แจ้งเตือน

เจาะลึกมุมมองการลงทุน Healthcare 2025 หลังจีนไฟเขียวยาอัลไซเมอร์ของ Eli Lilly

Finnomena Editor
มุมมองการลงทุน Healthcare 2025

Highlight (คลิกเลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)


Eli Lilly (LLY) เปิดเผยว่าหน่วยงาน NMPA (National Medical Products Administration) หรือที่คนไทยเรียกว่า “อย.จีน” ได้อนุมัติ Kisunla หรือที่รู้จักในชื่อทางการว่า Donanemab ยาฉีดทางหลอดเลือดดำสำหรับรักษาโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น 

ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำคัญสำหรับผู้ป่วยในจีน ต่อจากการอนุมัติยา Leqembi ของ Biogen และ Eisai เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยยา Kisunla ถูกออกแบบมาเพื่อกำจัดโปรตีนเบตา-แอมิลอยด์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ประสิทธิภาพของ Kisunla

ยารักษาอัลไซเมอร์

ยา Kinsula | Source: Pharmaphorum

จากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 (TRAILBLAZER-ALZ 2 Phase 3) พบว่า Kisunla มีประสิทธิภาพโดดเด่นดังนี้

  • ช่วยชะลอการเสื่อมถอยของความจำและความคิดได้ถึง 29% เมื่อเทียบกับยาหลอก
  • ลดความเสี่ยงการลุกลามของโรคลงถึง 39%
  • ลดโปรตีนเบตา-แอมิลอยด์ในสมอง โปรตีนชนิดนี้ลดลงได้ถึง 84% ภายในระยะเวลา 18 เดือน
  • สามารถหยุดการรักษาได้เมื่อบรรลุเป้าหมาย โดยพิจารณาจากผลการสแกนสมองที่แสดงว่าปราศจากโปรตีนแอมิลอยด์

ผลข้างเคียงที่ต้องพิจารณา

แม้จะมีผลการรักษาที่น่าพอใจ แต่ Kisunla ก็มีความเสี่ยงที่ต้องระวัง

  • ภาวะสมองบวมและเลือดออกในสมอง พบในผู้ป่วยเกือบ 25% และ 33% ตามลำดับ แต่ส่วนใหญ่เป็นกรณีที่ไม่รุนแรง
  • การจัดการผลข้างเคียง การให้ยาในขนาดที่เริ่มต้นต่ำและเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองบวมได้
  • คำเตือนกรอบดำ (Boxed Warning) ในสหรัฐอเมริกา Kisunla มีคำเตือนบนฉลากถึงความเสี่ยงของภาวะสมองบวมและเลือดออกที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคอัลไซเมอร์ ปัญหาสุขภาพระดับโลก

องค์การอนามัยโลกระบุว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด โดยคิดเป็น 60 – 70% ของผู้ป่วยสมองเสื่อมทั้งหมด 

โดยในประเทศจีน ประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ประมาณ 6% มีภาวะอัลไซเมอร์หรือโรคที่เกี่ยวข้อง

การอนุมัติ Kisunla จึงเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มทางเลือกการรักษา และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในจีนและทั่วโลก

มุมมองการลงทุน Healthcare 2025

มุมมองการลงทุนในกลุ่ม Healthcare ปี 2025

ในปี 2025 ตลาด Healthcare ในสหรัฐฯ มีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งจากนโยบายที่อาจเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล และแนวโน้มการเติบโตของตลาดยารักษาโรคสำคัญ เช่น เบาหวานและโรคอ้วน

Affordable Care Act (ACA) การเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบ

Affordable Care Act (ACA) หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า “Obama Care” เป็นกฎหมายที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้การเข้าถึงการดูแลสุขภาพในสหรัฐอเมริกาเป็นไปได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีส่วนสำคัญดังนี้

  1. Individual Mandate กฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องมีประกันสุขภาพ หากไม่ทำจะต้องจ่ายภาษี ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนซื้อประกันสุขภาพ
  2. Employer Mandate กำหนดให้นายจ้างที่มีพนักงานมากกว่า 50 คน ต้องจัดประกันสุขภาพให้กับพนักงานประจำ
  3. Premium Tax Credit สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง จะได้รับเงินอุดหนุนภาษีเพื่อช่วยในการซื้อประกันสุขภาพ
  4. Expansion of Medicaid and Medicare Medicaid ถูกขยายเพื่อให้คนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงประกันสุขภาพได้มากขึ้น ส่วน Medicare ให้การดูแลสุขภาพเชิงป้องกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม ในสมัยแรก Donald Trump เคยยื่นยกเลิก ACA แต่ถูกปัดตกเพราะไม่มีแผนที่ชัดเจนมากพอ แต่ในสมัยนี้ Trump ระบุว่าจะไม่ยกเลิก และจะทำให้ ACA ดียิ่งขึ้น

โดยนโยบายของพรรค Republican ที่นำเสนอเกี่ยวกับ ACA มีดังนี้

  • ยุติ Premium Tax Credit (PTC) โดยโครงการนี้ทำให้คนเข้าถึงประกันสุขภาพได้ง่ายขึ้น แต่ PTC จะหมดอายุในปี 2025 หากไม่ถูกขยายออกไป จะทำให้คนมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นและทำให้คนกว่า 4 ล้านคนไม่มีประกัน
  • เปลี่ยนเงินทุนของโครงการสุขภาพจากรัฐบาลกลางเป็นเงินสนับสนุนแบบก้อน (Block Grants)
  • ปรับโครงสร้างการให้เงินทุน Medicaid
  • เพิ่มข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะรับสิทธิ์ Medicaid
  • เจรจาลดราคายาลง

ทั้งนี้ Trump มีแผนที่จะใช้ข้อกำหนดในกฎหมาย Inflation Reduction Act (IRA) เพื่อเจรจาลดราคายา และอาจกำหนดเพดานราคาสำหรับยาชนิดอื่น ๆ ที่มีราคาสูงเพิ่มเติม เช่น กำหนดเพดานค่าใช้จ่ายสำหรับอินซูลินไว้ที่ 35 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับผู้มีประกันสุขภาพภายใต้ Medicare

แรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตใน Healthcare

แม้นโยบายดังกล่าวจะสร้างความกังวลเล็กน้อยต่อตลาด Healthcare แต่ยังมีปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตในระยะยาว ดังนี้

1. ความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและโรคอ้วน

  • McKinsey บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจเบอร์ 1 ของโลก คาดว่า จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,400 ล้านคนภายในปี 2040 ซึ่งจะผลักดันความต้องการของยารักษาเบาหวาน และสร้างโอกาสการเติบโตสำหรับบริษัทในอุตสาหกรรม
  • ยาใหม่ เช่น Ozempic และ CagriSema ถูกคาดหวังว่าจะเป็น ‘ตัวเปลี่ยนเกม’ โดย CagriSema ที่สามารถลดน้ำหนักได้ถึง 25% อาจเปิดตัวในช่วงปลายปี 2025 หรือต้นปี 2026

2. การเปิดตัวยาลดน้ำหนักตัวใหม่ Catalyst สำคัญในปี 2025 – 2026

  • Novo Nordisk และ Eli Lilly ซึ่งเป็นผู้นำในตลาดนี้ คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการเติบโตของตลาดยาลดความอ้วน โดย McKinsey ประเมินว่าตลาดนี้จะมีรายได้ระหว่าง 120,000 – 280,000 ล้านดอลลาร์

3. ความโปร่งใสและการแข่งขันด้านราคายา

  • นโยบายของ Trump ที่ผลักดันให้มีความโปร่งใสมากขึ้น เช่น การเปิดเผยราคายา จะเพิ่มการแข่งขันในตลาด ซึ่งในระยะยาวอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสำหรับผู้บริโภค และเพิ่มทางเลือกในการรักษา

แนวโน้มกำไรหุ้นที่มียารักษาโรคอ้วนเติบโตสูงกว่า

ตลาดยารักษาโรคอ้วนกำลังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมยา สะท้อนผ่านตัวเลขการเติบโตที่โดดเด่นของ 2 บริษัทผู้นำในตลาดนี้

กำไรหุ้นยาเปรียบเทียบกำไรของหุ้นที่มีและไม่มียาลดความอ้วน | Source: Finnomena Funds, Bloomberg
As of 09/12/2024

Eli Lilly ผู้ผลิตยา Zepbound คาดว่ากำไรมีโอกาสพุ่งสูงถึง 108.6% ในปี 2024 ขณะที่ Novo Nordisk เจ้าของยา Wegovy และ Ozempic คาดว่าจะเติบโต 23.2% ในปีเดียวกัน

ตัวเลขนี้แตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับบริษัทยารายใหญ่อื่น ๆ ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ อย่าง Pfizer ที่กำไรหดตัวถึง -71.9% ในปี 2023 หรือ Johnson & Johnson ที่คาดว่าจะมีกำไรลดลง -4.7% ในปี 2024

Key Takeaway สำหรับนักลงทุน

แม้จะมีแรงกดดันจากนโยบายควบคุมราคายาของรัฐบาลที่อาจกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรในระยะสั้น แต่กลุ่ม Healthcare โดยเฉพาะตลาดยาลดความอ้วนและเบาหวานยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งในระยะยาว 

อีกทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น CagriSema ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่ตลาดในช่วงปลายปี 2025 ยังมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมนี้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยคุณสมบัติในการช่วยลดน้ำหนักได้ถึง 25%

อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น นโยบายการกำหนดเพดานราคายา รวมถึงการลดเงินสนับสนุนในโครงการสุขภาพ เช่น Medicaid อาจกดดันผลประกอบการของบริษัท Healthcare บางแห่ง แม้ว่าความเสี่ยงเหล่านี้จะชัดเจน แต่ตลาดมีแนวโน้มว่าจะรับรู้ความเสี่ยงนี้ไปแล้วในระดับหนึ่ง (Priced-in)

Healthcare ValuationHealthcare Valuation | Source: Finnomena Funds, Bloomberg
As of 06/12/2024

ในแง่ของการประเมินมูลค่า หุ้นในกลุ่ม Healthcare ยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แม้ประมาณการกำไรจะถูกปรับลดลงเล็กน้อย แต่ Valuation โดยรวมยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงค่าเฉลี่ย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโต โดยเฉพาะสำหรับบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโรคเบาหวานและยาลดน้ำหนักที่ตอบโจทย์ความต้องการในตลาด

สรุปมุมมองการลงทุนโดย Finnomena Funds

เนื่องจากกลุ่ม Healthcare ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการบริการสุขภาพ และนวัตกรรมทางการแพทย์ แม้ว่าจะมีความผันผวนในตลาด และปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะสั้น 

Finnomena Funds จึงมีมุมมอง Neutral โดยแนะนำ “ทยอยสะสม/ถือ” กองทุนหุ้นสุขภาพชั้นดีทั่วโลก ES-HEALTHCARE ที่เน้นลงทุนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต (Life Sciences Orientation) การรักษา หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยพัฒนา ผลิต หรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ


อ้างอิง: Reuters, Stock Titan, Seeking Alpha

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวด Healthcare ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

มนุษย์เงินเดือนยิ่งรายได้สูง ยิ่งจ่ายภาษีก้าวกระโดด!

Park Kathawut
มนุษย์เงินเดือนยิ่งรายได้สูง ยิ่งจ่ายภาษีก้าวกระโดด!

ด้วยโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของมนุษย์เงินเดือน ต้องจ่ายแบบขั้นบันได คือสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามเงินได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น

เริ่มต้นตั้งแต่ถูกยกเว้นภาษี หากเงินได้ทั้งปีไม่เกิน 150,000 บาท และอัตราสูงสุดถึง 35% หากเงินได้สูงกว่า 5,000,001 บาทขึ้นไป

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • เงินได้สุทธิ 1 – 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น
  • เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษี 5%
  • เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษี 10%
  • เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท อัตราภาษี 15%
  • เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
  • เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

 

แปลว่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะโดนอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

ยกตัวอย่าง หากเราเป็นคนที่ทำงานมาได้สักระยะ ฐานเงินเดือน 100,000 บาท รู้ไหมว่าปี ๆ นึง เราจะต้องจ่ายภาษีสูงถึงหลักแสน!

