุดสกุลเงินดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการขุด Bitcoin และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขุดและเก็บสะสม Bitcoin
Block (เดิมชื่อว่า Square) เป็นผู้ให้บริการด้านการเงิน ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ และผู้ประมวลผลการชำระเงินที่ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มรายได้ผ่านการใช้โซลูชันที่เข้าถึงได้ง่าย
ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่เติบโตเร็วและเต็มไปด้วยความคาดหวัง การลงทุนในบล็อกเชนจึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและมีความเชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีบล็อกเชนและตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงมองหาโอกาสในการเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโลกของบล็อกเชนจะเต็มไปด้วยโอกาสที่น่าตื่นเต้น แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่ต้องตระหนักเสมอ การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง และตลาดอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ และทำความเข้าใจถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างถ่องแท้
อ้างอิง: ASP-DIGIBLOC Fund Fact Sheet, Finnomena
คำเตือน: กองทุนนี้มีการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีความผันผวนของราคาสูง โดยอาจปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนเริ่มต้น และอาจทำให้ขาดทุนได้ | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort
รายละเอียดและเงื่อนไข https://www.ktam.co.th/upload/
รายละเอียดและเงื่อนไข https://www.ktam.co.th/upload/tb_promotion_290_1727858758.80914_file1.pdf
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ต่อเนื่องจากบทความก่อนที่เน้นกองทุนลดหย่อนภาษีของไทยและเอเชีย บทความนี้จะขอโฟกัสไปที่กองทุนลดหย่อนภาษีในตลาดหุ้นสหรัฐ โดยจะขอฉาย แนะนำกองทุนลดหย่อนภาษีแนวเน้นเซกเตอร์แบบเชิงรับหรือ Value จากนั้นพิจารณากองทุนลดหย่อนภาษีแนวเทคโนโลยีหรือแบบเติบโต (Growth) และตบท้ายด้วยภาพกองทุน RMF และ SSF ตลาดสหรัฐแบบรวมทั้งตลาด
เริ่มจากกองทุนหุ้นสหรัฐแนวเน้นเซกเตอร์แบบเชิงรับหรือ Value ได้แก่
KFGBRANRMF และ KFGBRANSSF ซึ่งมีกองต้นทางอ้างอิง (Feeder Fund) ที่ชื่อ กองทุน Morgan Stanley Global Brands
หากใครต้องการกองทุนหุ้นสหรัฐที่มีระดับความเสี่ยงต่ำกว่าตลาดรวม กองทุนนี้ ถือว่าเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากมีน้ำหนักที่เอียงมาทางกลุ่มหุ้นในเซกเตอร์ Value หรือ เน้นระดับ P/E ที่ไม่สูงและจ่ายเงินปันผลงาม อาทิ เซกเตอร์การเงิน สินค้าจำเป็น Healthcare และอุตสาหกรรม มากกว่าดัชนี MSCI World Equity Index และ ดัชนี S&P500 ในขณะที่น้ำหนักในกลุ่ม Growth เช่น IT, สินค้าฟุ่มเฟือย, บริการด้านการสื่อสาร และพลังงาน ที่น้อยกว่าตลาด
นอกจากนี้ กองทุน Morgan Stanley Global Brands ยังเลือกหุ้นที่มีมูลค่าแบรนด์สูง หรือ มี Intangible Asset ระดับสูงโดย ณ กลางเดือนธันวาคม 2024 หุ้น 10 ตัวแรก ประกอบด้วย Microsoft, SAP, Visa, Accenture, Intercontinental Exchange, RELX, UnitedHealth, Thermo Fisher Scientific, Becton Dickinson และ Aon ซึ่งถือว่าล้วนแล้วแต่เป็นแบรนด์ที่มีระดับ
ทั้งนี้ แม้อัตราผลตอบแทนในช่วง 2 ปีนี้ จะต่ำกว่าตลาดสหรัฐโดยรวม ทว่าอัตราผลตอบแทนก็สูงเป็นระดับ 2 หลัก โดยหากพิจารณาในระยะยาว พบว่า NAV มีระดับการแกว่งตัวที่ต่ำกว่าตลาด รวมถึงอัตราผลตอบแทนสูงกว่าตลาดในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง
หันมาพิจารณากองทุนแนวเทคโนโลยีที่เน้นแบบเติบโต หรือ Growth กันบ้าง
หนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ ได้แก่ B-INNOTECHRMF ซึ่งมี Fidelity Funds – Global Technology Fund เป็น Feeder Fund หากเปรียบเทียบกับ TNEXTGENRMF-A ซึ่งมี ARK Next Generation Internet ETF (ARKW) เป็น Feeder Fund โดยอย่างที่ทราบกันว่า แคธี่ วู้ด ผู้บริหาร ARK เป็นผู้บริหารกองทุน ARKW แน่นอนว่าดูเหนือกว่าฮุนโฮ ซอน ผู้จัดการกองทุน Fidelity Funds – Global Technology Fund อย่างไรก็ดี
เมื่อเปรียบเทียบด้านอัตราผลตอบแทน จะพบว่า B-INNOTECHRMF ให้อัตราผลตอบแทนในระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) สูงกว่า TNEXTGENRMF-A ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนระยะ 3 ปีติดลบ โดยถือว่าในมิติอัตราผลตอบแทนในอดีตนั้น B-INNOTECHRMF ทำได้ดีกว่า TNEXTGENRMF-A
ด้านเซกเตอร์ที่ถือครอง ถือว่าทั้ง 2 กองทุน พบว่ามีดีคนละอย่าง โดย B-INNOTECHRMF เน้นเซกเตอร์ IT สหรัฐที่โดดเด่น ส่วน TNEXTGENRMF-A เน้นเซกเตอร์ Cloud & Digital Wallet ซึ่งหุ้นเติบโตสหรัฐดูโดดเด่น
โดยภาพรวม ผมยังชอบ B-INNOTECHRMF มากกว่า TNEXTGENRMF-A
ท้ายสุด พิจารณากองทุน RMF และ SSF ตลาดสหรัฐแบบรวมทั้งตลาด แนว Active
โดย RMF ประกอบด้วย KUSARMF, SCB-RMUSA และ KFUSRMF ส่วน SSF ประกอบด้วย SCBUSA(SSF) และ KFUSSSF
สำหรับในภาพรวม กองที่น่าจะถือว่าเสี่ยงกว่าเพื่อน ได้แก่ SCBRMUSA(A) และ SCBUSA(SSF)
โดยผมขอเปรียบเทียบระหว่าง SCB-USA ซึ่งมี Morgan Stanley Investment Funds – US Advantage เป็น Feeder Fund และ K-USA ซึ่งมี Brown Advisory US Sustainable Growth Fund เป็น Feeder Fund ก่อน
หากพิจารณาระดับเซกเตอร์ จะพบว่า SCB-USA มีเซกเตอร์สินค้าบริโภคแบบฟุ่มเฟือย ที่มีน้ำหนักสูงกว่าตลาดมาก ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้ที่กองทุนนี้ถือครองหุ้นสไตล์ค่อนข้างหวือหวา รวมถึงหุ้น 10 ตัวแรกของกองทุน SCB-USA มีน้ำหนักถึงเกือบ 60% ของทั้งหมด ในขณะที่ K-USA มีน้ำหนักเพียง 48% ณ กลางเดือนธันวาคม 2024
ทั้งนี้ จะพบว่าแม้กองทุน SCB-USA จะมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าหากพิจารณาในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ยามที่ตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ในช่วงขาลง อัตราผลตอบแทนของ SCB-USA ก็ลดลงแรงกว่าเช่นกัน
ในขณะที่ หากพิจารณาระหว่างกองทุน SCB-USA และ KF-US ซึ่งมี GQG Partners US Equity Fund เป็น Feeder Fund จะพบว่าเป็นไปในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน นั่นคือ SCB-USA มีเซกเตอร์สินค้าบริโภคแบบฟุ่มเฟือย ที่มีน้ำหนักสูงกว่าตลาด ในขณะที่ KF-US มีเซกเตอร์ Healthcare และ สินค้าที่จำเป็น มีน้ำหนักที่สูงกว่าตลาด ซึ่งแม้กองทุน SCB-USA จะมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าหากพิจารณาในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ยามที่ตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ในช่วงขาลง อัตราผลตอบแทนก็ลดลงแรงกว่าเช่นกัน
โดยสรุปคือ คนอยากลงทุนกองทุนประหยัดภาษีในตลาดหุ้นสหรัฐทว่าชอบความเสี่ยงไม่มาก แนะนำ กองทุน KFGBRANRMF และ KFGBRANSSF ส่วนคนชอบความเสี่ยงปานกลาง แนะนำ KUSARMF, KFUSRMF และ KFUSSSF ด้านคนชอบเสี่ยงมากนิดนึง แนะนำ B-INNOTECHRMF รวมถึง SCBRMUSA(A) และ SCBUSA(SSF)
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
