ชมรมหุ้นกู้ – รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!
ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Youtube & Facebook Finnomena
ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นจีนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ในโซนบวกอีกครั้ง
ส่วนหนึ่งมาจาก Sentiment เชิงบวกของหุ้นโลก หลังการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นน้อยกว่าคาด อีกปัจจัยคือการรายงาน GDP ไตรมาส 4 ของจีนที่ปรับตัวขึ้น 5.4% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 5.0%
อีกทั้งยังมีรายงานว่าธนาคารกลางจีน (PBoC) ได้อัดฉีดสภาพคล่องระยะสั้นมูลค่ากว่า 9.58 แสนล้านหยวน ผ่าน Reverse Repo ระยะ 7 วัน เพื่อช่วยพยุงสภาพคล่องในระบบที่กําลังตึงตัวก่อนวันตรุษจีน
Sentiment หนุนหุ้นจีนอีกเรื่อง คือการที่ Trump ระบุว่าได้หารือกับ Xi Jinping (สี จิ้นผิง) เชื่อมความสัมพันธ์
นอกจากนี้ ในพิธีสาบานตน Trump ก็ยังมีท่าทีประนีประนอม ชะลอการขึ้นภาษีศุลกากรออกไปก่อน โดยจะสั่งให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางไปศึกษานโยบายการค้า และประเมินความสัมพันธ์ทางการค้าของสหรัฐกับจีน
ทำให้ภาพของการลงทุนในตลาดหุ้นจีน กลับมาอยู่ในความสนใจของนักลงทุนอีกครั้ง ในขณะที่ Valuation หุ้นจีนทั้งหมดตอนนี้ ถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบค่าเฉลี่ย 10 ปี
ดังนั้น คงมุมมองการลงทุน Slight Negative สำหรับระยะกลางถึงยาว แต่การเก็งกำไรระยะสั้น FundTalk Call แนะนำกองทุน MEGA10CHINA-A ที่เน้นลงทุนใน 10 หุ้นจีนขนาดใหญ่ H-Share คาดดัชนีมีโอกาสรีบาวด์หลังปรับฐานไปกว่า ~20% ลุ้นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อนตรุษจีน
MEGA10CHINA-A เป็นกองทุนความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายการลงทุนในหุ้นจีนขนาดใหญ่ 10 บริษัท ที่มีแบรนด์ชั้นนำของประเทศจีนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง กำหนดสัดส่วนการลงทุนแบบเท่ากัน (Equal Weight) โดยมองว่าหุ้นกลุ่มนี้อาจได้รับแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และแนวทางการดำเนินนโยบายภาษีของ Trump ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป พร้อมหวังว่ารัฐบาลจีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนตรุษจีน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ขอนำเสนอภาคต่อจากบทความโดยผู้เขียนของ Dow Jones News Service เมื่อครั้งก่อน ว่าด้วยการเปรียบเทียบหุ้นรายตัวที่เป็นคู่ ซึ่งมีสไตล์ดูเหมือนที่แตกต่าง โดยทำในลักษณะที่คล้ายกับเบนจามิน เกรแฮม เขียนไว้ในหนังสือเล่มดัง พร้อมเรียนรู้ข้อคิดที่น่าสนใจสะท้อนแนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าจากข้อสรุปของการเปรียบเทียบ ดังนี้
ในปี 2015 Valeant เหมือนหุ้นที่ดูมีเรื่องราวว่าจะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ โดยนับตั้งแต่ปี 2010 บริษัทได้ทำการซื้อกิจการบริษัทยาอื่น ๆ กว่า 12 แห่ง โดยหลังจากซื้อกิจการแต่ละแห่ง ราคาหุ้นก็เพิ่มสูงขึ้นทันที โดยบางครั้งก็ขึ้นราคายาที่ขายจากตอนที่ขายในบริษัทเดิมก่อนถูกควบรวมไปเป็นเท่า ๆ ตัว
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาตัวเลขด้านอัตราส่วนทางการเงิน Valeant ไม่ได้มีความแข็งแกร่งทางการเงินแต่อย่างใด โดยต้องอาศัยการกู้ยืมถึงกว่า $3.1 หมื่นล้าน เพื่อทำการซื้อกิจการ โดยแท็คติคที่ใช้ในการสื่อสารตัวเลขทางการเงินต่อสาธารณชนคือการใช้ตัวเลขที่คิดขึ้นเองอย่าง Cash Earnings ซึ่งเป็นมาตรวัดกำไรที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ของบริษัท โดยแทบไม่มีบริษัทใดใช้ตัวเลขในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ หากใช้ตัวเลขทางการเงินแบบปกติ บริษัทมีผลขาดทุนหรือแทบจะไม่สามารถทำให้ผลประกอบการเท่าทุนได้ในเกือบทุกไตรมาสที่ผ่านมา
กระนั้นก็ดี แวดวงตลาดหุ้นมิได้คิดเห็นเป็นเช่นนั้น ราคาหุ้น Valeant เพิ่มขึ้นเกือบ 1,900% นับตั้งแต่ปี 2010 จนกระทั่งเดือนสิงหาคม 2015
ทั้งนี้ นักลงทุนแนว short-seller และ ผู้สื่อข่าวบางสำนัก รายงานว่าบริษัทใช้แนวทางการขายแบบเชิงรุกมากเกินพอดีในสินค้าของบริษัทที่ตนเองเข้าไปซื้อเพื่อให้ตัวเลขรายได้มีขนาดสูงเกินจริง จนสภาคองเกรสได้จัดให้มีการ hearings เพื่อสอบว่ามีการขึ้นราคายาแบบไม่เหมาะสมต่อคนไข้ที่เป็นลูกค้าหรือไม่
ณ สิ้นปี 2017 ราคาหุ้น Valeant (ปัจจุบันชื่อว่า Bausch Health Companies) ได้ลดลง 97% จากจุดสูงสุด ในปี 2020 Valeant จ่ายค่าปรับมูลค่า $45 ล้านต่อกลต. สหรัฐ เพื่อยุติคดีด้าน accounting fraud
ในขณะที่ Valeant มีประเด็นด้านมูลหนี้และมาตรฐานบัญชี Valmont เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการโค้ตติ้งโลหะ และอุปกรณ์ด้านการชลประทาน โดยกำไรของบริษัทถือได้ว่าไปได้อย่างเรื่อย ๆ มีขึ้นและลงบ้าง ทว่าไม่ได้หวือหวา
โดยกำไรเพิ่มขึ้น 3 เท่าระหว่างปี 2010-2013 จากนั้น ลดลง 38% ในอีก 3 ปีถัดมา ในปี 2022 กำไรสุทธิของ Valmont ลดลง 10% เมื่อเทียบกับปี 2013
นับตั้งแต่ปี 2010 ถึงสิ้นปี 2023 ราคาหุ้น Valmont เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.6% ต่อปี น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 12.9% ของ S&P500 กระนั้นก็ดี ยังดีกว่าขาดทุนเฉลี่ย 3.5% ต่อปีของหุ้น Valeant
ข้อคิด: เมื่อบริษัทใดที่เติบโตด้วยการซื้อกิจการเพียงอย่างเดียว มักจะจบไม่สวย ดังนั้น ควรจะแยกส่วนสำหรับการวิเคราะห์งบการเงินอย่างละเอียดด้วยความใส่ใจเป็นพิเศษ
แม้ว่าทั้ง 2 บริษัท จะทำธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ทว่า Microsoft เท่านั้น ที่ทำธุรกิจนี้แบบมีโฟกัส ส่วน MicroStrategy เป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ที่มีจุดเด่นตรงเป็นบริษัทที่ถือครองบิตคอยน์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
โดยจากปี 2012 ถึงปี 2019 รายได้ของ MicroStrategy ลดลง 19% โดยธุรกิจซอฟต์แวร์แนววิเคราะห์ข้อมูลยังมีกำไร ทว่าแบบทรงๆตัว ในปี 2020 ในขณะที่ราคาบิตคอยน์พุ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด CEO ของบริษัท ไมเคิล แซนเลอร์ เริ่มใช้สำรองเงินสดที่มีอยู่เยอะซื้อสะสมบิตคอยน์
นักเทรดที่เน้นซื้อตามเทรนด์ไม่เพียงแต่ซื้อบิตคอยน์เท่านั้น ยังหันมาสนใจซื้อ MicroStrategy ด้วย ในปี 2020 ราคาหุ้น MicroStrategy พุ่งสูงขึ้น 172%
อย่างไรก็ดี ภายใต้มาตรฐานบัญชีว่าด้วยการรายงานงบการเงินของสหรัฐ บริษัทต้องทำการทบทวนมูลค่าตลาดของบิตคอยน์ที่บริษัทถือครอง ณ ทุกสิ้นไตรมาส โดยต้องลบผลขาดทุนจากการถือบิตคอยน์ออกจากกำไรของบริษัท หากราคาบิตคอยน์ในขณะนั้นต่ำกว่าราคาที่เข้าซื้อ อย่างไรก็ดี หากมูลค่าของบิตคอยน์สูงขึ้น MicroStrategy จะสามารถบันทึกผลกำไรจากการถือครองได้ ก็ต่อเมื่อมีการขายบิตคอยน์เท่านั้น ไม่สามารถบันทึกผลกำไรได้หากยังคงถือครองอยู่
ด้วยเหตุนี้ เนื่องจาก MicroStrategy เข้าซื้อบิตคอยน์ด้วยราคาที่ผันผวนมากในตลาดที่ยังไม่มีเสถียรภาพของราคา จึงทำให้ต้องตั้งสำรอง “digital asset impairment loss” มูลค่า $71 ล้าน, $831 ล้าน และ $1.3 พันล้านในปี 2020, 2021 และ 2022 ตามลำดับ นั่นเป็นเหตุให้อัตราผลตอบแทนของ MicroStrategy มีความแตกต่างจากบิตคอยน์
ณ ปลายปี 2023 MicroStrategy มีมูลค่าการลงทุนบิตคอยน์ $2.5 พันล้าน คิดเป็นกว่า 3 ใน 4 ของสินทรัพย์รวมที่ $3.4 พันล้าน ซึ่งดูจะเหมือนกับเป็นเฮดจ์ฟันด์มากกว่าบริษัทคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ ใน 15 วันทำการแรกของปี 2024 ราคาหุ้น MicroStrategy ลดลง 29% จากข่าวหน่วยงานกำกับตลาดทุนที่ทำการอนุมัติให้ออกตราสาร ETF ที่ถือครองบิตคอยน์โดยตรงในตลาดหุ้น เนื่องจากมีการแข่งขันที่สูงขึ้นของการลงทุนผ่านเงินสกุลดิจิทัล
ในอีกฟากตรงข้ามของผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ Microsoft ได้เข้าซื้อกิจการของ Linkedin ด้วยมูลค่า $2.6 หมื่นล้าน ซื้อกิจการผู้ผลิตวิดีโอเกม Activision Blizzard ด้วยมูลค่า $6.9 หมื่นล้าน และ ลงทุนใน OpenAI ด้วยมูลค่า $1 หมื่นล้าน ทั้งนี้ ธุรกิจหลักยังโฟกัสไปที่จุดแข็งของบริษัทคือ ซอฟต์แวร์
ด้วยการใช้มาตรฐานบัญชีแบบอนุรักษ์นิยมและมีเงินสดสำรอง $1.44 แสนล้าน ทำให้ MicroSoft เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีความเสถียรมากที่สุดในบรรดายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี จึงส่งผลให้ราคาหุ้นสามารถเอาชนะอัตราผลตอบแทนของ S&P500 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเหมือนกับว่า Microsoft จะสามารถไม่เดินเข้าสู่จุดตกต่ำเมื่อบริษัทโดยทั่วไปที่ทำธุรกิจมาแล้วเป็นระยะเวลานาน ๆ
ข้อคิด: หากคุณต้องการลงทุนในธุรกิจของบริษัท ให้ไปซื้อหุ้นของบริษัทนั้น ในขณะที่หากต้องการถือครองบิตคอยน์ ให้ซื้อเงินสกุลดิจิทัลโดยตรง อย่าได้ไปซื้อบริษัทที่ถือครองบิตคอยน์
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
MacroView, macroviewblog.com
ตอนที่ 1 เข้าใจปัจจัยที่กำหนดสไตล์ของแผนเกษียณ
เนื่องจากอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ความสำคัญของการที่ผู้เกษียณต้องมั่นใจว่าตนเองมีรายได้ หรือกระแสเงินสดเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตในวัยเกษียณที่อาจยาวนานถึง 30 ปี (หรือมากกว่านั้น) ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ที่ปรึกษาทางการเงินส่วนใหญ่จะมี “แนวทางที่ชื่นชอบ” ในการแนะนำวิธีการจัดหาแหล่งรายได้นี้ให้แก่ลูกค้า ด้วยความสำคัญของประเด็นนี้ การที่ผู้เกษียณสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนากลยุทธ์รายได้ที่เหมาะสมสำหรับอนาคตของตนเอง อาจช่วยลดความกังวลได้มากกว่าใช่ไหม?