วิธีคำนวณภาษีมนุษย์เงินเดือน

วิธีคำนวณง่าย ๆ ในกรณีไม่ได้วางแผนลดหย่อนภาษีอะไรเลย ใช้แค่สิทธิพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ หักค่าใช้จ่าย (100,000 บาท) หักค่าลดหย่อนพื้นฐาน (60,000 บาท) และหักเงินประกันสังคม (9,000 บาท)

นำตัวเลขนี้มาคำนวณภาษีของคนที่รายได้ปีละ 1,200,000 หรือตกเดือนละ 100,000 บาท ผลลัพธ์จะได้แบบนี้

  1. รายได้ทั้งปี (1,200,000) – ค่าใช้จ่าย (100,000) – ค่าลดหย่อนพื้นฐาน (60,000) – ประกันสังคม (9,000) เท่ากับ เงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท
  2. จากนั้นเอาเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท ไปเทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันไดข้างต้น จะตกที่อัตราภาษี 25% คิดเบ็ดเสร็จออกมาแล้ว เราจะต้องจ่ายภาษีถึง 122,750 บาท

สรุปวิธีคำนวณภาษี ปี 2567: จับมือสอนตั้งแต่เริ่มต้น ครบจบทุกขั้นตอน

ดังนั้น หลายคนจึงต้องมองหาตัวช่วยเพื่อบรรเทาภาษีที่หนักอึ้งแบบนี้ หนึ่งในนั้นก็คือการนำเงินไปลงทุนผ่านกองทุนลดหย่อนภาษี เช่น SSF, RMF, Thai ESG และ PVD ของแต่ละบริษัท

จริงอยู่ว่าเงินที่ซื้อกองทุนไม่ได้ถูกนำไปหักจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายแบบตรง ๆ แต่จะนำถูกไปหักลบเงินได้สุทธิให้ลดลงมา เพื่อให้ฐานภาษีต่ำลง และจ่ายภาษีในอัตราที่น้อยลง

เช่น คนที่เงินได้สุทธิ 1,200,000 บาท ฐานภาษี 25% ก็อาจจะใช้วิธีซื้อกองทุนสัก 500,000 บาท เพื่อให้ฐานภาษีลงไปเหลือ 10% เป็นต้น

จะเห็นว่าการที่มนุษย์เงินเดือนอยู่ในระบบภาษีแบบนี้ ทำให้การวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องที่ “ไม่ทำไม่ได้”

คำถามคือลดหย่อนภาษีปีนี้ ซื้อกองทุนอะไรดี? Finnomena Funds สรุปมาให้แบบครบ ๆ ทั้งกองทุน SSF กองทุน RMF และกองทุน Thai ESG จากหลากหลาย บลจ. ด้วยคำแนะนำการลงทุนที่เป็นกลาง ดูโพยกองทุนคลิกเลย

Finnomena Funds Market Alert: หุ้นเอเชียร่วงยกแผงหลัง Fed ส่งสัญญาณชะลอลดดอกเบี้ย

Finnomena Funds
Finnomena Funds Market Alert

วันนี้ (19 ธันวาคม 2024) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลง นำโดย ตลาดหุ้นเกาหลี (KOSPI) -1.9% ตลาดหุ้นอินเดีย (NIFTY) -0.95% ตลาดหุ้นไทย (SET Index) -0.47 และดัชนี HSCEI หรือหุ้น H-Share (HSCEI) -0.25% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในคืนวันพุธที่ 19 ธันวาคม 2024 โดยดัชนี S&P500 ปรับตัวลง -2.95% และดัชนี NASDAQ 100 ปรับตัวลง -3.66%

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเมื่อคืนนี้ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนจาก 4.50%-4.75% เป็น 4.25%-4.50% โดยในแถลงการณ์ของ Fed ระบุว่า เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลงสู่เป้าหมายที่ 2% นอกจากนี้ รายงานคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Dot Plot) แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ Fed ส่วนใหญ่สนับสนุนการลดดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปี 2025 จากเดิมเคยส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยถึง 4 ครั้ง ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ตลาดผิดหวังและเกิดแรงเทขายเมื่อคืนนี้

นอกจากนี้ Fed ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สำหรับปี 2024-2027 โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวที่ 2.5%, 2.1%, 2.0% และ 1.9% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังปรับลดคาดการณ์อัตราการว่างงานในปี 2024 จาก 4.4% เป็น 4.2% และในปี 2025 จาก 4.4% เป็น 4.3% ส่วนอัตราเงินเฟ้อ Fed ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ในปี 2024 จาก 2.6% เป็น 2.8% และในปี 2025 จาก 2.2% เป็น 2.5%

Finnomena Funds มองว่าการปรับตัวลงของตลาดหุ้นเอเชียเป็นเพียง Sentiment ในช่วงสั้น หลังจากตลาดผิดหวังการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยของ Fed ที่น้อยกว่าที่คาดไว้

เรายังคงแนะนำ “ทยอยสะสม” กองทุนหุ้นเอเชียอย่าง UOBSA ที่ใช้ AI ร่วมกับผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกหุ้น สร้างผลตอบแทนระยะยาวโดดเด่นกว่ากองเอเชียอื่น ๆ รวมถึงกองทุนหุ้นเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A
และแนะนำ “ถือ” กองทุนหุ้นเกาหลี SCBKEQTG ตามคำแนะนำ MEVT Call หรือ DAOL-KOREAEQ ตามคำแนะนำ FundTalk Call

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปประชุม Fed ครั้งสุดท้ายของปี 2024 มีอะไรที่ต้องรู้ ทำไมหุ้นโลกร่วงหนัก!

Finnomena Editor
มุมมอง Finnomena Funds หลัง Fed ลดดอกเบี้ยแบบ Hawkish

Finnomena Funds มองอย่างไร เมื่อ Fed ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ของปี แต่มาในโทนที่ Hawkish แข็งกร้าวขึ้น ควรใช้จังหวะนี้เพิ่มสัดส่วนการลงทุน หรือชะลอเพื่อพิจารณาสถานการณ์ข้างหน้า

เกิดอะไรขึ้น?

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ครั้งสุดท้ายของปีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2024 มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 4.25-4.50%

ถือเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ของปี 2024 หลังลดครั้งแรกในเดือนกันยายนที่ 0.5% ครั้งต่อมาในเดือนพฤศจิกายนที่ 0.25% และครั้งล่าสุดอีก 0.25% เท่ากับว่าปีนี้ Fed ปรับลดดอดเบี้ยรวมแล้ว 1.00%

Source: Federal Reserve Bank of New York, CNBC as of 18/12/2024

Jerome Powell พูดถึงโอกาสการลดดอกเบี้ยในปีหน้าว่าการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอาจจะไม่ง่ายนัก โดยจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และความคืบหน้าของตัวเลขเงินเฟ้อ

Fed Dot Plot

Source: Fed, Yahoo Finance as of 18/12/2024

รายงานคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคต (Dot Plot) ในครั้งนี้ กรรมการ Fed ส่วนใหญ่ 10 เสียง มองว่าอัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2025 จะอยู่ที่ระดับ 3.75 – 4.0% ซึ่งเป็นการปรับลดเพียง 2 ครั้ง น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3 – 4 ครั้ง

fed watch tool

Source: cmegroup as of 19/12/2024

ข้อมูล Fed Watch Tool ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2024 ก็แสดงให้เห็นว่าตลาดมองโอกาสการลดดอกเบี้ยครั้งต่อไปขยับไปอยู่ในช่วงกลางปี 2025

สำหรับประมาณการทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระหว่างปี 2024-2027 พบว่า Fed ปรับเพิ่ม GDP Growth อยู่ที่ระดับ 2.5%, 2.1%, 2.0% และ 1.9% ตามลำดับ คาดการณ์อัตราว่างงานที่ 4.2%, 4.3%, 4.3% และ 4.3% ตามลำดับ พร้อมปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อเป็น 2.8%, 2.5%, 2.2% และ 2.0% ตามลำดับ

สะท้อนให้เห็นว่า Fed มองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งและเงินเฟ้อคงสูงกว่าเป้าหมาย จึงมีท่าที Hawkish มากขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นโดยรวมปรับตัวลงแรง Bond Yield เด้งขึ้น และเงินดอลลาร์แข็งค่าทันที


มุมมอง Finnomena Funds หลัง Fed ลดดอกเบี้ยแบบ Hawkish

ตลาดหุ้นตอบรับเชิงลบ โดยหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง 3 – 4% ขณะที่หุ้นเอเชียเช้านี้ (19/12/2024) ปรับลดลง 1 – 2% เนื่องจากการประกาศ Dot Plot ที่มองว่าปีหน้าจะเหลือลดดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้ง เพราะเงินเฟ้อยังไม่ลดลงมาใกล้เคียงกับเป้าหมาย 2% ที่ตั้งไว้ (Hawkish Tone) และปรับเพิ่มคาดการณ์ PCE Inflation จาก 2.1 เป็น 2.5%

ด้าน Bond Yield อายุ 2 ปี และ 10 ปี ปรับตัวขึ้นมาที่ระดับ 4.3% และ 4.5% ซึ่งสูงกว่าระดับ Fed Fund Rate แล้ว และค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าที่สุดในรอบปี ส่งผลค่าเงินบาทอ่อนค่ามาที่ 34.50 ในวันนี้

เรามองว่าที่ระดับ Bond Yield ปัจจุบันได้สะท้อนมุมมองแข็งกร้าวของ Fed แล้ว โดยประเมินว่าในครึ่งแรกของปี 2025 Bond Yield จะอยู่ต่ำกว่านี้ เมื่อ Fed ทยอยลดดอกเบี้ยลง

รวมถึงการที่ปรับเพิ่มประมาณการ GDP เป็น 2.1% ในปีหน้า ถือเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในตราสารหนี้โลก และตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมถึงตลาดหุ้นเกิดใหม่ ดังนั้น การปรับฐานครั้งนี้จึงเหมาะที่จะ “ทยอยสะสม”

  • หุ้นสหรัฐฯ แนะนำกองทุน ASP-USSMALL-A AFMOAT-HA
  • หุ้นกลุ่ม AI กลางถึงปลายน้ำ แนะนำกองทุน TISCOAI B-INNOTECH
  • หุ้นเวียดนาม แนะนำกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A
  • หุ้นอินเดีย แนะนำกองทุน B-BHARATA TISCOINA-A
  • ตราสารหนี้โลก แนะนำกองทุน UGIS-N

 

นักลงทุนยังสามารถใช้โอกาสนี้เป็นจังหวะดีในการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ด้วยเช่นกัน ดูกองทุนแนะนำทั้ง SSF RMF และ Thai ESG ของปี 2024
คลิกที่นี่ได้เลย


คำเตือนผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Market Outlook 2025 ปีแห่ง Trump’s Trade

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
Market Outlook 2025 ปีแห่ง Trump’s Trade

หลังจากที่ Donald Trump ชนะการเลือกตั้งสหรัฐฯ และเตรียมกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2025 นักลงทุนทั่วโลกต่างจับตาและคาดการณ์ว่า ปีหน้าอาจเต็มไปด้วยความผันผวนและความไม่แน่นอนในตลาดการเงินจากนโยบายเศรษฐกิจ ต่างประเทศ และการค้า

อย่างไรก็ดี ทิศทางการลงทุนในปัจจุบันกลับไม่ได้สะท้อนความกังวลเท่ากับเศรษฐกิจ

นับตั้งแต่ Trump ชนะการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นสหรัฐทำผลตอบแทนดีเกินคาด ดัชนี S&P 500 เดินหน้าทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง ความผันผวนในตลาดทรงตัวในระดับต่ำ จนทำให้นักลงทุนเริ่มตั้งคำถามว่า เราอาจกังวลกับ Trump’s Trade มากเกินไปหรือไม่ และควรเตรียมตัวพร้อมมากกว่านี้ไหม

เพื่อให้การวางกลยุทธ์ลงทุนในปี 2025 มีความน่าสนใจมากขึ้น ผมลองผนวกแนวคิดจากหนังสือ The Art of the Deal ที่เขียนโดย Donald Trump ในปี 1987 เพื่อให้นักลงทุนไทยรู้ทันแนวคิดของ Trump พร้อมนำมาประยุกต์กับการลงทุน โดยที่ผมประเมินกรณีที่น่าจะเกิดขึ้นสำหรับตลาดการเงินปี 2025 เป็น 3 แบบ

กรณีฐาน Trade Deal เพราะ Trump สอนว่าต้อง “Maximize your options”

ทางออกของนโยบายต่างประเทศและการค้าไม่ได้มีแค่การเก็บภาษี ผมประเมินว่าการเจรจาต่อรองหรือ Trade Deal มีโอกาสเกิดขึ้น 60%

เป้าหมายหลักของ Trump คือทำให้เศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่ง นโยบายที่ดีที่สุดสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐจึงควรเป็นการทำให้เกิดการลงทุน จ้างงานชาวอเมริกันในประเทศ และผลักดันธุรกิจที่ Trump ต้องการรักษาความเป็นอันดับหนึ่งของโลกไว้ในสหรัฐ

การดึงภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกมาตั้งฐานการผลิตจะเป็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนที่สุดในกรณีนี้ ขณะที่การทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าจะช่วยหนุนให้ประเทศคู่ค้าตัดสินใจเร็วขึ้นและสามารถลดการขาดดุลการค้าไปพร้อมกันด้วย

ผมประเมินว่าในกรณีนี้ ตลาดจะคล้ายกับปี 2019 ดัชนีหุ้นกลุ่ม DM (Developed Markets) มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อจาก ดอลลาร์ที่อ่อนค่า ราคาน้ำมันลดลง เฟดลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.50% ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐระยะยาวทรงตัว

สำหรับการลงทุน กรณีดีที่สุดคือนโยบายกลับทิศหรือ Trade Backfire

กรณีนี้จะเกิดขึ้นขึ้นถ้านโยบายเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป ส่งผลให้นักลงทุนเสียความเชื่อมั่น เศรษฐกิจชะลอตัว

แนวคิดของ Trump คือ “Low Rent, High Stakes” ลงทุนน้อย แต่ถ้าประสบความสำเร็จ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มาก หมายความว่านอกจากการค้า Trump จะเน้นไปที่การกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น ประเด็นผู้อพยพ หรือความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ไปพร้อมกัน

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลลบกับสหรัฐเอง เพราะนโยบายลดการใช้จ่าย แม้จะถูกต้องในระยะยาว แต่ในระยะสั้นอาจทำให้การบริโภคโดยรวมของสหรัฐลดลง และหากดำเนินการเร็วเกินไป อาจเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ ผมจึงเรียกกรณีนี้ว่า Backfire และประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นราว 20%

อย่างไรก็ดี ที่กรณีนี้จะดีที่สุดกับการลงทุนเป็นเพราะเฟดจะลดอกเบี้ยลงต่ำกว่า 3.00% เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ และแม้เศรษฐกิจสหรัฐจะเสี่ยงถดถอย แต่ผมมองว่าสถานการณ์นี้ไม่ได้เป็นลบต่อการลงทุนมากนักเพราะหุ้นกลุ่ม Tech และหุ้นขนาดกลางในสหรัฐจะได้แรงหนุนจากนโยบานการเงินที่ผ่อนคลายมากกว่า

กรณีที่แย่จริงคือ Trade War หรือสงครามการค้าเกิดขึ้นจริง เมื่อ Trump เดินหน้าเก็บภาษีการค้าเพื่ออุดช่องโหว่ทางการคลัง

