แจ้งเตือน

ปี 2024 IPO อินเดีย สร้าง 7 มหาเศรษฐีใหม่

Finnomena Editor
อินเดีย 7 มหาเศรษฐีใหม่

ปีที่ผ่านมานับเป็นช่วงเวลาที่โดดเด่นของการเสนอขายหุ้น IPO ในอินเดีย โดยมีผู้ประกอบการถึง 7 รายก้าวขึ้นสู่ทำเนียบมหาเศรษฐีพันล้านดอลลาร์ (Billionaire) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เริ่มต้นในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

หนึ่งในนั้นคือ Chiranjeev Singh Saluja ผู้ก่อตั้ง Premier Energies บริษัทผลิตเซลล์และโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอินเดีย รองจาก Adani Group

“คุณพ่อของผมเริ่มต้นธุรกิจด้วยการจัดหาปั๊มน้ำมือหมุนให้หมู่บ้านในชนบทที่แทบไม่มีไฟฟ้าใช้ และก่อตั้ง Premier Solar ในปี 1995” 

Saluja เล่าถึงจุดเริ่มต้นของบริษัท ปัจจุบัน Premier Energies มีมูลค่าตลาดราว 7,000 ล้านดอลลาร์ หลังหุ้นของบริษัทพุ่งขึ้นเกือบ 3 เท่านับตั้งแต่จดทะเบียนในตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2024

นอกจาก Saluja แล้วยังมีผู้ประกอบการด้านพลังงานหมุนเวียนอีก 3 รายที่ประสบความสำเร็จจากการ IPO ได้แก่

  • Hitech C Doshi จาก Waaree Group ผู้ผลิตโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์
  • Bhavish Aggarwal จาก Ola Electric Mobility Ltd ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
  • Manoj K Upadhyaya จาก Acme Solar Holdings Ltd ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์ โอกาสที่มาพร้อมความท้าทาย

รายงานจาก Frost & Sullivan ระบุว่า อินเดียตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์อีก 100 GW ภายใน 4 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมนี้ 

อย่างไรก็ตาม Saluja เตือนว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วอาจนำไปสู่การรวมตัวของอุตสาหกรรม (Consolidation) ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่บริษัทหลายแห่งในอุตสาหกรรมเดียวกันรวมตัวกันหรือควบรวมกิจการ เพื่อสร้างองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แข็งแกร่งขึ้น หรือมีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากขึ้น

“ในอีก 18-24 เดือน จะมีการขยายกำลังการผลิตเซลล์และโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ครั้งใหญ่ ผู้ที่สามารถปรับตัวและขยายธุรกิจได้เท่านั้นที่จะอยู่รอด” Saluja กล่าว

แนวโน้ม IPO ตลาดอินเดีย ปี 2025

ปี 2024 เป็นปีที่ตลาด IPO อินเดียเติบโตอย่างมาก โดยมีการระดมทุนรวม 1.66 ล้านล้านรูปี (19,820 ล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากปีก่อนหน้า พร้อมกับจำนวนผู้ลงทุนรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น 27% แตะ 109 ล้านคน

ในปี 2025 คาดว่าจะมีบริษัท 85 แห่งเข้าจดทะเบียนในตลาด โดยตั้งเป้าระดมทุนรวมประมาณ 1.53 ล้านล้านรูปี (18,000 ล้านดอลลาร์) บริษัทที่เตรียม IPO รวมถึง

  • Zepto ธุรกิจจัดส่งของชำออนไลน์
  • Flipkart India Pvt ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซที่ Walmart สนับสนุน
  • PayU และ Pine Labs ผู้ให้บริการชำระเงินรายใหญ่

นอกจากนี้ Reliance Industries ของ Mukesh Ambani ก็คาดว่าจะนำธุรกิจค้าปลีกและโทรคมนาคมมาแยกจดทะเบียนในตลาด

ตัวขับเคลื่อนใหม่ของตลาด IPO อินเดีย

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตลาด IPO อินเดียถูกขับเคลื่อนโดยบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSME) ที่ 90% ระดมทุนต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์

Vishnu Agarwal ซีอีโอของ Stock Knocks กล่าวว่า

“ผู้ก่อตั้งบริษัทเริ่มมองเห็นประโยชน์ของการถือหุ้น 75% ในบริษัทมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ ที่จดทะเบียนในตลาด มากกว่าการถือหุ้น 100% ในบริษัทมูลค่าเพียง 10 ล้านดอลลาร์”

นอกจากนี้ เขายังเสริมว่า 

“ปีหน้าเราจะได้เห็นดีลจำนวนมหาศาล เพราะผู้ก่อตั้งบริษัทต่างกระหายการเติบโต”

กองทุนหุ้นอินเดีย แนะนำโดย Finnomena Funds

Finnomena Funds แนะนำกองทุน B-BHARATA กองทุนรวมหุ้นอินเดีย ที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศอินเดีย และมีน้ำหนักการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เพื่อโอกาสเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call

ดูรายละเอียดกองทุน B-BHARATA ได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/B-BHARATA

และกองทุน TISCOINA-A กองทุนรวมหุ้นอินเดียซึ่งเน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Management และคัดเลือกหุ้นด้วยวิธี Bottom-up โดยลงทุนผ่าน 3 กองทุนหลักในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ตามคำแนะนำ FundTalk Call และ Mr.Messenger Call

โดย 3 กองทุนหลักที่ TISCOINA-A เข้าลงทุนได้แก่ 

  1. Nomura Funds Ireland plc India Equity Fund คัดเลือกหุ้นจากพื้นฐานเป็นหลัก ประมาณ 25-30 ตัว จาก Universe ประมาณ 240 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดใหญ่
  2. FSSA Indian Subcontinent Fund เน้นลงทุนในบริษัที่ประกอบธุรกิจในอินเดีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน และบังคลาเทศ โดยเน้นลงทุนประมาณ 50 ตัว กระจายลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ กลาง เล็ก โดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
  3. Goldman Sachs India Equity Portfolio เลือกหุ้นประมาณ 70-100 ตัว จาก Universe ประมาณ 700 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดกลาง-เล็ก

ดูรายละเอียดกองทุน TISCOINA-A ได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/TISCOINA-A


อ้างอิง: Business Standard 

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นเกาหลีพุ่งแรง นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

Finnomena Funds
Market Alert เกาหลี

วันนี้ (3 มกราคม 2025) ดัชนีหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2% โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้น SK Hynix ที่ปรับตัวขึ้นถึง +6.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยความคืบหน้าที่สำคัญในการพัฒนาชิป High-bandwidth Memory รุ่น HBM3E 16 เลเยอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่ารุ่น 12 เลเยอร์ถึง 18 เท่า ทั้งนี้ SK Hynix มีแผนเปิดตัวชิปรุ่นดังกล่าวในงาน CES 2025 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 10 มกราคม ที่ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

ด้านการเมืองเกาหลีใต้ ความตึงเครียดยังคงเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้มีความพยายามจับกุมนาย ยุน ซอก ยอล อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ซึ่งถูกรัฐสภามีมติถอดถอนออกจากตำแหน่งเนื่องจากการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อเดือนธันวาคม 2024 โดยศาลเกาหลีใต้ได้อนุมัติหมายจับตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามการจับกุมในวันนี้ได้ถูกขัดขวางจากกลุ่มผู้สนับสนุนของนายยุน ทั้งนี้หมายจับมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 6 มกราคม 2025 นี้เท่านั้น

ในขณะเดียวกัน นาย รี ชางยง ผู้ว่าการธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BoK) กล่าวในแถลงการณ์เนื่องในวันปีใหม่ว่า ธนาคารกลางจะใช้แนวทางที่ยืดหยุ่นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยพิจารณาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

Finnomena Funds มองว่าอุปสงค์ของอุตสาหกรรมชิปยังคงแข็งแกร่งจากกระแสการใช้งานด้าน AI จะหนุนให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสามารถเติบโตได้ อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจเป็นปัจจัยกดดันของหุ้นเกาหลีในระยะสั้น
เรายังคงแนะนำ “ถือ” กองทุน SCBKEQTG และ DAOL-KOREAEQ

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กับ FINT Cashback โฉมใหม่ จาก Finnomena

FINT

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กับ FINT Cashback โฉมใหม่ จาก Finnomena

ขอขอบคุณที่ให้ Finnomena เป็นส่วนหนึ่งในการลงทุนของคุณเสมอมาค่ะ
ทางเราขอมอบของขวัญต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นการตอบแทนด้วย

Cashback สุดปัง! ซื้อกองทุนกับ Finnomena

รับคูปอง FINT Cashback มูลค่า 10,000 บาท ทันที

เพียงกรอกโค้ด FINT2025 เริ่มวันที่ 3 มกราคม 2568

สามารถกดรับคูปองได้วันที่ 16 – 30 พ.ย. 2566

FINT คืออะไร?

“พลิกวงการการลงทุน ลดค่าธรรมเนียมได้”

FINT เป็นคะแนนสะสมสำหรับชาวฟินโนที่จะได้รับจากการใช้งานแพลตฟอร์มและสามารถใช้ FINT ในกิจกรรมต่าง ๆ บนผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่ม Finnomena ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

FINT สามารถใช้แลกส่วนลดค่าธรรมเนียมซื้อกองทุน Cashback สูงสุด 10,000 บาท*

ฟินโนมีนา มอบมิติใหม่ของการลงทุน…
สู่การเป็นดิจิตอล Wealth Creation Platform

ตอบโจทย์การสร้างความมั่งคั่งผ่านการลงทุน

ขั้นตอนการกดรับคูปองร่วมกิจกรรม

หรือมีข้อสงสัย กดลงทะเบียนเปิดบัญชีรับ FINT

โปรดกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน เราจะติดต่อท่านกลับอีกครั้งเพื่อให้ข้อมูลการเปิดบัญชีรับ 100 FINT

 

เมื่อกดปุ่ม ยืนยันลงทะเบียน แสดงว่าคุณเข้าใจและยอมรับ ข้อตกลงเงื่อนไขการใช้งาน และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ FINNOMENA แล้ว

รายละเอียดเพิ่มเติม

  1. ดาวน์โหลดแอป Finnomena ใน App Store หรือ Google Play Store โดยอัพเดทแอปให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด
  2. รับคูปอง FINT Cashback ได้ใน application หรือ www.finnomena.com/coupon-book
  3. เข้าหน้ากิจกรรม “Cashback สุดปัง! ซื้อกองทุนกับ Finnomena Funds รับคูปอง FINT Cashback มูลค่า 10,000 บาท ทันที เริ่มมกราคม 2568” บนแอป Finnomena โดยกรอกโค้ด FINT2025 เพื่อรับคูปอง FINT ในหน้ากิจกรรม โดยผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนมีสิทธิ์ได้รับคูปอง FINT สูงสุด 1 คูปองต่อคน
  4. ระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม: วันที่ 3-31 มกราคม 2568
  5. คูปอง FINT จะสามารถใช้แลก Cashback ได้เฉพาะการซื้อกองทุนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 3-31 มกราคม 2568 เท่านั้น หากผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้ใช้คูปอง FINT ภายในระยะเวลาที่กำหนด คูปองจะหมดอายุและ FINT ที่เหลือจากคูปองจะหายไปทันทีหลังสิ้นสุดระยะเวลากิจกรรม
  6. ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถใช้คูปอง FINT ในการเข้าร่วม FINT Cashback สำหรับกองทุนที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อรับส่วนลดค่าธรรมเนียมการซื้อกองทุน* (Front-end Fee) จาก บลจ. สูงสุดถึง 10%**
  7. ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถใช้คูปอง FINT แลกรับ Cashback ส่วนลดค่าธรรมเนียมการซื้อกองทุนภายในเวลา 23.59 น. ของวันที่สร้างรายการคำสั่งซื้อกองทุน***
  8. คำสั่งซื้อกองทุนจะต้องมีวันที่รายการมีผล (วันที่ตัดเงินค่าซื้อกองทุน) ไม่เกิน 14 วัน และ กองทุนต้องเข้าสู่แผนของผู้ใช้ไม่เกิน 20 วันจากวันที่แลก FINT
  9. Cashback จะคืนในรูปแบบกองทุนตลาดเงิน K-CASH เข้าไปยังแผนของคุณ โดยถ้ามีแผน D.I.Y. จะเข้าไปที่แผน D.I.Y. แผนแรก กรณีที่ไม่มีแผน D.I.Y. จะเข้าไปที่แผนแรกที่คุณสร้าง 
  10. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลก Cashback จะได้รับ Cashback ภายในวันที่ 28 ก.พ. 2568

*ส่วนลดค่าธรรมเนียมกองทุนไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
**Cashback ที่ได้รับจะไม่เกิน 0.1% ของมูลค่าเงินลงทุน
***รายการคำสั่งซื้อที่ถูกนำไปคำนวณ Cashback จะไม่เข้าร่วมกิจกรรม ลงทุนรับ FINT

นักลงทุนที่กดรับคูปอง FINT Cashback มูลค่า 10,000 บาท ได้จำนวน 1 คูปองต่อคน

– สามารถนำไปแลกรับ Cashback ได้สูงสุด 10,000 บาท สำหรับวงเงินลงทุนสูงสุด 10,000,000 บาท (แลกรับได้ไม่เกิน 0.1% ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด)