Style Factors to Determine a Retirees Income Preference
ปัจจัยที่กำหนดสไตล์ชองแผนเกษียณ
Probability vs. Safety-First (PS)
ความน่าจะเป็น (Probability) vs ความปลอดภัยเป็นอันดับแรก (Safety-First) (PS)
ผู้เกษียณที่มีสไตล์รายได้แบบ “ความน่าจะเป็น” (Probability) มักยอมรับที่จะพึ่งพาแหล่งรายได้ที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพในการเติบโตของตลาด เชื่อและยอมรับความเสี่ยงได้ จึงถือได้ว่าเป็นวิธีการที่เน้น “ความน่าจะเป็น” ในการสร้างรายได้เพื่อการเกษียณ พูดง่าย ๆ ก็คือ ถึงแม้ผลตอบแทนจากตลาดจะไม่แน่นอน แต่ผู้เกษียณบางคนก็ยอมรับความเสี่ยงในเชิงความน่าจะเป็นได้
ในทางกลับกัน ผู้เกษียณที่ชอบแหล่งรายได้แบบ “ความปลอดภัยเป็นอันดับแรก” (Safety-First) ต้องสัญญาชัดเจนเพื่อให้ความปลอดภัยในพอร์ตของตน แหล่งรายได้จากวิธีนี้จะมีความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของตลาดน้อยกว่า วิธีการนี้อาจรวมถึงแหล่งรายได้ที่ได้รับการปกป้อง เช่น เงินบำนาญแบบกำหนดผลประโยชน์ (Defined-Benefit Pensions) เงินรายปี (Annuities) ที่มีการป้องกันรายได้ตลอดชีวิต
วิธีการแบบ Safety-First ยอมรับที่จะสละโอกาสในการเติบโตของรายได้จากตลาดเพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยที่ได้รับจากการรับจากการลงทุน
ความยืดหยุ่น (Optionality) เทียบกับ ความมุ่งมั่น (Commitment) (OC)
ความยืดหยุ่น (Optionality) สะท้อนถึงความต้องการของผู้เกษียณที่จะรักษาทางเลือกให้เปิดกว้าง และความต้องการมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหรือสถานการณ์ส่วนตัว วิธีการนี้เหมาะสมกับแผนเกษียณที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายและไม่มีระยะเวลาการถือครองที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
ในทางตรงกันข้าม ความมุ่งมั่น (Commitment) แสดงถึงความชอบของผู้เกษียณที่จะยึดติดกับทางเลือกเดียว ผู้เกษียณที่มีแนวโน้มนี้ไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้อง “เก็บตัวเลือกไว้” และพร้อมที่จะเลือกวิธีแก้ปัญหารายได้เกษียณที่เฉพาะเจาะจง
ต่อไปเป็นความคิดส่วนตัว
จากประสบการณ์ของผม ผมว่าคนที่ลงทุนอยู่เสมอเป็นเวลายาวนาน อาจจะเป็นกลุ่ม Probability และยิ่งถ้าลงทุนแบบประสบความสำเร็จก็จะเป็นแบบ Probability และ Commitment
ส่วนคนที่ลงทุนแต่อาจจะไม่ประสบความสำเร็จมากก็อาจจะเป็นแบบ Probability และ Optionality แต่ถ้ายิ่งไม่เคยลงทุนเลย กล้วความเสี่ยง หรือลงทุนไม่ประสบสำเร็จ เจ็บตัว ก็อาจจะมักเป็นกลุ่ม Safety-First ยิ่งกลัวความเสี่ยงมาก ยิ่งเป็นกลุ่ม Safety-First และ Commitment ส่วนตัวคิดว่ากลุ่มแบบ Safety-First และ Optionality น่าจะมีสัดส่วนน้อยที่สุด
คุณละเป็นแบบใด?
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
หลังเกษียณ คนมักจะกลัวความไม่แน่นอน โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของตลาดและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
มีคำกล่าวจาก Aaron Petersen ที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า “ความกลัวทางอารมณ์จากภาวะตลาดตกต่ำส่งผลกระทบต่อทุกคน”
Kate Beattie ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ กล่าวว่า “นักลงทุนที่มองสินทรัพย์ของตนเป็นเหมือนถังต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะ เช่น ค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายตามอัธยาศัย เหตุฉุกเฉินที่ไม่ได้วางแผนไว้ และมรดก จะมีกรอบความคิดที่ดีกว่าในการจัดการการวางแผนเกษียณอายุโดยไม่ต้องกลัว”
โดยกลยุทธ์แบบ “กลยุทธ์ถัง” (bucket strategy) ซึ่งแบ่งเงินออมออกเป็นส่วน ๆ ตามระยะเวลาการใช้งาน จุดสำคัญคือการสร้าง “ความมั่นใจ” ให้ผู้เกษียณอายุโดยการแยกเงินสดไว้ใช้จ่ายในช่วงแรก ๆ
เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของตลาด วิธีการนี้ดัดแปลงได้ตามความต้องการ โดยอาจแบ่งเป็น 2 ถังขึ้นไป แต่ละถังอาจหมายถึงระยะเวลา หรือวัตถุประสงค์ในการใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายประจำวัน การดูแลสุขภาพ หรือการบริจาค หลักการคือการจัดการความเสี่ยงและจิตวิทยาการลงทุน โดยอาศัยการแบ่งเงินเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนและลดความวิตกกังวล
ตัวอย่างกลยุทธ์การเบิกเงินโดยใช้ห้าถังในช่วงระยะเวลา 25 ปี
Figure 1 จาก capitalgroup.com
ตัวอย่างการถอนแบบ 3 ตะกร้า
ตะกร้าที่ 1: ลงทุน เงินฝาก ตราสารหนี้ และตราสารเงิน
ตะกร้าที่ 2: 10 ปีแรกลงทุนความเสี่ยงต่ำผลตอบแทน 4% หลังจากนั้น อีก 10 ปีลงทุนเหมือนตระกร้าที่ 1
ตะกร้าที่ 3 : 15 ปีแรกลงทุนความเสี่ยงกลางผลตอบแทน 6% หลังจากนั้น อีก 10 ปีลงทุนเหมือนตระกร้าที่ 1
กลยุทธ์แบบ Pyramid สำหรับลูกค้าสินทรัพย์สูง
เนื่องจากลูกค้าสินทรัพย์มีเงินจำนวนมากกว่าคนปกติทั่วไป มีทางเลือกในการลงทุนมากกว่า
กลยุทธ์ “Pyramid” เหมาะสำหรับ ลูกค้าที่มีสินทรัพย์สุทธิสูง (HNW) กลุ่มลูกค้าประเภทนี้มักมี ความต้องการที่ซับซ้อน และต้องการ บริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ Pyramid ช่วยตอบโจทย์เหล่านี้ด้วยการแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วนหลัก:
1. Base ฐาน: ส่วนนี้เน้นการรักษาเงินต้น
มักประกอบด้วยเงินสด พันธบัตรระยะสั้น หรือประกันภัย
เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด แนะนำให้กันเงิน 1-2 ปีของค่าใช้จ่ายไว้ในส่วนนี้
2. แกนกลาง: ส่วนนี้เป็นเงินลงทุนระยะยาว
มีเป้าหมายในการสร้างการเติบโตของเงินทุน ประกอบด้วยหุ้น พันธบัตร และสินทรัพย์ทางเลือก
3. ส่วนเกิน: ส่วนนี้สำหรับเป้าหมายอื่นๆ เช่น การบริจาค หรือการส่งต่อมรดก
หุ้นบริษัทส่วนตัว, hedge fund หรือกลยุทธ์ Pyramid ช่วยให้ลูกค้า HNW มองเห็นภาพรวมของการจัดสรรการลงทุน และช่วยให้ที่ปรึกษาทางการเงินสามารถ หารือเกี่ยวกับการจัดสรรความเสี่ยงได้อย่างตรงจุด ยกตัวอย่างเช่น หากลูกค้ายังไม่มีแกนกลางที่มั่นคง ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง
นอกจากนี้ ลูกค้า HNW มักมี ทางเลือกในการสร้างกระแสเงินสด นอกเหนือจากพอร์ตการลงทุน เช่น การใช้รายได้จากอสังหาริมทรัพย์
โดยสรุป กลยุทธ์ Pyramid ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า HNW ในการจัดการเงินทุน บริหารความเสี่ยง และวางแผนเป้าหมายทางการเงินระยะยาว
ข้อดีของการใช้กลยุทธ์แบบ Bucket และ Pyramid
การเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม
อ้างจากบทความ Retirement Planning The bucket approach to retirement income
Kate Beattie and Aaron Petersen
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
Finnomena Funds มองเป็นจังหวะและโอกาสในการลงทุน เมื่อตลาดฟื้นยืนบวก หลังตัวเลขเงินเฟ้อต่ำกว่าที่คาด หนุนหุ้นเทคโนโลยีและหุ้นเติบโต กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง
สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา S&P 500 ปรับตัวขึ้น 2.93% WoW หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยและตํ่ากว่าที่ตลาดคาด เช่นเดียวกับตลาดหุ้นยุโรป และหุ้นจีน H-Share ที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่น 2.37% WoW และ 4.84% WoW ตามลำดับ
สะท้อนว่าโมเมนตัมของตลาดกำลังกลับมาเป็น Bullish อีกครั้ง ซึ่งมี Upside จาก Bond Yield และ Dollar ที่สูงเกินไป พร้อมกับการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ที่ออกมาแล้วกว่า 20% ส่วนใหญ่ก็ยังดีกว่าคาด โดยเฉพาะในกลุ่มธนาคารที่เป็นตัวชี้นำภาพของเศรษฐกิจในประเทศ
แต่สิ่งที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้อยู่ที่การทำพิธีสาบานตนรับตําแหน่งประธานาธิบดีขอว Donald Trump ว่าจะมีท่าทีต่อประเด็นต่าง ๆ เช่นไร อาทิ การดําเนินนโยบายการต่างประเทศ, นโยบายภายในประเทศ, นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ, ความสัมพันธ์กับทางการจีน โดยเฉพาะนโยบายเรื่องภาษีและการกีดกันการค้า
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
1.) TISCOAI (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยี เน้นลงทุนในบริษัทที่จดสิทธิบัตรด้าน AI and Big Data โดยครอบคลุมธีม AI กลางน้ำและปลายน้ำ ทำให้จะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการที่โลกพัฒนาเข้าสู่ยุค Agentic AI ซึ่งสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจแทนมนุษย์ได้โดยอัตโนมัติ
2.) ASP-USSMALL-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นขาดกลาง-เล็กในสหรัฐฯ เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น ธุรกิจการเงินและอุตสาหกรรม จึงได้รับอานิสงส์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Trumponomics ที่เตรียมลดภาษีนิติบุคคล หนุนบริษัทในประเทศ อีกทั้งการย่อลงมาแรงถือเป็นโอกาสในการทยอยสะสม