ผมให้โอกาสเกิดขึ้นของกรณีนี้ราว 20% เพราะแนวคิดของ Trump คือ “Deliver the Goods” หรือทำตามสัญญาที่ให้ไว้ อย่างน้อยจึงอาจต้องมีการเก็บภาษีให้เห็นก่อนการเจรจา

ด้วยตลาดกรเงินปัจจุบันที่ไม่ได้เตรียมพร้อมรับกับกรณีนี้ โลกการเงินจะเข้าสู่โหมดตกใจและปิดรับความเสี่ยงเช่นเดียวกับปี 2018 ข้อเสียของการเก็บภาษีคือเงินเฟ้อที่อาจทรงตัวสูง ทำให้เฟดลดดอกเบี้ยยาก ทั้งหุ้นและบอนด์จึงมีโอกาสปรับตัวลงพร้อมกัน

จากการประเมินเหตุการณ์ที่ทั้งหมดในปี 2025 ผมมองว่ากลยุทธ์ต้อง “Think Big” สอดคล้องกับภาพใหญ่

แม้ Trump จะเป็นปธน.สหรัฐฯ ที่คาดเดายาก แต่ภาพใหญ่ปี 2025 เป็นปีที่นโยบายการเงินทั่วโลกมีแนวโน้มผ่อนคลาย การลงทุนจึงไม่ควรแย่

หากมี Trade Deal เงินดอลลาร์จะมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ส่งเสริมให้เกิดการกระจายการลงทุนไปยังทั่วโลก ในกรณีฐาน นักลงทุนจึงควรมีทยอยสะสมหุ้นนอกสหรัฐพื้นฐานดีไว้ก่อน

โอกาสการลงทุนจะสดใสมากขึ้นถ้าเฟดอาจลดดอกเบี้ยแรง หุ้นขนาดกลางและเล็กที่มีศักยภาพเติบโตสูงจึงเป็นอีกกลุ่มที่ควรมีในพอร์ต

แค่ต้องไม่ลืมว่าความเสี่ยงหลักคือ Trade War ยังคงอยู่ ดังนั้นจึงควรชะลอการลงทุนในประเทศที่มีแนวโน้มถูกตั้งกำแพงภาษีเพิ่มเติม รวมไปถึงกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ทางเลือก เช่น Private Asset หรือ Hedge Fund ที่มีความสัมพันธ์กับหุ้นและบอนด์ต่ำไว้ด้วย

สำหรับการลงทุนปี 2025 คำแนะนำที่ดีที่สุดจาก Trump ผมเลือกเป็น “Protect the Downside and the Upside will take care of itself” จัดการกับความเสี่ยงให้ได้ แล้วโอกาสจะเผยตัวเองออกมา แล้วพบกันอีกครั้งในปี 2025 ครับ

Market Outlook 2025 ปีแห่ง Trump’s Trade

สรุปกรณีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2025 และการลงทุนที่น่าสนใจ
ที่มา: FSS

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 – 20 December 2024

Merkle Capital
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 December 2024

หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้

MACROECONOMICS

Key Takeaways

  • Core Retail Sales มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยลง
  • Core PCE Price Index มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิม
  • Personal Income มีแนวโน้มที่จะลดลง
  • Personal Spending มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น

WEEKLY TONE: BUY WEEK

ในสัปดาห์นี้มีตัวชี้วัดที่สำคัญต่อตลาดคริปโตฯ ได้ออกมา เริ่มต้นด้วยการคาดการณ์ Core Retail Sales ที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น รวมไปถึง Core PCE Price Index ที่มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิม และไฮไลท์ของสัปดาห์นี้คือ FED Interest Rate Decision หรือการประชุมเพื่อที่จะลดอัตราดอกเบี้ยของ FED สำหรับ Core Retail Sales แสดงให้เห็นถึงการใช้จ่ายในฝั่งของสินค้าและบริการที่เพิ่มมากขึ้น ส่วน FED Interest Rate และ Core PCE Price Index แสดงให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่ถูกควบคุม โดยที่ตัวอัตราเงินเฟ้อนั้นกำลังคงที่หรือกำลังชะลอตัวอย่างช้า ๆ และ FED มีแนวโน้มที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมครั้งถัดไปอีกด้วย ภาพในตลาดคริปโตฯ ตอนนี้ยังสามารถเปิดความเสี่ยงได้ แต่เหรียญใหญ่ ๆ อย่าง Bitcoin แต่อาจที่จะมี Upside น้อยกว่าเหรียญอื่น ๆ สำหรับ Altcoins สามารถเปิดความเสี่ยงได้ และยังมี Potential ที่จะมี Upside มากกว่า


Important Economic Data this week :

1. Core Retail Sales

Core Retail Sales MoM หรือ ดัชนียอดค้าปลีก เป็นการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายอดขายทั้งหมดในระดับการค้าปลีก ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญมากที่สุดที่บ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งคิดเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับ Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales

คาดการณ์จาก Tradingeconomics: Core Retail Sales มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 0.4% เป็น 0.5%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/retail-sales
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของ Core Retail Sales แสดงให้เห็นถึงผู้บริโภคที่ได้ใช้จ่ายในฝั่งของสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงสัญญาณบวกของเศรษฐกิจอีกด้วย การเพิ่มขึ้นของ Core Retail Sales ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงแก่นักลงทุนอีกด้วย เศรษฐกิจที่ดีจะทำให้นักลงทุนเริ่มมองหาสินทรัพย์ที่เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น หรือนักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอยู่แล้ว ก็อาจจะมีการมองเข้ามายังสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อหาผลตอบแทนที่มากกว่า

2. FED Interest Rate Decision

สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินแห่งสหรัฐฯ หรือ FOMC ได้มีการลงคะแนนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ย นักเก็งกำไรต่างเฝ้าติดตามคำพูดของเขาอย่างใกล้ชิดเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดค่าเงินตราและความผันผวนของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ

คาดการณ์จาก Tradingeconomics: Interest Rate มีแนวโน้มที่ลดจาก 4.50% – 4.75% เหลือ 4.25% – 4.50%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/interest-rate
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์ในการลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 4.25% – 4.50% แสดงให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่กำลังคงที่หรือชะลอตัวลง อีกทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยยังทำให้ผู้บริโภคนั้นได้นำเงินฝากออกมาลงทุนเพิ่มมากขึ้น นักลงทุนจะเริ่มมองหาสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

3. Core PCE Price Index

United States Core PCE Price Index (Personal Consumption Expenditures Price Index) คือดัชนีราคาที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาของสินค้าและบริการที่บรรจุในการบริโภคของประชากรในสหรัฐอเมริกา โดยไม่รวมราคาของอสังหาริมทรัพย์ และค่าประกันสุขภาพ และราคาของสินค้า และบริการที่เป็นผลมาจากราคาของพลังงาน และอาหารที่มีความผันผวนมาก

คาดการณ์จาก Tradingeconomics: Core PCE Price Index มีแนวโน้มที่จะคงที่ที่ 0.3%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-pce-price-index-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์การคงที่ของ Core PCE Price Index แสดงให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่โดนควบคุมไม่ให้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ อัตราเงินเฟ้อที่คงตัวหรือชะลอตัวสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่นักลงทุนได้อย่างมากโดยเฉพาะในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล


CRYPTOCURRENCY EVENT THIS WEEK

Credit from LayerGG
 

Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล

18 ธันวาคม

  • FED ตัดสินใจทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ย
  • $SOPHON – เปิดตัว Mainnet

19 ธันวาคม

  • BoJ ตัดสินใจทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ย
  • $WBTC – ถูกถอนออกจากกระดานเทรด Coinbase

Weekly Crypto Must Watch

Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
 

ในส่วนของ Funding Rate สำหรับอาทิตย์นี้มีการปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดการ Liquidate ครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ปี 2021 โดย Bitcoin ได้มีการล้างสถานะไปกว่า 1.6 พันล้านเหรียญ อย่างไรก็ตาม ตลาดสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว บ่งบอกถึง Demand ของนักลงทุนที่สูงมาก เหตุการณ์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ Funding Rate มีการปรับฐานในรูปแบบที่ทำให้สภาพตลาด Healthy มากยิ่งขึ้น

Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest

ในฝั่งของ Bitcoin Futures Open Interest มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนทะลุ All Time High อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงการเก็งกำไรของนักลงทุนผ่านสัญญา Futures ที่เพิ่มขึ้น ตลาดมีความร้อนแรงหลังจากข่าวดีเรื่องการเลือกตั้งสหรัฐฯ เพราะนักลงทุนหลายกลุ่มต้องการเพิ่ม Exposure กับสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น

Source : https://farside.co.uk/?p=997

ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลเข้าจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,167.1 ล้านเหรียญ นับว่าเป็นสัปดาห์ที่มีแรงซื้อสุทธิต่อเนื่องกันทุกวัน จนผลักดันให้ราคาของ Bitcoin พุ่งทะลุ $100,000 เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งเป็นตัวเลขทางจิตวิทยาที่สำคัญ ถึงแม้ว่าช่วงที่ราคาปรับตัวขึ้นที่ผ่านมา นักลงทุนระยะยาวจะมีการเทขายออกมาบ้าง แต่แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันก็ยังเป็น Demand ที่สำคัญในการผลักดันราคาต่อไป

Source : https://farside.co.uk/?p=1518
 

ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสเงินไหลเข้าทั้งสิ้น 854.8 ล้านเหรียญ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแรงซื้อมหาศาลจากนักลงทุนสถาบัน จนทำให้ปัจจุบันเม็ดเงินสุทธิที่ไหลเข้ามาใน Spot Ethereum ETF ทะลุ 2,000 ล้านเหรียญแล้ว ส่งผลให้ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา Ethereum มีผลตอบแทนที่แข็งแกร่งกว่า Bitcoin และเหรียญอื่นๆ

Navigating the Cycle

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Bitcoin พุ่งทะลุ $100,000 ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขสำคัญทางจิตวิทยา โดยหลังจากการเลือกตั้งสหรัฐฯ ราคา Bitcoin ได้มีการปรับตัวสูงขึ้นกว่า 45% ในเดือนพฤศจิกายนเลยทีเดียว ส่งผลให้เกิดคำถามที่ตามมาว่า ตลาดในตอนนี้ถึงจุด Top แล้วหรือยัง ถึงแม้ว่าราคาในอนาคตจะเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ แต่ข้อมูลในอดีตและข้อมูล On-chain สามารถที่จะบ่งชี้ถึงสภาพตลาดปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

หากพิจารณาจาก Short-Term Holder Supply หรือปริมาณ Bitcoin ที่นักลงทุนระยะสั้นถือ จะพบว่า ปัจจุบันมีค่าอยู่ที่เพียง 16.6% ของอุปทานทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งสามารถตีความได้ว่า เมื่อเทียบกับนักลงทุนทั้งหมด มีนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาเพียงเล็กน้อย และหากสังเกตจาก Cycle รอบก่อนๆ จะพบว่า

  • ปี 2017 ราคาถึงจุดพีค เมื่อนักลงทุนระยะสั้นถือ 70% ของอุปทานทั้งหมด
  • ปี 2021 ราคาถึงจุดพีค เมื่อนักลงทุนระยะสั้นถือ 25% ของอุปทานทั้งหมด

 


WEEKLY TECHNICAL ANALYSIS

by Cryptomind Advisory

BTC/USDT

 

$BTC ยังคงเป็นการ Sideway Up ขึ้นต่อในสัปดาห์นี้ ถึงแม้ว่า RSI จะมีการสร้าง Bearish Divergence แล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนมากนัก โดยรวม Momentum ยังคงเป็นขาขึ้นอยู่ โดย $BTC จะมีแนวต้านระยะสั้นอยู่ที่บริเวณ $110,000 และ $120,000 ตามลำดับ การเล่นระยะสั้นยังต้องระวังการย่อตามแนวต้านต่าง ๆ อยู่ในช่วงนี้

แนวต้าน : $100,000 | $120,000 | $150,000

แนวรับ : $91,500 | $86,000 | $83,000

ETH/USDT

 

$ETH ในระยะสั้นเป็นมุมมองการ Sideway สร้างชุดสะสมในบริเวณแนวต้าน $4,000 โดยจุดที่สำคัญคือการ Breakout ในบริเวณนี้ หาก $ETH มีการ Breakout ขึ้นไปยืนเหนือ $4,000 ได้ จะมีแนวโน้มที่สูงมากที่ $ETH จะไปทำ All-time High ใหม่ได้ แต่หาก $ETH มีการทำราคาลงด้านล่าง Momentum ขาขึ้นจะเกิดการพักตัวลงและอาจเกิดการกลับตัวลงได้เช่นกัน

แนวต้าน : $4,000 | $4,800 | $6,000

แนวรับ : $3,700 | $3,450 | $3,000


ASSET ALLOCATION

by Cryptomind Advisory

ตลาดกำลังมองเห็นโอกาสของเกิด Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐหลังจากการลดดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดเริ่มเปิดความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมากๆต่อตลาดคริปโทโดยโดนัล ทรัมป์ และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง

BITCOIN 40%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP (30-35%)
SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS (10-15%)
STABLECOINS 15%

Merkle Capital

ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-16th-20th-December-2024


คำเตือน

สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

ญี่ปุ่นผ่าตัดใหญ่ ถอด ‘94 บริษัท’ จากตลาดหุ้นโตเกียว

Finnomena Editor
ญี่ปุ่นถอด 94 บริษัท จากตลาดหุ้นโตเกียว

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (TSE) กำลังปรับตัวครั้งใหญ่ หันมาเน้น “คุณภาพ” มากกว่า “ปริมาณ” โดยจะยกเลิกการจดทะเบียนบริษัทจำนวนประมาณ 94 แห่งในปีนี้ ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 11 ปี ส่งผลให้เป็นครั้งแรกที่จำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวลดลง

ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวได้รวมกับตลาดหลักทรัพย์โอซากาในปี 2013 จนกลายเป็นรูปแบบที่เห็นในปัจจุบัน โดยปีนี้มีการถอนหุ้นออกจากทั้ง 3 ตลาด ได้แก่ ตลาด Prime, ตลาด Standard และตลาด Growth เพิ่มขึ้นถึง 33 บริษัท เมื่อเทียบกับปีก่อน

คาดว่าในปี 2024 จะมีการจดทะเบียนใหม่ประมาณ 80 บริษัท เนื่องจากการเติบโตของตลาดที่ชะลอตัว แต่คาดว่า ณ สิ้นปี 2024 จะเหลือบริษัทจดทะเบียน 3,842 แห่ง ลดลง 1 แห่งจากปีก่อน โดยตัวเลขดังกล่าวเคยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 40 บริษัท ระหว่างปี 2013 ถึง 2023 

ทว่าในอีกมุม หลายบริษัทที่ยกเลิกการจดทะเบียนนั้น ทำเพื่อเพิ่มอำนาจในการบริหารจัดการหรือเพราะถูกซื้อกิจการจากบริษัทอื่นหรือกองทุน เช่น ครอบครัวเจ้าของบริษัทที่ผลักดันให้ Taisho Pharmaceutical Holdings ยกเลิกการจดทะเบียนในปีนี้ กล่าวว่า 

“การอยู่ในตลาดหลักทรัพย์อาจกลายเป็นอุปสรรคในการลงทุนระยะยาวหรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน”

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยตลาดหลักทรัพย์โตเกียวกำลังปรับกฎเกณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพบริษัทจดทะเบียน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของตลาดหุ้นญี่ปุ่น 

ในปี 2022 และ 2023 ที่ผ่านมา ตลาดได้เริ่มบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนและการดูแลราคาหุ้น ซึ่งบริษัทต่าง ๆ จะต้องแสดงความสามารถในการสร้างมูลค่าและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

อีกทั้งยังมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือ “ผู้ถือหุ้นแบบนักเคลื่อนไหว” (Activist Shareholders) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยในปีนี้มีข้อเสนอจากกลุ่มนักลงทุนเหล่านี้ถึง 66 รายการ ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับ 2 ในรอบกว่า 50 ปี

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการยกเลิกการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากการซื้อกิจการไม่ได้จำกัดเฉพาะบริษัทขนาดเล็กอีกต่อไป

เช่น การที่ Alimentation Couche-Tard บริษัทค้าปลีกรายใหญ่จากแคนาดา เสนอซื้อกิจการของ Seven & i Holdings ผู้ดำเนินการร้าน 7-Eleven 

นอกจากนี้ จำนวนการถือหุ้นไขว้ระหว่างบริษัทญี่ปุ่นยังลดลงอีก ทำให้การเข้าซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร (Hostile Takeovers) ทำได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวเน้นที่คุณภาพของบริษัทจดทะเบียนมากกว่าปริมาณ โดยมีแผนยกเลิกมาตรการผ่อนปรนในปี 2025 ซึ่งจะบังคับให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่เข้มงวดขึ้น เช่น การรักษามูลค่าตลาดขั้นต่ำเพื่อคงสถานะการจดทะเบียน 

พร้อมกันนี้ยังมีการหารือเรื่องการปรับมาตรฐานในตลาดเติบโต (Growth Market) ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทที่ราคาหุ้นตกต่ำถูกถอดจากตลาด

ในขณะเดียวกันในยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็มีการลดลงของจำนวนบริษัทจดทะเบียนเช่นกัน ข้อมูลจากสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลกระบุว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2024 สหรัฐฯ มีบริษัทจดทะเบียนเพียงกว่า 4,000 แห่ง ลดลงประมาณ 2,800 แห่ง หรือ 40% จากปี 2000 

ส่วนในยุโรป จำนวนบริษัทจดทะเบียนลดลงเหลือประมาณ 8,000 แห่ง ซึ่งลดลงจากจุดสูงสุดในปี 2011 ถึง 50% สาเหตุหลักมาจากต้นทุนการจดทะเบียนที่สูงขึ้น และการระดมทุนในตลาดทุนส่วนบุคคลทำได้ง่ายและสะดวกกว่า

มุมมองการลงทุนหุ้นญี่ปุ่น

Finnomena Funds มีคำแนะนำ “Slightly Negative” ทยอยลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจากปัจจัยกดดันจากทิศทางค่าเงินเยนที่มีโอกาสเยนแข็งค่าต่อ หลัง BoJ มีท่าที  Hawkish มากขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจจะยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ แต่มีความเปราะบางจากเงินเฟ้อที่สูง


อ้างอิง: Asia Nikkei

คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ไม่พลาดทุกข่าวสารในวงการหุ้นกู้ กับรายการ “ชมรมหุ้นกู้” ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น.

Finnomena
ไม่พลาดทุกข่าวสารในวงการหุ้นกู้ กับรายการ "ชมรมหุ้นกู้" ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น.

ชมรมหุ้นกู้ – รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!

ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Youtube & Facebook Finnomena

บลจ.อีสท์สปริง : Promotion กองทุนลดหย่อนภาษี 2567

Finnomena Editor


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

สรุปคำแนะนำพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio รับมุมมองการลงทุนปี 2025

Jet - The Contrarian Investor

Dynamic Contrarian Model Portfolio (หรือในชื่อเดิม FundTalk Contrarian Portfolio) เตรียมเปิดให้ลงทุนอย่างเป็นทางการผ่านแผนการลงทุน Model Port ของ Finnomena Funds ในวันที่ 25 ธันวาคม 2024

DCM (Dynamic Contrarian Model Portfolio) เป็นพอร์ตลงทุนสไตล์ Contrarian (สายสวน) ‘ย่อซื้อ ขึ้นขาย’ เน้นลงทุนในหุ้นรายประเทศ หรือ Sector ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ราคาปรับตัวลดลง หรือขึ้นน้อย รวมถึงใช้หลักการเดียวกันในการเข้าลงทุนสินทรัพย์ Multi Assets

โอกาสการลงทุนใน ARK

หลังจากที่ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ชนะการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2024 ที่ผ่านมา และกำลังจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2025 ที่จะถึงนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และบล็อกเชนที่ต่างปรับตัวขึ้น ตอบสนองต่อนโยบายที่ทรัมป์ได้หาเสียงเอาไว้ก่อนหน้านี้ สวนทางกับช่วงก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่หุ้นกลุ่มดังกล่าวทำผลตอบแทนได้ไม่ค่อยดีนัก นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มบล็อกเชนยังได้อานิสงส์จากนโยบายด้านคริปโตเคอร์เรนซีที่ทรัมป์ได้หาเสียงเอาไว้ โดยประกาศสนับสนุนการจัดตั้ง Bitcoin Strategic Reserve ซึ่งเป็นทุนสำรองสำหรับรัฐบาลสหรัฐฯ และประกาศสนับสนุนการขุดคริปโตเคอร์เรนซีภายในประเทศ

ARK Next Generation Internet ETF

กราฟราคา ARK Next Generation Internet ETF (เส้นสีน้ำเงิน) เทียบกับ S&P 500 (เส้นสีแดง)
ก่อนและหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ (เส้นประสีเหลือง)
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 17/12/2024

FundTalk มีมุมมองว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเหล่านี้จะสามารถปรับตัวขึ้นได้ต่อภายใต้รัฐบาลทรัมป์ จึงมีคำแนะนำเข้าซื้อกองทุน SCBNEXT(A) ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก ARK Next Generation Internet ETF ลงทุนในหุ้น Tesla, หุ้นเทคโนโลยีขนาดเล็ก เช่น Roku, Roblox, Shopify และผสมกับหุ้นกลุ่มบล็อกเชนที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายด้านคริปโตเคอร์เรนซีของทรัมป์ เช่น Coinbase และ Robinhood

ลดสัดส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานและหุ้นเกาหลีใต้ พร้อมเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นอินเดีย

FundTalk ยังคงมีมุมมองที่ดีต่อหุ้นกลุ่มพลังงานสหรัฐฯ โดยนโยบายของทรัมป์ที่จะเน้นการผลิตน้ำมันภายในประเทศสหรัฐฯ ถึงแม้การเพิ่มกำลังการผลิต จะเป็นการเพิ่มอุปทานน้ำมัน แต่นโยบายดังกล่าวน่าจะช่วยให้บริษัทกลุ่มพลังงานในสหรัฐฯ สามารถผลิตน้ำมันในปริมาณที่มากขึ้น และส่งผลต่อปริมาณน้ำมันที่ขายได้ อย่างไรก็ดี จากปัจจัยเรื่องความไม่แน่นอนทั้งจากทรัมป์และกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก ทำให้ตัดสินใจ ลดสัดส่วนกองทุน KT-ENERGY เพื่อนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่คาดหวังการเติบโตได้สูงกว่า

EV Snapshot ดัชนี KOSPI

EV Snapshot ดัชนี KOSPI
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/12/2024

ในส่วนของหุ้นเกาหลีใต้ หลังจากที่มีประเด็นทางการเมืองภายในประเทศ ล่าสุด ประธานาธิบดี Yoon Suk Yeol ได้ถูกลงมติถอดถอน ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองขึ้น ประกอบกับมุมมองที่ไม่ดีนักของหุ้น Samsung Electronics ซึ่งเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ โดยในปัจจุบันราคาปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา FundTalk จึงมีคำแนะนำขายกองทุน DAOL-KOREAEQ ออกทั้งหมด โดยสับเปลี่ยนเงินลงทุนไปยังหุ้นอินเดีย ผ่านกองทุน TISCOINA-A ซึ่งลงทุนในกองทุนหลักทั้งหมด 3 กองทุน คือ Goldman Sachs India Equity Portfolio, FSSA Indian Subcontinent Fund  และ Nomura Funds Ireland – India Equity Fund ซึ่งทั้งสามกองทุนลงทุนในหุ้นอินเดีย และเป็นกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีเมื่อเทียบกับกองทุนในหมวดเดียวกัน โดยกองทุนนี้ไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ทำให้นักลงทุนไม่ต้องเสียต้นทุนป้องกันความเสี่ยงในส่วนนี้

ปรับสัดส่วนการลงทุนใน AI Value Chain

ปรับสัดส่วนการลงทุนใน AI Value Chain

AI Value Chain
Source: Finnomena Funds, Nasdaq as of 18/12/2023

ในส่วนของการลงทุนในหุ้นกลุ่ม AI FundTalk มีมุมมองว่าหุ้น AI ในกลุ่มต้นน้ำ ได้แก่ หุ้นกลุ่ม Semiconductor และผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง อาจมี upside เริ่มจำกัด จากปัจจัยเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ที่อาจส่งผลต่อรายได้ของบริษัทในกลุ่มนี้ ในขณะที่บริษัทในกลุ่มกลางน้ำ ซึ่งเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มและโมเดล AI อย่าง Microsoft, Amazon, และ Alphabet คาดว่าจะสามารถทำผลตอบแทนได้ดีต่อเนื่อง และหุ้นกลุ่มปลายน้ำที่เป็นผู้ใช้งานโมเดล AI หรือสร้างแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้อง น่าจะเริ่มสร้างกำไรจากการใช้งาน AI ที่หลากหลายขึ้น

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทุกบริษัทปลายน้ำจะสามารถสร้างกำไรได้จากปัจจัยดังกล่าว จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด FundTalk จึงมีคำแนะนำขายกองทุน MEGA10AI-A ซึ่งลงทุนในหุ้นกลุ่มต้นน้ำและกลางน้ำเป็นหลัก และสับเปลี่ยนเงินลงทุนไปยังกองทุน TISCOAI-A ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก Xtrackers Artificial Intelligence and Big Data UCITS ETF กองทุนนี้ลงทุนกระจายในทุกส่วนของ AI Value Chain ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยน้ำหนักของหุ้นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ปลายน้ำเป็นหลัก และมีการคัดเลือกหุ้นผ่านการจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ AI ถือเป็นวิธีการคัดเลือกหุ้นที่สามารถค้นหาหุ้นที่น่าจะทำกำไรได้จากการใช้งาน AI ที่มีประสิทธิภาพ

สรุปคำแนะนำปรับพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio วันที่ 17 ธันวาคม 2024

Dynamic Contrarian Model Portfolio DCM

  • หุ้นเวียดนาม 15% PRINCIPAL VNEQ-A
  • ตราสารหนี้โลก 20% MUBONDUH-A
  • หุ้นพลังงานทั่วโลก 10% KT-ENERGY
  • หุ้นอินเดีย 10% TISCOINA-A
  • หุ้นสหรัฐฯ ขนาดเล็ก 15% ASP-USSMALL-A
  • หุ้นสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ 10% MEGA10-A
  • หุ้น AI และ Big Data 10% TISCOAI
  • หุ้นเทคโนโลยี 10% SCBNEXT(A)

 

จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 . ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปกองทุนแนะนำ: รับกลยุทธ์การลงทุนปีหน้า [อัปเดต 17 ธ.ค. 2024]

Finnomena Funds
สรุปกองทุนแนะนำ Finnomena 17 Dec 2024

Finnomena Funds คัดกองทุนเด่นพร้อมรับกลยุทธ์การลงทุนปี 2025 สรุปทุกสินทรัพย์แนะนำ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นรายประเทศ Themetic ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือกต่าง ๆ

Highlight


สรุปกองทุนแนะนำ Finnomena 17 Dec 2024

สรุปมุมมองการลงทุน สินทรัพย์แนะนำปี 2025 

สรุปมุมมองการลงทุน Finnomena 2025

Source: Finnomena Funds as of 16/12/2024

มุมมองการลงทุน Finnomena Funds ในปี 2025 ให้น้ำหนักการลงทุน “ตราสารหนี้โลก” “ตราสารหนี้เอเชีย และ “BTC/Blockchain” เป็น Positive มากที่สุด เพราะการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ จะได้รับประโยชน์จากทิศทางดอกเบี้ยโลกเป็นขาลงเช่นเดียวกับเงินเฟ้อ รวมถึง Yield ก็อยู่ในระดับสูงน่าสนใจลงทุน ด้านบิทคอยน์กับบล็อกเชน จะได้รับแรงหนุนจากนโยบายสนับสนุนของ Trump ประกอบกับ Fund Flow ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของกองทุน Spot ETF 