[MacroView]
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
Finnomena Funds คัดกองทุนเด่นพร้อมรับกลยุทธ์การลงทุนปี 2025 สรุปทุกสินทรัพย์แนะนำ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นรายประเทศ Themetic ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือกต่าง ๆ
Source: Finnomena Funds as of 16/12/2024
มุมมองการลงทุน Finnomena Funds ในปี 2025 ให้น้ำหนักการลงทุน “ตราสารหนี้โลก” “ตราสารหนี้เอเชีย และ “BTC/Blockchain” เป็น Positive มากที่สุด เพราะการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ จะได้รับประโยชน์จากทิศทางดอกเบี้ยโลกเป็นขาลงเช่นเดียวกับเงินเฟ้อ รวมถึง Yield ก็อยู่ในระดับสูงน่าสนใจลงทุน ด้านบิทคอยน์กับบล็อกเชน จะได้รับแรงหนุนจากนโยบายสนับสนุนของ Trump ประกอบกับ Fund Flow ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของกองทุน Spot ETF
นอกจากนี้ มีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้น Developed Markets, หุ้นอินเดีย, หุ้นเวียดนาม, หุ้นธีมเทคโนโลยี AI, ทองคำ, ตราสารหนี้ไทย และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโลก
คำถามคือแล้วจังหวะแบบนี้ ควรจะซื้อกองทุนอะไรดี? เราจึงคัดมาให้แล้วกับกองทุนแนะนำจาก FundTalk Call สำหรับนักลงทุนสายสวน, Mr.Messenger Call สำหรับนักลงทุนสายเติบโตตามเทรนด์ขาขึ้น และ MEVT Call สำหรับนักลงทุนที่มีเป้าหมายระยะยาว
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
1.) ASP-USSMALL-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นขาดกลาง-เล็กในสหรัฐฯ เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น ธุรกิจการเงิน ทำให้จะได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Trumponomics ที่เตรียมลดภาษีนิติบุคคล หนุนบริษัทเอกชนในประเทศ
2.) KT-ENERGY (ความเสี่ยงระดับ 7)
กองทุนหุ้นพลังงาน ยังคงมุมมองบวกจากนโยบายขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รวมถึงการที่เงินเฟ้อยังยืนในระดับค่อนข้างสูงน่าจะทำให้เงินดออลาร์แข็ง และบาทอ่อนในช่วงสั้นสามารถถัวเพิ่มน้ำหนักได้
3.) TISCOINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตสูงในระยะยาว โดยแนะนำกองทุนที่กระจายลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียทั้งหมด 3 กองทุน ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ Goldman Sachs India Equity Portfolio , FSSA Indian Subcontinent Fund และ Nomura Funds Ireland-India Equity Fund
โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
1.) ASP-DIGIBLOC (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ยังมีแนวโน้มทะยานต่อได้จากนโยบายสนับสนุนของ Trump ที่เตรียมนำคริปโตมาเป็นเงินทุนสำรอง ทำให้ราคา Bitcoin มีโอกาสยืนแกร่งที่ 100,000 เหรียญ ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า
2.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเวียดนาม เชื่อว่ารอบของการปรับฐานจบลงแล้ว หลังดัชนี VN30 ปรับตัวลงมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน อีกทั้งก็มีปัจจัยหนุนเชิงพื้นฐานเรื่องการได้ประโยชน์ China+1 จึงเตรียมเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้ง
3.) SCBSEMI(A) (ความเสี่ยงระดับ 7)
กองทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เป็นธีม Growth Stock ที่มีโอกาสทะยานสู่จุดสูงสุดใหม่ พร้อมรับแนวโน้มเชิงบวกจากปรากฏการณ์ Santa Claus Rally และ January Effect