3.) MEGA10CHINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นจีน โดยจะลงทุนใน 10 หุ้นจีนขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง โดยมองเป็นจังหวะเก็งกำไร เพราะเชื่อว่านโยบาย Trump จะดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับมีแนวโน้มที่รัฐบาลจีนเตรียมจะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนตรุษจีน
โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
1.) MEGA10AI-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยี AI ที่จะลงทุนใน 10 หุ้นขนาดใหญ่ เพื่อรับโอกาสเติบโตเต็มที่ตามรอบของการประกาศงบหุ้นเทคโนโลยีในสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะออกมาแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก
2.) ASP-DIGIBLOC (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ยังมีแนวโน้มทะยานต่อได้จากนโยบายสนับสนุนของ Trump ที่เตรียมนำคริปโตมาเป็นเงินทุนสำรอง นอกจากนี้ กองทุนหลักยังมีการกระจายลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่ได้ประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัล
3.) SCBSEMI(A) (ความเสี่ยงระดับ 7)
กองทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เน้นลงทุนในหุ้น AI ต้นน้ำ รวมถึงเป็นธีม Growth Stock ที่มีโอกาสทะยานสู่จุดสูงสุดใหม่ หากการประกาศผลประกอบการในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ของหุ้นเทคโนโลยีเซมิตอนดักเตอร์ออกมายอดเยี่ยม โดยเฉพาะหุ้นผู้นำอย่าง Nvidia
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis
1.) AFMOAT-HA (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาที่มีป้อมปราการทางธุรกิจ (MOAT) ด้วยการ Selective Buy เน้นหุ้น Valuation ไม่แพง เป็นกลุ่มขนาดกลาง-เล็ก และมีความแข็งแกร่งในระยะยาว นอกจากนี้ ยังมีจุดเด่นที่การกระจายลงทุนแบบ Equal Weight
2.) B-INNOTECH (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยี เน้นคัดเลือกหุ้น Value Play โดยการเข้าซื้อหุ้นเติบโตในราคาไม่แพง ขณะเดียวกันปัจจัยเชิงพื้นฐานเฉพาะตัวยังคงดี เพราะประมาณการกำไรของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือว่าเติบโตในระดับสูง เช่น TSMC ซึ่งเป็นหุ้นชิบ AI ตัวหลักที่กองทุนชื่นชอบ
3.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดที่ถูกและดี ประกอบกับการมาของ Trump เร่งให้เกิด China+1 ในการย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีนเร็วขึ้น ซึ่งเวียดนามคือหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ รวมทั้งยังมีปัจจัยหนุนอื่น ๆ เช่น ความคืบหน้าเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปี 2025 และการถูกปรับประมาณกำไรเพิ่มเติม
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ส่วนใหญ่แล้ว คำตอบก็คือ ไม่มีอะไร! บริษัทยังดำเนินการตามปกติ ผลประกอบการก็ปกติ บางทีจะบอกว่าดีขึ้นด้วยซ้ำ เหตุการณ์หุ้นตกส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการขายหุ้นที่อาจจะถูกบังคับขายหรือ Force Sale โดยสถาบันการเงินที่รับจำนำหุ้นไว้จำนวนมากที่ต้องการเงินคืนและคนจำนำ ซึ่งบางครั้งก็คือผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัท ไม่มีเงินสดที่จะไปใช้คืนเงินที่กู้มามากมาย
และเงินที่กู้มาก็เพื่อที่จะไป “ไล่” ซื้อหุ้นจำนวนมากจนทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นสูงลิ่ว ซึ่งก็เป็นกระบวนการที่เรียกว่าการ “Corner หุ้น” ซึ่งทำให้หุ้นมีราคาหรือมูลค่าสูงเกินความเป็นจริงไปมาก และทำให้คนทำมีความมั่งคั่งสูงเกินความเป็นจริงไปมาก และก็เป็นอยู่อย่างนั้นมา บางทีหลายปี
มองในเชิงเศรษฐศาสตร์ก็อาจจะอธิบายได้ว่า ราคาหุ้นปกตินั้นถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อหุ้นและปริมาณหุ้นที่คนต้องการขายที่เรียกว่า “หุ้น Free Float” ซึ่งโดยปกติแล้ว ราคาของหุ้นก็จะอยู่ที่การประเมินหรือคาดการณ์ตามพื้นฐานของกิจการเฉพาะอย่างยิ่งก็คือกำไรของบริษัทและมุมมองในอนาคตว่าจะเติบโตไปแค่ไหนอย่างไร
พูดง่าย ๆ ราคาหุ้นปกติจะขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อของคนที่ลงทุนที่เน้นพื้นฐานของกิจการ และ เช่นเดียวกับคนที่ต้องการขายหุ้นที่ประเมินมูลค่าพื้นฐานเช่นเดียวกัน เมื่อคนสองฝ่ายเจอกันในปริมาณหุ้นที่เท่ากัน ราคาจึงตกลงกันและเกิดเป็น “ราคาตลาด” ที่เหมาะสม เช่น ถ้าเป็นสถาบันการเงินระดับปานกลาง ค่า PE ก็ควรจะประมาณไม่เกิน 10 เท่า ที่โดดเด่นหน่อย อาจจะมีค่า PE “ถึง 12-13 เท่า” เป็นต้น
วันหนึ่ง หลายปีมาแล้ว ในตลาดหุ้นไทย อาจจะมีคนค้นพบว่า วิธีที่จะทำให้หุ้นมีราคาสูงขึ้นได้ก็คือการเปลี่ยนหรือ “ชุบตัว” ให้คนมองภาพของบริษัทหรือหุ้นเปลี่ยนไปจากธรรมชาติที่แท้จริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การสร้างเรื่องราวหรือ Story ให้กับบริษัท จากบริษัทธรรมดาหรือเก่งในระดับหนึ่งให้กลายเป็นบริษัทที่เก่งหรือโดดเด่น บางที “ระดับโลก” หรือจากบริษัทที่โตเท่า ๆ หรือดีกว่า GDP เล็กน้อย ให้กลายเป็นหุ้นโตเร็วมากแบบ “Super Growth” โตปีละ 30-40% เป็นต้น
แต่ลำพังการสร้างเรื่องนั้น มักจะไม่พอที่จะทำให้หุ้นขึ้นไปได้ไกลมากหรือเร็วมาก จำเป็นต้องมี “ความต้องการจริงของนักลงทุน” ที่ “ซื้อสตอรี่” นั้น ดังนั้น “ความต้องการเทียม” จึงเกิดขึ้น อาจจะโดยผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัท หรือบางทีก็เป็นคนนอกที่มองเห็นโอกาสที่จะทำคอร์เนอร์ได้สำเร็จ แต่ในความเป็นจริงก็คือ มักจะเป็นการร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายมากกว่า เพราะการร่วมมือจะทำให้เกิดพลังและโอกาสสำเร็จสูงขึ้นมาก
ความต้องการเทียมก็คือ การกวาดซื้อหุ้นทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ไม่ได้มีความต้องการซื้อขนาดนั้นและ/หรือในราคาระดับนั้น ว่าที่จริง ในกรณีที่เป็นเจ้าของบริษัทอยู่แล้ว จะซื้อหรือเอาหุ้นมากขนาดนั้นไปทำอะไร? และที่เอาหุ้นเข้าตลาดนั้นก็ตั้งใจจะขายลดปริมาณหุ้นของตนให้นักลงทุนคนอื่นอยู่แล้ว ดังนั้น การซื้อหุ้นคืนจึงไม่มีเหตุผลอื่นนอกจากเพื่อที่จะทำให้หุ้นขึ้นมาแรงและสร้างความมั่งคั่งให้ตนเองและเพื่อที่จะขายออกไปในภายหลัง
Demand หรือความต้องการเทียม ไม่ว่าจะมาจากเจ้าของหรือนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาซื้อหุ้น ทำให้ราคาหุ้น “สูงลิ่ว” ผิดธรรมชาติมาก หุ้นจำนวนมากที่เกิดจากการทำคอร์เนอร์มีค่า PE สูงกว่าค่า PE ปกติบางทีหลายเท่า ทั้ง ๆ ที่คุณสมบัติหรือความสามารถในการแข่งขันไม่ได้เหนือกว่าหุ้นอื่น ๆ เลย อาจจะมีบ้างที่อาจจะ “โตเร็วกว่า” ซึ่งก็สามารถทำให้คนหลงเชื่อได้ว่าเป็นบริษัทที่ “ดีกว่า” อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งก็เป็นเรื่องของการ “สร้างการเติบโต” แต่เป็นการเติบโตที่ไม่มีคุณภาพ อาจจะโดยการซื้อกิจการหรือขยายไปทำกิจการที่มีความเสี่ยงสูงและอาจจะล้มเหลวในภายหลัง
เวลาผ่านไปหลายปี หุ้นที่ถูกคอร์เนอร์จำนวนไม่น้อยทยอย “คอร์เนอร์แตก” ราคาหุ้นล่มสลาย อย่างไรก็ตาม ยังมีหุ้นจำนวนไม่น้อยที่ยังอยู่ในคอร์เนอร์ได้แม้ว่าราคาจะทยอยลดลงเรื่อย ๆ แต่ค่า PE ก็ยังสูงกว่าที่ควรจะเป็น ส่วนหนึ่งก็เพราะกำไรของบริษัทไม่เพิ่มขึ้น บางแห่งกลับลดลง และนั่นสร้างความกังวลให้กับคนที่ยังถือหุ้นอยู่และทำให้เขาอยากขาย โดยเฉพาะในยามที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาและตลาดหุ้นซึมและตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ
ถึงตอนนี้ดูเหมือนว่า แม้แต่หุ้นที่มีศักยภาพ และช่วงหนึ่งแทบจะเป็น “หุ้นแห่งอนาคต” ก็ไม่สามารถชักจูงให้คนเชื่อว่าพื้นฐานของกิจการสามารถรองรับ “ราคาหุ้นในคอร์เนอร์” ที่อยู่มานานได้ ความต้องการเทียมที่เข้าไปซื้อหุ้นในช่วงการทำคอร์เนอร์กำลังถูกดึงกลับโดยสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้ไปทำคอร์เนอร์ และนั่นทำให้ราคาหุ้นควรจะกลับไปสู่พื้นฐานที่แท้จริงของบริษัท
และพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทมักจะต้องเกิดจากนักลงทุนจำนวนมากที่วิเคราะห์หุ้นและประเมินราคาที่ตนเองต้องการซื้อหรือขายเพื่อหวังผลตอบแทนระยะยาวที่เหมาะสม ไม่ใช่เกิดจากความเห็นหรือความต้องการซื้อหรือขายของคนเพียงไม่กี่คนที่ใช้เม็ดเงินก้อนใหญ่เข้าไปซื้อ-ขายในหุ้น Free Float ที่มีจำนวนน้อย ซึ่งทำให้สามารถชี้นำราคาได้อย่างแทบจะไม่จำกัด
คำถามสำคัญมากก็คือ หุ้นที่ “คอร์เนอร์แตก” ราคาตกลงมาหนักมาก บ่อยครั้งเกิน 50% และบางตัวถึง 80% นั้น เราควรเข้าไปซื้อลงทุนหรือไม่? เหนือสิ่งอื่นใด บางบริษัทก็บอกว่าบริษัทไม่ได้มีปัญหาอะไรและยังดีอยู่ “ตามปกติ” ทุกอย่างเป็นไปตามแผน ดังนั้น นั่นหมายถึงว่าราคาหุ้นควรกลับไปที่เดิมก่อนคอร์เนอร์แตกหรือไม่?
คำตอบเบื้องต้นของผมก็คือ การที่จะหวังว่าราคาจะกลับไปที่เดิมได้นั้น ผมคิดว่ามีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากหุ้นที่อยู่ในคอร์เนอร์นั้น มี Demand หรือความต้องการถือหุ้นเทียมอยู่ไม่มากก็น้อย ถ้าความต้องการนั้นลดลง คือมีการขายหุ้นออกไปโดยเฉพาะที่ถูก Force Sale ราคาหุ้นก็ต้องตกลงมาค่อนข้างแน่ เราต้องเลิกคิดถึงราคาเก่าไปอย่างสิ้นเชิง
ราคาใหม่ที่หุ้นตกลงมาและเราอาจจะเข้าไปลงทุนได้นั้น ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมตามพื้นฐานของธุรกิจ และตัวที่ใช้มากที่สุดก็คือ กำไรและค่า PE ของหุ้นตัวนั้น และนั่นก็กลับมาสู่วิธีวิเคราะห์การลงทุนแบบ VI พันธุ์แท้ดั้งเดิมที่เน้นว่า ราคาหุ้นต้องไม่แพง และการวิเคราะห์ต้องไม่ลำเอียง อย่าตื่นเต้นกับสตอรี่ที่คนสร้างขึ้นเพื่อ “หลอกกินเงิน” เรา เช่นบอกว่าบริษัทนั้นมีผลิตภัณฑ์โดดเด่นเก่งกว่าคู่แข่ง ตลาดเติบโตมหาศาล บริษัทมีกำไรเหนือคู่แข่งเพราะเหตุผลต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ก็ไม่ต้องเชื่อ “เซียนหุ้น” ที่ถือหุ้นจำนวนมากและนักวิเคราะห์ที่ส่วนใหญ่ก็ฟัง “สิ่งดี ๆ” มาจากผู้บริหารเป็นหลัก
หุ้นคอร์เนอร์แตกบางตัวอาจจะตกลงมา 50% แล้ว แต่เนื่องจากค่า PE ก่อนแตกอยู่ที่ 50 เท่า ดังนั้น PE ใหม่ก็ยังคงสูงถึง 25 เท่า แต่ธุรกิจที่บริษัททำนั้น เป็นอะไรที่มีคนทำกันมาก คู่แข่งสูงมากและบริษัทก็ไม่ได้มีอะไรที่โดดเด่นหรือได้เปรียบคนอื่น ธุรกิจลักษณะนี้เราหาหุ้นที่มีค่า PE 10 เท่า แถมให้ปันผลปีละ 4-5% ได้ไม่ยาก ถ้านึกหุ้นตัวไหนไม่ออกก็ซื้อหุ้นแบงก์ขนาดใหญ่ก็ได้ ดังนั้น การที่หุ้นตกลงมา 50% จึงไม่ใช่เหตุผลที่ควรจะซื้อ ตรงกันข้าม ถ้าถืออยู่ก็ควรจะขาย
หุ้นคอร์เนอร์แตกบางตัว ซึ่งอาจจะเป็นส่วนมากของหุ้นที่หุ้นตกถล่มทลายด้วยซ้ำนั้น มีปัญหาที่ตัวบริษัทด้วย บางบริษัทก็ชัดเจนตั้งแต่แรก เพราะเหตุผลที่หุ้นตกนั้นเป็นเพราะบริษัทเจ๊งไม่สามารถชำระหนี้ได้ หรือบริษัทมีการฉ้อฉลที่ถูกจับได้ หรือผลประกอบที่ออกมาขาดทุนหนักมาก เป็นต้น ทั้งหมดนั้นมักทำให้หุ้นตกในระดับหายนะและต้องใช้เวลาฟื้นฟูยาวมาก การเข้าไปซื้อหุ้นเป็นความเสี่ยงที่ประเมินได้ยากมาก ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องเลย
โดยสรุปก็คือ โอกาสที่จะพบกับหุ้นคอร์เนอร์แตกที่ราคาลงมาจนถึงจุดที่จะเข้าซื้อเพื่อลงทุนแบบ VI ในช่วงนี้ดูเหมือนว่าจะยากพอสมควร เหตุผลก็คือ หุ้นส่วนใหญ่ที่อยู่ในคอร์เนอร์ของตลาดหุ้นไทยนั้น มีราคาที่วิ่งขึ้นไปสูงมาก หุ้นจำนวนมากราคาขึ้นไปหลาย ๆ เท่าในเวลาเพียงไม่กี่ปี และทำให้ค่า PE สูงสุดสู่ระดับเดียวกับ “หุ้น 7 นางฟ้า” ของสหรัฐ ดังนั้น เวลา “แตก” ลงมา คนก็อยากเข้าไปช้อนซื้อ เพราะคิดว่าลงมามากเกินไป ซึ่งทำให้ค่า PE ลงมาไม่ถึงจุดที่น่าสนใจลงทุนซักที
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
This Issue
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
Eye On This Week
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้
Market
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ
Finnomena Port Performance
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน
ประกันสังคม ไม่ใช่แค่เพียงสวัสดิการที่รัฐมอบให้แก่ผู้ทำงาน แต่ยังเป็นเสมือนเงินออมระยะยาวที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ การรู้จักและเข้าใจการบริหารจัดการเงินกองทุนประกันสังคมจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรใส่ใจ โดยเฉพาะการลงทุนที่เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนนี้
กองทุนประกันสังคมถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างหลักประกันและความมั่นคงในชีวิตให้แก่ลูกจ้างในประเทศ ครอบคลุมสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยทั้งนายจ้างและลูกจ้างมีส่วนร่วมในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในสัดส่วนที่เท่ากัน
ซึ่งเงินสมทบที่ได้มาจะถูกนำไปจัดตั้งเป็นกองทุนและจ่ายเป็นผลประโยชน์ทดแทนหรือให้ความคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง
จากข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 เงินลงทุนของกองทุนประกันสังคม มีมูลค่าทั้งสิ้น 2,586,369 ล้านบาท โดยลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงเพื่อความยั่งยืนของกองทุนในระยะยาว รวมทั้งพิจารณาลงทุนใน หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน ดังภาพต่อไปนี้
ความโดดเด่นของการบริหารกองทุนคือการให้ความสำคัญกับความมั่นคงของการลงทุน โดยมีการจัดสรรเงินลงทุนส่วนใหญ่ถึง 70.69% หรือประมาณ 1.82 ล้านล้านบาท ไปยังหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ขณะที่อีก 29.31% หรือประมาณ 7.58 แสนล้านบาท ถูกจัดสรรไปยังหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีการกระจายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการลงทุนในประเทศ มูลค่า 1,805,939 ล้านบาท คิดเป็น 69.83% และต่างประเทศ มูลค่า 780,430 ล้านบาท คิดเป็น 30.17% สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารพอร์ตที่กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม ณ วันที่ 30 กันยายน 2024
หนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจของกองทุนประกันสังคมคือการเลือกลงทุนในหุ้นบริษัทชั้นนำของไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในวงกว้าง นอกจากนี้ยังกระจายการลงทุนครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น พลังงาน, ปิโตรเคมี, ค้าปลีก, สุขภาพ และโทรคมนาคม โดยมีตัวอย่างหุ้นที่โดดเด่นดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2024)
PTT บริษัทน้ำมันและปิโตรเคมีรายใหญ่ของไทย มีธุรกิจที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ
SCC ผู้นำในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
CPALL ผู้ประกอบการค้าปลีกชั้นนำของไทย เป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’
BDMS ผู้ให้บริการด้านสุขภาพเอกชนรายใหญ่ในประเทศไทย เจ้าของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
ADVANC ผู้ให้บริการ AIS เครือข่ายโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทย
AOT บริษัทผู้ดำเนินการท่าอากาศยานนานาชาติหลักของประเทศไทย
หุ้นเหล่านี้ล้วนเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีผลประกอบการดีและมั่นคง ทำให้เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนสถาบันรายใหญ่อย่างประกันสังคม และที่สำคัญคือบริษัทเหล่านี้ยังคงมีโอกาสเติบโตในอนาคต ทำให้มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
นอกจากนี้ การกระจายการลงทุนไปในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งพลังงาน ปิโตรเคมี ค้าปลีก การแพทย์ และโทรคมนาคม ยังช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ
การบริหารกองทุนยังอยู่ภายใต้กรอบระเบียบที่เข้มงวด โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2559 ที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนอย่างชัดเจน เพื่อรักษาสมดุลระหว่างความมั่นคงและผลตอบแทน
สุดท้ายนี้จะเห็นได้ว่ากองทุนประกันสังคมไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ในการดูแลสวัสดิการของแรงงานไทยเท่านั้น แต่ยังมีการบริหารจัดการการลงทุนอย่างมืออาชีพ มีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม และมีการลงทุนในธุรกิจชั้นนำที่มีความมั่นคง สะท้อนถึงความรับผิดชอบในการดูแลเงินออมของสมาชิกกองทุนอย่างดีที่สุด
อ้างอิงจาก: สำนักงานประกันสังคม
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/social-security-portfolio/
Dynamic Contrarian Model Portfolio พอร์ตการลงทุนสายสวน ย่อซื้อ ขึ้นขาย สับเปลี่ยนเงินลงทุนจากกองทุน KT-ENERGY ไปยังกองทุน MEGA10CHINA-A หลังราคาน้ำมันดิบมี upside ค่อนข้างจำกัด ส่วนจีนอาจออกนโยบายกระตุ้นเพิ่มเติมในช่วงตรุษจีน
ดัชนี Hang Seng Index
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 17/01/2025
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยกล่าวไว้ในการปราศรัยในช่วงหาเสียงเลือกตั้งในปี 2024 ที่ผ่านมา ว่าจะทำออกมาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนอย่างจริงจัง ทำให้ตลาดหุ้นจีนในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 ทำผลตอบแทนได้ไม่ค่อยดี แต่ล่าสุด ทีมเศรษฐกิจของทรัมป์เริ่มทยอยออกมาให้สัมภาษณ์ว่านโยบายขึ้นภาษีอาจถูกดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ FundTalk มองว่าผลกระทบของนโยบายของทรัมป์ต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีนอาจไม่ได้รุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ FundTalk ยังมีมุมมองเพิ่มเติมว่ารัฐบาลจีนอาจมีการออกนโยบายกระตุ้นเพิ่มเติมในช่วงเทศกาลตรุษจีนในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เมื่อรัฐบาลจีนออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นจีนจะสามารถปรับตัวขึ้นในช่วงสั้น ๆ (ยกตัวอย่างเช่นในช่วงเทศกาลตรุษจีนของปี 2024 ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนก็มีการออกมาตรการกระตุ้น และดัชนี Hang Seng ก็ปรับตัวขึ้นได้ในช่วงสั้น ๆ) FundTalk จึงมีมุมมองระยะสั้นที่ดีขึ้นต่อตลาดหุ้นจีน โดยมองผ่านดัชนี Hang Seng ซึ่งเป็นดัชนีภาพรวมตลาดหุ้นฮ่องกง
ราคาน้ำมันดิบ WTI
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/01/2025
ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบ WTI ได้ปรับตัวขึ้นมานับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2024 ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากนโยบายกีดกันการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งตลาดมองว่าอาจส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบลดลง FundTalk มีมุมมองว่าราคาน้ำมันดิบในปัจจุบันได้ปรับตัวขึ้นมาแล้ว และมี upside เหลืออยู่ค่อนข้างจำกัด จึงมีคำแนะนำขายออกกองทุน KT-ENERGY ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก BGF World Energy Fund ลงทุนในหุ้นอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งราคาหน่วยลงทุนของกองทุนมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับราคาน้ำมันดิบ โดยมองว่ากองทุนนี้มี upside ที่เริ่มจำกัดแล้ว
ประมาณการการเติบโตกำไรและ valuation ของดัชนี Hang Seng
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/01/2025
โดยแนะนำสับเปลี่ยนเงินลงทุนจากกองทุน KT-ENERGY ไปยังกองทุน MEGA10CHINA-A ซึ่งลงทุนในหุ้นจีนขนาดใหญ่ 10 บริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (ในสกุลเงิน HKD) โดยมีมุมมองว่าหุ้นกลุ่มนี้อาจได้รับแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และแนวทางการดำเนินนโยบายภาษีของทรัมป์ ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
FundTalk มีคำแนะนำปรับสัดส่วนใน Dynamic Contrarian Model Portfolio โดยมีสัดส่วนใหม่ ณ วันที่ 17 มกราคม 2025 ดังนี้
DCM (Dynamic Contrarian Model Portfolio) เป็นพอร์ตลงทุนสไตล์ Contrarian (สายสวน) ‘ย่อซื้อ ขึ้นขาย’ เน้นลงทุนในหุ้นรายประเทศ หรือ Sector ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ราคาปรับตัวลดลง หรือขึ้นน้อย รวมถึงใช้หลักการเดียวกันในการเข้าลงทุนสินทรัพย์ Multi Assets
– ทำความรู้จักพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/finnomenafunds/dcm/
สนใจลงทุนในพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio
คลิก https://finnomena.onelink.me/10bl/dcm
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยดูเหมือนจะไม่ขยับไปไหน แถมยังมีข่าวหุ้นร่วงดิ่งฟลอร์เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าเราจะสามารถเชื่อใจตลาดหุ้นไทยได้แค่ไหน แล้วต้องเลือกหุ้นอย่างไรถึงจะหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้?
หาคำตอบได้ใน “5 ข้อผิดพลาดในการเลือกหุ้น” ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นและวิธีรับมือ เพื่อให้การลงทุนของเรามีความมั่นคงและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
หลายคนมักเลือกหุ้นตามกระแส หรือคำแนะนำจากคนรอบตัว โดยไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด ส่งผลให้ขาดความเข้าใจในปัจจัยพื้นฐานของหุ้น เช่น รายได้ กำไร หรือแนวโน้มของอุตสาหกรรม
อย่างเช่น ในช่วงนี้ที่มีข่าว Forced Sell หุ้นบางตัวมีราคา “ดูเหมือนจะถูก” ดูเหมือนเป็นโอกาส แต่แท้จริงกลับมีปัญหาพื้นฐานจนราคาลดต่อเนื่อง
การถือหุ้นเพียงไม่กี่ตัวหรือกระจุกอยู่ในอุตสาหกรรมเดียว เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่อันตรายที่สุดในการลงทุน เพราะเมื่อเกิดวิกฤตกับหุ้นเหล่านั้น พอร์ตของเราก็อาจได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจนยากจะฟื้นตัว
ในทางกลับกัน การถือหุ้นมากเกินไปจนเกินกำลังที่จะติดตามหรือวิเคราะห์ ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยเพราะอาจทำให้เราขาดความเข้าใจในรายละเอียดของหุ้นแต่ละตัว ส่งผลให้การตัดสินใจลงทุนเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
FOMO (Fear of Missing Out) หรือความกลัวที่จะพลาดโอกาส เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้นักลงทุนหน้าใหม่เสียเงินมากที่สุด เพราะมันจะทำให้เราตัดสินใจด้วยอารมณ์แทนเหตุผล
FOMO มักเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนจำนวนมากเห็นหุ้นตัวใดตัวหนึ่งปรับตัวขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว โดยไม่วิเคราะห์ว่าเป็นเพราะอะไร หรือมูลค่าของหุ้นนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่
อย่างเช่น การรีบซื้อหุ้นที่กำลังมีปัญหา โดย “หวังว่าราคาจะรีบาวด์” แต่สุดท้ายราคากลับลดลงต่อเนื่อง เพราะปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข
ราคาหุ้นในระยะสั้นอาจไม่ได้เคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเสมอไป แต่มักจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น ข่าวเศรษฐกิจ สภาพคล่องในตลาด หรือแรงขายจากกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ การซื้อหุ้นโดยไม่เข้าใจแนวโน้มระยะสั้น อาจทำให้เราต้องเจอกับหุ้นที่ยัง “ลงได้อีก”
การประเมินมูลค่าหุ้นเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญในการตัดสินใจลงทุน หากเราไม่พิจารณามูลค่าที่เหมาะสมของหุ้น อาจทำให้เราเจอกับหุ้นที่ “ราคาแพง” ซึ่งแม้ว่าหุ้นนั้นจะมีพื้นฐานดี แต่หากซื้อในราคาแพง ก็ยากที่จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนตามคาดหวัง หรืออาจถึงขั้นขาดทุนเลยก็ได้
การลงทุนที่ประสบความสำเร็จไม่ได้เกิดจากโชคหรือการเดาสุ่ม แต่มาจากความเข้าใจที่ถูกต้องและการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล ข้อผิดพลาดที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการวางแผนที่ดีและใช้เครื่องมือที่เหมาะสม อย่างเช่น
Definit SET Select กลยุทธ์คัดเลือกหุ้นไทยเน้น ๆ ไม่เกิน 20 ตัว โดยวิเคราะห์ทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่
รับข้อมูลเพิ่มเติมและบริการ Definit SET Select ได้ที่: https://www.definitinvestment.com/contact-form
เริ่มต้นปีใหม่ 2025 เราแนะนำปรับพอร์ตเข้าสู่สมดุล เพื่อรับมือกับความผันผวนระยะสั้นที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี เนื่องจากการปรับความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับจำนวนครั้งของการลดดอกเบี้ยของ Fed และความกังวลต่อนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่มีผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าหลัก แต่ระยะกลาง-ยาว เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ
กลยุทธ์หลักในช่วงนี้ เน้นกระชับพอร์ตด้วยการลดจำนวนกองทุนในพอร์ต และเน้นลงทุนกองทุนรวมดัชนี (Index Fund) เป็นหลัก โดยเรามีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ แม้อาจผันผวนตามภาวะตลาดหุ้นโลก แต่น่าจะมีความแข็งแกร่งกว่าหลายตลาด ด้วยแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของพรรครีพับลิกันและการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน ส่วนตราสารหนี้ต่างประเทศ แม้ Bond Yield สหรัฐฯ อาจมีความผันผวนระยะสั้น แต่การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี พุ่งขึ้นเข้าใกล้ระดับ 5% ถือว่า มีความน่าสนใจสำหรับการเพิ่มน้ำหนักกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศในพอร์ต เพราะเราเชื่อว่า การลดดอกเบี้ยของ Fed ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในปีนี้ ซึ่งเมื่อทิศทางดอกเบี้ยมีความชัดเจนมากขึ้น น่าจะช่วยให้ Bond Yield มีแนวโน้มลดลงในระยะถัดไป
*กองทุน SCBGLOWP (ระดับความเสี่ยง 5) เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน
ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต
SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่ 13 มกราคม 2025
เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 02 777 7777 สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ที่สุดแห่งปี 2025? นอกจากการปรับตัวลงลึกและยาวนาน (ซึ่งมิได้การันตีว่าหุ้นจะต้องขึ้นเสมอไป) สภาวะแวดล้อมเชิงมหภาคของจีน ณ ปัจจุบันมีส่วนคล้ายคลึงกับสหรัฐยุคหลังวิกฤตการเงินโลกปี 2008 อาทิ เงินเฟ้อและดอกเบี้ยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องยาวนาน (lower for longer) โดยหลักการแล้วน่าจะก่อภาวะ “ฟองสบู่” ในสินทรัพย์บางประเภท (กรณีของจีนรอบนี้มันคงไม่ใช่อสังหาฯหรือสินค้าโภคภัณฑ์ ก็น่าจะเกิดใน “ตลาดหุ้น” และ “ตลาดบอนด์” ทั้งนี้ ฟองสบู่ช่วงเริ่มต้นไม่น่ากลัวเพราะยังไม่แตก)
“ดอกเบี้ยต่ำ” จำเป็นสำหรับภาคอสังหาฯซึ่งค่อยๆฟื้น แต่มันต่ำเกินไปและไม่จำเป็นเลยสำหรับบริษัทคุณภาพดีที่แข็งแรงเติบโตได้อยู่แล้ว Quality & Growth Companies เหล่านั้นจึงเปรียบเสมือนได้ “สเตียรอยด์” กระตุ้นการเติบโตของผลประกอบการรวมถึงราคาหุ้น
เราคาดว่าในอนาคตน่าจะได้เห็น “หุ้นนางฟ้าจีน” ซึ่งเติบโตดีหนุน market cap ใหญ่พอ นำพาตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นต่อเนื่องหลายปี ดังเช่นสหรัฐในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
สับเปลี่ยนออก KT-OIL 10% (สัดส่วนใหม่ 0%)
สับเปลี่ยนเข้า KT-ASHARES-A 5% (สัดส่วนใหม่ 25%)
สับเปลี่ยนเข้า KT-CHINA-A 5% (สัดส่วนใหม่ 25%)
ที่มา: บลจ. กรุงไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 13 มกราคม 2025
คำเตือน: ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungthai Belief Allocation สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungthai Belief Allocation คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
อยากจะชวนให้ทุกคน ลองหยิบมาทบทวนตัวเองสัปดาห์ละ 1 ข้อ เริ่มทำตั้งแต่วันนี้… ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี ส่วนมากเป็นพื้นฐานการเงินง่าย ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอะไร แต่อาจจะถูกมองข้าม เพราะใกล้ตัวจนโดนละเลย
1. ออมก่อนใช้
2. ใช้ให้น้อยกว่าหา
3. ออมเป็นประจำ >10% ของรายได้
4. เก็บเงินสำรองฉุกเฉินให้ครบ 6 เดือน
5. มีรายได้มากกว่า 1 ทาง
6. จดเงินเข้าออก รายรับรายจ่าย
7. เงิน 100% ที่หามาได้ จัดสรรให้ได้เป็นสัดส่วน
8. ใช้สูตร 50-30-20 คือมีเงินได้ 100 บาท แบ่งไว้ใช้จำเป็น (Needs) 50 ใช้จ่ายเพื่อความสุข (Wants) 30 บาท ออมหรือลงทุน 20
9. ถ้าเพิ่งเริ่มต้นทำงาน อาจจะปรับเป็นสูตร 60-25-15 หรือหากอายุใกล้เกษียณก็สามารถปรับเป็นสูตร 45-25-30 แทนได้
10. เริ่มตั้งโจทย์เก็บเงินให้พอใช้ 20 ปีหลังเกษียณ
11. นำเงินไปลงทุน ถ้ายังจับจังหวะลงทุนไม่เก่ง ให้ DCA อย่างมีวินัย
12. เลือกสินทรัพย์ลงทุนไม่เก่ง ให้ลงทุนแบบจัดพอร์ต กระจายไม่กระจุก
13. เลิกลงทุนด้วยความโลภ หรือใช้หูฟังจากคนอื่น
14. ตั้งเป้าหมายการลงทุนให้ชัด ทั้งเป้าหมาย ระยะเวลา และผลตอบแทนที่คาดหวัง
15. ศึกษาและลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้และเป้าหมาย
16. เตรียมเงินก้อนเผื่อค่าใช้จ่ายที่มาไม่บ่อยแต่เยอะ เช่น ซ่อมบ้าน ซ่อมรถ เจ็บป่วยหนัก
17. ไม่มีภาระผ่อนหนี้เกิน 1 ใน 3 ของรายได้
18. หลีกเลี่ยงเงินกู้นอกระบบ เงินกู้ดอกเบี้ยสูง
19. มีบัตรเครดิตแค่ 1-2 ใบก็พอแล้ว
20. อย่าใช้บัตรเครดิตเพื่อกดเงินสดมาใช้จ่าย
21. ไม่เปิดเผยข้อมูลบนบัตรโดยไม่จำเป็น เช่น เลขบัตร เลข CVV
22. ตั้งรหัสผ่านทางการเงินให้เดายาก และเปลี่ยนเป็นระยะ เช่น 3 เดือน
23. ตั้งสติ ไตร่ตรอง ก่อนโอนเงินให้คนที่ไม่รู้ใจ
24. ระวังการลงทุนที่พูดถึงแต่ผลตอบแทนสูง แต่ไม่เคยพูดเรื่องความเสี่ยง
25. คำนวณเงินเกษียณที่ควรมี = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตหลังเกษียณ
26. เช็กเงินออมเพื่อเกษียณที่มีอยู่ จะได้รู้ว่าต้องเก็บอีกเท่าไหร่
27. เพิ่มเงินออมและลงทุนเพื่อเกษียณตามรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น
28. ซื้อประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต
29. ตั้งงบประมาณสำหรับการท่องเที่ยว
30. ศึกษาเรื่องภาษีและลดหย่อนภาษี
31. เพิ่มพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขค้น
32. มีรายได้แบบ Passive Income
33. ลงทุนในหุ้นหรือกองทุนปันผล
34. อ่านหนังสือการลงทุนให้ได้เดือนละเล่ม
35. เรียนรู้ทักษะใหม่ที่ช่วยเพิ่มรายได้
36. จัดทำแผนการลงทุนของตัวเองอย่างเป็นระบบ
37. วางแผนลงทุนด้านอื่น ๆ เช่น สุขภาพ ความรู้
38. ลงทุนอะไรแล้วนอนไม่หลับ อย่าเพิ่งลงทุน
39. ลงทุนในสิ่งที่ตัวเองเข้าใจ
40. ตั้งเป้าเพิ่มการเติบโตของพอร์ตให้ชนะตลาด
41. รู้จัก Cut Loss เมื่อลงทุนผิดทาง
42. เพิ่มสัดส่วนเงินออม PVD
43. ปรับพอร์ตทุกครึ่งปี
44. สำรวจพอร์ตทุก ๆ เดือน
45. วางแผนความคุ้มครองทรัพย์สิน หนี้สิน ชีวิต และสุขภาพ
46. มีวินัย อดทน ทำตามแผนการของตัวเอง
47. ไม่เล่นนอกเกมที่ตัวเองไม่ถนัด ไม่รู้ไม่เข้าใจ
48. รู้จักและเข้าใจสินทรัพย์ที่จะลงทุนให้หลากหลายมากขึ้น
49. รู้จักตัวเองให้มากขึ้น อะไรคือเป้าหมาย อะไรคือความพอใจ
50. เมื่อมีพอแล้ว รู้จักแบ่งปันเพื่อคนอื่น
51. ส่งต่อความรู้ที่ดี
52. อย่าหยุดที่จะพัฒนาตัวเองเป็นนักลงทุนที่ดี
1,000,000 บาท ของคุณจะงอกเงยได้มากแค่ไหน? เคยสงสัยไหมว่าหากฝากเงินไว้กับบัญชี FIN SAVE by KKP จะให้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร? บทความนี้จะพาทุกคนไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชี ‘FIN SAVE by KKP’ พร้อมคำนวณดอกเบี้ยให้เห็นกันชัด ๆ ว่า หากฝากเงินไว้กับ FIN SAVE by KKP จำนวน 1,000,000 บาท เงินของคุณจะเติบโตได้เท่าไรใน 1 ปี และทำไมบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นี้จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในยุคนี้? มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลย!
‘FIN SAVE by KKP’ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่จะเชื่อมต่อโลกการลงทุนในที่เดียวบนแอปพลิเคชัน Finnomena ช่วยคุณจัดการชีวิตการเงินให้ง่ายขึ้น แยกบัญชีเงินลงทุนออกจากบัญชีใช้จ่ายประจำวันชัดเจน หมดปัญหาเงินปนกันจนเก็บไม่อยู่ พร้อมให้เงินงอกเงย รับดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี* ระหว่างพักเงินรอลงทุน สะดวก ปลอดภัย มั่นใจได้ ดูแลเงินฝากของคุณโดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP คำนวณดอกเบี้ยทุกวันตั้งแต่บาทแรกในรูปแบบขั้นบันได และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง (มิถุนายน และธันวาคม) ดังนั้นหากฝากเงินไว้กับบัญชี FIN SAVE by KKP จำนวน 1,000,000 บาท ตั้งแต่ต้นปีจะได้รับดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนจำนวน 4,958.90 บาท โดยนำดอกเบี้ยที่ได้รับมาฝากต่อในครึ่งปีหลังไม่ถอนออก จะทำให้ในเดือนธันวาคมได้รับดอกเบี้ยอีกจำนวน 5,081.09 บาท รวมดอกเบี้ยที่ได้รับทั้งสิ้นตลอด 1 ปี เป็นจำนวน 10,040 บาท
*อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรกำหนด (อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี สำหรับยอดฝากส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท)
หากคุณกำลังมองหาบัญชีเงินฝากที่จะทำให้ชีวิตการเงินของคุณสะดวกขึ้น จัดการทั้งเงินฝากและเงินลงทุนได้ครบจบในที่เดียว บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP คือคำตอบ! ดาวน์โหลดแอปฯ Finnomena และเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ได้เลย https://partner.finnomena.com/kkp/landing
หากพบปัญหาเกี่ยวกับการเปิดบัญชีไม่สำเร็จหรือบริการทางบัญชีเพิ่มเติม โปรดติดต่อ KKP Contact Center โทร 02-165-5555 กด 5 ต่อจากนั้น กด 1 เวลา 07.00-20.00 ของทุกวัน
หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน Finnomena Application โปรดติดต่อ 02-026-5100 เวลา 09.00 – 17:00 ทุกวันทำการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
คำเตือน:
วงเงินฝาก | อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี) |
ไม่เกิน 500,000 บาท (A) | 0.40% |
ส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท (B) | 1.60% |
ส่วนที่เกิน 2,000,000 (C) | 0.40% |
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย (A) = 0.40%, (B) = 0.40%-1.30%, (C) 0.40%-1.30%
กรณีที่ 1: ฝากเงิน 1,500,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP
กรณีที่ 2: ฝากเงิน 3,000,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP
หุ้น Tesla (TSLA) พุ่งขึ้นเกือบ 5% ในช่วงเช้าวันนี้ (15 มกราคม 2025) โดยได้รับแรงสนับสนุนจากข้อมูลการขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่เพิ่งเปิดเผย รวมถึงการคาดการณ์เชิงบวกจากนักวิเคราะห์ใน Wall Street
ล่าสุดนักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley ได้ปรับเพิ่มเป้าราคาหุ้น โดยมองว่า บริการเครือข่าย (Network Services) ของ Tesla จะเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนมูลค่าของบริษัทในปัจจุบัน
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Adam Jonas นักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley ได้ปรับเพิ่มเป้าราคาหุ้น TSLA จาก 400 ดอลลาร์เป็น 430 ดอลลาร์ โดยคงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ Overweight และยังคงมองว่า Tesla เป็นหนึ่งในหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตสูงที่สุดในตลาด
การปรับเพิ่มเป้าราคาครั้งนี้สะท้อนถึงการขยายตัวในด้านการเก็บข้อมูล การใช้หุ่นยนต์ การจัดเก็บพลังงาน และการพัฒนาเทคโนโลยี AI ซึ่งทำให้ Tesla ยังคงเป็นผู้นำในตลาดยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ
Jonas ระบุว่า ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาเริ่มสะท้อนถึงการขยายตัวของการทำงานร่วมกันระหว่าง Tesla และ AI รวมถึงข้อได้เปรียบของบริษัทในด้านการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยในปี 2025 เขาคาดว่า ตลาดจะให้ความสำคัญกับการผสมผสานทักษะเฉพาะตัวของ Tesla ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท แม้จะมีความท้าทายในตลาด EV
Morgan Stanley ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของบริการเครือข่าย Tesla ซึ่งรวมถึงการชาร์จไฟด้วย Supercharger และการอัพเกรดซอฟต์แวร์ โดยคาดว่าในปี 2030 บริการเครือข่ายจะมีผลกระทบกับ EBITDA ของ Tesla ประมาณ 1 ใน 3 และจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 60% ภายในปี 2040
ทั้งนี้มูลค่าของบริการเครือข่ายปัจจุบันอยู่ที่ 168 ดอลลาร์ต่อหุ้น
นอกจากนี้ Jonas ยังได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์กรณี Bull Case ของหุ้น Tesla เป็น 800 ดอลลาร์ จากเดิมที่ 600 ดอลลาร์ โดยคาดว่า Tesla จะขายรถยนต์ได้ 7 ล้านคันภายในปี 2030 และจะมีกำไรขั้นต้นที่ 26%
ในกรณีนี้ธุรกิจรถยนต์ของ Tesla จะมีมูลค่า 130 ดอลลาร์ต่อหุ้น ขณะที่บริการเครือข่ายของ Tesla จะมีมูลค่า 263 ดอลลาร์ต่อหุ้น หรือคิดเป็น 33% ของเป้าราคา 800 ดอลลาร์
“แม้ว่าธุรกิจรถยนต์ยังคงมีความสำคัญ, แต่เรามองว่า AI ที่ฝังตัวในผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนมูลค่าของ Tesla ไปสู่ Bull Case ที่ 800 ดอลลาร์” Jonas กล่าว
ขณะที่มูลค่าการประเมินในกรณี Bear Case ของ Morgan Stanley อยู่ที่ 200 ดอลลาร์ต่อหุ้น โดยสะท้อนถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นและการยอมรับทางภูมิศาสตร์ที่ช้าลง
Finnomena Funds แนะนำ SCBNEXT(A) กองทุนรวมหุ้นทั่วโลก ที่เน้นลงทุนหุ้นด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ผ่านกองทุน ARK Next Generation Internet ETF ซึ่งเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคต เช่น 5G เทคโนโลยีเสมือนจริง และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในทุกอุปกรณ์
โดยปัจจุบันกองทุน SCBNEXT(A) มีหุ้น TSLA อยู่ประมาณ 12.23% (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มกราคม 2025)
อ้างอิง: Investor’s Business Daily, Yahoo Finance, Investing.com
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
ในสัปดาห์นี้มีตัวชี้วัดที่สำคัญอย่าง Core CPI ออกมา แต่ด้วยการที่ตอนนี้ตลาดได้มีการอยากให้ตัวเลขของ Core CPI ออกมาแย่ เพื่อเป็นแรงกดดันต่อ FED ในการลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในปลายเดือน ส่งผลให้พอมีตัวชี้วัดที่ออกมาดี ตลาดนั้นได้มีการ React ในด้านของราคาที่ลดลง อย่างไรก็ตาม หาก FED ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยในปลายเดือน ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือคริปโทฯ เองก็มีแนวโน้มที่จะมีการปรับตัวของราคาเช่นเดียวกัน ในสัปดาห์นี้ควรที่จะรอตัวเลขของ Core CPI ออกมาก่อน เพื่อที่จะตัดสินใจในการทำธุรกรรมในภายหลัง
Core PPI หรือ Core Producer Price Index คือ จะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาขายสำหรับสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตได้ขายโดยที่ไม่รวมถึงสินค้าประเภทอาหารและพลังงาน ดัชนีราคาผู้ผลิตจะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาจากมุมองของผู้ขาย เมื่อผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตสินค้าและบริการนั้นก็น่าจะเป็นไปได้มากว่าผู้ผลิตจะให้ผู้บริโภคแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นแทน ดังนั้นดัชนีราคาผู้ผลิตนี้จึงเชื่อว่าเป็นดัชนีสำคัญที่จะชี้วัดภาวะเงินเฟ้อของผู้บริโภค
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core PPI MoM มีแนวโน้มที่จะคงที่ที่ 0.2%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-producer-prices-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การคาดการณ์การคงตัวของ Core PPI แสดงให้เห็นถึงการไม่เปลี่ยนแปลงในด้านของสินค้าและบริการที่ไม่รวมอาหารและพลังงาน ในฝั่งของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงก็อาจจะช่วยเรื่องของความผันผวนได้บ้าง เพราะด้วยความที่ Core PPI ไม่ได้มีการส่งผลโดยตรงต่อสินทรัพย์เสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก Core PPI อาจไม่ได้มีมากเท่าตัวชี้วัดอื่น
Core CPI หรือ Core Consumer Price Index จะสามารถใช้ชื่อเรียกอีกอย่างได้คือ Core Inflation Rate หรือแปลว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก เนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน เหลือแต่รายการสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core CPI มีแนวโน้มที่จะคงที่ที่ 0.3%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-inflation-rate-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การคาดการณ์ในการที่ Core CPI มีแนวโน้มที่จะเท่าเดิม แสดงให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่กำลังคงที่ หรือเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างช้า ๆ จริง ๆ แล้วการที่ Core CPI มีการคงที่จะสร้างผลดีให้กับนักลงทุน แต่ด้วย Sentiment ของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงตอนนี้ทำให้ตลาดนั้นยังไม่ดี
Core Retail Sales MoM หรือ ดัชนียอดค้าปลีก เป็นการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายอดขายทั้งหมดในระดับการค้าปลีก ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญมากที่สุดที่บ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งคิดเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับ Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core Retail Sales มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 0.2% เป็น 0.4%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/retail-sales-ex-gas-and-autos-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การเพิ่มขึ้นของ Core Retail Sales แสดงให้เห็นถึงสภาพตลาดที่ยังคงมีการเติบโต โดยที่ยอดค้าปลีกนั้นเพิ่มขึ้นสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนได้ แต่ด้วยการที่ Core Retail Sales นั้นไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดคริปโทฯ ทำให้อาจไม่มีผลต่อราคาอย่างมีนัยสำคัญ
Credit from LayerGG
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
13 มกราคม
14 มกราคม
15 มกราคม
16 มกราคม
18 มกราคม
Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
ในส่วนของ Funding Rate สำหรับอาทิตย์นี้มีการปรับตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดมีความกังวลเรื่องของเงินเฟ้อ ที่อาจจะส่งผลให้การลดอัตราดอกเบี้ยของ FED สามารถทำได้น้อยกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ซึ่งการล้าง Funding Rate จากที่เคยร้อนแรงในช่วงหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ ถือว่าเป็นการปรับฐานที่ค่อนข้างดีต่อตลาด
Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest
ในฝั่งของ Bitcoin Futures Open Interest มีการปรับฐานลงจากยอด All Time High ซึ่งสอดคล้องกับราคาและข้อมูลอื่น ๆ กล่าวคือ นักลงทุนมีการ Risk-off หรือปิดสถานะลงไปบ้าง เนื่องจากตลาดเกิดการปรับฐาน อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพใหญ่ Open Interest ของ Bitcoin ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก
Source : https://farside.co.uk/?p=997
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลเข้าสุทธิ 312.8 ล้านเหรียญ นับว่าเป็นสัปดาห์ที่มี Inflow ค่อนข้างน้อย และมีการขายของนักลงทุนกลุ่มนี้ในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการประกาศตัวเลขแรงงานสหรัฐฯ ที่บ่งบอกว่าตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง ส่งผลให้ตลาดลงทุนกังวลเรื่องของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยิ่งขึ้นไปอีก เพราะอาจจะส่งผลให้ FED ลดดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้เกิดการเทขายสินทรัพย์เสี่ยง
Source : https://farside.co.uk/?p=1518
ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสเงินไหลออกทั้งสิ้น 186 ล้านเหรียญ แสดงถึงแนวโน้มเชิงลบต่อ Ethereum เล็กน้อย ซึ่งเป็นภาพเดียวกันกับ Bitcoin Spot ETF และตลาดคริปโทเคอร์เรนซีโดยรวม ที่ยังอยู่ในช่วงของการ Sideways และรอคอยปัจจัยบวกที่จะทำให้นักลงทุนกลับมา Risk-On มากขึ้น
ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีโดยรวมมีการปรับฐานเล็กน้อยในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปี 2025 จากข่าวเรื่องการกีดกันการค้าของสหรัฐฯ และการประกาศตัวเลขแรงงาน ที่ส่งผลให้ตลาดมีความกังวลเรื่องของเงินเฟ้อที่อาจจะเร่งตัวกลับขึ้นมา และส่งผลกระทบให้ FED ไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ 2 ครั้งในปีนี้ เหมือนกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้
สภาพตลาดดังกล่าวทำให้นักลงทุนหลายคนเกิดคำถามว่า ช่วง Bull Run ของตลาดคริปโทเคอร์เรนซีจบลงแล้วหรือไม่ แต่หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีต จะพบว่าปัจจุบันเพิ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของ Phase 2 เท่านั้น โดยตลาดคริปโทเคอร์เรนซีสามารถถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือ
1.) Bitcoin ให้ผลตอบแทนมากกว่า Altcoins
2.) Altcoins ให้ผลตอบแทนมากกว่า Bitcoin
หากสังเกตจากกราฟ จะพบว่า Phase 2 จะเป็นช่วงที่ราคาของ Bitcoin ปรับตัวสูงขึ้น หากแต่ Altcoins ปรับตัวขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่า
ตัวเลขในปัจจุบันเริ่มแสดงให้เห็นถึง Momentum การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคา Altcoins แล้ว โดยที่ Altcoin มีสัดส่วนในการเติบโตคิดเป็น 52% ของทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวสามารถพุ่งขึ้นไปได้ถึง 67% ใน Cycle ก่อน ๆ เลยทีเดียว ประกอบกับการที่ราคาของ Bitcoin ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกัน ทำให้โอกาสในการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซียังมีอีกมาก
ส่วนการปรับฐานที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ของตลาด มองว่าเป็นแค่ปัจจัยในระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากหากมองเรื่องของ Global Liquidity ในปี 2025 จะพบว่า US Treasury จำเป็นต้องทำการ Refinance 1 ใน 3 ของหนี้สินทั้งหมด ซึ่งจำเป็นต้องทำในสภาพเศรษฐกิจที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ประกอบกับการที่ปริมาณหนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะถึงขีดจำกัดเพดานหนี้ในเดือนมกราคม ทำให้มีโอกาสที่จะเกิด Emergency Liquidity Injection
นอกจากนี้ ความกังวลในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีของสหรัฐฯ ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ FED ยังคงมีเครื่องมืออย่าง Reverse Repo Facility หรือการทำ QE ซึ่งเป็นการอัดฉีดเงินเข้าไปในตลาด ที่สามารถควบคุม Bond Yield ดังกล่าวไม่ให้ปรับตัวเพิ่มสูงจนเกินไป และไปกดดันสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ
by Cryptomind Advisory
$BTC ในภาพรวมอยู่ในรูปแบบ Sideway Down โดยแนวรับที่สำคัญอยู่ที่บริเวณ $92,000 ซึ่งจากแนวต้าน Trendline ใน RSI ที่กดต่ำลงก็มีแนวโน้มว่าราคาจะลงไปต่ำกว่าแนวรับดังกล่าวได้ในช่วงเวลาข้างหน้า อย่างไรก็ตามหากราคานั้นไม่ลงไปต่ำกว่า $92,000 ก็มีแนวโน้มที่จะกลับตัวสร้างชุดสะสมเพื่อขึ้นต่อได้ในช่วงเวลาข้างหน้านี้แต่อาจจะเริ่มจากการ Sideway ออกไปก่อนในช่วงแรก
แนวต้าน : $96,000 | $100,000 | $108,000
แนวรับ : $92,000 | $87,000 | $84,000
$ETH มีการทำ Lower Low และเคลื่อนที่เป็นขาลงต่อในตอนนี้ โดยแนวรับถัดไปนั้นจะอยู่ที่บริเวณ $3,000 และ $2,800 ในส่วนของ RSI นั้นยังไม่มีสัญญาณกลับตัวเด่นชัดทำให้ในระยะสั้นอาจจะยังคงดำเนิน Trend ขาลงต่อไปได้ มุมมองในการจะกลับเป็นขาขึ้นอีกครั้งคงต้องรอการพักตัวของราคาซึ่งอาจเกิดขึ้นตามแนวรับ รวมถึงสัญญาณการกลับตัวของราคาที่จะสร้างโอกาสขึ้นต่อได้ต่อไป
แนวต้าน : $3,250 | $3,400 | $3,700
แนวรับ : $3,000 | $2,800 | $2,400
by Cryptomind Advisory
Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมาก ๆ ต่อตลาดคริปโทฯ โดยโดนัลด์ ทรัมป์ และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้และสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยังไม่สู้ดีนัก จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
BITCOIN 50%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP 30%
SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS 10%
STABLECOINS 10%
Merkle Capital
ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-13th-17th-January-2025
คำเตือน
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
Highlight (เลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทองคำ Bitcoin และดอลลาร์ ได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ ด้วยลักษณะเฉพาะตัวที่สามารถตอบโจทย์การลงทุนในแต่ละสภาวะตลาดที่แตกต่างกัน
ทองคำถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนหรือมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
Bitcoin ได้รับความนิยมมากขึ้นในฐานะสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีศักยภาพในการเติบโต แต่ก็แลกมาด้วยความผันผวนที่สูงมาก
ดอลลาร์ ก็ยังคงเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ และเป็นสกุลเงินสำรองโลก
คำถามที่น่าสนใจก็คือ สินทรัพย์ใดจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในปี 2025 นี้?
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/12/2024
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (เส้นสีดำ) และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี (เส้นสีฟ้า) แสดงให้เห็นถึงการอ่อนค่าของดอลลาร์ในช่วง Trump 1.0 (ปี 2017 เป็นต้นไป) ขณะที่ Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งสวนทางกับทฤษฎีปกติที่คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นเมื่อ Yield เพิ่มขึ้น
ในกรณีของ Trump 2.0 แนวโน้มนี้อาจกลับกัน โดยดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงพร้อมกับการลดลงของ Bond Yield ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินและการคลัง รวมถึงการขาดดุลงบประมาณที่อาจกระทบทั้ง Bond Yield และค่าเงินดอลลาร์
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/12/2024
ในช่วง Trump 1.0 หลังปี 2017 สัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากระดับประมาณ 65% เหลือเพียง 58% ขณะเดียวกันสกุลเงินหลักอื่น ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ยูโรที่ปรับตัวขึ้นจาก 19% เป็น 20% เยนที่เติบโตอย่างชัดเจน และปอนด์ที่มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงนี้อาจมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น นโยบาย “America First” ของอดีตประธานาธิบดี Trump ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในดอลลาร์ การกระจายความเสี่ยงของธนาคารกลางทั่วโลก และความไม่แน่นอนที่เกิดจากสงครามการค้าและสถานการณ์การเมืองในสหรัฐฯ
ผลกระทบในระยะยาวสะท้อนถึงแนวโน้มที่ดอลลาร์ถูกลดบทบาทในฐานะสกุลเงินสำรองอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างระบบการเงินโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยมีการกระจายตัวของสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศมากขึ้น และลดการพึ่งพาดอลลาร์
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/12/2024
ในช่วงก่อนปี 2008 ปริมาณทองคำสำรองทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดจาก 1,150 ล้านออนซ์ในปี 1991 มาอยู่ที่ประมาณ 950 ล้านออนซ์ในปี 2008 ขณะเดียวกัน ราคาทองคำในช่วงดังกล่าวค่อนข้างทรงตัวในกรอบ 200 – 400 ดอลลาร์ต่อออนซ์
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นหลังนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในปี 2008 ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มสะสมทองคำสำรองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณทองคำสำรองปรับตัวจากระดับ 950 ล้านออนซ์ จนทะลุระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ 1,150 ล้านออนซ์ และปัจจุบันยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนแตะประมาณ 1,170 ล้านออนซ์
ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนแนวโน้มนี้ ได้แก่ นโยบาย QE ที่กระตุ้นให้ธนาคารกลางกระจายความเสี่ยงจากสกุลเงินหลัก ความไม่แน่นอนในระบบการเงินโลก และราคาทองคำที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากระดับ 400 ดอลลาร์เป็นมากกว่า 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินทรัพย์ปลอดภัย
พฤติกรรมการถือครองทองคำของธนาคารกลางทั่วโลกหลังวิกฤตปี 2008 ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ส่งผลให้ปัจจุบันปริมาณทองคำสำรองแตะระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ และแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไปอย่างมั่นคง
Source: Finnomena Funds, World Gold Council as of 16/12/2024
จากข้อมูลการซื้อขายทองคำในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มประเทศที่มีการซื้อทองคำมากที่สุดคือจีนและรัสเซีย ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของทั้งสองประเทศในตลาดทองคำ ในทางกลับกันกลุ่มประเทศที่ขายทองคำมีแนวโน้มลดลง บ่งชี้ถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของทองคำในฐานะสินทรัพย์สำรอง โดยเวเนซุเอลาเป็นผู้ขายรายใหญ่ที่สุดในช่วง 2015 – 2017
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/12/2024
ความสัมพันธ์ระหว่างการถือครองทองคำใน ETF และ Real Yield ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มสำคัญในตลาดทองคำ โดยเมื่อ Real Yield ลดลง การถือครองทองคำใน ETF จะเพิ่มขึ้น
และในทางกลับกัน ช่วงปี 2020 การถือครองทองคำใน ETF พุ่งสูงสุดเมื่อ Real Yield ลดลงอย่างมาก ขณะที่ปี 2022-2024 การถือครองทองคำลดลงเมื่อ Real Yield เพิ่มขึ้น
ในอนาคต หาก Real Yield ยังอยู่ในระดับสูง การขายทองคำจาก ETF อาจชะลอตัวลง และอาจช่วยสนับสนุนการทรงตัวหรือฟื้นตัวของการลงทุนในทองคำผ่าน ETF ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุนในทองคำ
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 12/12/2024
ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2024 มีการไหลเข้าของเงินทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยรวมยังคงเป็นบวก แม้ว่าจะมีบางช่วงที่เป็นลบ แต่ Flow โดยรวมมีขนาดใหญ่และต่อเนื่องกว่าช่วงก่อนหน้า
หลังเริ่มเปิดซื้อขายในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 Ethereum ETF เริ่มเห็นการไหลเข้าที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงท้ายปี โดยการไหลเข้าเริ่มมีความต่อเนื่องมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงแรกที่เพิ่งเปิดตัว
ทั้ง Bitcoin และ Ethereum Spot ETF แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการไหลเข้าที่แข็งแกร่งขึ้นในช่วงปลายปี ซึ่งสะท้อนถึงความสนใจของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่อเครื่องมือการลงทุนที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย อีกทั้งยังอาจเป็นสัญญาณของการยอมรับคริปโตเคอร์เรนซีในวงกว้างมากขึ้นในตลาดการเงินโลก
Source: Finnomena Funds, Glassnode as of 12/12/2024
ในปี 2024 Hash Rate ของ Bitcoin อยู่ที่ 804*10¹⁸ hash/sec ซึ่งคิดเป็น 37% ของ Total Hash ที่เคยเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ของ Bitcoin การเติบโตนี้สะท้อนถึงกิจกรรมการขุดที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเห็นได้จากแท่งสีส้มที่มีความถี่และความสูงเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของ Hash Rate มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวขึ้นของราคา Bitcoin แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักขุดและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการขุดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
รัฐบาล Trump มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น ผ่านนโยบายที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งจะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัลในสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น
หลาย ๆ นักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนได้ตั้งราคาเป้าหมายของ Bitcoin ไว้ต่างกันไปตามปัจจัยที่พิจารณา ดังนี้
ให้ราคาเป้าหมาย Bitcoin ในสิ้นปี 2025 ที่ 200,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 6.8 ล้านล้านบาท) โดยอ้างอิงแรงหนุนหลักจากการที่ Trump ชนะการเลือกตั้ง, การเลือกประธาน SEC คนใหม่ที่น่าจะทำให้การใช้งานคริปโตเคอร์เรนซีหลากหลายขึ้น, และความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Bitcoin Strategic Reserve
ให้ราคาเป้าหมาย Bitcoin ในสิ้นปี 2030 โดยแยกเป็น Bull Case (1.48 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 51 ล้านบาท), Base Case (682,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 23.5 ล้านบาท) และ Bear Case (258,500 ดอลลาร์ หรือประมาณ 8.9 ล้านบาท) โดยเชื่อว่ารัฐบาล Trump จะช่วยให้การใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลกว้างขวางขึ้น
ให้ราคาเป้าหมาย Bitcoin ในสิ้นปี 2025 ไว้ที่ 180,000 ดอลลาร์ (หรือประมาณ 6.2 ล้านบาท) โดยพิจารณาจากยอดค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin และยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องที่เพิ่มสูงขึ้น
ให้ราคาเป้าหมาย Bitcoin ในสิ้นปี 2025 ที่ 250,000 ดอลลาร์ (หรือประมาณ 8.6 ล้านบาท) โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาล Trump น่าจะมีความเป็นมิตรกับสินทรัพย์ดิจิทัล มากกว่ารัฐบาลไบเดน และมีความเป็นไปได้ที่จะมี Bitcoin Strategic Reserve เกิดขึ้น
ดอลลาร์มีแนวโน้มเข้าสู่รอบขาลงอีกครั้ง คล้ายกับช่วง Trump 1.0 และในระยะยาวบทบาทของดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองหลักอาจลดลง จากการกระจายตัวของสกุลเงินสำรองทั่วโลก
ดังนั้น เราจึงมีมุมมอง Slightly Negative
ทองคำยังคงได้รับแรงหนุนจากการซื้อสะสมของธนาคารกลางทั่วโลก ขณะที่แรงซื้อทองคำผ่าน Gold ETF มีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจาก Real Yield ที่อยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ทองคำอาจได้รับประโยชน์จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงและความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) แม้ว่าราคาทองคำที่อยู่ในระดับสูง
เราจึงมีมุมมอง Slightly Positive โดยเฉพาะการถือทองคำในสกุลเงิน USD เป็น Hedge เช่นกองทุน SCBGOLDH
ทั้ง Bitcoin และ Ethereum ETF แสดงแนวโน้มการไหลเข้าที่แข็งแกร่งในช่วงปลายปี 2024 สะท้อนถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนในเครื่องมือการลงทุนที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย
นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของ Hash Rate และการสนับสนุนจากรัฐบาล Trump ช่วยเสริมความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้มีการคาดการณ์ราคาของ Bitcoin ที่สูงขึ้นในอนาคต โดยมีเป้าหมายในปี 2025 อยู่ระหว่าง 180,000-250,000 ดอลลาร์
เราจึงมีมุมมอง Positive กับ Bitcoin
สำหรับผู้ที่สนใจสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนใน Blockchain ETF ซึ่งมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางใกล้เคียงกับ Bitcoin
โดยกองทุนแนะนำ ได้แก่ KT-BLOCKCHAIN-A และ ASP-DIGIBLOC
คำเตือน: กองทุนนี้มีการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีความผันผวนของราคาสูง โดยอาจปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนเริ่มต้น และอาจทำให้ขาดทุนได้ | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
วันนี้ (14 มกราคม 2025) ตลาดหุ้นจีน (CSI 300) และดัชนี HSCEI หรือหุ้น H-Share ของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 2% หลังมีรายงานว่าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์กำลังพิจารณาแนวทางปรับขึ้นภาษีนำเข้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจปรับเพิ่มขึ้นเดือนละ 2%- 5% เพื่อเสริมสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรอง พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงจนเกินไป
แผนดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศมาตรการเก็บภาษีขั้นต่ำสำหรับสินค้านำเข้าในอัตรา 10%-20% และอาจเพิ่มภาษีนำเข้าจากจีนสูงถึง 60% อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการพิจารณา โดยมีนายสก็อตต์ เบสเซนต์ ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เป็นส่วนหนึ่งในทีมที่ปรึกษาในแผนนี้
Finnomena Funds มองว่า การปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นจีนเป็นเพียง Sentiment ในช่วงสั้น อย่างไรก็ตามความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯอาจเพิ่มขึ้นในอนาคตหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯในปีนี้
เราจึงแนะนำให้ “ลดสัดส่วน” การลงทุนในหุ้นจีน แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มเห็นปริมาณธุรกรรมที่ฟื้นตัวบ้าง แต่ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นจีนในอนาคต ขณะที่มูลค่า (valuation) ตลาดหุ้นจีนในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ นอกจากนี้ยังต้องจับตาการรายงาน GDP 4Q24 ของจีนในวันศุกร์ที่ 17 ม.ค. โดยตลาดคาดขยายตัว 5.0% YoY
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Bloomberg รายงานว่า รัฐบาลจีนกำลังพิจารณาแผนสำรองให้ Elon Musk เข้าซื้อกิจการ TikTok เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกแบนในสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ศาลสูงสหรัฐฯ กำลังตัดสินว่าจะสนับสนุนกฎหมายที่กำหนดให้ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ในจีน ต้องขายกิจการ TikTok ในสหรัฐฯ ภายในวันที่ 19 มกราคมนี้หรือไม่
หาก ByteDance ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในสหรัฐฯ อาจถูกลงโทษหากยังคงให้การสนับสนุน TikTok ต่อไป
หากแผนดังกล่าวสำเร็จ Elon Musk จะเป็นทั้งผู้บริหาร X (ชื่อเดิม Twitter) และ TikTok ในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวยังคงอยู่ในขั้นตอนหารือเบื้องต้น และรัฐบาลจีนยังไม่ได้ตัดสินใจดำเนินการ
นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า ByteDance อาจไม่ทราบถึงแผนนี้ และยังไม่มีข้อมูลว่า Musk และ TikTok มีส่วนเกี่ยวข้องในการเจรจาใด ๆ
โดยตัวแทนจาก TikTok กล่าวกับสำนักข่าว CNBC ว่า
“เราไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อข่าวลือที่ไม่มีมูลได้”
ขณะที่แพลตฟอร์ม X ยังไม่ได้ตอบสนองต่อคำขอความคิดเห็นในประเด็นนี้
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลสูงสหรัฐฯ เปิดการพิจารณาคดีเกี่ยวกับกฎหมายที่อาจนำไปสู่การแบน TikTok โดยทีมกฎหมายของ TikTok โต้แย้งว่า
“กฎหมายดังกล่าวละเมิดสิทธิการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้ในสหรัฐฯ กว่า 170 ล้านคน”
แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ชี้ว่า ByteDance มีความเชื่อมโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงด้านความมั่นคง
ในขณะที่ศาลสูงมีแนวโน้มสนับสนุนรัฐบาล TikTok อาจต้องหันไปพึ่ง Donald Trump ซึ่งกำลังจะเริ่มดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีวาระที่ 2 ในวันที่ 20 มกราคมนี้
แม้ว่าเขาจะเคยสนับสนุนการแบน TikTok ในช่วงดำรงตำแหน่งสมัยแรก แต่ล่าสุดเขาได้เรียกร้องให้ศาลสูงชะลอการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเจรจาทางการเมือง
รายงานระบุว่า Trump เปลี่ยนท่าทีต่อ TikTok หลังพบกับ Jeff Yass มหาเศรษฐีและนักลงทุนหลักใน ByteDance ซึ่งยังมีหุ้นใน Truth Social แพลตฟอร์มโซเชียลของ Trump เอง
รัฐบาลสหรัฐฯ กังวลว่า TikTok อาจถูกรัฐบาลจีนใช้เป็นเครื่องมือสอดแนมและเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อ เนื่องจากแอปพลิเคชันนี้มีความเชื่อมโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
กฎหมายแบน TikTok ได้รับการสนับสนุนจากทั้ง 2 พรรคในสภาคองเกรส และลงนามโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งศาลสูงสุดก็มีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยกับจุดยืนของรัฐบาลในประเด็นนี้