  1. ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องเป็นผู้ที่เปิดบัญชีกองทุนรวมโดยตรงกับ Finnomena Funds และมีผู้ดูแลสังกัด Finnomena Funds เท่านั้น
  2. บริษัท ฟินท์ โทเคนส์ จำกัด (“บริษัท”) ขอสงวนสิทธิ์ ในการรับคูปอง FINT และแลก Cashback แก่ผู้ร่วมกิจกรรมที่ปฏิบัติตามกฎกติกาและเงื่อนไขการร่วมกิจกรรม ภายใต้ระยะเวลาที่กิจกรรมกำหนดเท่านั้น โดยระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม คือ วันที่ 3-31 มกราคม 2568
  3. คูปอง FINT แต่ละประเภทมีจำนวนตามที่บริษัทกำหนด โดยเงื่อนไขการใช้คูปอง FINT ให้เป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
  4. คูปอง FINT ไม่สามารถซื้อ ขาย โอนสิทธิการรับคูปองให้แก่ผู้อื่น หรือแลกเป็นเงินสด และไม่มีการจ่ายเงินเป็นส่วนประกอบ โดยคูปองดังกล่าวจะหมดอายุหลังจากวันสิ้นสุดกิจกรรม
  5. กรณีที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ใช้คูปอง FINT เพื่อแลก Cashback ไปแล้ว จะไม่สามารถนำ Cashback แลกกลับเป็น FINT ได้อีก
  6. บริษัทจำกัด Cashback สูงสุดที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับตามจำนวนเงินที่ลงทุน โดย Cashback ที่ได้รับจะไม่เกิน 0.1% ของมูลค่าเงินลงทุน ตามที่บริษัทกำหนด
  7. การคำนวณ Cashback จะต้องเป็นกองทุนที่เข้าร่วมกิจกรรม FINT Cashback เท่านั้น โดยการคำนวณ Cashback จะคำนวณจากค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุนจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนตามที่บริษัทกำหนดโดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซื้อกองทุนมากกว่าจำนวนวงเงินที่ได้จากการใช้สิทธิ์แลก Cashback ทางบริษัทจะคำนวณเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับ Cashback ในจำนวนที่มากที่สุด
  8. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลก Cashback จะได้รับ Cashback ภายในวันที่ 28 ก.พ. 2568
  9. เงื่อนไขของกองทุนที่ใช้คำนวณ Cashback ต้องเป็นการทำรายการซื้อหน่วยลงทุนในวันเดียวกับวันที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมใช้สิทธิ์แลก Cashback โดยต้องทำรายการซื้อหน่วยลงทุนและตัดเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนสำเร็จภายใน 14 วัน และกองทุนที่ทำรายการซื้อนั้นต้องเข้าสู่แผนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 20 วันนับจากวันที่ทำการใช้สิทธิ์แลก Cashback  กรณีที่เป็นคำสั่งซื้อแบบ Dollar-Cost Averaging (DCA) วันที่ทำรายการซื้อหน่วยลงทุนต้องตรงกับวันที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำการใช้สิทธิ์แลก Cashback
  10. กรณีกองทุนที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน บริษัทขอยกเว้นการคำนวณ Cashback ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้สิทธิ์
  11. บริษัท ขอสงวนสิทธิ์การใช้กิจกรรม FINT Cashback ร่วมกับกิจกรรมส่งเสริมการขายอื่น โดยธุรกรรมที่ถูกคำนวณ Cashback จะไม่เข้าร่วมกิจกรรมลงทุนรับ FINT
  12. บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย การสูญหาย หรือการถูกโจรกรรมข้อมูลของผู้เข้าร่วมกิจกรรม อันเนื่องจากปัญหาของระบบเทคนิค หรือการกระทำผิดของบุคคลที่สาม
  13. บริษัทจะไม่รับผิดต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา รวมถึงความเสียหาย สูญเสีย และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม อันเกิดจาก Cashback ที่ได้รับ 
  14. บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ หรือทำการยุติกิจกรรมดังกล่าว โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า กรณีที่มีข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาท ให้คำตัดสินชี้ขาดของบริษัทถือเป็นที่สุด
  15. บริษัทถือว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้อ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไขของกิจกรรม รวมถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขของกิจกรรม วิธีการเล่น รายการของขวัญและรายละเอียดเพิ่มเติมนี้แล้วพร้อมยินยอมที่จะปฎิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้ข้างต้นทุกประการ
  16. สอบถามข้อมูล และตรวจสอบเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ connect@fint.finance

รีวิวหุ้นบวกแรงที่ Definit SET Select เลือกในปี 2024 ดันผลงานชนะ SETTRI ขาดลอย

Definit
รีวิวหุ้นบวกแรงที่ Definit SET Select เลือกในปี 2024 ดันผลงานชนะ SETTRI ขาดลอย

ปี 2024 ที่ผ่านมา Definit by Finnomena ได้เริ่มให้คำแนะนำหุ้นรายตัว “Definit SET Select หรือ DSS” ซึ่งทำผลตอบแทนบวก 13% (หักทุกค่าธรรมเนียม) ชนะ SET TRI ขาดลอย ที่บวกเพียง 1% 1 ผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากกระบวนการคัดเลือกหุ้นอย่างเข้มข้นที่ผสมผสานระหว่างปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค พร้อมทั้งมีการปรับพอร์ตอัตโนมัติเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะตลาดควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยง

1 ผลตอบแทนของ SET TRI คำนวนตามรอบการลงทุนของ DSS เนื่องจาก DSS ได้เคยให้แนะนำแบบ Subscription ซึ่งออกบทความทุกต้นเดือน แต่หากนับตามวันที่ตามปฏิทิน SET TRI +2%

กราฟผลตอบแทนสุทธิรายเดือนประจำปี 2024 2

รีวิวหุ้นบวกแรงที่ Definit SET Select เลือกในปี 2024 ดันผลงานชนะ SETTRI ขาดลอย

Source: Definit, Bloomberg as of 31 Dec 2024 

2 ผลตอบแทนรายเดือนหัก commission fee | ผลตอบแทนสะสม (cumulative return) หัก commission fee, management fee คิดบนสมมติฐานข้อมูลเฉลี่ยระหว่างเงินลงทุนต้นปีและปลายปี และ performance fee ที่ 15% โดยคิด high water mark ต่อเนื่องจากผลตอบแทนช่วง backtest | หากนับตามวันที่ตามปฏิทิน SET TRI +2%

กราฟผลตอบแทนรายปีสุทธินับแต่ Backtest, Live Test และเริ่มแนะนำจริง 3

รีวิวหุ้นบวกแรงที่ Definit SET Select เลือกในปี 2024 ดันผลงานชนะ SETTRI ขาดลอย

Source: Definit, Bloomberg as of 31 Dec 2024

3 ผลตอบแทนหัก commission fee, management fee คิดบนสมมติฐานข้อมูลเฉลี่ยระหว่างเงินลงทุนต้นปีและปลายปี และ performance fee ที่ 15% โดยคิด high water mark ต่อเนื่องจากผลตอบแทนช่วง backtest  | หากนับตามวันที่ตามปฏิทิน SET TRI +2% ในปี 2024

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ลองมาดูรายละเอียดของหุ้นรายตัวที่สร้างผลตอบแทนอันโดดเด่นในแต่ละเดือน ซึ่งช่วยผลักดันผลตอบแทนของ Defint SET Select เหนือกว่า SETTRI ได้ในปี 2024

เดือนมกราคม

KAMART +11.2% หลังบริษัทเปิดเผยว่าตั้งเป้าผลประกอบการ 3-5 ปีข้างหน้า โตเฉลี่ยปีละ 30-40% จากการขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ครบ Category ขณะเดียวกันจะขยายการส่งออก ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ผลักดันสัดส่วนรายได้ในระยะยาวของพอร์ตเป็น Modern Trade 30% ร้านค้าทั่วไป 30% ส่งออกและออนไลน์ 30-40%

เดือนกุมภาพันธ์

ICHI +10.7% หลังบริษัทรายงานกำไรปี 2566 โต 71% ที่ 642 ล้านบาท จากการบริโภคที่ฟื้นตัวและเป็นปีที่อากาศร้อนยาวนาน นอกจากนี้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นสู่ 23.4% จาก 18.7% ในปีก่อนหน้า พร้อมประกาศจ่ายปันผลเพิ่มอีกหุ้นละ 0.50 บาท 

เดือนมีนาคม

KCG +7.9% บริษัทได้ตั้งเป้ารายได้ปี 2024 เติบไม่ต่ำกว่า 10% พร้อมขยายธุรกิจในต่างประเทศ และเตรียมนำ EV Truck เข้ามาเสริมศักยภาพตั้งเป้าเป็น 30% ของจำนวนรถขนส่งทั้งหมดของบริษัท

เดือนเมษายน

AAI +16.4% โดยบริษัทเปิดเผยว่ายอดคำสั่งซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงในยุโรปและอเมริกาดีขึ้น ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์เลี้ยงลดลง นอกจากนี้ได้ยังได้อานิสงส์จากเงินบาทที่อ่อนค่า

เดือนพฤษภาคม

NSL+21.3% หลังผู้บริหาร NSL ตั้งเป้ารายได้ปี 2024 เติบโตโดดเด่น 19% YoY ขณะที่กำไรสุทธิในปี 2024 คาดว่าจะไม่ต่ำกว่าปี 2023 ที่ระดับ 333.48 ล้านบาท โดยในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา (มกราคม-กุมภาพันธ์) ยอดขายยังคงอยู่ในกรอบที่บริษัทวางไว้ โดยรายได้เติบโตจะมาจาก 3 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย 

  1. กลุ่มการผลิต OEM ให้กับ 7-Eleven ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาบริษัทมีการเซ็นคำรับรองการผลิตสินค้า (MOU) ขยายเวลาถึงเดือนธันวาคม 2031 และที่ผ่านมาได้เพิ่มโลโก้ Halal เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามุสลิม
  2. กลุ่ม Food Service ซึ่งในปี 2567 บริษัทจะขยายธุรกิจอย่างจริงจังมากขึ้น
  3. กลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้ Brands ของบริษัทเอง ซึ่งในปี 2567 จะมีการขยายตลาดและกระจายสินค้าออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นด้วย

เดือนมิถุนายน

CCET+12.1% โดยได้รับ Sentiment หนุนจากหุ้นกลุ่ม AI ทั่วโลกที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น นอกจากนี้ยังมีความคาดหวังเรื่องความสามารถใตการทำกำไรที่โดดเด่นและการลดต้นทุน ตลอดจนเน้นขายสินค้ามาร์จิ้นสูง และบริษัทได้เตรียมรองรับอุปสงค์สินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัว

เดือนกรกฏาคม

AAV+13.1% จากความคาดหวังการฟื้นตัวของผลประกอบการในครึ่งหลังของปี 2024 จากปัจจัยฤดูกาล รวมถึงราคาน้ำมันเครื่องบินที่ปรับตัวลดลงทำให้ต้นทุนของบริษัทปรับตัวลง

เดือนสิงหาคม 

PLANB +12.4% หลังบริษัทรายงานงบ 2Q24 โดยรายได้รวม 2,241 ล้านบาท เติบโต 10.20% YoY โดยได้รับแรงหนุนจากทุกกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ OOH ที่สร้างรายได้ 1,820 ล้าน ขณะที่กำไรอยู่ที่ 264 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.1% YoY

เดือนกันยายน

AURA+12.% โดยบริษัทให้ guidance ว่าผลการดำเนินงานน่าจะเติบโตจากปีที่แล้ว แต่มีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าจากปัจจัยทางดูกาล ผู้บริหารเปิดเผยว่าความต้องการของผู้บริโภคสำหรับสิบสินเชื่อทองค่ายังคงแข็งแกร่ง ทำให้มูลค่าพอร์ตสินเชื่อสูงกว่าเป้าหมายสิ้นปีที่ 4.5 พันล้านบาท

เดือนตุลาคม

BA+10.0% หลังบริษัทเผยว่าราคาตั๋วโดยสารที่ทรงตัวในระดับสูงพร้อมเพิ่มเป้าหมายราคาตั๋วโดยสารเฉลี่ยปี 2024 ใหม่เป็นไม่น้อยกว่า 4,000 บาท จากเดิม 3,900 บาท และปรับเพิ่มคาดการอัตราบรรทุกผู้โดยสารเป็น 85% จาก 83% รวมถึงยอดจองตั๋วล่วงหน้าใน 3Q24 สูงกว่า 3Q23

เดือนพฤศจิกายน 

TASCO +5.5% หลังบริษัทเปิดเบกำไร 3Q24 เติบโต 264%YoY สู่ระดับ 743 ล้านบาท จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศที่ขึ้นสูงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการจัดสรรงบประมาณปี 2024 ของรัฐบาลในช่วงปลายไตรมาส 2 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ภายหลังการอนุมัติงบประมาณปี 2025 แล้วคาดการณ์ว่าความต้องการยางมะคอยจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปี 2025

เดือนธันวาคม

ONEE+10.7% หลัง Content ฟอร์มยัก 3 เรื่องได้แก่ “แม่หยัว” “การุณยฆาต” และ “ทิชา” ได้รับกระแสตอบรับที่ดีและมีโอกาสช่วยหนุนผลประกอบการ 4Q24 ของบริษัท