นอกจากนี้ มีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้น Developed Markets, หุ้นอินเดีย, หุ้นเวียดนาม, หุ้นธีมเทคโนโลยี AI, ทองคำ, ตราสารหนี้ไทย และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโลก

คำถามคือแล้วจังหวะแบบนี้ ควรจะซื้อกองทุนอะไรดี? เราจึงคัดมาให้แล้วกับกองทุนแนะนำจาก FundTalk Call สำหรับนักลงทุนสายสวน, Mr.Messenger Call สำหรับนักลงทุนสายเติบโตตามเทรนด์ขาขึ้น และ MEVT Call สำหรับนักลงทุนที่มีเป้าหมายระยะยาว

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena 


มุมมองการลงทุน FundTalk Call

โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล

สรุปกองทุนแนะนำ Finnomena 17 Dec 2024

1.) ASP-USSMALL-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นขาดกลาง-เล็กในสหรัฐฯ เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น ธุรกิจการเงิน ทำให้จะได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Trumponomics ที่เตรียมลดภาษีนิติบุคคล หนุนบริษัทเอกชนในประเทศ 

2.) KT-ENERGY (ความเสี่ยงระดับ 7)

กองทุนหุ้นพลังงาน ยังคงมุมมองบวกจากนโยบายขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รวมถึงการที่เงินเฟ้อยังยืนในระดับค่อนข้างสูงน่าจะทำให้เงินดออลาร์แข็ง และบาทอ่อนในช่วงสั้นสามารถถัวเพิ่มน้ำหนักได้

3.) B-INNOTECH (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี โดยยึดหลักการลงทุนสไตล์ Contrarian ที่เน้นคัดหุ้นกลุ่ม High Quality Growth เติบโตต่อเนื่อง กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และราคาไม่แพง รวมทั้งยังทนทานต่อความผันผวนในระยะสั้นได้ดี   

มุมมองการลงทุน Mr.Messenger Call

โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม

สรุปกองทุนแนะนำ Finnomena 17 Dec 2024

1.) ASP-DIGIBLOC (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ยังมีแนวโน้มทะยานต่อได้จากนโยบายสนับสนุนของ Trump ที่เตรียมนำคริปโตมาเป็นเงินทุนสำรอง ทำให้ราคา Bitcoin มีโอกาสยืนแกร่งที่ 100,000 เหรียญ ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า

2.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเวียดนาม เชื่อว่ารอบของการปรับฐานจบลงแล้ว หลังดัชนี VN30 ปรับตัวลงมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน อีกทั้งก็มีปัจจัยหนุนเชิงพื้นฐานเรื่องการได้ประโยชน์ China+1 จึงเตรียมเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้ง

3.) SCBSEMI(A) (ความเสี่ยงระดับ 7)

กองทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เป็นธีม Growth Stock ที่มีโอกาสทะยานสู่จุดสูงสุดใหม่ พร้อมรับแนวโน้มเชิงบวกจากปรากฏการณ์ Santa Claus Rally และ January Effect  

มุมมองการลงทุน MEVT Call

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis

สรุปกองทุนแนะนำ Finnomena 17 Dec 2024

1.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดที่ถูกและดี ประกอบกับการมาของ Trump เร่งให้เกิด China+1 ในการย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีนเร็วขึ้น ซึ่งเวียดนามคือหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ รวมทั้งยังมีปัจจัยหนุนอื่น ๆ  เช่น ความคืบหน้าเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปี 2025 และการถูกปรับประมาณกำไรเพิ่มเติม

2.) B-INNOTECH (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเทคโนโลยี เน้นคัดเลือกหุ้น Value Play โดยการเข้าซื้อหุ้นเติบโตในราคาไม่แพง ขณะเดียวกันปัจจัยเชิงพื้นฐานเฉพาะตัวยังคงดี เพราะประมาณการกำไรของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือว่าเติบโตในระดับ 2 หลัก 

3.) UGIS-N และ KFSINCFX-A (ความเสี่ยงระดับ 5)

กองทุนตราสารหนี้โลก เป็นจังหวะเก็บสะสมหลังเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในกรอบ กดให้ Bond Yield ปรับตัวลดลง จึงเป็นผลบวกต่อกองทุนตราสารหนี้ โดยเฉพาะกองทุนตราสารหนี้ที่บริหารแบบ Active มีการปรับ Duration ยืดหยุ่นสอดรับกับสถานการณ์ตลาด

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

อินเดียปิดปี 2024 ด้วยสัญญาณเศรษฐกิจสดใส

Finnomena Editor
อินเดียปิดปี 2024 ด้วยสัญญาณเศรษฐกิจสดใส

เศรษฐกิจอินเดียปิดฉากปี 2024 ด้วยสัญญาณที่น่าประทับใจ หลังจากเริ่มมีการฟื้นตัวในเดือนธันวาคม โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จากการสำรวจเบื้องต้นของ HSBC Holdings Plc ซึ่งเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่น่าสนใจ

ล่าสุด ดัชนีภาคบริการของอินเดียปรับตัวสูงขึ้นจาก 58.4 ในเดือนพฤศจิกายน เป็น 60.8 ในเดือนธันวาคม 

ขณะที่ภาคการผลิตก็มีการขยายตัวเช่นกัน โดยดัชนี PMI เพิ่มจาก 56.5 เป็น 57.4 ส่งผลให้ดัชนีรวมทะยานขึ้นสู่ระดับ 60.7 ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน และใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดวิกฤตซับไพรม์ในปี 2008

เศรษฐกิจอินเดีย

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของอินเดีย | Source: Bloomberg, HSBC as of 16/12/24

ดัชนี PMI เป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในเศรษฐกิจ ซึ่งอ้างอิงจากการสำรวจเบื้องต้น หากค่า PMI สูงกว่า 50 หมายถึงเศรษฐกิจขยายตัว แต่หากต่ำกว่า 50 จะหมายถึงการหดตัวของเศรษฐกิจ

Ines Lam นักเศรษฐศาสตร์จาก HSBC ได้ให้ความเห็นว่า 

“การเพิ่มขึ้นของ PMI ภาคการผลิตเกิดจากการเติบโตของการผลิต คำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวของคำสั่งซื้อภายในประเทศที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งบ่งชี้ถึงโมเมนตัมการเติบโตที่กำลังฟื้นตัว”

ย้อนกลับไปในช่วงไตรมาส 3 ปี 2024 เศรษฐกิจอินเดียเติบโตเพียง 5.4% เนื่องจากการลดลงของค่าแรงและกำไรบริษัท แต่ “ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่มีความถี่สูง” (High Frequency Indicators: ดัชนีหรือข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการอัปเดตบ่อย ๆ ใช้เพื่อสะท้อนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระยะสั้น) แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยได้รับการสนับสนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในชนบท

ปัจจุบัน ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่เดิมเป็นเวลาเกือบ 2 ปี แต่คาดการณ์ว่าภายใต้การนำของ Sanjay Malhotra ผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดียคนใหม่ จะเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการในปีหน้า

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเดือนธันวาคมยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยบริษัทภาคเอกชนยังคงขยายขีดความสามารถในการดำเนินงาน ด้วยการจ้างงานพนักงานเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่มีความหวัง

กองทุนหุ้นอินเดีย แนะนำโดย Finnomena Funds

Finnomena Funds แนะนำกองทุน B-BHARATA กองทุนรวมหุ้นอินเดีย ที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศอินเดีย และมีน้ำหนักการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เพื่อโอกาสเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call

และกองทุน TISCOINA-A กองทุนรวมหุ้นอินเดียซึ่งเน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Management และคัดเลือกหุ้นด้วยวิธี Bottom-up โดยลงทุนผ่าน 3 กองทุนหลักในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ตามคำแนะนำ FundTalk Call และ Mr.Messenger Call

โดย 3 กองทุนหลักที่ TISCOINA-A เข้าลงทุนได้แก่ 

  1. Nomura Funds Ireland plc India Equity Fund คัดเลือกหุ้นจากพื้นฐานเป็นหลัก ประมาณ 25-30 ตัว จาก Universe ประมาณ 240 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดใหญ่
  2. FSSA Indian Subcontinent Fund เน้นลงทุนในบริษัที่ประกอบธุรกิจในอินเดีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน และบังคลาเทศ โดยเน้นลงทุนประมาณ 50 ตัว กระจายลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ กลาง เล็ก โดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
  3. Goldman Sachs India Equity Portfolio เลือกหุ้นประมาณ 70-100 ตัว จาก Universe ประมาณ 700 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดกลาง-เล็ก

อ้างอิง: Bloomberg, The Economic Times

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

อัปเดตล่าสุด! สรุปครบทุกกองทุน Thai ESG ปี 2024

Finnomena Funds
รวมกองทุน Thai ESG 2024

รวมครบจบในที่เดียวสำหรับ Thai ESG ‘กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน’ กองทุนลดหย่อนภาษีที่ปีนี้ได้ปรับเงื่อนไขใหม่ สามารถลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท และเหลือระยะเวลาถือครอง 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อ

เราจึงได้สรุปรายละเอียดและข้อมูลสำคัญของ Thai ESG จาก บลจ. ต่าง ๆ ที่สามารถลงทุนแล้วผ่าน Finnomena Funds เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน จะมีกองทุนไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย

รวมกองทุน Thai ESG ปี 2024 รวบรวมข้อมูลโดย Finnomena Funds ณ วันที่ 10/12/2024

กองทุน Thai ESG ที่ Finnomena Funds แนะนำ

หุ้นไทย: ASP-THAIESG

  1. เน้นลงทุนในหุ้นจดทะเบียนใน SET และ/หรือ mai ที่ได้รับการคัดเลือกและยอมรับว่ามีความโดดเด่นด้าน ESG โดยจะลงทุนในบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับ SET ESG Rating ตั้งแต่ BBB ขึ้นไป
  2. มีผู้จัดการกองทุนคือ ‘คุณทิพย์วดี อภิชัยสิริ’ ซึ่งมีประสบการณ์ในการบริหารกองทุนหุ้นไทยที่โดดเด่นมาอย่างยาวนาน ผ่านกองทุน ASP-SME
  3. บลจ. แอสเซท พลัส โดดเด่นในเรื่อง Stock Selection โดยสามารถบริหารจัดการกองทุนหุ้ยไทยให้มีผลการดำเนินงานชนะตลาดได้ในระยะยาว

กองทุนผสม: KTAG70/30-THAIESG

สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน

  1. ลงทุนในหุ้นที่ผ่านการคัดเลือก SET ESG Rating ในระดับ A ขึ้นไป สัดส่วน 70% และตราสารหนี้ประเภท Green Bond, Sustainability Bond และ Sustainability – Linked Bond สัดส่วน 30%
  2. เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management) ทั้งในส่วนตราสารหนี้และตราสารทุน
  3. ผ่านกระบวนการวิเคราะห์การลงทุนแบบ ESG Integration และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานรายบริษัทแบบเชิงลึกจากฝ่ายวิจัยของ บลจ.

ตราสารหนี้ไทย: KKP GB THAI ESG

สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน

  1. เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการลงทุนสำหรับลดหย่อนภาษี โดยกองทุน Thai ESG ต้องถือลงทุนอย่างน้อย 5 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ
  2. คาดการณ์อายุตราสารหนี้เฉลี่ยในพอร์ต 9 ปี บริหารโดยผู้จัดการกองทุนมากประสบการณ์ของ บลจ. เกียรตินาคินภัทร
  3. ที่ผ่านมา บลจ. สามารถสร้างผลการดำเนินงานกองตราสารหนี้อื่น ๆ ได้โดดเด่น และคว้ารางวัลการบริหารกองทุนตราสารหนี้มาอย่างต่อเนื่อง

 

โพยกองทุนลดหย่อนภาษี SSF RMF และ Thai ESG อัปเดตใหม่ปี 2024 คัดเน้นที่เดียวจบ!

คลิก finnomena.com/finnomenafunds/ssf-rmf-for-diy


คำเตือน: ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน / การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน / กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปไลฟ์ จัดเต็ม 7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา โค้งสุดท้ายปี 2024 I สรุป LIVE Market Talk

Finnomena Funds
สรุปไลฟ์ จัดเต็ม 7 กองทุน


จัดเต็ม 7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา โค้งสุดท้ายปี 2024

โดยคุณบดินทร์ พุทธอินทร์ บลจ. อีสท์สปริง (ประเทศไทย)

ปีหน้า บลจ. อีสท์สปริง มีมุมมองอย่างไร (สดใสหรือรอพายุมา)

บลจ. อีสท์สปริง มองว่ายังเป็นปีที่มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยง ประกอบด้วยความเสี่ยงหลัก ๆ 3 ด้าน ดังนี้ 

(1) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูงจากการขึ้นมาดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เช่น ในเชิงการดำเนินโยบายที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการกีดกันต่าง ๆ ทำให้โลกอาจแบ่งเป็น 2 ขั้ว (ประกอบด้วย สหรัฐฯ และพันธมิตร และกลุ่มที่ไม่ใช่สหรัฐฯ เช่น จีน และรัสเซีย) ซึ่งความเสี่ยงนี้อาจนำพาให้เกิด 

(2) ความท้าทายของการดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลัง และ 

(3) ความผันผวนของตลาดหุ้น หรือการเกิดผลกระทบเชิงลบที่รุนแรงกว่าปกติ (Negative Impact) เนื่องจากมูลค่าหุ้น (Valuation) ในปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับสูง

สำหรับโอกาส บลจ. อีสท์สปริง เห็นว่า เศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังเติบโตได้ดี โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าจะเติบโตได้ประมาณ 2.1-2.4% ในปี 2025 และอัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทสหรัฐฯ ยังโตได้ในระดับ 12-13% ซึ่งอาจเห็นอัตราการเติบโตของกำไรหุ้นที่ 15-16% รวมถึงตัวเลขสถิติต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจที่ออกมาดี รวมถึงการทยอยลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่ง บลจ. อีสท์สปริง มองว่าเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้น

เมื่อพิจารณาทั้งโอกาสและความเสี่ยง บลจ. อีสท์สปริง คิดว่าเป็นโอกาสมากกว่าความเสี่ยง โดยมองว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ตลาดได้พิจารณาเข้าไปอยู่ในราคาหุ้น (Priced-in) ทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ดี สำหรับนโยบายที่กระทบกับฝั่งเศรษฐกิจจีน อาจยังมีความไม่ชัดเจนอยู่บ้าง ทั้งจากนโยบายสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน และมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนที่ออกมาเป็นระยะ ๆ แต่ บลจ. อีสท์สปริง เชื่อว่าในครั้งนี้จีนมีความพร้อมในการรับมือกับสหรัฐฯ มากขึ้น และมองว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะรับแรงกระแทกได้

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สินทรัพย์ต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวอย่างไร และเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เป็นอย่างไร

ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Market) มีโอกาสเติบโตได้ดีกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) อย่างไรก็ดี รวมแล้วตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นได้ทั้งหมด ยกเว้น เกาหลีใต้ ซึ่งมีปัจจัยเฉพาะตัวด้านการเมืองในประเทศ 

นอกจากตลาดหุ้นจะทำผลงานได้ดีแล้ว สำหรับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศพัฒนาแล้ว G7 คาดว่าจะเติบโตได้ประมาณ 1.7% ด้านสหรัฐฯ คาดเติบโตประมาณ 2.0% ส่วนญี่ปุ่นประมาณ 1.0% และยุโรป 1.2% ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชีย คาดว่าจีนจะเติบโตประมาณ 4.5% อินเดียประมาณ 6.7% ไทยประมาณ 2.6% อินโดนีเซีย 5.1% เวียดนาม 6.2% ในขณะที่ไต้หวัน และเกาหลีใต้ประมาณ 2-3% โดยหากเจาะลึกลงในแต่ละประเทศ จะมีรายละเอียด ดังนี้

7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว แม้ว่าจะชะลอตัวด้วยอัตราที่ช้าลง ทั้งนี้ ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคไม่ได้กังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโตได้ดี บลจ. อีสท์สปริงมองว่าการลดดอกเบี้ยอาจจะลดน้อยลงกว่าที่คาดการณ์ แต่ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น หากกำไรของบริษัทต่าง ๆ ยังทำได้ดี รวมถึงนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ น่าจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ โดย บลจ. อีสท์สปริง เชื่อว่า นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน และทั่วโลก การต่ออายุโครงการการลดภาษี และการลดภาษีนิติบุคคลน่าจะทำได้ แต่อัตราการลดอาจจะไม่ได้มากเท่าตามที่หาเสียงไว้ 

ด้วยเหตุนี้ บลจ. อีสท์สปริง มองว่าเป็นโอกาสในการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ว่าความเสี่ยงด้านมูลค่า (Valuation) จะเริ่มอยู่ในระดับสูง หมายความว่า หากตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมาจริงไม่ได้ตามที่ตลาดคาด อาจทำให้ตลาดปรับฐานได้ อย่างไรก็ดี แนวโน้มผลประกอบการในปี 2025 ของหุ้นกลุ่มเติบโตและกลุ่มอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดย บลจ. อีสท์สปริง มองว่าตลาดน่าจะเริ่มปรับพอร์ตไปยังกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์

7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

การเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ช้า โดยตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างอ่อนแอ และไม่สม่ำเสมอ ซึ่งความเปราะบางของเศรษฐกิจนี้ เป็นตัวผลักดันให้ธนาคารกลางยุโรปน่าจะลดดอกเบี้ยลงต่อเนื่องในการประชุมช่วงครึ่งปีแรกของปี 2025 ทั้งนี้ แม้การประเมินมูลค่าจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ บลจ. อีสท์สปริง มองว่ายังดูมีความน่าสนใจน้อยกว่า เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ 

7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนยังค่อนข้างทรงตัว แม้ว่ารัฐบาลจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านการส่งเสริมการให้สินเชื่อ การลดการกันเงินสำรอง การสนับสนุนการฟื้นตัวของอสังหาริมทรัพย์ และการอัดฉีดเงินเข้าตลาดหุ้น โดยเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ทั้งนี้ บลจ. อีสท์สปริง ยังไม่มั่นใจในตลาดหุ้นจีนเท่าใดนัก จึงเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด

7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดีย ยังมีเสถียรภาพที่ดี ซึ่งอินเดียอาจได้ประโยชน์จากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยธนาคารกลางอินเดียแสดงท่าทีว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ

7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในภาพที่ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดย บลจ. อีสท์สปริง มองว่าการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2025 น่าจะทำได้เร็วขึ้น และการใช้จ่ายภาครัฐน่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย ซึ่งยังต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่ารัฐบาลสามารถผลักดันได้จริงหรือไม่

  7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

ในมุมมองของ บลจ. อีสท์สปริง มองว่าปัจจุบันมูลค่าหุ้นของตลาดพัฒนาแล้วสูงกว่าค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียมีระดับราคาที่น่าสนใจมากกว่า เมื่อเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์มากกว่า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ บลจ. อีสท์สปริงชอบตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้นเติบโต และหุ้นเทคโนโลยี รวมถึงหุ้นอินเดีย และหุ้นเวียดนาม

7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

นอกจากนี้ บลจ. อีสท์สปริง ยังให้ความสนใจกับการลงทุนตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้ต่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายความเสี่ยงได้ ทั้งนี้ แม้ว่าดอกเบี้ยจะปรับตัวลงช้ากว่าคาดการณ์เดิม แต่ตราสารหนี้ระดับ IG และ MBS ของสหรัฐฯ ยังมีความน่าสนใจในการสร้างผลตอบแทนจากราคา (Capital Gain) ได้ 

7 กองทุนลดหย่อนภาษีแนะนํา

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook

กองทุนที่น่าสนใจเพื่อลดหย่อนภาษี

1. กองทุน ThaiESG

1.1 ES-ESG3070 โดยมีทั้งกองทุนแบบจ่ายปันผล (ES-ESG3070-THAIESG-D) และไม่จ่ายปันผล (สะสมมูลค่า) (ES-ESG3070-THAIESG-A) ซึ่งเน้นการลงทุนในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี SET ESG และตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน โดยผสมผสานระหว่างตราสารทุนและตราสารหนี้ในสัดส่วน 30% และ 70%

1.2 ES-SETESG โดยมีทั้งกองทุนแบบจ่ายปันผล (ES-SETESG-THAIESG-D) และไม่จ่ายปันผล (ES-SETESG-THAIESG-A) เช่นเดียวกัน โดยลงทุนในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี SET ESG Index 

2. กองทุน RMF

2.1 ES-GRMF ลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก โดยเน้นกลุ่มคุณภาพดี และลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐในระยะยาวเป็นส่วนใหญ่ 

2.2 ES-GINCOMERMF เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่ผสมผสาน ทั้งตราสารหนี้ระยะสั้น และระยะยาว รวมถึงตราสารหนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน และตราสารหนี้ที่เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน

2.3 ES-GAINCOMERMF เน้นการลงทุนแบบผสม ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ และตราสารทางเลือก เช่น หุ้นกู้อนุพันธ์

2.4 ES-GQGRMF เน้นที่การกระจายการลงทุนในหุ้นทั่วโลก เน้นที่มีการเติบโตดี คุณภาพสูง และมีมูลค่าน่าสนใจ ภายใต้ธีมต่าง ๆ ทั้งปัญญาประดิษฐ์ (AI) การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ และความยั่งยืน

3. กองทุน SSF ES-GTECHSSF เน้นลงทุนในธีมที่ได้รับประโยชน์จาก AI ซึ่งมีโอกาสสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ แม้ว่าอาจจะมีความผันผวนมากกว่ากองทุนอื่น ๆ อยู่บ้าง

โปรโมชั่นกองทุนลดหย่อนภาษี

ที่มา: Eastspring Pitchbook Dec 2024 Monthly Outlook


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF และ ThaiESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเงื่อนไขโปรโมชั่นหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

นักลงทุน 4 สไตล์ คุณเป็นใครในโลกการลงทุน?

Finspace
นักลงทุน 4 สไตล์ คุณเป็นใครในโลกการลงทุน?
ในโลกของการลงทุนก็เหมือนป่าอันกว้างใหญ่ ที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีเทคนิคเอาตัวรอดสุดเจ๋งของตัวเอง เช่นเดียวกับเหล่านักลงทุนที่มีกลยุทธ์และไอเดียสุดเฉียบเฉพาะตัว
วันนี้ FinSpace จะพาคุณผจญภัยไปในป่าของการลงทุน ผ่านการเปรียบเทียบนักลงทุน 4 สไตล์กับเหล่าสรรพสัตว์ที่มีสไตล์คล้ายคลึงกัน เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติ วิธีคิด และกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่ที่กำลังค้นหาสไตล์การลงทุนของตัวเอง หรือนักลงทุนที่มีประสบการณ์และต้องการทบทวนกลยุทธ์ของตน การทำความรู้จักกับนักลงทุนทั้ง 4 ประเภทนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองและเลือกแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพและเป้าหมายของคุณได้ดียิ่งขึ้น มาเริ่มสำรวจกันเลยว่าคุณเป็นใครในโลกการลงทุน?
นักลงทุน 4 สไตล์

1. นักลงทุนเน้นคุณค่า (Value Investor) เปรียบเสมือน “เต่า”

เต่าเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า แต่มีความอดทนสูง มุ่งมั่นที่จะไปถึงเป้าหมายในระยะยาว เช่นเดียวกับนักลงทุนเน้นคุณค่า (VI) ที่มุ่งเน้นการลงทุนระยะยาว อดทนรอซื้อสินทรัพย์ราคาถูก และให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐาน

ลักษณะเด่น

  • เคลื่อนไหวช้า แต่ได้ผลระยะยาว เหมือนกับเต่าที่เคลื่อนไหวช้า ๆ แต่สามารถเดินไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างแน่นอน นักลงทุน VI ก็เช่นกัน ไม่เน้นการเก็งกำไรระยะสั้น แต่เน้นการลงทุนระยะยาว เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ยั่งยืน
  • อดทน นักลงทุน VI ต้องมีความอดทนสูงในการรอคอยให้ราคาหุ้นลงมาอยู่ในโซน “ราคาถูก” ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายปี เหมือนกับเต่าที่ค่อย ๆ เดินไปทีละก้าว
  • ไม่สนใจกระแส นักลงทุน VI จะไม่ตามกระแสของตลาดหุ้น แต่จะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์พื้นฐานของบริษัท ซึ่งแตกต่างจากนักลงทุนทั่วไปที่มักจะตามกระแสข่าวสารหรือเทคนิคต่าง ๆ
  • มีวินัย นักลงทุน VI ต้องมีวินัยในการลงทุนตามหลักการที่ได้กำหนดไว้ ไม่หวั่นไหวกับความผันผวนของตลาด
  • เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ นักลงทุน VI จะเลือกซื้อหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพดี แม้ว่าราคาจะสูง แต่ก็เชื่อมั่นว่าในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนที่ดี

2. นักลงทุนห่านทองคำ (Yield Investor) เปรียบเสมือน “ไก่”

ถึงแม้จะถูกเรียกว่าเป็น “ห่านทองคำ” แต่จริง ๆ แล้วนักลงทุนประเภทนี้คล้ายกับไก่มากกว่า เนื่องจากไก่เป็นสัตว์ที่ออกไข่ทุกวันอย่างสม่ำเสมอ เปรียบเสมือนเงินปันผลที่นักลงทุนห่านทองคำต้องการ ในขณะที่ห่านนั้นออกไข่วันเว้นวันบ้าง หรือบางครั้งก็ต้องรอถึง 2 – 3 วันกว่าห่านจะออกไข่ทีนึง

ลักษณะเด่น

  • ความสม่ำเสมอของผลตอบแทน ไก่จะให้ไข่เป็นประจำทุกวัน ซึ่งเปรียบเสมือนผลตอบแทนจากการลงทุนที่สม่ำเสมอ ขณะเดียวกันนักลงทุนห่านทองคำก็คาดหวังที่จะได้รับเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
  • ความมั่นคง ไก่เป็นสัตว์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก และให้ผลผลิตที่ค่อนข้างแน่นอน ขณะที่นักลงทุนห่านทองคำมักจะเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง มีความมั่นคง และมีแนวโน้มการเติบโตที่ค่อนข้างแน่นอน
  • คาดการณ์ได้ การเลี้ยงไก่ให้ไข่เป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างแน่นอน สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้ในระดับหนึ่ง นักลงทุนห่านทองคำเองก็ชอบการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่คาดการณ์ได้ เช่น เงินปันผลที่สม่ำเสมอ

3. นักลงทุนโมเมนตัม (Momentum Investor) เปรียบเสมือน “เหยี่ยว”

นักลงทุนโมเมนตัม (Momentum Investor) คือผู้ที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนตามแนวโน้มของตลาด นักลงทุนประเภทนี้จะมองหาโอกาสทำกำไรอยู่เสมอ โดยจะเลือกสินทรัพย์ที่มีการเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางที่ชัดเจน เปรียบเสมือนเหยี่ยวที่โฉบไปเฉี่ยวมาบนท้องฟ้า เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เพื่อจับเหยื่อได้อย่างแม่นยำ

ลักษณะเด่น

  • รวดเร็วและคล่องตัว เหมือนเหยี่ยวที่โฉบลงไปจับเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว นักลงทุนโมเมนตัมก็ต้องตัดสินใจซื้อขายหุ้นอย่างรวดเร็ว
  • โฉบเฉี่ยวและฉวยโอกาส เหยี่ยวจะคอยสังเกตและรอคอยโอกาสที่จะจับเหยื่อ นักลงทุนโมเมนตัมก็จะคอยสังเกตและรอคอยโอกาสในการทำกำไรเช่นกัน
  • ปรับตัวเก่ง เหยี่ยวสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการล่าเหยื่อได้ตามสภาพแวดล้อม นักลงทุนโมเมนตัมก็สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ตามสถานการณ์ตลาด

4. นักเก็งกำไร (Speculator) เปรียบเสมือน “นกฮูก”

นกฮูกเป็นสัตว์ที่มีสายตาเฉียบคม มองเห็นภาพในที่มืดได้ดี และสามารถจับเหยื่อได้อย่างแม่นยำ นักเก็งกำไรก็เช่นกัน ต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ

ลักษณะเด่น

  • สายตาเฉียบคม ทั้งนักเก็งกำไรและนกฮูกต่างมีความสามารถในการมองเห็นภาพที่ชัดเจนและละเอียดอ่อน นักเก็งกำไรต้องมีสายตาที่เฉียบคมในการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์แนวโน้มของตลาด เพื่อหาโอกาสในการทำกำไร ส่วนนกฮูกก็มีสายตาที่สามารถมองเห็นเหยื่อได้ในที่มืด ทำให้ได้เปรียบในการล่า เปรียบเสมือนการที่นักเก็งกำไรสามารถมองเห็นโอกาสในการลงทุนที่ผู้อื่นมองไม่เห็น
  • ไวต่อสัญญาณ นกฮูกมีการได้ยินที่ไวต่อเสียงที่เบามาก ๆ ซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถจับเหยื่อได้อย่างแม่นยำ นักเก็งกำไรก็เช่นกัน ต้องมีความไวต่อสัญญาณต่าง ๆ ในตลาด ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร ข้อมูลทางเศรษฐกิจ หรือการเคลื่อนไหวของราคา เพื่อจับจังหวะในการเข้าซื้อหรือขาย
  • ฉลาดและรอบคอบ นักเก็งกำไรต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด เพื่อตัดสินใจซื้อขายที่ถูกต้อง เปรียบเทียบได้กับนกฮูกที่มีสมองที่พัฒนาสูง สามารถวางแผนการล่าเหยื่อได้อย่างรอบคอบ

 

การเปรียบเทียบนักลงทุนกับสัตว์ต่าง ๆ ช่วยให้เราเห็นภาพและเข้าใจลักษณะเฉพาะของแต่ละกลยุทธ์การลงทุนได้ชัดเจนขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นเต่าที่มุ่งมั่นในการลงทุนระยะยาว ไก่ที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอ เหยี่ยวที่พร้อมโฉบฉวยโอกาส หรือนกฮูกที่มองการณ์ไกล สิ่งสำคัญคือการเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับเป้าหมายและบุคลิกภาพของคุณ การเข้าใจจุดแข็งและข้อจำกัดของแต่ละแนวทางจะช่วยให้คุณสามารถปรับใช้กลยุทธ์การลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำพาคุณไปสู่ความสำเร็จในการลงทุนในระยะยาว

อ้างอิงจาก: Pi KnowledgeSET Invest Now

FinSpace

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

Finnomena Funds

Finnomena Weekly Insight

Weekly Market Insight

ประจำสัปดาห์ 16 – 20 ธันวาคม 2024

พิเศษ! สำหรับสมาชิก Finnomena

This Issue
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

Eye On This Week
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้

Market
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ

Finnomena Port Performance
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดได้เลย

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นจีนร่วงแรง หลังการประชุม Central Economic Work Conference

Finnomena Funds
Market Alert

วันนี้ (13 ธันวาคม 2024) ดัชนีหุ้นจีน CSI 300 ดัชนี HSCEI หรือหุ้น H-Share ของจีน และดัชนี Hang Seng (HSI) ของฮ่องกง ปรับตัวลดลงกว่า 2% หลังการประชุม Central Economic Work Conference (CEWC) ซึ่งเป็นการประชุมสำคัญสำหรับกำหนดแนวทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2025

การประชุมในครั้งนี้ส่งสัญญาณว่ารัฐบาลจีนมีแผนจะเพิ่มการกู้ยืมและการใช้จ่ายภาครัฐฯ โดยเน้นการกระตุ้นการบริโภคในประเทศและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มเป้าหมายการขาดดุลการคลังในปี 2025 ซึ่งถือว่าเป็นครั้งที่สองในรอบกว่า 10 ปีที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ พร้อมทั้งสี จิ้นผิงยังเรียกร้องให้ใช้นโยบายการคลังแบบเชิงรุกผ่านการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณและการออกพันธบัตรระยะยาวในปีหน้า ประกอบกับทางการจีนยังยืนยันว่ามีแผนจะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยมีแนวโน้มจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและปรับลด Reserve Requirement Ratio (RRR) ลงในช่วงเวลาที่เหมาะสม และได้ให้คำมั่นว่าจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านระบบสุขภาพและบำนาญ

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นจีนได้ปรับตัวลง เนื่องจากการประชุมในครั้งนี้เป็นการนำเสนอนโยบายแบบกว้าง ๆ และไม่ได้มีรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งนี้เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP และเป้าหมายการออกพันธบัตรรัฐบาล จะเปิดเผยอย่างเป็นทางการในการประชุมสองสภาในเดือนมีนาคม 2025

Finnomena Funds มองว่าการประชุมในครั้งนี้ยังไม่ได้มีการรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้น จึงส่งผลให้ตลาดผิดหวังและปรับตัวลงในวันนี้

เรายังแนะนำ “ลดสัดส่วน” หุ้นจีนลง แม้ภาคอสังหาเริ่มเห็นปริมาณธุรกรรมฟื้นตัว แต่ต้องใช้เวลากว่าความเชื่อมันผู้บริโภคจะฟื้นตัว นอกจากนี้ความไม่แน่นอนด้านความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ อาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันหุ้นจีน ขณะที่ Valuation ตลาดหุ้นอยู่ในระดับถูก

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ถอดบทเรียนความสำเร็จ CEO of the Year 2024 ผู้คืนชีพ AMD

Finnomena Editor
Lisa Su AMD

Highlight (คลิกเลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)


Lisa Su CEO หญิงที่นำ Advanced Micro Devices (AMD) กลับมาสู่ความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ได้รับการยกย่องในฐานะ “CEO of the Year 2024” จาก Time Magazine รางวัลนี้ไม่เพียงแค่สะท้อนถึงความสามารถในการบริหารองค์กรในระดับสูง แต่ยังเป็นการยอมรับถึงความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ที่เธอได้นำมาใช้ในการพลิกฟื้น AMD จากภาวะวิกฤติสู่การเป็นผู้นำในวงการเซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก

Finnomena จะมาถอดบทเรียนจากความสำเร็จของ Lisa Su ซึ่งไม่ใช่แค่บทเรียนสำหรับผู้บริหารระดับสูง แต่ยังเป็นแนวทางที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อก้าวผ่านอุปสรรคและสร้างความสำเร็จได้ในทุกสถานการณ์

จากเด็กสาวชาวไต้หวันสู่ผู้นำวงการเซมิคอนดักเตอร์

Lisa Su เกิดที่ไต้หวันและย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ หลงใหลใน STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) ตั้งแต่วัยเด็ก เธอชื่นชอบการเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ Commodore 64 และสร้างโปรเจกต์วิทยาศาสตร์ที่น่าทึ่ง เช่น การจำลองพายุเฮอร์ริเคนในกล่อง เธอศึกษาต่อในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ MIT จนจบปริญญาเอก และเริ่มต้นเส้นทางอาชีพที่ Texas Instruments และ IBM ก่อนจะเข้าสู่ AMD ในปี 2012

ราคาหุ้น AMD ช่วงที่ Lisa Su รับตำแหน่ง CEO

ราคาหุ้น AMD ช่วงที่ Lisa Su รับตำแหน่ง CEO | Source: Tradingview

ในปี 2014 เธอขึ้นดำรงตำแหน่ง CEO ของ AMD ในช่วงเวลาที่บริษัทกำลังเผชิญวิกฤติหนัก หุ้น AMD ร่วงลงเหลือเพียงประมาณ 2 – 3 ดอลลาร์ต่อหุ้น ส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มเซิร์ฟเวอร์แทบเป็นศูนย์ จนเกิดคำถามว่า AMD จะอยู่รอดได้อีกนานแค่ไหน?”

กลยุทธ์พลิกฟื้น AMD

เมื่อเธอเข้ารับตำแหน่ง CEO ในปี 2014 เธอตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เธอเริ่มต้นด้วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน โดยให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก ได้แก่

1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น

Lisa Su นำทีมวิศวกรของ AMD มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแข่งขันได้ แต่ยังต้องล้ำหน้ากว่าคู่แข่ง

2. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่

Lisa Su เปลี่ยนโครงสร้างการทำงานภายในบริษัท ปลูกฝังวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม และความยืดหยุ่น ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเสริมความมั่นใจให้กับพนักงาน

3. การสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุน

Lisa Su ไม่เพียงแต่ฟื้นฟู AMD จากการขาดทุน แต่ยังสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้บริษัทเป็นผู้เล่นสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ด้วยการจัดการที่โปร่งใสและการบรรลุเป้าหมายที่ให้ไว้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ราคาหุ้นของ AMD พุ่งสูงขึ้นจากประมาณ 3 ดอลลาร์ในปี 2014 สู่จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All-Time High) ที่ระดับสูงกว่า 200 ดอลลาร์ในปี 2024 คิดเป็นการเติบโตมากกว่า 6,000% ในเวลาเพียง 10 ปี

ราคาหุ้น AMD 2014 - 2024

ราคาหุ้น AMD ช่วงปี 2014 – 2024 | Source: Tradingview

ผลลัพธ์ที่ได้คือ การเปิดตัวชิปตระกูล “Zen” ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่เรียกว่า “Chiplets” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ชิปเหล่านี้ช่วยให้ AMD กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง จนสามารถแซงคู่แข่งอย่าง Intel ด้านมูลค่าของบริษัทได้ในปี 2022

ก้าวสู่คู่แข่งสำคัญของ Nvidia

แม้ AMD จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ยังต้องแข่งขันกับ Nvidia ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก โดย Nvidia มีความได้เปรียบในตลาดชิป AI ด้วยชิปที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการประมวลผล Neural Networks ส่งผลให้ Nvidia ครอบครองส่วนแบ่งตลาดชิป AI กว่า 95%

แต่ Lisa Su ก็มุ่งมั่นนำ AMD เข้าสู่การแข่งขันในตลาด AI ด้วยการพัฒนาชิป Instinct MI300X ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ El Capitan ซึ่งครองตำแหน่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน

CEO of The Year 2024

Lisa Su AMD

Lisa Su CEO of the Year 2024 | Source: Time

ล่าสุด เธอได้รับการยกย่องในฐานะผู้นำองค์กรที่เปี่ยมไปด้วยวิสัยทัศน์และความสามารถ จนได้รับตำแหน่ง CEO of The Year 2024 จาก Time Magazine รางวัลนี้เป็นการตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของเธอในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลเชิงบวกต่อทั้งพนักงาน ลูกค้า และสังคมโดยรวม

หนึ่งในความสำเร็จที่โดดเด่นในปีนี้คือการนำพาองค์กรเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยี AI และ Big Data รวมถึงการเน้นย้ำความสำคัญของนโยบาย ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) จนกลายเป็นต้นแบบให้แก่องค์กรอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ด้วยการเป็นผู้นำที่มีทั้งความมุ่งมั่นและความคิดสร้างสรรค์เธอได้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างความสามารถในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์และความเข้าใจในความต้องการของคนในองค์กรส่งผลให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่สำคัญหลายประการ พร้อมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นจากผู้ถือหุ้นและลูกค้าในระยะยาว

5 บทเรียนความสำเร็จจาก Lisa Su

เรื่องราวของ Lisa Su ไม่เพียงสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ แต่ยังเต็มไปด้วยบทเรียนที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

1. มองภาพใหญ่ แต่เริ่มจากก้าวเล็ก ๆ

เมื่อเธอเข้ามารับตำแหน่ง CEO เธอไม่ได้พยายามแก้ปัญหาทุกอย่างพร้อมกัน แต่เริ่มต้นจากการวางเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์และการลดต้นทุน

2. ลงทุนในสิ่งที่สำคัญที่สุด

เธอให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) แม้ว่า AMD จะมีงบประมาณจำกัดในช่วงแรก เธอตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อโฟกัสทรัพยากรไปยังจุดที่จะสร้างความแตกต่างได้

3. วัฒนธรรมองค์กรที่ดีคือพลังสำคัญ

เธอให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน เธอเน้นการสร้างทีมที่มีความยืดหยุ่น โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และส่งเสริมให้ทุกคนรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และมีอิทธิพลต่อทิศทางของบริษัท 

4. ไม่ยอมแพ้แม้สถานการณ์จะย่ำแย่ที่สุด

ตอนที่เธอเข้ารับตำแหน่ง AMD อยู่ในจุดที่แทบจะล้มละลาย แต่เธอไม่เพียงก้าวข้ามอุปสรรคเหล่านั้น เธอเริ่มต้นด้วยการประเมินศักยภาพที่แท้จริงของบริษัท และเลือกมุ่งเน้นไปที่จุดแข็ง โดยเฉพาะการเปิดตัวสถาปัตยกรรม “Zen” ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ

5. พิสูจน์ความสำเร็จด้วยผลลัพธ์ที่จับต้องได้

เธอไม่ได้เพียงแค่พูดถึงแผนการที่สวยงาม แต่ยังพิสูจน์ด้วยการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด การฟื้นตัวของกำไร และการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนเชื่อมั่น

เกร็ดเล็ก ๆ ที่คุณอาจไม่รู้

นอกจากความสำเร็จในอาชีพการงานของ Lisa Su และ Jensen Huang ที่ทำให้ทั้งสองกลายเป็นบุคคลสำคัญในวงการเทคโนโลยีแล้ว ยังมีเกร็ดเล็ก ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างทั้งสอง 

นั่นคือ “แม่ของ Jensen Huang เป็นน้องสาวของปู่ Lisa Su” ซึ่งหมายความว่า CEO ของบริษัทชิป AI ทั้งอันดับ 1 และอันดับ 2 เป็นญาติกัน!


อ้างอิง: Time

7 ความล้มเหลวของ Elon Musk ก่อนรวย 13.5 ล้านล้านบาท

Finnomena Editor
7 ความล้มเหลวของ Elon Musk

Elon Musk เป็นที่รู้จักในฐานะบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้เขาต้องเผชิญกับความล้มเหลว ความท้าทาย และอุปสรรคมากมาย ในบทความนี้เราจะมาดูอีกด้านของความสำเร็จที่ Elon Musk ต้องเผชิญก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยกว่า 13.5 ล้านล้านบาทคนแรกของโลก

1. Zip2 จุดเริ่มต้นที่ไม่ราบรื่น

Zip2 เป็นธุรกิจแรกของ Musk ที่ร่วมก่อตั้งกับ Kimbal น้องชายของเขา ในปี 1995 เพื่อสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ให้สื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ 

อย่างไรก็ตาม Zip2 เผชิญกับความท้าทายมากมาย เทคโนโลยีของบริษัทมักไม่น่าเชื่อถือ มีปัญหาเซิร์ฟเวอร์ล่มบ่อยครั้ง และความไม่แม่นยำของระบบแผนที่สร้างความหงุดหงิดให้กับผู้ใช้งานและลูกค้า

นอกจากนี้ สไตล์การบริหารของ Musk ยังถูกอธิบายว่า “เข้มงวด” โดยอดีตพนักงานบางคนเล่าว่า Musk มักแสดงความโกรธออกมาเมื่อพนักงานไม่ได้ทำงานจนดึกดื่น และคาดหวังให้ทีมทำงานอย่างหนักหน่วง

แม้ Zip2 จะขายได้ราคา 307 ล้านดอลลาร์ แต่ Musk ก็ต้องถูกปลดจากตำแหน่ง CEO เพราะแนวทางการบริหารที่ไม่ถูกใจผู้ร่วมงาน

2. SpaceX เกือบล้มละลาย

SpaceX Falcon 1

Falcon 1 ระเบิดจากการปล่อยจรวด | Source: The Washington Post

SpaceX เคยล้มเหลวถึง 3 ครั้งในการปล่อยจรวด Falcon 1 ระหว่างปี 2006 – 2008 ส่งผลให้บริษัทแทบไม่มีเงินทุนเหลือ

แต่ในปี 2008 SpaceX ประสบความสำเร็จกับการปล่อย Falcon 1 ครั้งที่ 4 และได้รับสัญญาจาก NASA มูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์ ซึ่งช่วยให้บริษัทรอดพ้นจากภาวะล้มละลาย

3. Tesla ในช่วงวิกฤต

Tesla เคยอยู่ในภาวะวิกฤตการเงินในปี 2008 เมื่อบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่ยอมรับ Musk ต้องใช้เงินส่วนตัวจากการขายหุ้น PayPal เพื่อช่วย Tesla จนเกือบหมดตัว 

Musk ยังเคยกล่าวถึงปัญหาท้าทายในการผลิต Tesla Model 3 ว่าเป็นช่วงเวลา “นรกแห่งการผลิต” (Production Hell) ซึ่งสะท้อนถึงความยากลำบากที่ Tesla เผชิญในการเร่งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับ Mass Market ในช่วงเริ่มต้น

Musk อธิบายว่าช่วงเวลานั้นเต็มไปด้วยความเครียดและเปรียบเสมือน “ตกนรก” พร้อมทั้งยอมรับว่าเขามักนอนที่โรงงานของ Tesla เพื่อช่วยแก้ปัญหาโดยตรง

4. SolarCity กับปัญหาทางการเงิน

SolarCity เป็นบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ที่ก่อตั้งโดยลูกพี่ลูกน้องของ Elon Musk ถูก Tesla เข้าซื้อกิจการในปี 2016 ด้วยมูลค่า 2,600 ล้านดอลลาร์ผ่านการแลกเปลี่ยนหุ้น 

แต่การซื้อกิจการนี้เกิดข้อถกเถียงมากมาย โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนและสถานะทางการเงินของ SolarCity ในขณะนั้นที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก

ผู้ถือหุ้น Tesla หลายรายมองว่าการเข้าซื้อครั้งนี้เป็นการช่วยเหลือทางการเงิน (Bailout) สำหรับบริษัทที่กำลังจะล้มละลาย ทำให้ Tesla ต้องแบกรับหนี้สินของ SolarCity ที่สูงถึงหลายพันล้านดอลลาร์

5. กระจก Cybertruck แตกกลางเวที

Cybertruck กระจกแตก

Cybertruck หลังกระจกแตกในงานเปิดตัว | Source: CNN

ในงานเปิดตัว Cybertruck ของ Tesla ในปี 2019 Elon Musk และทีมงานได้พยายามแสดงความแข็งแกร่งของกระจก “กันกระสุน” ที่ออกแบบมาให้ทนต่อแรงกระแทกสูง 

แต่เรื่องเซอรไพรส์ก็เกิดขึ่นเมื่อหัวหน้าทีมออกแบบของ Tesla ขว้างลูกเหล็กไปที่กระจกด้านข้างคนขับ กระจกกลับแตกทันที เหตุการณ์นี้สร้างความตกใจและเสียงหัวเราะในงาน และกลายเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์ในทันที

Musk อธิบายภายหลังว่า ความเสียหายของกระจกอาจเกิดจากการทดสอบทุบประตูรถด้วยค้อนก่อนหน้า ซึ่งทำให้กรอบกระจกได้รับแรงกระแทกและส่งผลต่อความแข็งแรงของกระจก​

6. เข้าซื้อ Twitter แต่มูลค่าลดลงอย่างรวดเร็ว

ราคาหุ้น Twitter

ราคาหุ้น Twitter (X ในปัจจุบัน) ช่วงก่อนและหลัง Elon Musk เข้าซื้อกิจการ | Source: Fortune

การเข้าซื้อ Twitter (X ในปัจจุบัน) ของ Elon Musk ในปี 2022 ถือเป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่น่ากังขาที่สุด โดยเขาทุ่มเงินไปถึง 44,000 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อกิจการนี้ โดยตั้งเป้าเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและลดการควบคุมเนื้อหา

อย่างไรก็ตาม หลังจากการเข้าซื้อกิจการ มูลค่าของ X ลดลงกว่า 75% เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ทำให้ผู้ใช้งานเก่าบางส่วนเลิกใช้ และผู้ลงโฆษณาหลายรายถอนตัวออกไป

แม้ว่ามูลค่าจะลดลงอย่างมหาศาล แต่ Musk ยังคงมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบการหารายได้ใหม่ เช่น ระบบสมัครสมาชิก และการสนับสนุนคอนเทนต์

7. ออกจาก OpenAI ก่อน AI บูม

OpenAI ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2015 โดย Elon Musk และ Sam Altman โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ 

อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 Musk ตัดสินใจลาออกจากการเป็นคณะกรรมการบริหาร เนื่องจากความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และการดำเนินงานขององค์กร โดย Musk มีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาที่อาจขัดแย้งกับจุดประสงค์เดิมของ OpenAI​

4 ต่อมาหลัง Elon Musk ลาออก OpenAI ได้เปิดตัว ChatGPT ซึ่งเป็นโมเดล AI ที่มีความสามารถด้านภาษาในระดับสูง ได้รับการฝึกฝนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลเพื่อให้สามารถตอบคำถาม สร้างบทสนทนา และเขียนเนื้อหาที่หลากหลายตามคำสั่งที่ได้รับ

หลังการเปิดตัว ChatGPT กลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้งานและองค์กรทั่วโลก จนกลายเป็นผู้นำในวงการ AI และความสำเร็จของ ChatGPT ยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการแข่งขันในวงการ AI โดยบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ เช่น Gemini ของ Google และ LLaMA ของ Meta ทำให้วงการ AI เติบโตอย่างก้าวกระโดดในด้านนวัตกรรมและความสามารถ

ความล้มเหลวเป็นแรงขับเคลื่อน

ท้ายที่สุดการที่ Musk ยังคงยืนหยัดต่อสู้และพัฒนาต่อไปหลังจากล้มเหลว ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการไม่ยอมแพ้ การเรียนรู้จากความผิดพลาด และความกล้าที่จะเสี่ยง การเรียนรู้จากความล้มเหลวจึงไม่ใช่เพียงแค่การยอมรับข้อผิดพลาด แต่คือการนำบทเรียนเหล่านั้นไปใช้สร้างความสำเร็จในอนาคต


อ้างอิง: Webopedia, Mount Bonnell

Santa Claus Rally มีจริงไหม? ลงทุนอะไรดีรับหุ้นขึ้นช่วงคริสต์มาส

Finnomena Editor
Santa Claus Rally คืออะไร

ว่ากันว่าทุกช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี ตลาดหุ้นมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าลดลง เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Santa Claus Rally” 

คำถามคือแล้ว Santa Claus Rally คืออะไร ทำไมถึงเกิดขึ้น และนักลงทุนควรเตรียมความพร้อมอย่างไรดี เราสรุปให้แบบเข้าใจง่าย

Santa Claus Rally คืออะไร?

Santa Claus Rally เป็นปรากฏการณ์ในโลกการลงทุนที่เชื่อว่าตลาดหุ้นมักจะปรับขึ้นได้ดีในช่วงสัปดาห์ท้ายของปี ซึ่งจะตรงกับช่วงหลังเทศกาลวันคริสต์มาสไปจนถึงวันปีใหม่พอดี 

โดยมีการเก็บสถิติผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 สัปดาห์สุดท้ายของทุกปี ย้อนหลัง 10 ปี (2013-2023) พบว่าหุ้นขึ้นถึง 8 ครั้ง จากทั้งหมด 10 ครั้ง

  • ปี 2022 +0.3%
  • ปี 2022 +1.5%
  • ปี 2021 -2.2%
  • ปี 2020 +1.9%
  • ปี 2019 +2.6%
  • ปี 2018 +1.1%
  • ปี 2017 +1.6%
  • ปี 2016 +1.5%
  • ปี 2015 +1.4%
  • ปี 2014 -0.4%
  • ปี 2013 +1.0%

Santa Claus Rally

กราฟแสดงผลตอบแทนของดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 ในช่วง 35 วันก่อนวันคริสมาสต์ (25 ธ.ค.) 
กราฟเส้นสีแดง คือปีที่ Donald Trump ชนะเลือกตั้ง 2016 
กราฟเส้นสีดำ คือค่ากลาง (Median) ระหว่างปี 2014-2023

นอกจากนี้ จะเห็นว่าในช่วงปลายปีก่อนเกิดปรากฏการณ์ Santa Claus Rally ถือเป็น Timing ที่ดีมากในการลงทุน เนื่องจากตลาดหุ้นมักจะทะยานขึ้นก่อนวันคริสต์มาส ก่อนที่จะพักฐานลงแรงในช่วงปีใหม่

ทำไมตลาดหุ้นมักปรับขึ้นช่วงปลายปี?

แม้หลายคนอาจจะมองว่า Santa Claus Rally ดูจะเป็นเหมือนอุปาทานหมู่ซะมากกว่า แต่เอาจริง ๆ แล้ว ปรากฎการณ์นี้ก็ถือว่ามีที่มาที่ไปและเหตุผลของมันอยู่เหมือนกัน ดังนี้

  1. เทศกาลหยุดยาวปลายปี เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง ผู้คนออกมาจับจ่ายใช้สอยมากกว่าปกติ ประกอบกับการได้รับโบนัสของพนักงานออฟฟิต ทำให้ภาคธุรกิจต่าง ๆ สามารถเร่งยอดขายได้มากขึ้น และหนุนให้นักลงทุนคาดหวังว่าผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายของบริษัทจดทะเบียนจะออกมาโดดเด่น จึงมีการซื้อหุ้นดักไว้ในช่วงปลายปี
  2. นักลงทุนส่วนใหญ่มีความรู้สึกเชิงบวกในช่วงเทศกาล จึงมีแต่ข่าวดีที่ส่งเสริมให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น มากกว่าข่าวร้ายที่คอยกดดันราคา
  3. ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีสิ่งที่เรียกว่า Tax-Loss Harvesting คือการที่นักลงทุนพยายามจะจ่ายภาษีให้น้อยลง ด้วยการปรับพอร์ตขายหุ้นที่ขาดทุน ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงในช่วงหนึ่ง แต่หลังจากนั้นนักลงทุนที่เหลือในตลาดจะใช้จังหวะนี้เข้าซื้อหุ้น หนุนให้ตลาดดีดตัวขึ้นภายหลัง
  4. สำหรับในประเทศไทย ก็มีแรงสนับสนุนจากกองทุนลดหย่อนภาษี RMF, SSF และ Thai ESG ที่คนส่วนใหญ่ต้องการวางแผนภาษีในช่วงปลายดีผ่านการลงทุน ทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

โค้งสุดท้ายลงทุนอะไรดี รับจังหวะขาขึ้น Santa Claus Rally 

หากใครอยากเข้าไปเก็งกำไรจากปรากฏการณ์ Santa Claus Rally แน่นอนว่าปลายปีนี้ Finnomena Funds ก็ได้คัดกองทุนแนะนำมาฝาก ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โมเมนตัมสดใส พร้อมรอรับ Santa Claus Rally

ดูสรุปกองทุนแนะนำ คลิกเลย 


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”