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis
1.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดที่ถูกและดี ประกอบกับการมาของ Trump เร่งให้เกิด China+1 ในการย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีนเร็วขึ้น ซึ่งเวียดนามคือหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ รวมทั้งยังมีปัจจัยหนุนอื่น ๆ เช่น ความคืบหน้าเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปี 2025 และการถูกปรับประมาณกำไรเพิ่มเติม
2.) B-INNOTECH (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยี เน้นคัดเลือกหุ้น Value Play โดยการเข้าซื้อหุ้นเติบโตในราคาไม่แพง ขณะเดียวกันปัจจัยเชิงพื้นฐานเฉพาะตัวยังคงดี เพราะประมาณการกำไรของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือว่าเติบโตในระดับ 2 หลัก
3.) UGIS-N และ KFSINCFX-A (ความเสี่ยงระดับ 5)
กองทุนตราสารหนี้โลก เป็นจังหวะเก็บสะสมหลังเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในกรอบ กดให้ Bond Yield ปรับตัวลดลง จึงเป็นผลบวกต่อกองทุนตราสารหนี้ โดยเฉพาะกองทุนตราสารหนี้ที่บริหารแบบ Active มีการปรับ Duration ยืดหยุ่นสอดรับกับสถานการณ์ตลาด
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
*รับเพิ่ม: หน่วยลงทุน KFCASH-A มูลค่า 100 บาท ต่อยอดเงินลงทุนสะสมทุกๆ 50,000 บาท ใน SSF/ RMF/ Thai ESG ตามเงื่อนไข (โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่รายละเอียดด้านล่าง)
https://krungsriasset.com/TH/
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
Donald Trump ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมากล่าวหาประเทศปานามาว่า เรียกเก็บค่าผ่านคลองปานามา “แพงเกินจริง” พร้อมขู่ว่าหากไม่ลดค่าธรรมเนียมลง สหรัฐฯ จะเรียกร้องให้คืนสิทธิ์การควบคุมคลองปานามาแก่สหรัฐฯ
“ค่าธรรมเนียมที่ปานามาเรียกเก็บนั้นเป็นเรื่องไร้สาระและไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง”
Trump กล่าวต่อผู้สนับสนุนในรัฐแอริโซนาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
“เรื่องการรีดไถแบบนี้ต่อประเทศเราจะต้องหยุดทันทีเมื่อผมเข้ารับตำแหน่ง”
ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวต่อ
Donald Trump ในงาน Turning Point USA | Source: BBC
คำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นระหว่างการปราศรัยในงานประชุมประจำปีของ Turning Point USA องค์กรนักเคลื่อนไหวอนุรักษ์นิยมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วย Trump รณรงค์หาเสียง
ทั้งนี้ Trump ยังกล่าวถึงประเด็นการเมืองในประเทศ โดยเลี่ยงการพูดถึงความขัดแย้งเรื่องเพดานหนี้ของรัฐบาลที่เพิ่งได้รับการแก้ไข แต่เขายังคงเน้นประเด็นที่เคยหาเสียงไว้ เช่น การอพยพ อาชญากรรม และการค้าระหว่างประเทศ
คำกล่าวของ Trump สร้างความไม่พอใจให้กับประธานาธิบดี José Raúl Mulino แห่งปานามา ซึ่งออกมาตอบโต้ว่า “ทุกตารางเมตร” ของคลองปานามาและพื้นที่โดยรอบเป็นสมบัติของปานามา พร้อมย้ำอย่างชัดเจนว่า อธิปไตยและความเป็นอิสระของปานามา “เจราต่อรองไม่ได้”
คำกล่าวของ Trump สะท้อนถึงแนวทางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป หลังจากเขาเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม โดยเฉพาะการกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ อาจเรียกร้องให้ปานามาคืนสิทธิ์การควบคุมคลองปานามา
ซึ่งนอกจากปานามาแล้ว Trump ยังกล่าวโจมตีแคนาดาและเม็กซิโก โดยกล่าวหาว่า 2 ประเทศนี้มีกระบวนการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และปล่อยให้ยาเสพติด รวมถึงผู้อพยพไหลเข้าสู่สหรัฐฯ