Definit SET Select คือกลยุทธ์คัดเลือกหุ้นไทยเน้น ๆ ไม่เกิน 20 ตัว โดยพิจารณา 3 ปัจจัย 1) Earnings หุ้นที่ถูกปรับประมาณการกำไรขึ้น 2) Valuation หุ้นที่มูลค่าถูกกว่าอุตสาหกรรม และ 3) Technical หุ้นที่มีโมเมนตัมเชิงบวกของราคาในระยะสั้น 

รับข้อมูลเพิ่มเติมและบริการ Definit SET Select : https://www.definitinvestment.com/contact-form


ที่มา:

 

หมายเหตุ: การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม | การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลตอบแทนในอดีตปี 2013-2022 เป็นการ Back test ไม่สามารถเป็นการันตีถึงผลตอบแทนในอนาคต | ผลตอบแทนในปี 2013-2023 คำนวนโดยใช้ราคาปิดวันที่ 1 | Live test เริ่มตั้งแต่ปี 2023 | ผลตอบแทนที่แสดงอาจไม่ตรงกับผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจริงเนื่องจากผลของค่าธรรมเนียม ราคาซื้อขายหุ้นที่เกิดขึ้นจริง และปัจจัยอื่นๆ  | ผลตอบแทนเดือนม.ค. – ก.ค. ปี 2024 คำนวนโดยราคาซื้อใช้ราคาปิดของวันที่ออกบทความ และราคาขายใช้ราคาเปิดของวันที่ออกบทความ ณ เดือนถัดไป เนื่องจากช่วงดังกล่าว Definit ให้คำแนะนำแบบ Subscription | ผลตอบแทนตั้งแต่เดือน ส.ค.-ก.ย. ปี 2024 คำนวนโดยราคาซื้อใช้ราคาปิดของวันที่ 2 ของเดือน และราคาขายใช้ราคาเปิดของวันที่ 2 ของเดือนถัดไป (หากตรงกับวันหยุดจะใช้วันทำการถัดไป) | ผลตอบแทนตั้งแต่เดือน ต.ค. 2024 จะคำนวนผลตอบแทนตามเดือนนั้นๆ โดยใช้ราคาปิดของสิ้นเดือนนั้น | ผลตอบแทนรวมเงินปันผล | ผลตอบแทนสุทธิ (net return) ของโมเดลพอร์ตหักค่า commission ที่ 0.25%+VAT โดยคิด turnover ที่ 80%, ค่าธรรมเนียมการจัดการ (management fee) คิด 0.75% ต่อปีโดยคิดบนสมมติฐานข้อมูลเฉลี่ยระหว่างเงินลงทุนต้นปีและปลายปี, ค่าธรรมเนียมตามกำไร (performance fee) คิด 15% ของผลตอบแทนที่สูงกว่า high water mark ซึ่งคิดเป็นรายปี | เดือน พ.ย. 2024 Definit Quant Portfolio ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Definit SET Select 


คำเตือน

ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (บริษัท) ไม่สามารถยืนยันหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ บทวิเคราะห์ในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ การตัดสินใจซื้อหรือขาย หลักทรัพย์ใดใดของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลมาจากวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดๆ กับ บริษัท

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นจีนร่วงแรง หลังภาคการผลิตจีนชะลอตัวลง

Finnomena Funds
หุ้นจีน Market Alert

วันนี้ (2 มกราคม 2025) ดัชนี HSCEI หรือหุ้น H-Share ของจีนปรับตัวลดลงกว่า 2% หลังจากการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิต (Caixin Manufacturing PMI) ชะลอตัวจาก 51.5 ในเดือนพฤศจิกายน สู่ระดับ 50.5 ในเดือนธันวาคม ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 51.6

นอกจากนี้ ยังมีรายงานระบุว่าธนาคารกลางจีน (PBoC) อาจปรับลดอัตราส่วนเงินสำรอง (Reserve Requirement Ratio) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2025 หลังจากที่เคยส่งสัญญาณว่าจะดำเนินการดังกล่าวภายในสิ้นปี 2024 สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีน ได้แสดงความเชื่อมั่นในสุนทรพจน์เนื่องในโอกาสปีใหม่ว่า GDP ของจีนจะขยายตัว 5% ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่จีนตั้งไว้ โดยคาดว่ารัฐบาลจีนจะกำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2025 ที่ระดับเดียวกับปี 2024 ทางการจีนพร้อมที่จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบจากนโยบายภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

Finnomena Funds มองว่า การชะลอตัวของภาคการผลิตในจีนและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ อาจจะเพิ่มความกดดันให้กับตลาดหุ้นจีน

เราจึงแนะนำให้ “ลดสัดส่วน” การลงทุนในหุ้นจีน แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มเห็นปริมาณธุรกรรมที่ฟื้นตัวบ้าง แต่ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นจีนในอนาคต ขณะที่มูลค่าตลาดหุ้นจีนในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Krungsri The Masterpiece ปรับพอร์ตประจำเดือนมกราคม 2025 : เพิ่มกองทุนหุ้นโลกและตราสารหนี้ไทย

บลจ.กรุงศรี
Krungsri The Masterpiece ปรับพอร์ตประจำเดือนมกราคม 2025 เพิ่มกองทุนหุ้นโลกและตราสารหนี้ไทย

มุมมองการลงทุน

ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกให้ผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่มีความผันผวนสูง โดยในช่วงต้นเดือนตลาดยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับแรงกดดันจากความเห็นของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นช่วงๆ เช่น การประกาศว่าจะเก็บภาษีนำเข้าจากแคนาดา เม็กซิโก และจีน ในอัตราที่สูงขึ้น  ทั้งนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงแรงหลังเฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยน้อยลงในปี 2568 และ 2569  อย่างไรก็ดี คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงเติบแข็งแกร่งในปี 2568 โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง ส่งผลให้ความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับสูง และคาดว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะไม่ดำเนินนโยบายที่รุนแรงอย่างที่ได้ประกาศไว้ เพราะบางนโยบายอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยการประกาศนโยบายต่างๆที่ผ่านมาของนายทรัมป์ น่าจะเป็นเพียงการกดดันเพื่อให้เกิดการเจรจามากกว่า  ในส่วนตลาดหุ้นโลก คาดว่าตลาดหุ้นจีนจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากมาตรการของว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์มากที่สุด ในขณะที่คาดว่าตลาดหุ้นอินเดียอาจได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจอินเดียขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก

สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลก โดยได้รับแรงกดดันจากเงินทุนไหลออก ความกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีน ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากนโยบายของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ และปัจจัยเฉพาะในหุ้นขนาดใหญ่บางตัว  ทั้งนี้ คาดว่าตลาดหุ้นไทยในช่วงต้นปี 2568 น่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น มาตรการ Easy E-receipt เป็นต้น

ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของเฟด หลังเฟดส่งสัญญาณชัดเจนถึงการชะลอการลดดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ทิศทางดอกเบี้ยในระยะยาวยังคงเป็นขาลง การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะกลางและระยะยาวที่บริหารแบบเชิงรุก (active management) จึงน่าจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น

พอร์ตการลงทุนสำหรับเดือนมกราคม 2568

บลจ. กรุงศรีฯ แนะนำคงน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยไว้ที่ระดับต่ำ เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังคงต่ำกว่าหลายประเทศ และคาดการณ์การเติบโตของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนฯยังคงอยู่ในระดับต่ำ

สำหรับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ แนะนำปรับพอร์ตการลงทุนโดยเพิ่ม KFGG-A ใน Satellite port เนื่องจากคาดว่าหุ้น growth และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะให้ผลตอบแทนที่โดดเด่น ทั้งนี้ น้ำหนักการลงทุนใน KFGG-A จะถูกแบ่งออกมาจาก KFWINDX-A และ KFINDIA-A เพื่อลดความเสี่ยงเชิงลบจากการดำเนินนโยบายของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

ในส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ไทย KFAFIX-A และลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ KF-CSINCOM เนื่องจากการชะลอการลดดอกเบี้ยของเฟดส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศอาจให้ผลตอบแทนน้อยลง ในขณะที่ความผันผวนยังคงสูงกว่ากองทุนตราสารหนี้ไทย

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้  กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร  0 2657 5757 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

‘กองทุน Healthcare’ กับ คีย์แมนยุคทรัมป์

MacroView
‘กองทุน Healthcare’ กับ คีย์แมนยุคทรัมป์

เชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านน่าจะได้ลงทุนในกองทุนรวม Healthcare ของสหรัฐ อาจจะในรูปแบบกองทุนรวม หรือ กองทุนลดหย่อนภาษี อย่าง RMF หรือ SSF โดยหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งใหญ่ ได้มีการประกาศว่าจะแต่งตั้ง 3 ขุนพลหลัก อันประกอบด้วย โรเบิร์ต เอฟ เคเนดี จูเนียร์ หรือ RFK เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข เจย์ บาธาชญา เป็นหัวหน้าสถาบันด้านสาธารณสุขแห่งชาติ และ เฮอร์เมท ออซ ดูแลด้านหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งทั้ง 3 ท่าน มีแนวทางการทำงานและปรัชญาด้านการสาธารณสุขที่แตกต่างจากยุคของโจ ไบเดน อย่างสิ้นเชิง โดยออกจะเป็นไปในแนวทางที่บริษัทด้านธุรกิจเกี่ยวกับสาธารณสุขในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐไม่ค่อยคุ้นชินเท่าไรนัก อาทิ การไม่ค่อยเห็นด้วยกับการฉีดวัคซีน หรือ การไม่เห็นด้วยการ Lock down ในช่วงโควิด โดยทั้ง 3 ท่านยังต้องรอการรับรองจากสภาคองเกรสก่อนจะดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ดังนี้

ขอเริ่มจาก โรเบิร์ต เอฟ เคเนดี จูเนียร์ หรือ RFK กันก่อน

แต่เดิมนั้น RFK มาจากสายรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้โลกเราเป็นสีเขียวมาพักใหญ่ถึงขนาดนิตยสาร Times เคยกล่าวชื่นชมเป็นบุคคลที่น่าชมเชยด้านโลกสีเขียว ครั้นมาถึงช่วงโควิด-19 RFK ได้เริ่มแสดงจุดยืนด้านสาธารณสุข โดยนำสไลด์พรีเซนเตชั่นว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างการฉีดวัคซีนกับโรคออทิสซึ่มไปให้ แอนโธนี ฟาวชี ที่คุมหน่วยงานด้านจัดการโควิดหรือ CDC ในยุคนั้นได้พิจารณา ทว่ามีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นกล่าวว่า หลังจากได้พูดคุยกันแล้ว เขาเองเลิกสงสัยในช้อกังขาของ RFK อีกต่อไป

ทั้งนี้ ในวงการตลาดหุ้นสหรัฐ มีความกังวลว่าหาก RFK เข้ารับตำแหน่ง รมว. สาธารณสุข ซึ่งดูแลงบประมาณถึง $1.7 ล้านล้านโดยมาคุมหน่วยงานด้านการสาธารณสุขต่าง ๆ นับตั้งแต่ FDA ที่ทำหน้าที่กำกับด้านการรับรองยารักษาโรคออกสู่ตลาด, CDC ที่ดูแลด้าน Public Health ของสหรัฐ รวมถึง CMS ที่ดูแลงบประมาณด้านการประกันสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ/ผู้มีรายได้น้อย หรือ Medicare/Medicaid น่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือไม่ เนื่องจาก RFK แสดงความไม่ศรัทธาในวัคซีน ยาลดน้ำหนัก รวมถึงการให้แหล่งเงินในการพัฒนายารักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรคทั่วไปหรือยาที่รักษาโรคเรื้อรัง  ซึ่งจุดที่กังวลคือปริมาณการรับรองประเภทวัคซีนจากทางการสหรัฐที่จะรักษาโรคต่าง ๆจะลดลง เนื่องจากผู้ดูแลนโยบายเองมีความกังวลถึงผลข้างเคียงของวัคซีนเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนหน้าแล้ว

ท่านที่สอง ได้แก่ เจย์ บาธาชญา นักการแพทย์สาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด เป็นหัวหน้าสถาบันด้านสาธารณสุขแห่งชาติ หรือ NIH จุดที่ทำให้ บาธาชญาโด่งดัง ได้แก่ การให้ความเห็นในเชิงไม่เห็นด้วยต่อการ Lockdown ในสมัยโควิด-19 เนื่องจากประเมินว่าอัตราส่วนผู้เสียชีวิตจากโควิดกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด ต่ำกว่าตัวเลขที่ทางการประกาศหลายสิบเท่า เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อจริงมีจำนวนมากกว่าตัวเลขที่ทางการรายงานเป็นอย่างมาก ดังนั้น การ Lockdown ถือว่าเป็นการทำเกินกว่าเหตุทั้งในแง่ประชาธิปไตยและเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งครั้งหนึ่ง Twitter เคยสั่งแบนบาธาชญาจากความเห็นในลักษณะดังกล่าว จะเห็นได้ว่าทรัมป์แต่งตั้งบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีความเห็นตรงกันข้ามกับแนวทางปฏิบัติในยุคโจ ไบเดนอย่างสิ้นเชิง

อีกหนึ่งแนวคิดของบาธาชญาว่าด้วยการทำวิจัยในวงการด้านสาธารณสุขของสหรัฐ คืองบประมาณและความก้าวหน้าของนักวิจัยด้านการแพทย์ มักจะเป็นไปในลักษณะที่เป็นเพียงการปรับปรุงแนวคิดเดิมเพียงเล็กน้อยจากนักวิชาการรุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ เพื่อให้บทวิจัยของตนเองได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งทำให้การอ้างอิงบทความทางวิชาการเดิม (Citations) ของวงการด้านสาธารณสุขมีจำนวนมากมาย แทนที่จะทำบทวิจัยที่ฉีกแนวออกไปให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการให้ก้าวกระโดดไปจากแนวทางเดิม ซึ่งสาเหตุหลักคือความกังวลต่อความเจริญก้าวหน้าทางอาชีพการงานของตนเองที่หากทำเช่นนั้นจะไม่สดใสนั่นเอง

ท่านที่สาม ได้แก่ เฮอร์เมท ออซ ดูแลด้านหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (CMS) ซึ่งรู้จักกันดีในฉายา Dr. Oz ที่มีรายการทอล์คโชว์ซึ่งได้รับความนิยมในทีวีสหรัฐเป็นระยะเวลากว่าสิบปี ทั้งนี้ ออซต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการ Senate Financial Commitee ก่อนที่จะรับรองจากสภาคองเกรสอีกต่อหนึ่ง

โดยออซ จบการศึกษาด้านการผ่าตัดหัวใจ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย และเคยเป็นที่ปรึกษาด้านฟิตเนส โภชนาการ และสุขภาพ ของทรัมป์ในรัฐบาลชุดก่อนของเขา

ตำแหน่งที่ออซจะขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ถือว่าเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านประกันสุขภาพให้ผู้สูงอายุและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีเม็ดเงินหมุนเวียนกว่า $1 ล้านล้าน ต่อปี หลายคนประเมินว่าออซจัดเป็นบุคลากรแนว Influencer มากกว่าผู้ดูแลผลประโยชน์ด้านประกันสุขภาพให้กับคนทั่วไป นอกจากนี้ เนื้อหาในรายการของเขาในอดีตก็เคยได้รับการร้องเรียนว่าไม่ได้สอดคล้องกับแนวทางการแพทย์ปัจจุบัน แม้ว่าออซจะถือเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ทรัมป์บอกว่ามาจับงานที่ตรงกับสิ่งที่เรียนมา

โดยออซกับ RFK ถือว่ามีความใกล้ชิดกันมาก จาการที่ RFK ได้เช่าบ้านของออซที่ฟลอริดาอาศัยซึ่งรายงานนี้มาจากข้อมูลของสื่อมวลชนอเมริกัน

ทั้งหมดนี้ ทำให้หุ้นและกองทุนรวม Healthcare สหรัฐ ในช่วงที่ผ่านมาและถัดไป อาจจะมีความเสี่ยงทั้งเชิงลบและบวกจากผู้บริหารภาครัฐที่ดูแลหน่วยงานสำคัญในยุคของทรัมป์อยู่ไม่มากก็น้อย

ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP

MacroView, macroviewblog.com


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort

New Year’s Resolutions วางแผนการเงิน ต้อนรับปีใหม่ 2025

Finspace
New Year’s Resolutions วางแผนการเงิน ต้อนรับปีใหม่ 2025

ช่วงต้นปีแบบนี้ เป็นโอกาสดีที่เราจะหันกลับมาทบทวนตัวเอง พร้อมตั้งเป้าหมายใหม่เพื่อต้อนรับปี 2025 และหนึ่งในเป้าหมายยอดฮิตที่หลายคนให้ความสำคัญก็คือ “เป้าหมายทางการเงิน”

ความพิเศษของการเริ่มต้นวางแผนการเงินในช่วงนี้ คือการได้เริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ไปพร้อมกับปีใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นในทุกด้าน

อย่าปล่อยให้เป้าหมายของเราเป็นแค่คำพูดหรือความตั้งใจที่จางหายไป

ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะตั้งเป้าหมายยังไงดี FinSpace มีมาฝากครับ … เริ่มต้นปีใหม่นี้แฮปปีแน่นอน

New Year’s Resolutions วางแผนการเงิน ต้อนรับปีใหม่ 2025

FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/money-new-years-resolutions/

5 ธีมลงทุนทั่วโลกรับปี 2025 งูเล็กไซส์บอลลูน

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
5 ธีมลงทุนทั่วโลกรับปี 2025 งูเล็กไซส์บอลลูน

ปี 2024 กำลังจะผ่านพ้นไป ได้เวลาที่ Thematic Investor ต้องทบทวนบทเรียนจากการลงทุน เพื่อมองไปข้างหน้า

สำหรับผม วิธีทำความเข้าใจธีมลงทุนของตลาดที่ดีและเร็วที่สุด คือการมองย้อนกลับไปในอดีต จากดัชนีธีมการลงทุนกว่า 200 กลุ่มที่ผมติดตามอยู่ Magnificent 7, Semiconductors, Machine Learning, Thai Tech และ Blockchain คือหัวตารางผลงานโดดเด่น ส่วนธีมที่ทำผลงานย่ำแย่ประกอบด้วย Solar, Clean Tech, China Healthcare, Lithium, และ Thai Healthcare

ประเด็นที่ทำให้ผมแปลกใจ ไม่ได้เกิดขึ้นจากธีมไหนทำผลงานได้ดีหรือแย่เกินคาด แต่กลับเป็นธีมที่ดี ดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ธีมลงทุนที่แย่ ก็แย่ลงไปอีก ทำให้ตลาดยิ่งกระจุกตัว

บทเรียนจากปี 2024 จึงเหมือนกับปี 2023 คือ (1) ถ้าใครไม่มีหุ้นใหญ่สหรัฐผลตอบแทนจะแพ้ตลาดแน่นอน และ (2) ฟองสบู่ทางการเงินสามารถอยู่ได้นานกว่าที่หลายคนคาด

ส่วนบทเรียนที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ ผมมองว่าเป็น (3) แม้ตลาดจะกระจุกตัว แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเกิดขึ้น การกระจุกตัวจะไม่หายไป บริษัทใหญ่บางบริษัท อาจมีความสำคัญมากกว่าเศรษฐกิจบางประเทศก็เป็นได้

สำหรับปี 2025 ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะทรงตัว เงินเฟ้อลดลง ธนาคารกลางลดเบี้ย ความกระจุกตัวทำให้ Valuation แพงผิดปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างกำลังจะเกิดขึ้นจากประธานาธิบดี Donald Trump ในอีก 4 ปีข้างหน้า

5 ธีมลงทุนในปี 2025 ของผมจึงประกอบด้วยธีมเก่าอย่าง Magnificent 7 และ AI ผสมกับธีมปรับใหม่อย่าง Power Demand, Deregulated Finances และ China Recovery ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงรอบนี้

ธีมหนึ่ง Magnificent 7 เป็นธีมที่ทำผลงานดีสม่ำเสมอ มีโอกาสไปต่อ อย่างน้อยจนกว่ากำไรของ S&P 493 จะฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด

ตั้งแต่ต้นปีถึงปลายเดือนพฤศจิกายน Bloomberg Magnificent 7 Index ให้ผลตอบแทนถึง 42% จุดแข็งของหุ้นในกลุ่มนี้ คือกำไรที่เติบโตสูงกว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัด

แม้ในปี 2025 ตลาดจะเริ่มมองว่า S&P 493 หรือหุ้นสหรัฐนอก Magnificent 7 จะฟื้นตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นใหญ่จะต้องถูกขายทันที

ผมเชื่อว่าหุ้นใหญ่เหล่านี้จะทำผลตอบแทนไม่แพ้ตลาด อย่างน้อยจนกว่าจะมีนโยบายเศรษฐกิจที่กดดันหุ้นในกลุ่มโดยตรง เช่น กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antitrust)

ธีมสอง AI ต้องมีติดพอร์ตไว้ต่อตลอดทศวรรษ ปี 2025 เป็นอีกปีที่เราต้องลุ้นว่าจะได้เห็นผู้นำ AI ถือกำเนิดขึ้นในตลาดหุ้นหรือไม่

แม้ปี 2024 จะไม่ใช่ปีที่หุ้นกลุ่ม AI ขึ้นนำตลาด แต่ Indexx Artificial Intelligence Index ก็สามารถทำผลตอบแทนถึง 22% เกาะไปกับดัชนี S&P 500

ผมคงมุมมองเดิมว่า AI เป็นนวัตกรรมที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมในอนาคตได้ ธีมนี้จะมีโอกาส Outperform ตลาดไปอย่างน้อยจนกว่าเราจะเห็นผู้นำที่แท้จริงในธีม AI ถือกำเนิดขึ้น

ปี 2025 ควรเป็นปีที่ตลาดควรเห็นการนำเทคโนโลยีไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริงมากขึ้น อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ สื่อสาร ซอฟต์แวร์ ค้าปลีก การเงิน และการขนส่ง

สำหรับใครที่สนใจลงทุน AIQ หรือ Global X Artificial Intelligence & Technology ETF เป็นตัวเลือกที่กระจายลงทุนในผู้นำกลุ่ม AI ได้อย่างดี

อย่างไรก็ดี บทเรียนในปี 2024 สอนว่าถ้าเราต้องรอผู้นำการเติบโตของธีม AI ที่เกิดขึ้นช้า ระหว่างทางควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไว้ก่อน

ธีมลงทุนที่น่าสนใจเมื่อพูดถึงโครงสร้างพื้นฐาน AI คือการลงทุนใน Data Center และโรงไฟฟ้า

ด้วยความตื่นตัวของ AI ทำให้เกิดการลงทุนใน Data Center มากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปพร้อนกัน ดัชนี Solactive Data Center REITs & Digital Infrastrcuture Index ทำผลตอบแทนได้ 20% พร้อมกับ MSCI World Utilities ที่ปรับตัวขึ้น 11%

Goldman Sachs คาดว่า Data Center ในสหรัฐจะมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นราว 8% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมในปี 2030 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียงราว 3% คิดเป็นการเติบโตของการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นราว 2.4% ต่อปีจากที่ไม่เติบโตเลยมากว่า 2 ทศวรรษ

แม้จะเป็นการเติบโตที่ไม่สูงมาก แต่เชื่อว่ามีความยั่งยืนและสามารถยืดหยุ่นไปกับกระแส AI ที่กำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วยความผันผวนที่ต่ำกว่าหุ้น Tech ใหญ่ โดยมี ETF ที่น่าสนใจเป็น VPN หรือ Global X Data Center & Digital Infrastructure ETF

ธีมที่สี่เป็นกลุ่มธุรกิจปรกติที่คาดว่าจะมีนโยบายหนุนอย่าง Deregulated Finances

ผมมองว่ากลุ่มการเงินเป็น Sector ที่คาดว่าจะได้รับแรงหนุนทั้งในภาคการเงินดั้งเดิมและการเงินสมัยใหม่

ข้อเสนอยกเลิกกฎ Basel III Endgame จะช่วยลดข้อจำกัดด้านเงินทุนที่ธนาคารขนาดใหญ่เรื่องการตั้งสำรอง เพิ่มอิสระให้ธนาคารขนาดเล็กในกิจกรรมควบรวมกิจการ (M&A) และการลงทุน คาดว่าจะหนุนให้ทั้งธุรกิจการเงินและสินเชื่อกลับมาเติบโต

นอกจากนี้ ผมเชื่อว่าการเพิ่มความชัดเจนในกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ Crypto จะทำให้แพลตฟอร์มทางการเงินปัจจุบันมีโอกาสขยายการเข้าถึงลูกค้าและบริการใหม่ๆ เราสามารถเลือกลงทุนหาโอกาสหรือป้องกับความเสี่ยงไปพร้อมกันได้

ธีมการเงินสายเติบโตผมเลือก ARKF หรือ ARK Fintech Innovation ETF ที่มีการผสมผสาน e-commerce เข้าไปด้วย ส่วนสายป้องกัน ผมเลือก Amplify Cybersecurity (HACK) เนื่องจากเป็น ETF ที่เน้นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

ธีมสุดท้ายสินค้าฟุ่มเฟือยฝั่งยุโรป (EU Consumer Discretionary) ลุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจากนโยบายกระตุ้นภาครัฐ

สินค้าฟุ่มเฟือยในยุโรปเป็นธีมลงทุนสายกลับตัว (Turnaround) ธีมเดียวที่ผมเลือกในปีนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัว และ Luxury Goods เป็นออุตสาหกรรมที่มักได้รับแรงหนุนมากเป็นพิเศษ

ขณะเดียวกัน ผมเชื่อว่าปี 2025 เป็นปีที่เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวช้า สนับสนุนการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายจาก ECB กดให้ EUR มีแนวโน้มอ่อนค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าหรูยุโรป

ตัวเลือกที่น่าสนใจมีตั้งแต่หุ้นใหญ่ในยุโรปอย่าง LVMH, Hermès, Kering, หรือ Richemont ส่วนถ้าใครอยากลงทุนเป็นธีม ก็สามารถเลือกลงทุน CD9 หรือ Amundi MSCI Europe Consumer Discretionary ETF และ Amundi S&P Global Luxury UCIT ETF (GLUX) ที่จดทะเบียนในตลาดฝรั่งเศสได้ทั้งคู่