แต่ถึงอย่างนั้น Trump กลับกล่าวชื่นชมประธานาธิบดีเม็กซิโก Claudia Sheinbaum ว่าเป็น “ผู้หญิงที่วิเศษมาก”
คลองปานามา | Source: ABL Group
คลองปานามา เป็นหนึ่งในเส้นทางน้ำที่มีความสำคัญที่สุดในโลก เชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก โดยมีความยาวประมาณ 82 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในประเทศปานามา
คลองนี้ช่วยลดระยะเวลาการเดินเรือระหว่าง 2 มหาสมุทร โดยไม่ต้องอ้อมผ่านทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าอย่างมหาศาล
คลองปานามาเริ่มต้นจากความพยายามของฝรั่งเศสในปี 1881 แต่โครงการต้องหยุดชะงักลงเนื่องจากปัญหาทางการเงินและโรคระบาด ต่อมาสหรัฐอเมริกาเข้ามารับช่วงต่อในปี 1904 และใช้เวลาอีก 10 ปีในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี 1914
คลองปานามาถูกควบคุมโดยสหรัฐฯ เป็นเวลาหลายทศวรรษ ก่อนจะถูกคืนให้กับประเทศปานามาภายใต้สนธิสัญญา Torrijos-Carter ในปี 1977 และโอนสิทธิเสร็จสมบูรณ์ในปี 1999
ระบบล็อค (Locks System) ของคลองปานามา | Source: Today I Found Out
การทำงานของคลองปานามาเป็นระบบวิศวกรรมที่ซับซ้อนและประสานการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหัวใจสำคัญคือ “ระบบล็อค” (Locks System) ที่ทำหน้าที่ปรับระดับเรือให้เหมาะสมกับความสูงของทะเลสาบ Gatun และระดับน้ำทะเล ด้วยการเติมน้ำหรือปล่อยน้ำผ่านแรงโน้มถ่วง
โดยเมื่อเรือเข้าสู่ล็อค น้ำจะถูกเติมเข้าไปจนระดับน้ำสูงขึ้น ทำให้เรือลอยขึ้นสู่ระดับความสูงที่ต้องการ จากนั้นเมื่อเรือมาถึงล็อคอีกฝั่ง น้ำจะถูกปล่อยออกเพื่อลดระดับน้ำจนเรือกลับสู่ระดับน้ำทะเล
นอกจากนี้ คลองปานามายังมีการจัดการจราจรอย่างเข้มงวดด้วยเรือลากจูง และตารางเวลาที่แม่นยำ โดยการขยายคลองในปี 2016 เพื่อรองรับเรือขนาดใหญ่ในระดับ New Panamax ได้สร้างช่องทางล็อคใหม่ที่ใหญ่ขึ้น ส่งผลให้คลองสามารถรองรับเรือที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงถึง 120,000 ตัน จากเดิมที่รองรับได้เพียง 65,000 ตัน
คลองปานามาไม่ได้เป็นเพียงเส้นทางน้ำธรรมดา แต่ยังเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจโลกในหลายมิติ ดังนี้
คลองปานามาช่วยลดระยะทางการเดินเรือระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติกได้ถึง 8,000 ไมล์ทะเล (13,000 กิโลเมตร) เทียบกับการเดินเรือผ่านแหลมฮอร์นที่ปลายทวีปอเมริกาใต้ การลดระยะทางนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง เวลา และค่าประกันสินค้า ทำให้การค้าระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คลองปานามาเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลก โดยรองรับการขนส่งสินค้าหลากหลายประเภท เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ อาหารแช่แข็ง และสินค้าอุปโภคบริโภค
ปัจจุบันคลองปานามามีเรือสินค้าผ่านกว่า 14,000 ลำต่อปี ซึ่งคิดเป็นประมาณ 6% ของการค้าทั่วโลก
คลองปานามามีบทบาทสำคัญในตลาดพลังงาน โดยเฉพาะการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากสหรัฐฯ ไปยังเอเชียและยุโรป การขยายคลองในปี 2016 ทำให้สามารถรองรับเรือขนส่ง LNG ขนาดใหญ่ได้ ส่งผลให้ตลาดพลังงานโลกมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
คลองปานามาเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ โดยรัฐบาลปานามาเก็บค่าธรรมเนียมการผ่านคลองซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ต่อปี รายได้นี้ถูกนำไปใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชากร
คลองปานามาสนับสนุนการกระจายอำนาจทางการค้าในภูมิภาคต่าง ๆ โดยช่วยให้ประเทศในเอเชีย เช่น จีน และญี่ปุ่น สามารถส่งออกสินค้าไปยังยุโรปและอเมริกาได้รวดเร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศในแถบละตินอเมริกาและเอเชียอีกด้วย
อ้างอิง: BBC, Britannica
ใกล้จะถีงสิ้นปีมาทุกขณะ น่าจะถึงเวลาของการซื้อกองทุนรวมลดหย่อนภาษีกันแล้ว ซึ่งในปีนี้ มี 3 ทางเลือกให้เลือกสรรตามอัธยาศัย เริ่มจากผู้ที่อยากถือกองทุนลดหย่อนภาษีให้ระยะเวลาถือครองสั้นที่สุด น่าจะเล็งไปที่กองทุน Thai ESG ซึ่งประกอบด้วยหุ้นไทย กับ ตราสารหนี้ไทย แล้วแต่จะเลือกสรร เนื่องจากหากถือครบ 5 ปี ก็สามารถขายออกมาได้แบบสามารถรับสิทธิลดหย่อนทางภาษีได้เต็ม ๆ
ในขณะที่หากท่านที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี กองทุน SSF น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากหากถือไว้ครบ 10 ปี แล้วค่อยขายนั้น อายุท่าน ณ ตอนนั้น ก็ยังไม่ถึง 55 ปี ส่วนผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปี กองทุน RMF น่าจะเข้าทางกว่า เนื่องจากถือไว้จนอายุครบ 55 ปีแล้วจึงขายได้ ซึ่งก็ยังถือไว้น้อยกว่า 10 ปี ทำให้สามารถถือครองด้วยระยะเวลาสั้นกว่าที่ SSF บังคับให้ถือเพื่อลดหย่อนภาษี
คราวนี้ มาถึงคำถามสำคัญคือแล้วจะซื้อกองไหนดีสำหรับทั้ง 3 ประเภท มาดูกันครับ
เริ่มจาก กองทุน Thai ESG ผมขออนุญาตใช้ข้อมูลผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 12 พ.ย. 2567 จากข้อมูลของทาง SET ปรากฎว่ากองที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ONE-THAIESG, K-TNZ-THAIESG, B-TOP-THAIESG, KKP GB THAI ESG และ ASP-THAIESG ซึ่งมีทั้งกองหุ้นไทยและตราสารหนี้ไทย โดยผมมองว่าทั้ง 5 กองถือว่าน่าสนใจ เนื่องจากผ่านการทดสอบมาเกือบ 11 เดือน แล้วปรากฎว่า ให้ผลตอบแทนที่ดีพอสมควร
มาถึงกองทุน RMF และ SSF กันบ้าง ผมขอโฟกัสไปที่กองต่างประเทศ เนื่องจากเงื่อนไขระยะเวลาการถือครองของกองทุน Thai ESG ถือว่าดีกว่า RMF และ SSF สำหรับผู้ลงทุน ดังนั้นหากใครจะซื้อ RMF หรือ SSF หุ้นหรือบอนด์ไทย ผมมองว่าไปซื้อกองทุน Thai ESG น่าจะดีกว่า
ในปีนี้ สำหรับกองทุน RMF และ SSF ผมมองไว้ 3 ตลาดที่น่าสนใจ ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น และอินเดีย เริ่มจากสหรัฐ แม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐในตอนนี้ถือว่าขึ้นมาสูงกว่า 10% หลังจากตอนที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งใหญ่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทว่าการเลือกสก็อต เบสเสนต์ เข้ามานั่งในเก้าอี้รัฐมนตรีคลัง แสดงถึงจุดยืนของการทำสงครามการค้ากับจีนของทรัมป์ที่น่าจะยืดหยุ่นกว่าที่คาด รวมถึงการมีข้อจำกัดของอิลอน มัสก์ที่จะเข้ามาล้วงลูกในตำแหน่งสำคัญๆของคณะรัฐมนตรี เนื่องจากมัสก์แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการที่เบสเสนต์จะเข้ามาคั่วตำแหน่งขุนคลัง นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐน่าจะยังสามารถไปได้ดีในช่วงถัดไป จากธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดที่สามารถจัดการปัญหาอัตราเงินเฟ้อได้ค่อนข้างดีในช่วงที่ผ่านมา
ด้านญี่ปุ่น ผมมองว่าภารกิจของผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือ BOJ คาซึโอะ อูเอดะ ในการนำพาเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้กลับไปสู่เศรษฐกิจที่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นบวกแบบยั่งยืนเหมือนเศรษฐกิจของประเทศชั้นนำอื่นๆทั่วโลก น่าจะใกล้เป็นความจริงแล้ว โดยที่แม้ในระยะสั้น BOJ น่าจะต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกราว 3 ครั้ง ซึ่งยังคงจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดในระยะสั้น ทว่าผมมองว่าน่าจะผ่านไปได้ในที่สุด