ถึงตรงนี้ผมเชื่อว่า Thematic Investor คงมองเห็นโอกาสสำหรับการลงทุนในปีงูเล็ก 2025 บ้างแล้ว

ในมุมมองของผม ไม่ว่าพอร์ตปัจจุบันของเราจะเป็นแบบไหน เราสามารถสอดแทรกส่วนประกอบของธีมลงทุนเหล่านี้เข้าไปในพอร์ตได้ สิ่งที่สำคัญคือต้องเรียนรู้ที่จะผสมผสานให้มีทั้งธีมเติบโต ตั้งรับ และธีมกลับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง แบ่งสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสม ตามความเสี่ยงที่รับได้

ผมเชื่อว่าธีมเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจตลาด และประสบความสำเร็จในการลงทุนปี 2025 ครับ

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

สรุปผลตอบแทนสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก ประจำปี 2024

Finnomena Editor
สรุปผลตอบแทนสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก 2024

ภาพรวมผลตอบแทนสินทรัพย์ทั่วโลก ตลอดทั้งปี 2024 (มกราคม-ธันวาคม) นี่คือสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้โดดเด่นที่สุด พร้อมด้วยกองทุนแนะนำ Finnomena Pick ของแต่ละสินทรัพย์

1. ราคาบิทคอยน์ BTCUSD ปรับเพิ่มขึ้น 120% ตั้งแต่ต้นปี

กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: KT-BLOCKCHAIN-A

สรุปผลตอบแทนสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก 2024

2. ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Nasdaq ปรับเพิ่มขึ้น 30.4% ตั้งแต่ต้นปี

กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: AFMOAT-HA, MEGA10-A

สรุปผลตอบแทนสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก 2024

3. ราคาทองคำ Gold Spot ปรับเพิ่มขึ้น 27.1% ตั้งแต่ต้นปี

กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: SCBGOLDH, SCBGOLD

สรุปผลตอบแทนสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก 2024

4. ตลาดหุ้นไต้หวัน Taiwan Index ปรับเพิ่มขึ้น 25.5% ตั้งแต่ต้นปี

กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: UOBSGC

สรุปผลตอบแทนสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก 2024

5. ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P500 ปรับเพิ่มขึ้น 24.3% ตั้งแต่ต้นปี

กองทุนแนะนำ Finnomena Pick: AFMOAT-HAMEGA10-A

สรุปผลตอบแทนสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก 2024

ภาพรวมผลตอบแทน Global Asset จะเห็นว่าเป็นที่ราคา Bitcoin กลับมา Outperform ราคาทะลุ 100,000 เหรียญได้สำเร็จ และกลับสู่ตลาดกระทิงอีกครั้งหลังผ่านเหตุการณ์ Halving ครั้งที่ 4 ประกอบกับการอนุมัติ Bitcoin ETF ส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้าถือครอง Bitcoin แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงหุ้นกลุ่ม Blockchain ที่ได้รับอานิงสงส์ไปด้วย

ในขณะที่สินทรัพย์ทางเลือกอย่าง ทองคำ ก็เป็นปีที่ All-Time High เช่นกัน ด้วยแรงหนุนของอัตราดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาลง สงครามตะวันออกกลางรุนแรงขึ้น ความผันผวนจากการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และการสะสมสำรองทองคำที่มากขึ้นของธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก

ส่วนตลาดหุ้นที่โดดเด่นที่สุด คือ หุ้นสหรัฐฯ และหุ้นไต้หวัน เนื่องจากการเติบโตของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี อุตสาหกรรม Semiconductor และ Generative AI

อัปเดตข้อมูล ณ วันที่ 23/12/2024


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

4 นิสัยที่คนรวยเค้าทำกัน

Finspace
4 นิสัยที่คนรวยเค้าทำกัน
“คนรวย” ทำไมเขาถึงรวยนะ? เป็นข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนก็อยากรู้ ไหนใครอยากมีนิสัยแบบริช ๆ เรามาเพิ่มนิสัยเหล่านี้กันจากการสำรวจมานานกว่า 5 ปี ของ ‘Tom Corley’ เขาตั้งใจที่จะสำรวจ “นิสัยรวยๆ” ของเหล่าเศรษฐี เพื่อสำรวจว่าคนที่รวยที่สุดในโลก มีมุมมองไหนเกี่ยวกับเงินของพวกเขา แต่ละรายแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
4 นิสัยที่คนรวยเค้าทำกัน

  • Saver-Investors ไม่ว่าพวกเขาจะทำงานอะไร พวกเขาก็มักจะหาทางลงทุนในการเงิน คิดหาทางอยู่ตลอดว่าจะสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองอย่างไร
  • Company Climbers คนรวยบางคนมักให้ความสำคัญกับหน้าที่การงาน โดยการเข้าไปสู่บริษัทใหญ่ทุ่มเทเพื่อก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น จนกว่าจะถึงระดับผู้บริหาร
  • Virtuosos คนรวยบางคนเป็นมักคนเก่ง และได้รับเงินเดือนสูงเพราะมาจากความสามารถและประสบการณ์ของตัวเอง จึงมักจะต้องมีการศึกษาเฉพาะทางขั้นสูง เช่น ด้านกฎหมาย ด้านการแพทย์
  • Dreamers คนรวยต่างเดินตามความฝัน เพราะมีโอกาสและมีเงินที่พร้อมซัพพอร์ต เช่น มีธุรกิจเป็นของตัวเอง เป็นดาราที่มีชื่อเสียง คนกลุ่มนี้รักในสิ่งที่ตัวเองทำ และสิ่งเหล่านี้เองก็สะท้อนกลับมาเป็นเงิน
FinSpace

บทสรุปปี 2024 เกิดอะไรบ้างในโลกการลงทุน!

Finnomena Editor
สรุปข่าวเด่นปี 2024

สรุปข่าวเด่นรายเดือนตลอดทั้งปี 2024 รวมมาให้กับทุกเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแวดวงเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน มากมายด้วยสีสัน มีดีและร้ายปะปนกันไป เพราะโลกแห่งการลงทุนนี้ไม่เคยจะหยุดนิ่ง และนับวันก็ยิ่งหมุนในอัตราที่เร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ

สรุปข่าวเด่นปี 2024

เดือนมกราคม

  • Bitcoin ETF ถูกอนุมัติให้จัดตั้งซื้อขายได้อย่างเป็นทางการโดย ก.ล.ต. สหรัฐอเมริกา นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนใน Bitcoin ด้วยการซื้อเพื่อถือครองจริง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสภาพคล่องของตลาด เพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุน และเปิดโอกาสให้นักลงทุนสถาบันเข้ามาลงทุนใน Bitcoin ได้โดยตรง
  • Evergrande Group ศาลฮ่องกงอ่านคำตัดสินให้ล้มละลาย และปิดกิจการลงเป็นที่เรียบร้อย หลังจากการผิดนัดชำระหนี้ครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2021 รวมมูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ในจีนที่มีหนี้สินมากที่สุดในโลก และสร้างแรงกระเพื่อมเชิงลบต่อเศรษฐกิจจีนมหาศาล

เดือนกุมภาพันธ์

  • ตลาด Bullish เป็นเดือนที่หุ้นอเมริกา หุ้นยุโรป และหุ้นญี่ปุ่น ต่างพากันทำราคาปรับตัวขึ้นสู่จุดสูงสุดเป็นประวัติกาล All-Time High วิ่งเข้าสู่ตลาดกระทิงอย่างพร้อมเพรียง
  • Warren Buffett เขียนอำลา Charlie Munger ในจดหมายประจำปีถึงผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway ปี 2024 โดยใช้โอกาสนี้กล่าวยกย่อง Charlie ที่เปรียบดั่งพี่ชายผู้แสนดี และสถาปนิกแห่ง Berkshire Hathaway ซึ่งเสียชีวิตเมื่อช่วงปลายปี 2023 

เดือนมีนาคม

  • วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย ออกมาจุดไฟปะทุอีกครั้งว่าพร้อมใช้อาวุธนิวเคลียร์ทำสงครามกับยูเครน หลังการสู้รบยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน
  • ญี่ปุ่น ตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี สู่ระดับ 0 – 0.1% จากระดับ -0.1% ถือเป็นการสิ้นสุดยุคดอกเบี้ยติดลบ พร้อมทั้งการกลับทิศนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างมาก
  • ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตั้ง “บริษัท ตีแตก จำกัด” เพื่อใช้ลงทุนหุ้นต่างประเทศทั่วโลก พร้อมกับความรู้สึกสิ้นหวังกับผลตอบแทนหุ้นไทย

เดือนเมษายน

  • อิสราเอล – อิหร่าน ยิงจรวดนิวเครียร์ ทำให้ความตึงเครียดในดินแดนตะวันออกกลางกลับมาอีกครั้ง
  • Tesla ราคาหุ้นร่วงรุนแรง เมื่อบริษัทลงมาเล่นในเกม EV War ลดราคารถทุกรุ่น เพื่อสู้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน นำมาสู่การแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างมาก

เดือนพฤษภาคม

  • Satya Nadella ซีอีโอ Microsoft มาเยือนไทย โดยประกาศการลงทุนจัดตั้ง Data Center ระดับภูมิภาคแห่งใหม่ในประเทศไทย

เดือนมิถุนายน

  • Nvidia ขึ้นแท่นบริษัทมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก จากความสำเร็จของการเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก และการเติบโตของอุตสาหกรรม Generative AI
  • หุ้นไทยหลุด 1300 ต่ำสุดในรอบ 4 ปี โดยพบว่าแรงขายส่วนมากอยู่ในหุ้นขนาดใหญ่ ท่ามกลางปัจจัยกดดันด้านการเมือง และการตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

เดือนกรกฎาคม

  • มหกรรมกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 เปิดฉากการแข่งขันอย่างเป็นทางการ โดยมีการวิเคราะห์ว่าเจ้าภาพประเทศฝรั่งเศส จะได้รับผลดีจากบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย ด้วยเม็ดเงินที่สะพัดกว่า 9,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดือนสิงหาคม

  • Donald Trump ตัวแทนชิงตำแแหน่งประธานธิบดีของพรรครีพับลิกัน โดนลอบยิงสังหารในขณะปราศรัยที่เมืองบัตเลอร์ มลรัฐเพนซิลเวเนีย ด้านพรรคเดโมแครตก็เกิดการผลัดใบ โดย Joe Biden ประกาศถอนตัวการชิงตำแหน่ง และสนับสนุนให้ Kamala Harris ท้าชิงแทน 
  • วิกฤตศรัทธาหุ้น EA หรือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีประเด็นทุจริตโดยผู้บริหารระดับสูงและผู้ถือหุ้นใหญ่ จนกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วตลาดหุ้นไทย
  • กองทุน Thai ESG เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี 2567 ได้มากขึ้นเป็น 3 แสนบาท และลดระยะเวลาถือครองเหลือเพียง 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ
  • Warren Buffett ขายหุ้น Apple ทิ้งเกือบครึ่งพอร์ต โดยบอกว่าเป็นเหตุผลด้านภาษี และทำให้ Berkshire Hathaway กลายเป็นบริษัทที่ถือเงินสดสำรองทุบสถิติใหม่

เดือนกันยายน 

  • หุ้นญี่ปุ่น Black Monday วันเดียวราคาร่วงกว่า -12% ดิ่งหนักสุดในประวัติศาสตร์ พร้อมกดดันตลาดหุ้นในหลายประเทศทั่วเอเชีย เนื่องจากความกังวลหลัง BOJ ขึ้นดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 0.25% เกิดเหตุการณ์ Yen Carry Trade ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ควบคู่กับความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจ Recession 
  • แพทองธาร ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ต่อจาก เศรษฐา ทวีสิน ที่พ้นจากตำแหน่งจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
  • เสนอขายกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง มูลค่ารวม 1 แสน – 1.5 แสนล้านบาท แก่ผู้ลงทุนรายย่อยในประเทศจองซื้อ ในขณะที่ โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต เริ่มแจกเงิน 10,000 บาท เฟสแรกให้แก่กลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านคน
  • Fed ลดดอกเบี้ย 0.5% ถือว่าเป็นการปรับลดครั้งใหญ่ครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี หลังจากที่ปรับดอกเบี้ยขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ 

เดือนตุลาคม

  • กนง. เซอร์ไฟร์สลดดอกเบี้ย 0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลดลงสู่ระดับ 2.25% โดยให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้  ประกอบกับอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบ 
  • รัฐบาลจีนอัดบาซูก้ากระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนหุ้นจีนพุ่งแรงกว่า 20% ในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ ผ่านมาตรการปรับลด Reserve Ratio Requirement (RRR), การเริ่มโครงการ Re-lending Program เสนอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารมูลค่ากว่า 3 แสนล้านหยวน, การทำ Swap Program ที่อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ กองทุน และบริษัทประกัน สามารถเพิ่มสภาพคล่องจากธนาคารกลางเพื่อซื้อหุ้น เป็นต้น
  • ราคาทองคำ All-Time High ต่อเนื่อง แรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยโลกที่มีแนวโน้มเป็นขาลง สงครามตะวันออกกลางรุนแรงขึ้น ความผันผวนจากการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และการสะสมสำรองทองคำที่มากขึ้นของธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก

เดือพฤศจิกายน

  • Donald Trump ชนะเลือกตั้ง ก้าวขึ้นเป็นผู้นำสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 2 พร้อมทั้งครองเสียงข้างมากในสภา Congress แบบเบ็ดเสร็จ (Red sweep) ทำให้นโยบายสำคัญที่เคยหาเสียงไว้ถูกจับตามองอย่างมาก เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน, มาตรการกำแพงภาษีสินค้านำเข้า, การลดภาษีนิติบุคคล, การส่งเสริมบิทคอยน์ และการสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นต้น

เดือนธันวาคม

  • ราคา Bitcoin แตะ 100,000 เหรียญเป็นครั้งแรก หลังได้แรงหนุนจากการอนุมัติ Bitcoin ETF และนโยบาย Trump 2.0 ที่สนับสนุนการใช้บิทคอยน์เป็นทุนสำรองของสหรับฯ 
  • ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ประกาศกฎอัยการศึกกลางดึก อ้างเหตุผลการป้องกันประเทศจากภัยคุกคามโดยกลุ่มสนับสนุนกองกำลังคอมมิวนิสต์ แต่กลับเจอกระแสต่อต้านรุนแรงจากประชาชน ทำให้รัฐสภาเกาหลีใต้ลงมติให้ยกเลิกกฎอัยการศึกในช่วงเช้ามืดของวันถัดมา
  • Jensen Huang แห่ง Nvidia เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยแถลงความร่วมมือเพื่อผลักดันการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน AI ในไทย

 

Finnomena Yearly Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนปี 2025: “ลงทุนพิชิตความเปลี่ยนแปลงฉากทัศน์โลก Winning Playbook amid Global Shifts”

Finnomena Funds
Finnomena Yearly Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนปี 2025: “ลงทุนพิชิตความเปลี่ยนแปลงฉากทัศน์โลก Winning Playbook amid Global Shifts”

Executive Summary 

  • เงินเฟ้อสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลงต่อจากค่าเช่าบ้านและราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่มาตรการกีดกันผู้อพยพจะกระทบต่อเงินเฟ้อจำกัด แต่เงินเฟ้อยังมี upside risk จากกำแพงภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ  Fed จะปรับลดดอกเบี้ยลงต่อในระดับที่น้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ทิศทาง Dollar จะอ่อนค่าซึ่งจะสอดคล้องกับยุค Trump 1.0 ที่ Dollar อ่อนค่าลงในช่วงปีแรก ในกรณีฐานของเราคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่สภาวะถดถอยและจะเติบโตระดับปกติ ตลาดหุ้นจะลดความกระจุกตัวลง แต่ Valuation ที่แพงจำเป็นต้อง Selective ในการลงทุน
  • เราจึงแนะนำ Neutral สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในภาพรวมของดัชนี S&P500 แต่ยังคงแนะนำ Selective Buy หุ้นสหรัฐฯ ในกลยุทธ์อื่นๆ ที่มี Valuation ที่แพงน้อยกว่า เช่น US Small Caps, Value, หรือ Equal Weight เช่น กองทุน ASP-USSMALL-A, AFMOAT-HA และยังมีมุมมองมอง Positive ต่อ Global Bond (กองทุน UGIS-N) และ Asian Bond (K-APB-A(A))  ที่ได้ประโยชน์จาก Yield ระดับสูงและมีแนวโน้มปรับตัวลง รวมถึงมีมุมมอง Slightly Positive ต่อทองคำ ที่ยังมีแรงซื้อจากธนาคารกลางทั่วโลกต่อเนื่อง
  • เศรษฐกิจยุโรปจะฟื้นตัวช้าและอาจได้รับผลกระทบจากนโยบาย Trump 2.0 เช่น กำแพงภาษี และสงคราม นอกจากนี้ ECB ยังเจอความท้าทายเรื่องการลดหรือคงดอกเบี้ย หลังคณะกรรมการนโยบายการเงินเริ่มมีจุดยืนที่แตกต่างกัน เราจึงแนะนำ Slightly Negative สำหรับตลาดหุ้นยุโรป
  • เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตได้แต่เปราะบาง ขณะที่เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ BoJ ที่มีท่าทีดำเนินนโยบายการเงินสวนทาง Fed และทิศทาง Dollar ที่อ่อนค่า อาจทำให้เงินเยนกลับมาแข็งค่าและเป็นผลเสียต่อตลาดหุ้น ราจึงแนะนำ Slightly Negative ต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น
  • เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาด EM ในภาพรวม โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างโดดเด่น และยังได้ประโยชน์จาก China+1 Strategy  อย่างตลาดหุ้นอินเดีย (กองทุน B-BHARATA, TISCOINA-A) และตลาดหุ้นเวียดนาม (PRINCIPAL VNEQ-A)  ขณะที่ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เรามีมุมมอง Neutral โดยยังต้องติดตามความคืบหน้าการส่งมอบ Chip HBM3E ให้แก่ Nvidia ของ Samsung ขณะที่โครงการ Value-up Program เพิ่งเริ่มต้นและต้องใช้เวลาให้บริษัทปรับตัวกว่าจะเริ่มเห็นผล
  • เรามีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นไทย จากภาครัฐที่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นมาอย่างต่อเนื่อง การเบิกจ่ายงบภาครัฐบาลเริ่มฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จาก China+1 Strategy ขณะที่ประมาณกำไรของตลาดหุ้นไทยยังถูกปรับลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับหุ้นไทยเราเน้นว่าต้องลงทุนอย่าง Selective คือคัดเลือกหุ้นอย่างเข้มข้นไม่อ้างอิงกับตลาด แนะนำกลยุทธ์ Definit SET Select 
  • เรามีมุมมอง Slightly Negative ต่อตลาดหุ้นจีน เนื่องจากมีความไม่แน่นอนด้านความสันพันธ์กับสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น มาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมยังไม่มากเพียงพอที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตได้ในระดับเช่นเดิม โดยเฉพาะภาคอสังหาฯ และความมั่นใจของผู้บริโภค 
  • อุตสาหกรรม AI ยังเติบโตได้ต่อในระยะยาว แต่เราชื่นชอบหุ้นกลุ่ม AI Infrastructure หรือกลุ่มกลางน้ำ เนื่องจากยังมีแนวโน้มเติบโตจากการใช้งานด้าน AI ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก รวมถึงบริษัทต่าง ๆ ยังมีการลงทุนสร้าง Infrastructure ใหม่ ถึงแม้ในระยะสั้นเม็ดเงินลงทุนอาจกระทบไปที่กำไรบ้าง แต่คาดว่าเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว ขณะที่กลุ่มต้นน้ำอย่าง Semiconductor ยังเป็นกระดูกสันหลังให้กับโลกเทคโนโลยีและ AI  แต่มีปัจจัยกดดันจากเรื่องการขึ้นภาษีของทรัมป์ ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการผลิตชิปสูงขึ้น กลุ่มปลายน้ำอย่าง AI Application (บริษัททำแพลตฟอร์มให้แก่ลูกค้า) ซึ่งเป็นกลุ่มที่แข่งขันรุนแรง และบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ชัดเจนว่า AI Product สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างมีนัยยะ
  • แนะนำกองทุน TISCOAI ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่คาดว่าจะใช้ประโยชน์จาก AI & Big Data ได้เต็มที่ จากปัจจัยเรื่องสิทธิบัตร ที่ตีความได้ว่าบริษัทมีความตั้งใจจะพัฒนา AI จริง ๆ (และกองนี้ก็มีผลตอบแทนย้อนหลังที่ดี) และกองทุน B-INNOTECH ที่ยังคงใช้ Valuation Discipline เหมือนเดิม และเป็นกองที่ Ride the AI Wave แต่เน้นหุ้นที่มี Durable Earnings เป็นหลัก (เช่น TSMC) และยังคงเหมาะกับการลงทุนระยะยาว
  • หุ้นกลุ่ม Healthcare เรามีมุมมอง Neutral แม้อุปสงค์ยาลดความอ้วนยังเติบโตระยะยาว แต่บางนโยบายของทรัมป์อาจเป็นปัจจัยกดดัน เช่น การกำหนดเพดานราคายาเพิ่มเติม และผลักดันให้มีความโปร่งใสมากขึ้น แต่ตลาด Priced In ไปบางส่วนแล้ว 
  • เรามีมุมมอง Slightly Negative ต่อหุ้นกลุ่มการเงิน แม้ค่อนข้างได้ประโยชน์จากการลดภาษีและการ Deregulation แต่ Rate Cut Cycle จะกดดันต่อความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มธนาคาร นอกจากนี้ Valuation อยู่ในระดับที่แพงมาก 
  • เรามีมุมมอง Negative ต่อราคาน้ำมัน โดย OPEC มีอิทธิพลในการควบคุมราคาน้ำมันลดลงหลัง สหรัฐฯเริ่มกลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ขณะที่ EIA คาด Supply เร่งตัวแรงกว่า Demand ในปี 2025 และคาดระยะยาวน้ำมันมีความต้องการน้อยลง
  • Global REITs เรามีมุมมอง Neutral โดยแนวโน้มเงินปันผลเริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะ REITs สหรัฐฯที่ฟื้นตัวโดดเด่น โดยอุตสาหกรรมกลุ่มที่ฟื้นตัวโดดเด่นได้แก่ Data center Industrails และ Residential แต่ Valuation ในแง่ PBV อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย
  • ขณะที่ REITs ไทย เรามีมุมมอง Slightly Negative โดยกลุ่ม Retail แม้อุปสงค์ฟื้นตัวแต่อุปทานใหม่จากโครงการใหญ่จะกระทบต่อภาพรวมค่าเช่า ขณะที่กลุ่ม Industrial ได้ประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ แต่โดยภาพรวม REITs ไทย สภาพคล่องไม่สูงและส่วนใหญ่เป็น Leasehold 
  • เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อหุ้น Global Infrastructure  ที่มีความ Defensive สูง ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง และการเติบโตของบางกลุ่ม เช่น Data Center และการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยแนะนำกองทุน KKP GINFRAEQ-H
  • เรามีมุมมอง Positive ต่อหุ้นกลุ่ม Blockchain จากตลาด Cryptocurrency ได้รับแรงหนุนจากนโยบายสนับสนุนของทรัมป์ รวมถึง Fund Flow ของ Bitcoin และ Ethereum Spot ETF เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปลายปี 2024 โดยแนะนำกองทุน ASP-DIGIBLOC และ KT-BLOCKCHAIN-A ที่เน้นลงทุนในหุ้น Blockchain และได้อานิสงส์จากตลาด Cryptocurrency

 


ดาวน์โหลดฟรี! 

“สไลด์มุมมองการลงทุนประจำปี 2025”

จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน


คำเตือนผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

บลจ.เอ็มเอฟซี : Promotion กองทุนลดหย่อนภาษี 2567

Finnomena Editor

 

 


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

กองทุนลดหย่อนภาษี ‘สินทรัพย์ทางเลือก’ ที่โดนใจ (3)

MacroView
กองทุนลดหย่อนภาษี ‘สินทรัพย์ทางเลือก’ ที่โดนใจ (3)

สำหรับ 2 บทความที่แล้ว ได้แนะนำกองทุนลดหย่อนภาษีของสินทรัพย์ไทยและฝั่งเอเชีย รวมถึงสหรัฐ บทความนี้จะขอแนะนำเพิ่มเติมกองทุนต่างประเทศในสายโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานทางเลือก และสินค้าโภคภัณฑ์ ที่รวมเรียกว่าสินทรัพย์ทางเลือก ดังนี้

เริ่มจาก กองทุนลดหย่อนภาษีเกี่ยวกับ Infrastructure  ซึ่งนอกจากจะหมายถึงโครงสร้างพื้นฐานในทางกายภาพ อาทิ ด้านไฟฟ้า ประปา และถนนหนทาง ยังหมายรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) จากความต้องการ data center สำหรับการสร้างระบบ AI อย่างมหาศาล นอกจากนี้ อุปสงค์ต่อ Infrastructure ด้าน Green Economy ยังเพิ่มมากขึ้นจากการแข่งขันของประเทศต่าง ๆและบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สูงขึ้นเพื่อลดก๊าซคาร์บอน มลพิษที่ปล่อยออกมา ท้ายสุด ประชาชนที่มีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว การพัฒนาเข้าสู่ความเป็นเมือง (Urbanization) ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และการทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกเข้าสู่ยุคดิจิตัล ล้วนส่งผลให้ความต้องการทรัพยากรด้าน Infrastructure ให้มีสูงขึ้น

กองทุนประหยัดภาษีในตลาดหุ้นต่างประเทศ แนว Infrastructure ที่ผมมองว่าน่าสนใจมีอย่างน้อย 2 กองทุน ได้แก่ KFINFRARMF ซึ่งมีกองทุน UBS (Lux) Infrastructure Equity Fund เป็น Feeder Fund และ KGIFRMF ซึ่งมีกองทุน Wellington Enduring Assets Fund, USD S Accumulating Unhedged เป็นกองทุนหลักที่อ้างอิง

โดย KFINFRARMF ผ่านกองทุน UBS (Lux) Infrastructure ตั้งเป้าลงทุนในธีมที่เน้นบริษัททั่วโลกที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบสมัยใหม่ รวมถึงสินค้าและบริการในแนวทางดังกล่าว ในขณะที่ KGIFRMF ผ่านกองทุน Wellington Enduring Assets Fund เน้นบริษัททั่วโลกซึ่งมีสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน อาทิ เซกเตอร์ Utility, การขนส่ง, พลังงาน, อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม ซึ่งเชื่อว่ามีความสามารถในการแข่งขันและมีความผันผวนของกำไรที่ต่ำ

ในมิติของเซกเตอร์หรือธุรกิจที่ลงทุน KFINFRARMF โฟกัสไปที่ธุรกิจการจัดเก็บพลังงาน Oil & Gas และการขนส่ง ส่วน KGIFRMF โฟกัสไปที่ Electric และ Multi Utilities ในขณะที่ทั้งคู่ลงทุนในหุ้นสหรัฐราว 55-58% ของทั้งหมด KFINFRARMF ลงทุนในหุ้นยุโรป 34% ด้าน KGIFRMF ลงทุนในหุ้นยุโรป 24% โดยที่เหลือลงทุนในตลาดเกิดใหม่และญี่ปุ่น อีก 17%

นั่นคือ KFINFRARMF เน้นธุรกิจการจัดเก็บพลังงาน Oil & Gas ในยุโรป ส่วน KGIFRMF เน้นลงทุนใน Electric และ Multi Utilities ทั่วโลก ซึ่งโดยส่วนตัวชอบโมเดลของ KGIFRMF มากกว่าเล็กน้อย

ด้านผลประกอบการของกองทุน ณ 4 ธ.ค. 2024 ในระยะ 1 และ 3 ปี KGIFRMF ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า KKFINFRARMF ราว 5% และ 2% ตามลำดับ ส่วนในระยะ 5 ปี KFINFRARMF ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า KGIFRMF ราว 1.4% โดยทั้งคู่ถือว่าให้ผลตอบแทนที่ดีมากในกลุ่ม Infrastructure

โดยสรุป ทั้ง KFINFRA-RMF และ KGIFRMF ถือว่าน่าสนใจสำหรับผู้ที่มองหากองทุนลดหย่อนภาษีที่เป็นสินทรัพย์ทางเลือก

หันมาพิจารณากองทุนลดหย่อนภาษีแนวพลังงานทางเลือกและสิ่งแวดล้อม กันบ้าง โดยแม้ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ จะมิได้มีนโยบายที่เน้นแนวรักษ์สิ่งแวดล้อม ทว่าอิลอน มัสก์ ฐานเสียงสำคัญของทรัมป์มีธุรกิจ EV ซึ่งทำให้นโยบายแนวโลกสีเขียวยังน่าจะได้ไปต่อในรัฐบาลของทรัมป์

กองทุนที่แนะนำ ได้แก่ B-SIPRMF ซึ่งมี Feeder Fund อยู่ 2 กอง ได้แก่ Pictet – Global Environmental Opportunities ซึ่งมีนโยบายลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางทำให้สิ่งแวดล้อมโลกดีขึ้นผ่านสินค้าและบริการในห่วงโซ่อุปทานเพื่อช่วยให้โลกมีคาร์บอนต่ำลง และ Pictet – Clean Energy Transition ที่ลงทุนสัดส่วน 2 ใน 3 ของทั้งหมดเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างสู่โลกคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืน โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการลงทุนที่โฟกัสอัตราส่วนทางการเงินเพื่อให้วัตถุประสงค์สามารถสำเร็จลุล่วงได้

ในมิติของเซกเตอร์ที่กองทุนต้นทางอ้างอิงทั้งสองลงทุน จะพบว่าในขณะที่ Pictet – Global Environmental Opportunities เน้นบริษัทในเซกเตอร์อุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโลกสีเขียวทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยหุ้น Top 5 ได้แก่  Carrier Gobal, Republic Services, Waste Connections, Agilent Technologies และ Equinix ด้าน Pictet – Clean Energy Transition จะโฟกัสไปที่เซกเตอร์เทคโนโลยีซึ่งมีการใช้ Know-how ด้านพลังงานทางเลือกเป็นหลัก โดยหุ้น Top 5 ได้แก่ Broadcom, Nextera Energy, Trane Technologies, Linde และ Iberdrola

สำหรับผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่าทั้งคู่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดโดยรวมของสหรัฐ แม้ว่าในช่วงที่ตลาดหุ้นร้อนแรง จะขึ้นน้อยกว่าตลาดเล็กน้อย แต่ในช่วงขาลง ราคาของกองทุนก็สามารถยืนได้ดีกว่าตลาด จัดว่าเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์แนวการลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจ

สินทรัพย์การลงทุนทางเลือกที่น่าจะจำเป็นที่สุดในพอร์ตของทุกท่าน น่าจะเป็น ‘ทองคำ’ ซึ่งในยุคที่โดนัลด์ ทรัมป์ ให้การสนับสนุน crypto แบบสุดตัว ยิ่งทำให้ทองคำจำเป็นมากขึ้นในพอร์ตเผื่อไว้ในกรณีที่สินทรัพย์ดิจิตัลอย่าง crypto เกิดสะดุดขึ้นมาในอนาคต จะได้เป็นกำลังหลักในพอร์ตที่น่าจะจำเป็นมากสำหรับการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตซึ่งตลาดหุ้นสหรัฐมีผลกระทบจาก crypto มากขึ้นกว่าในอดีต โดยผมมองไปที่ BGOLDRMF และ KGDRMF ว่าน่าสนใจกว่าเพื่อน แม้ว่ากองทุนทองประหยัดภาษีอื่น ๆ ก็น่าจะสามารถทำหน้าที่กระจายความเสี่ยงได้ดีเช่นกัน

ทั้งนี้ ว่ากันว่าสินทรัพย์การลงทุนทางเลือกควรจะมีอยู่ในพอร์ตราว 5-10% ของทั้งหมด เพื่อใช้ในการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทน โดยจะทำให้พอร์ตการลงทุนมีความยืดหยุ่นและหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP

MacroView, macroviewblog.com


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

ปรับพอร์ต Growth Momentum AI รับปีใหม่ 2025: US Tech ไปกันต่อ! โตไปกับยุคสมัยของ ‘ทรัมป์’ ด้วยการลงทุนใน AI, FinTech, Blockchain, นวัตกรรม และอเมริกา

Deepscope
Growth Momentum AI 2025

พอร์ตการลงทุน GMAI ปรับพอร์ตรอบใหม่ คัดเลือก 5 กองทุนโมเมนตัมเด่น ทีมงาน Deepscope GURUPORT จึงแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุน และ Rebalance ตามคำแนะนำด้านล่างนี้

ประเด็นทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ

  • การกลับมาของ โดนัลด์ ทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีอีกสมัย ส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญตลาดหุ้นก็สามารถทำ new high ได้อย่างต่อเนื่อง
  • AI และ Blockchain ยังคงเป็นเทรนด์การเติบโตของโครงสร้างหลักของเทคโนโลยีที่มาแรง และเป็นกระแสต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • กลุ่ม FinTech (เทคโนโลยีทางด้านการเงิน) กลับมาเติบโตต่ออีกครั้ง หลังจากหนึ่งในนโยบายหลักของทรัมป์ คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น Make America great again ภาคสอง
  • Bitcoin ราคาพุ่งจนสามารถทำลายสถิติได้ต่อเนื่องเช่นกัน และเริ่มมีนักลงทุนและสถาบันนำเงินเข้ามาลงทุนมากขึ้นจากการมี Bitcoin ETF

กองทุนจาก GMAI

จากประเด็นข้างต้น บวกกับวิเคราะห์โมเมนตัมโดย AI ทำให้รอบการปรับพอร์ตนี้ พอร์ตโฟลิโอ GMAI คัดเลือกกองทุนที่ผลงานดีโมเมนตัมเด่น โดยเน้นไปทางกองทุนที่ลงทุนในหุ้น US & Tech เป็นหลัก หลังจากมีโมเมนตัมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง 

Growth Momentum AI 2025

(ทุกกองทุนมีสัดส่วน 20% เท่ากัน)
ที่มา: Deepscope ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2024

ล้วงลึกทุกกองทุนจากพลัง AI ที่ไร้ขีดจำกัด ด้วยพอร์ต Growth Momentum AI (GMAI) โดย Deepscope

ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-deepscope

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

 

บทความโดย Deepscope สำหรับพอร์ต Growth Momentum AI (GMAI) ที่ Finnomena Funds เท่านั้น ข้อมูล ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2024


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนธันวาคม 2024: เพิ่มน้ำหนักกลุ่ม US Financials

บลจ.ทิสโก้
TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนธันวาคม 2024: เพิ่มน้ำหนักกลุ่ม US Financials

Omakase – 16 December 2024

ที่มา: บลจ. ทิสโก้ วันที่ 16 ธันวาคม 2024

Outlook

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ – ปรับตัวลดลง โดยเผชิญกับแรงเทขายของนักลงทุนภายหลังจากที่ตลาดรับรู้ผลการประชุม Fed ในการประชุมเดือนธันวาคม แม้ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาด แต่ได้มีการปรับมุมมองโดยชะลอคาดการณ์ลดดอกเบี้ยสำหรับปี 2025 จากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
    • หลังจากนี้เรามองว่า ยังต้องจับตารายงานตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ แม้ดูเหมือนว่าตัวเลขด้านแรงงานจะปรับเพิ่มขึ้นได้ดีในช่วงไตรมาสที่ 4 แต่การเพิ่มขึ้นยังเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มจ้างงานโรงงาน และ กลุ่มค้าปลีก การเพิ่มขึ้นของแรงงานอาจเป็นปัจจัยชั่วคราว ขณะที่ดอกเบี้ยยังทรงตัวระดับสูง อาจเป็นลบกับภาคธุรกิจระยะข้างหน้า
  • เศรษฐกิจจีน – ยังคงเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือนพ.ย.2024 อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Output) ฟื้นตัวได้ดี โดยตลาดยังคงติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนเพิ่มเติมต่อจากนี้ รวมถึงมาตรการการค้าจากสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อจีน
    • การฟื้นตัวของตลาดหุ้นจีน หลังจากนี้คงต้องจับตาพัฒนาการภาคอสังหาฯ และ การประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ  สำหรับตลาดหุ้นจีนด้วย valuation ที่อยู่ในระดับต่ำ เชื่อว่า downside การปรับลงจำกัด
  • เศรษฐกิจไทย –กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมสำหรับการประชุมเดือนธันวาคม 2024 อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ตลาดคาดว่า กนง.จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปี 2025 โดยเรามองว่าปี 2025 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะยังคงมาจากนโยบายการคลัง และ ความเชื่อมั่นภาคเอกชน
    • ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นยังคงแนะนำกลยุทธ์ selective โดยเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และ มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี

Strategy

  • ตลาดหุ้นโลกยังคงเคลื่อนไหวผันผวน เนื่องจาก Bond Yield 10 ปีของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อนโยบายที่เป็นมิตรต่อภาคธุรกิจของปธน.ทรัมป์ จะช่วยหนุนกำไรของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯเติบโต
  • โดยเรามองว่า หลังจากที่นาย Donald Trump ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ม.ค. 2025 คาดจะมีการผลักดันร่างกฎหมายลดภาษีนิติบุคคล และการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้า (Tariffs) อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวในระดับสูง ,เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯมีทิศทางแข็งค่า โดยจะทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการลดภาษีนิติบุคคล, การผ่อนคลายเกณฑ์ และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจำกัดจากการขึ้น Tariffs เช่น กลุ่มสถาบันการเงิน (Financials) , และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary)
  • อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นกลุ่ม Emerging Market อาจเป็นกลุ่มประเทศที่มีความอ่อนไหวต่อประเด็นการขึ้นภาษีการค้า แต่ด้วย valuation ที่ไม่สูงเกินไป เชื่อว่าจะทำให้ downside จำกัด
  • โดย ภาพรวมการลงทุนยังเน้นไปทางการกระจายความเสี่ยง โดยยังคงให้น้ำหนักกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ มากที่สุด

Portfolio Action

  • Take Profit บางส่วนในหุ้นกลุ่ม Quality Growth ( TGQUALITY-A ) ซึ่งเน้นลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยกระจายความเสี่ยงและเพิ่มน้ำหนักการลงทุนไปในกลุ่ม US Financials ( TUSFIN-A) ซึ่งมีการปรับฐานในช่วงนี้ โดยเรามีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มสถาบันการเงินจากการผ่อนคลายเกณฑ์, ดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัวระดับสูง และ มองว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจำกัดจากการขึ้นภาษีการค้า
  • ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า TUSFIN-A

Performance Review

ผลตอบแทนพอร์ตกองทุนนับจากวันที่ 18พ.ย. จนถึง 16 ธ.ค. 2024 ปรับเพิ่มขึ้น +0.62% และ นับจากต้นปี พอร์ตปรับเพิ่มขึ้น +4.04%

ㆍ Contributor:

      • ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กองทุนหุ้นคุณภาพทั่วโลก (TISCO Global Quality) เป็นกองทุนที่หนุนพอร์ตกองทุนมากที่สุดโดยอันดับที่ 2 คือ กองทุนตราสารหนี้โลก (TISCO Global Bond) และอันดับที่ 3 คือ กองทุนทองคำ (TISCO Gold)

ㆍDetractor:

      • สำหรับช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กองทุนรีทส์ทั่วโลก (TISCO Global REIT) ปรับลงมากที่สุด โดยได้รับแรงกดดันในระยะสั้นจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงของ Bond Yield 10ปี ของสหรัฐฯ

บลจ. ทิสโก้


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

เปิดตัว Dynamic Contrarian Model Portfolio: พอร์ตลงทุน “ย่อซื้อ ขึ้นขาย” สำหรับสายสวน

Finnomena Funds
Dynamic Contrarian Model Portfolio

Finnomena Funds เปิดตัวพอร์ตลงทุนใหม่ ภายใต้ชื่อ Dynamic Contrarian Model Portfolio (DCM) ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนแบบ Multi-Assets (สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์) ที่ต่อยอดมาจาก FundTalk the Contrarian Portfolio (FTCP) ซึ่งอาศัยแนวคิดการลงทุนแบบ Contrarian Investor หรือ “ย่อซื้อ ขึ้นขาย”

นั่นคือการเข้าซื้อเมื่อราคาปรับตัวลงมา โดยสินทรัพย์ที่จะเข้าซื้อจะต้องเป็นสินทรัพย์มีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ราคาในระยะสั้นมีปรับตัวลดลง หรือปรับตัวขึ้นน้อยกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ มี Valuation ในระดับที่ถูก และมีการขายทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวขึ้น หรือ Valuation มีการตึงตัว และมีการควบคุมความเสี่ยงโดยรวมด้วยการรักษาวินัยในการตัดขาดทุน (Cut Loss) เป็นพอร์ตลงทุนที่มีการปรับพอร์ตรวดเร็ว Dynamic ตามสถานการณ์ มีการรักษาวินัยการลงทุน ทั้ง Take Profit และ Stop Loss เมื่อเห็นว่าภาพรวมของสินทรัพย์นั้น ๆ มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ยาก

พอร์ตลงทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีกรอบเวลาการลงทุนตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ชอบลงทุนในสไตล์ Contrarian รับความเสี่ยงได้สูง และมีความ Active ในการปรับพอร์ตลงทุนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยพอร์ตนี้จะคาดหวังผลตอบแทนที่ 8% ต่อปี (ไม่ใช่การการันตี) และมีการทบทวนสัดส่วนรายเดือนหรือตามสถานการณ์ มีเงินลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกอยู่ที่ 2 ล้านบาท และครั้งถัดไปอยู่ที่ 25,000 บาท

Dynamic Contrarian Model Portfolio DCM

ต่อยอดแนวคิด FundTalk The Contrarian Portfolio

ในปี 2024 ที่ผ่านมา Finnomena Funds ได้มีการออกคำแนะนำ FundTalk Call ซึ่งใช้แนวคิด “ย่อซื้อ ขึ้นขาย” และออกคำแนะนำการลงทุนแบบ FundTalk the Contrarian Portfolio โดยนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดเป็นพอร์ตลงทุนให้กับนักลงทุนของ Finnomena สามารถลงทุนตามได้ด้วยตนเอง ผ่านแผนการลงทุน DIY โดยนับตั้งแต่เริ่มต้นคำแนะนำเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2024 จนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2024 FundTalk the Contrarian Portfolio มีผลตอบแทนอยู่ที่ 11.05%

หน้าพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio เปิดให้ลงทุนวันแรก 24 ธันวาคม 2024

Dynamic Contrarian Model Portfolio DCM

  • หุ้นสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ 10% MEGA10-A
  • หุ้นเวียดนาม 15% PRINCIPAL VNEQ-A
  • หุ้นสหรัฐฯ ขนาดเล็ก 15% ASP-USSMALL-A
  • หุ้นเทคโนโลยี 10% TISCOAI
  • หุ้นพลังงานทั่วโลก 10% KT-ENERGY
  • หุ้นอินเดีย 10% TISCOINA-A
  • หุ้นเทคโนโลยี 10% SCBNEXT(A)
  • ตลาดเงิน 20% KKP MP

 

สนใจลงทุนในพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio คลิก https://finnomena.onelink.me/10bl/dcm

จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT

กระตุ้นไม่หยุด! ปีหน้าจีนเตรียมออกบอนด์ 14 ล้านล้านบาท มูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์

Finnomena Editor
จีนกระตุ้นเศรษฐกิจ

รัฐบาลจีนประกาศแผนออกพันธบัตรพิเศษในปี 2025 มูลค่า 14 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชะลอตัว พร้อมเตรียมรับแรงกดดันจากมาตรการการค้าของสหรัฐฯ ที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น

จีนเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ยอดการออกพันธบัตรในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นถึง 9.36 ล้านล้านบาท จากปีนี้ โดยรายได้จะถูกนำไปใช้ในโครงการสำคัญ ได้แก่

  • “สองใหญ่” (Two Major) คือการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟ สนามบิน และพื้นที่เกษตรกรรม
  • “สองใหม่” (Two New) คือการอุดหนุนสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น การแลกเปลี่ยนรถยนต์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าเป็นสินค้าใหม่ และการสนับสนุนการปรับปรุงเครื่องจักรของภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมจัดสรรงบประมาณกว่า 4.68 ล้านล้านบาท ในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ และพลังงานสีเขียว เพื่อสร้าง “กำลังการผลิตใหม่” และยกระดับเศรษฐกิจให้แข่งขันได้ในอนาคต

มาตรการนี้ยังมุ่งบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากประธานาธิบดี Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งและดำเนินการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจีนถึง 60% ตามที่เคยประกาศไว้

กำลังซื้ออ่อนแอ โจทย์ใหญ่ของจีน

ปีนี้เศรษฐกิจจีนเผชิญความท้าทายหลายประการ เช่น วิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ หนี้สินท้องถิ่นที่สูง และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้รัฐบาลต้องพึ่งพาการใช้จ่ายภายในประเทศเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

แผนการออกพันธบัตรพิเศษครั้งนี้สะท้อนถึงความตั้งใจของรัฐบาลจีนที่จะใช้เครื่องมือทางการคลังอย่างเต็มที่เพื่อฟื้นเศรษฐกิจ ทั้งการกระตุ้นการบริโภค การลงทุนในนวัตกรรม และการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาว แม้ต้องแบกรับภาระหนี้เพิ่มขึ้นก็ตาม


อ้างอิง: CNBC

“ภาษีคริปโตฯ” คืออะไร? เสียยังไง? ใครต้องเสียบ้าง? สรุปทุกประเด็นที่ต้องรู้!

Finnomena
"ภาษีคริปโตฯ" คืออะไร? เสียยังไง? ใครต้องเสียบ้าง? สรุปทุกประเด็นที่ต้องรู้!

บทความนี้ Finnomena ได้รวบรวมทุกประเด็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับ “ภาษีคริปโตฯ” ตั้งแต่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวทางการเสียภาษีคริปโตฯ และสรุป Q&A ในหัวข้อต่างๆ เพื่อคลายทุกข้อสงสัยที่คาใจเหล่านักลงทุน

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ “ภาษีคริปโตฯ”

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ใน พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 นั้นหมายถึง คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล นั่นแปลว่ากำไรที่มาจากสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าเกณฑ์เสียภาษี

โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ คือ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่ได้แก้ไขข้อกฎหมายเพิ่มเติมในมาตรา 40 และมาตรา 50 ดังนี้

มาตรา 40 (4) (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล

มาตรา 40 (4) (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

มาตรา 50 (ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ 

การผ่อนปรนของกรมสรรพากร

ครม. มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่กรมสรรพากรได้เสนอไว้ โดยจะผ่อนปรนการเก็บภาษีภายใต้กฎหมายปัจจุบัน ดังนี้

  1. ภาษีเงินได้: การคำนวณภาษีเงินได้พึงประเมินหรือกำไรจากสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น สามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกัน ซึ่งจะสามารถเข้าเงื่อนไขนี้เฉพาะ Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เท่านั้น
  2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: กรณีธุรกรรมที่กระทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. จะไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับเงิน และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ทำให้ไม่ครบองค์ประกอบการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แต่อย่างใด
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ยกเว้น VAT สำหรับธุรกรรมที่กระทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. และการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (Retail CBDC) ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2565 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566 รวมถึงยกเว้น VAT  สําหรับธุรกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ที่กระทําในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล กระทำผ่านนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล กระทำโดยผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล หรือโอนให้แก่ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป

 

สรุปง่าย ๆ คือ สำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. นั้น กรมสรรพากรจะยังไม่เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงนักลงทุนสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้

สรุปแนวทางการเสียภาษีคริปโตฯ

"ภาษีคริปโตฯ" คืออะไร? เสียยังไง? ใครต้องเสียบ้าง? สรุปทุกประเด็นที่ต้องรู้!

รวม Q&A ประเด็นภาษีคริปโตฯ ที่หลายคนสงสัย

Q: สามารถนำธุรกรรมที่ขาดทุนมาหักลบจากกำไรของธุรกรรมอื่นได้หรือไม่?
A: ได้ เพราะกรมสรรพากรได้มีแนวทางผ่อนปรนให้สามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกันได้ แต่ต้องทำธุรกรรมผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.เท่านั้น

Q: คำนวณต้นทุนของคริปโตฯ ​ยังไง
A: สามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) และ วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average cost) ซึ่งเมื่อเลือกวิธีใดไปแล้วต้องใช้วิธีนั้นในการคำนวณต้นทุนตลอดปีภาษี

  1. วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO): การคํานวณว่าต้นทุนคริปโตฯ ที่ซื้อมาก่อนจะขายออกไปก่อนตามลำดับ นั่นแปลว่ารายการคริปโตฯ ที่เหลืออยู่ ณ วันสุดท้ายจะเป็นคริปโตฯ ที่ซื้อมาครั้งหลังสุด
  2. วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average cost): การคํานวณต้นทุนคริปโตฯ โดยถัวเฉลี่ยต้นทุนคริปโตฯ ประเภทเดียวกัน​​ ณ วันต้นปีกับต้นทุนที่ซื้อมาในระหว่างปี โดยคํานวณทุกครั้งที่มีการซื้อคริปโตฯ

Q: ควรใช้ราคาอ้างอิงจากแหล่งใด
A: กรมสรรพากรกำหนดแหล่งอ้างอิงดังนี้ โดยหากไม่มีตามข้อก่อนหน้าก็ให้ใช้วิธีการตามข้อถัดไป

  1. ใช้ราคาอ้างอิงจาก coinmarketcap.com แบบ USD และแปลงค่าเงินตามอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทย
  2. ใช้ราคาอ้างอิงจากศูนย์ซื้อขายในประเทศไทยโดยเป็นราคาเฉลี่ย 24 ชั่วโมง
  3. ใช้ราคาอ้างอิงจากศูนย์ซื้อขายในต่างประเทศที่เชื่อถือได้ (100 อันดับแรกใน coinmarketcap.com)
  4. ใช้ราคาจากสถานที่ซึ่งได้สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมา เช่น ผู้ขาย ICO จะมีราคากําหนดไว้

Q: ต้องมีหลักฐานแนบสำหรับการยื่นภาษีหรือไม่?
A: โฆษกฯ กรมสรรพากรระบุว่า การยื่นภาษีสามารถกรอกตัวเลขได้เลยโดยไม่ต้องแนบหลักฐานการมีรายได้ แต่แนะนำให้บันทึก statement เผื่อในกรณีที่ถูกตรวจสอบ

Q: ขายคริปโตฯ ในต่างประเทศแล้วได้กำไรต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่?
A: ถ้าปีนั้นอยู่ในประเทศไทยรวมแล้วเกิน 180 วัน และมีการนำกำไรกลับเข้าประเทศภายในปีเดียวกันจะต้องเสียภาษี

Q: มีกำไรแต่เก็บไว้ในกระดานเทรด (Exchange) ยังไม่ได้ถอนเงินสดออกมา ต้องเสียภาษีหรือไม่?
A: เกณฑ์เงินได้ของกรมสรรพากรคือ เกิดรายได้เมื่อไรนับเป็นเงินได้เมื่อนั้น ดังนั้นหากขายคริปโตฯ แล้วได้กำไรแม้จะยังไม่ได้ถอนออกมาก็นับเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

Q: มีกรณีใดที่ได้กำไรจากการขายคริปโตฯ แล้วไม่ต้องเสียภาษีบ้าง?
A: มีทั้งหมด 3 กรณี

  1. มีรายได้จากการเทรดคริปโตฯ เพียงอย่างเดียวและมีกำไรตลอดปีไม่เกิน 60,000 บาท กรณีนี้ไม่ต้องยื่นหรือเสียภาษี โดยสามารถยื่นขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายได้
  2. มีรายได้จากการเทรดคริปโตฯ เพียงอย่างเดียว และมีกำไรตลอดปีไม่เกิน 210,000 บาท กรณีนี้ต้องยื่นแต่ไม่ต้องเสียภาษี โดยสามารถยื่นขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายได้เช่นกัน
  3. อายุครบ 65 ปี หรือมีบัตรประจำตัวผู้พิการ และมีกำไรจากการขายคริปโตฯ ตลอดปีไม่เกิน 400,000 บาท กรณีนี้ต้องยื่นแต่ไม่ต้องเสียภาษี โดยสามารถยื่นขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายได้เช่นกัน

อ้างอิง