ท้ายสุด อินเดีย ถือว่าได้เปรียบประเทศอื่นๆในส่วนของการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเข้มแข็งของทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก รวมถึงน่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบไม่มากนักจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน อีกทั้งถือเป็นประเทศใหญ่ที่ทั้ง 2 ฝั่ง น่าจะให้ความสำคัญในฐานะที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการทหารของทั้งคู่
บทความนี้ จะขอพามาทำความรู้จักกองทุนฝั่งเอเชียกันก่อน
เริ่มจากตลาดญี่ปุ่น ผมมองกอง RMF ที่อ้างอิงกองต้นทาง (Feeder Fund) ที่ชื่อ NEXT FUNDS Nikkei 225 Exchange Traded ซึ่งมีอยู่หลายกองทุนในบ้านเรา โดยขอเลือก SCBRMJP และ TJPRMF-A
ขอแถมกองทุนรวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ไม่ใช่กองทุนลดภาษีเพิ่มเติม เผื่อว่าอยากลงทุนในกองทุนรวม ผมแนะนำกองทุนใน 2 กลุ่ม ได้แก่ กองทุนรวมหุ้นญี่ปุ่นแบบเน้นหุ้นตัวใหญ่ที่บริหารให้อัตราผลตอบแทนชนะตลาด หรือ Big Cap Active Fund โดยหากใจเย็นถือยาวหน่อย ขอแนะนำ ASP-JHC ซึ่งมี Nomura High Conviction Fund เป็นกอง Feeder Fund โดยกองดังกล่าวเป็นกองแนวที่เน้นหุ้นแบบ Value ที่ทำผลตอบแทนได้ดีเมื่อนโยบายการคลังเป็นแบบขยายตัว และ กองทุนกลุ่มบริษัทขนาดกลางและเล็ก แนะนำกองทุน UOB United Japan Small And Mid Cap Fund หรือ UOBSJSM
ตามด้วยตลาดอินเดีย สำหรับกองทุนรวมประหยัดภาษีของตลาดหุ้นอินเดีย ในส่วน RMF ผมชอบอยู่ 2 กอง ได้แก่ KINDIARMF ซึ่งมีกองทุน Goldman Sachs India Equity Portfolio เป็น Feeder Fund โดยจุดเด่นของกองนี้ คือ การกระจายหุ้นในสัดส่วนของเซกเตอร์ต่างๆได้สมดุล รวมถึงถือหุ้นที่ถือว่าให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดในช่วงที่ผ่านมา และ B-INDIAMRMF ซึ่งมีกองทุน Kotak Funds – India Midcap Fund เป็น Feeder Fund โดยจุดเด่นของกองนี้ คือมีการเลือกหุ้นขนาดกลางที่น่าสนใจเข้ามาผสมด้วย แม้น้ำหนักส่วนใหญ่ยังเป็นหุ้นใหญ่อยู่ก็ตาม รวมถึงทีมบริหารกองทุนมีประสบการณ์ที่ยาวนาน ขอแถมกองทุนรวมที่ไม่ใช่ประหยัดภาษีให้อีกหนึ่งกอง ได้แก่ B-BHARATA ซึ่งมีองทุน RAMS Equities Portfolio Fund India เป็น Feeder Fund จุดเด่นของกองนี้คือความเสี่ยงค่อนข้างต่ำกว่าเพื่อน
คราวนี้ หันมาพิจารณากองทุน SSF กันบ้าง
ตลาดญี่ปุ่น ผมขอเลือก SCBJAPAN(SSF) ที่อ้างอิงกองต้นทาง (Feeder Fund) จากค่าย Goldman Sachs ที่บริหารกองทุนได้น่าสนใจ
ตลาดอินเดีย ผมขอเลือก KT-INDIA-SSF ที่อ้างอิงกองต้นทางจากค่าย Invesco ซึ่งผู้จัดการกองทุนถือว่ามีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี
โดยทั้งหมด ผมได้ทำการศึกษาและเลือกสรรจากบรรดากองทุนรวมประหยัดภาษีในภูมิภาคดังกล่าวเกือบทุกตัวที่มีอยู่ในตลาด ณ ปัจจุบัน
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
[MacroView]
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
This Issue
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
Eye On This Week
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้
Market
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ
Finnomena Port Performance
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน