1. Forced Sell คือ การถูกบังคับขายหุ้นทุกราคา จากการนำหุ้นไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน แล้วราคาหุ้นปรับตัวลงจนมีมูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ถือเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เราขาดทุนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งหากเกิดกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ก็อาจทำให้ตลาดตกใจ เทขายหุ้นตาม อย่างที่เห็นหุ้นดังหลายตัวร่วงจนติด Floor หลายวันติดต่อกัน
3. หลักการลงทุนทั่วไปแล้ว มีเงินออมเท่าไร ก็ควรนำมาลงทุนไม่เกินกว่านั้น แต่เชื่อไหมว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดต่างออกไป โดยเลือกใช้วิธี “ยืมเงิน” มาซื้อหุ้น
4. วิธีการยืมเงินมาซื้อหุ้น ทำได้โดยการเปิดบัญชีมาร์จิน หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “Credit Balance” โดยมีคอนเซปต์คือเราต้องใช้เงินตัวเองซื้อหุ้นเพียงส่วนหนึ่ง และอีกส่วนที่เหลือจะเป็นการกู้ยืมเงินจากโบรกเกอร์
5. แต่มีข้อแม้นิดนึงว่าก่อนซื้อหุ้น จะต้องมีการวางหลักประกันสำหรับชำระหนี้ เช่น หุ้นที่เราถือครองนั่นเอง ทั้งนี้ สัดส่วนที่ต้องวางหลักประกันอาจจะ 50:50, 60:40 หรือ 70:30 แล้วแต่ตกลง
6. ลองมาดูตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น สมมุตเรามีเงิน 100 บาท แต่เกิดอยากซื้อหุ้น A ที่มูลค่า 200 บาท เลยตัดสินใจใช้บัญชีมาร์จินซื้อหุ้น A โดยใช้เงินตัวเองซื้อ 100 บาท และกู้เงินจากโบรกเกอร์อีก 100 บาท (ใช้หุ้นของตัวเองในพอร์ตเป็นหลักประกัน)
7. ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เราก็จะได้กำไรจากการลงทุนนี้ง่าย ๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าใช้เงินตัวเองทั้งหมด ทว่าในทางกลับกัน ถ้าราคาหุ้นที่ซื้อปรับตัวลดลง หรือหุ้นที่เอาไปค้ำไว้ลงแรง ๆ เราจะเจอกับเหตุการณ์ที่เรียกว่า Margin Call
8. Margin Call หมายถึง การที่โบรกเกอร์ให้เรานำเงินสดหรือหุ้น มาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติม ในกรณีที่มูลค่าหลักประกันต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น อาจจะกำหนดไว้ที่ 30% หากหุ้นที่นำไปค้ำเจอแรงขายจนมูลค่าเหลือแค่ 20% เราก็ต้องหาเงินไปเติมให้กลับมาเป็น 30% เท่าเดิม ยิ่งลดก็ต้องยิ่งเติมเงินไปเรื่อย ๆ
9. แต่หากราคาหุ้นลงไปจนถึงจุดหนึ่ง โดยที่นักลงทุนไม่ได้นำเงินสดหรือหุ้นมาวางเพิ่ม โบรกเกอร์ก็จะมีสิทธิ์ Forced Sell บังคับขายหุ้นเพื่อนำมาชำระหนี้นั่นเอง
10. จะเห็นว่ามีผู้ถือหุ้นรายใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ถูก Forced Sell จากการนำหุ้นบริษัทไปค้ำประกัน เลยเถิดถึงขนาดทำให้บริษัทที่ตัวเองสร้างมากับมือหลายสิบปี มูลค่าหายวับได้ในพริบตา
วันนี้เราได้สรุปประมาณการเติบโตของกำไร (EPS Growth) vs. ความถูกแพง (Forward P/E) ของตลาดหุ้นทั่วโลกมากางรวมกัน
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 02/01/2025
ดังนั้น เราขอแบ่งตลาดที่น่าสนใจออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ถูกและดี: P/E ยังต่ำ และ EPS Growth ก็สูง ถือว่าน่าสนใจทั้งในแง่ของราคาหุ้น และคาดการณ์กำไรที่โตแรงในปี 2025-2026 เช่น หุ้นเวียดนาม (VN30) และหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI)
2. แพงแต่ดี: P/E เริ่มแพงกว่าค่าเฉลี่ย แต่มีการเติบโตที่ดีของ EPS Growth พูดง่าย ๆ ว่ามีศักยภาพที่จะทะยานไปข้างหน้า แต่ราคาหุ้นอยู่ในระดับที่ตึงตัว ต้องหาจังหวะเข้าลงทุน เช่น หุ้นอเมริกาขนาดใหญ่ (Nasdaq 100, S&P 500), หุ้นอินเดีย (NIFTY 50, SENSEX) และหุ้นโลก (MSCI ACWI)
3. ดีและไม่แพง: P/E อยู่ในระดับกลาง ๆ แต่ EPS Growth สูงมาก ซึ่งน่าสนใจตรงที่ราคาไม่ได้แพงจนเกินไป ทว่ามีการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นกว่าตลาดอื่น ๆ มากทีเดียว เช่น หุ้นอเมริกาขนาดเล็ก (Russell 2000)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 01/01/2024
แนวโน้มค่าเงินดอลลาร์มีโอกาสปรับตัวลดลงในปี 2025 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ 2 ประการ
1. นโยบายดอกเบี้ยของ Fed: ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตามเงินเฟ้อที่ลดลง โดยมีที่มาจาก 2 ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ราคาค่าเช่าบ้าน และราคาพลังงานที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประเด็นดังกล่าวจะทำให้ Fed มีความสบายใจในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และจะทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลง ส่งผลให้เงินดอลลาร์มีความน่าสนใจน้อยลง
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 01/01/2024
2. ผลกระทบจากนโยบายการค้าของ Donald Trump: การกลับมาใช้สงครามการค้า กำแพงภาษี หรือมาตราการกีดกันการค้าอื่น ๆ ของประธานาธิบดี Donald Trump จะทำให้สำรองในสกุลเงินดอลลาร์ของแต่ละประเทศมีอรรถประโยชน์ในเชิงตัวกลางการซื้อขายน้อยลง นำไปสู่การลดปริมาณเงินสำรอง และเพิ่มบทบาทของสกุลเงินอื่น ๆ แทน
โดนหากดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในปี 2017 ช่วง Trump 1.0 ประเด็นดังกล่าวมีส่วนทำให้ปริมาณเงินสำรองในสกุลดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลงจาก 65% เหลือเพียง 58% ในปัจจุบัน
Finnomena Funds เชื่อว่าประเด็นดังกล่าว จะมีบทบาทที่สำคัญทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนลงในปี 2025 จึงมีคำแนะนำลด Dollar Exposure ในพอร์ต All Balance ด้วยการสับเปลี่ยนมาลงทุนในกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ได้แก่ KKP GNP-H ใน All Balance
โดยคำสั่งสับเปลี่ยนระหว่างกอง KKP GNP มา KKP GNP-H จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
Source: Finnomena Funds as of 01/01/2024
จากคำแนะนำใน Finnomena Yearly Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนปี 2025: “ลงทุนพิชิตความเปลี่ยนแปลงฉากทัศน์โลก Winning Playbook amid Global Shifts” มีการแนะนำให้ Neutral สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในภาพรวมของดัชนี S&P500 แต่ยังคงแนะนำ Selective Buy หุ้นสหรัฐฯ ในกลยุทธ์อื่น ๆ เช่น US Small Caps, Value หรือ Equal Weight โดย Finnomena Funds มีมุมมอง No landing หรือมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถโตต่อไปได้ด้วยอัตราการเติบโตใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในปี 2025
จากมุมมองดังกล่าว จึงได้ทำการคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจปัจจุบันที่สุด ซึ่งมีคำแนะนำ Selective Buy กองทุน AFMOAT-HA โดยกองทุนหลัก VanEck Morningstar Wide Moat ETF มีกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่มี Valuation ไม่แพง ในลักษณะ Equal Weight
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 01/01/2024
Valuation ของ AFMOAT-HA ปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่ PE 18 เท่า น้อยกว่า Valuation ของ S&P500 ที่ 22 เท่า พร้อมกันนั้นนักวิเคราะห์ได้ทำการปรับประมาณการกำไรหุ้นใน AFMOAT-HA ขึ้นในเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมาทำให้ระดับ PE ลงมาอยู่ที่ค่าเฉลี่ยระยะยาว ซึ่งเป็นระดับที่มีความน่าสนใจ
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 01/01/2024
ผลตอบแทนของ AFMOAT-HA เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีที่มีลักษณะการลงทุนคล้ายคลึงกันหรือ S&P 500 Equal Weight สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว ด้วยกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนหลัก VanEck Morningstar Wide Moat ETF ที่เลือกหุ้นที่มี Valuation และ Upside ที่เหมาะสมอย่างมีวินัย
Finnomena Funds จึงมีคำแนะนำเพิ่มสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ ผ่านกองทุน AFMOAT-HA ในพอร์ต All Balance
Source: am.kkpfg.com as of 30/09/2024
Source: talisam.co.th as of 29/11/2024
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ในปี 2024 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกล้วนสร้างผลตอบแทนเป็นบวก โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐอเมริกาที่เป็นปีทองก็ว่าได้ แต่สำหรับปี 2025 นี้ ภาพการลงทุนอาจจะไม่ได้ง่ายแบบนั้น เพราะมูลค่าของตลาดที่ค่อนข้างตึงตัว รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของนโยบายเศรษฐกิจในยุค Trump 2.0 ซึ่งอาจจะสร้างความผันผวนที่สูงขึ้น
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนปีนี้เราควร “พิถีพิถัน” และ “เน้นคัดเลือก” ยิ่งขึ้น เช่น การมองหากองทุน Active ที่เฟ้นหาหุ้นแบบ High Conviction เฟ้นเฉพาะธุรกิจศักยภาพสูง ซึ่งหนึ่งในทางเลือกที่เราอยากจะพามารู้จักก็คือ ASP-USSMALL-A กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ยูเอส สมอล แคป โฟกัส โดยสรุปความน่าสนใจมาให้แล้วใน 10 ข้อ เข้าใจง่าย
Source: Kayne Anderson Rudnick as of June 2023
กองทุนมีนโยบายการลงทุนหุ้นขนาดเล็กในตลาดสหรัฐอเมริกา ผ่านกองทุนหลัก Virtus GF U.S. Small Cap Focus Fund เพื่อคาดหวังการเติบโตที่มั่นคงในระยะยาว พร้อมโอกาสรับผลตอบแทนสูง จากจำนวนบริษัทขนาดเล็ก (Russell 2000) ที่มีมากกว่าบริษัทใหญ่ (S&P 500) ถึง 6 เท่า
ด้วยจำนวนบริษัทขนาดเล็กที่มาก ทำให้การเข้าถึงข้อมูลหุ้นแต่ละตัวจำกัด โดยจำนวนนักวิเคราะห์ที่ครอบคลุม (Analyst Coverage) หุ้นแต่ละตัวเฉลี่ยน้อยกว่าหุ้นใหญ่ราว 4 เท่า เปิดโอกาสการค้นพบหุ้นที่มีศักยภาพสูงแต่ยังไม่เป็นที่นิยมในตลาด (Hidden Gem) ได้
Source: Asset Plus, Virtus Investment Partners as of June 2023
กองทุนหลักของ ASP-USSMALL-A มีกลยุทธ์การคัดเลือกหุ้นแบบ High Conviction ด้วยแนวทางการวิเคราะห์แบบ Bottom-Up เน้นลงทุนเฉพาะหุ้นที่มั่นใจในคุณภาพเพียง 15-35 ตัวเท่านั้น ไม่ใช่การกระจายไปทั่วตลาด เพื่อเป้าหมายเอาชนะดัชนีชี้วัด Russell 2000
Source: Asset Plus, Virtus Investment Partners as of June 2023
คาแรกเตอร์ของหุ้นในพอร์ตจะเป็นรูปแบบ “High Quality” ที่ตอบโจทย์ทั้งในแง่ Qualitative, Quantitative และ Valuation สำหรับจุดเด่นของหุ้นที่มีน้ำหนักเยอะในปัจจุบัน (30/11/2024) อาทิ
หน้าตาพอร์ตเมื่อแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรม จะให้น้ำหนักเยอะไปที่หุ้นในกลุ่มการเงิน 42.43% และกลุ่มอุตสาหกรรม 30.49% ถือเป็นสัดส่วนสูงกว่า Index จึงเป็นกองทุนหุ้นอเมริกาที่มีอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมเยอะ จึงเติบโตล้อไปกับเศรษฐกิจภายในประเทศ
หุ้นขนาดกลาง-เล็กในอเมริกา โดยเฉพาะกลุ่มการเงินและอุตสาหกรรม คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายของ Donald Trump เช่น การลดภาษีนิติบุคคล, การตั้งกำแพงภาษีทางการค้า และนโยบายสนับสนุนการผลิตสินค้าภายในประเทศ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทอเมริกัน และเป็นโมเมนตัมหนุนหุ้นขนาดเล็กในสหรัฐฯเหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี 2016 ที่ Donald Trump คว้าชัยชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยแรก
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 02/12/2024
การประเมินแนวโน้มการเติบโตของกำไร (Earning Growth) ของ Russell 2000 ในปี 2024 อยู่ที่ระดับ 54% ส่วนในช่วง 12 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 82% และในอีก 2 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 99% ซึ่งเป็นระดับการเติบโตที่โดดเด่นมากทีเดียว
Source: Bloomberg as of 31/12/2024
หุ้นเล็กสหรัฐฯ Laggard หุ้นขนาดใหญ่มากสุดในรอบ 25 ปี และ Valuation ของดัชนี Russell 2000 ยังไม่แพง โดยอยู่บริเวณ.ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย Fwd P/E ย้อนหลัง 5 ปีที่ระดับ 28.7 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่น่าสนใจในการลงทุน และเมื่อนำราคาของดัชนี Russell2000เทียบกับดัชนี S&P500 (Russell 2000 / S&P 500 ratio) พบว่าอยู่ที่ระดับ 0.38 เท่า ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 25 ปี สะท้อนว่าหุ้นขนาดเล็กมีราคาที่ถูกกว่าหุ้นขนาดใหญ่ค่อนข้างมาก ในขณะที่กำไรของหุ้นขนาดเล็กมีโอกาสพลิกนำหน้าหุ้นใหญ่ตั้งแต่ 1Q25 เป็นต้นไป
Source: Asset Plus, Virtus Investment Partners as of June 2023
กองทุนหลัก Virtus GF U.S. Small Cap Focus Fund สามารถสร้างผลตอบแทนได้เหนือกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรม อ้างอิงจากข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนจนถึงปี 2023 พบว่าเป็นกองทุนที่โดดเด่นทั้งในแง่ผลตอบแทน Sharpe Ratio (ผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยง) และ Alpha (การสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม)
ดังนั้น ASP-USSMALL-A จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่ต้องการลงทุนในหุ้นอเมริกา แต่กำลังมองหาทางเลือกใหม่ ๆ นอกจากหุ้นขนาดใหญ่ที่กระจุกและเติบโตมามากแล้วในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
คำแนะนำการลงทุน FundTalk Call ในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบสายสวน มองหาสินทรัพย์ที่คนอื่นมองข้าม แต่เต็มไปด้วยศักยภาพการเติบโตที่ดีในระยะยาว แนะนำกองทุน ASP-USSMALL-A ที่เน้นลงทุนหุ้นอเมริกาขนาดเล็ก โดยเฉพาะกลุ่มการเงินและอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้รับประโยชน์เต็มที่จากนโยบายของ Donald Trump
ข้อมูลอ้างอิง: Asset Fund, Virtus GF U.S. Small Cap Focus Fund
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. แอสเซท พลัส โทร. 02-672-1111 | หรือที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. โทร. 02-026-5100 และทาง LINE @FinnomenaPort
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 01/01/2024
แนวโน้มค่าเงินดอลลาร์มีโอกาสปรับตัวลดลงในปี 2025 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ 2 ประการ
1. นโยบายดอกเบี้ยของ Fed: ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตามเงินเฟ้อที่ลดลง โดยมีที่มาจาก 2 ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ราคาค่าเช่าบ้าน และราคาพลังงานที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประเด็นดังกล่าวจะทำให้ Fed มีความสบายใจในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และจะทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลง ส่งผลให้เงินดอลลาร์มีความน่าสนใจน้อยลง
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 01/01/2024
2. ผลกระทบจากนโยบายการค้าของ Donald Trump: การกลับมาใช้สงครามการค้า กำแพงภาษี หรือมาตราการกีดกันการค้าอื่น ๆ ของประธานาธิบดี Donald Trump จะทำให้สำรองในสกุลเงินดอลลาร์ของแต่ละประเทศมีอรรถประโยชน์ในเชิงตัวกลางการซื้อขายน้อยลง นำไปสู่การลดปริมาณเงินสำรอง และเพิ่มบทบาทของสกุลเงินอื่น ๆ แทน
โดนหากดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในปี 2017 ช่วง Trump 1.0 ประเด็นดังกล่าวมีส่วนทำให้ปริมาณเงินสำรองในสกุลดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลงจาก 65% เหลือเพียง 58% ในปัจจุบัน
Finnomena Funds เชื่อว่าประเด็นดังกล่าว จะมีบทบาทที่สำคัญทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนลงในปี 2025 จึงมีคำแนะนำลด Dollar Exposure ในพอร์ต GAR, All Balance, All Star และ All Defense ด้วยการสับเปลี่ยนมาลงทุนในกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ได้แก่ KKP GNP-H ใน All Balance, All Star, All Defense และ KF-CSINCOM ใน GAR
โดยคำสั่งสับเปลี่ยนระหว่างกอง KKP GNP มา KKP GNP-H และ KFSINCFX-A มา KF-CSINCOM จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
Source: Finnomena Funds as of 01/01/2024
จากคำแนะนำใน Finnomena Yearly Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนปี 2025: “ลงทุนพิชิตความเปลี่ยนแปลงฉากทัศน์โลก Winning Playbook amid Global Shifts” มีการแนะนำให้ Neutral สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในภาพรวมของดัชนี S&P500 แต่ยังคงแนะนำ Selective Buy หุ้นสหรัฐฯ ในกลยุทธ์อื่น ๆ เช่น US Small Caps, Value หรือ Equal Weight โดย Finnomena Funds มีมุมมอง No landing หรือมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถโตต่อไปได้ด้วยอัตราการเติบโตใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในปี 2025
จากมุมมองดังกล่าว จึงได้ทำการคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจปัจจุบันที่สุด ซึ่งมีคำแนะนำ Selective Buy กองทุน AFMOAT-HA โดยกองทุนหลัก VanEck Morningstar Wide Moat ETF มีกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่มี Valuation ไม่แพง ในลักษณะ Equal Weight
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 01/01/2024
Valuation ของ AFMOAT-HA ปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่ PE 18 เท่า น้อยกว่า Valuation ของ S&P500 ที่ 22 เท่า พร้อมกันนั้นนักวิเคราะห์ได้ทำการปรับประมาณการกำไรหุ้นใน AFMOAT-HA ขึ้นในเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมาทำให้ระดับ PE ลงมาอยู่ที่ค่าเฉลี่ยระยะยาว ซึ่งเป็นระดับที่มีความน่าสนใจ
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 01/01/2024
ผลตอบแทนของ AFMOAT-HA เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีที่มีลักษณะการลงทุนคล้ายคลึงกันหรือ S&P 500 Equal Weight สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว ด้วยกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนหลัก VanEck Morningstar Wide Moat ETF ที่เลือกหุ้นที่มี Valuation และ Upside ที่เหมาะสมอย่างมีวินัย
Finnomena Funds จึงมีคำแนะนำเพิ่มสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ ผ่านกองทุน AFMOAT-HA ในพอร์ต GAR, All Balance, All Star และ All Defense
Source: krungsriasset.com as of 29/11/2024
Source: am.kkpfg.com as of 30/09/2024
Source: talisam.co.th as of 29/11/2024
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Highlight (คลิกเลือกหัวข้อได้เลย)
ในปี 2025 โลกของ AI กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่อาจสร้างทั้งโอกาสและความท้าทายให้กับผู้เล่นในอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำอย่าง Semiconductor ไปจนถึงปลายน้ำที่เป็น Applications
บริษัทต่าง ๆ พยายามปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI และสร้างความได้เปรียบในตลาด
Source: Finnomena Funds, Nasdaq as of 18/12/2023
AI Value Chain หมายถึงการแบ่งส่วนของระบบนิเวศ AI ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ต้นน้ำ (Upstream) กลางน้ำ (Midstream) ปลายน้ำ (Downstream) ซึ่งแต่ละส่วนมีบทบาทและความสำคัญที่แตกต่างกันในระบบเศรษฐกิจ AI
ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตฮาร์ดแวร์ เช่น ชิปประมวลผลและเซมิคอนดักเตอร์ที่จำเป็นต่อการทำงานของ AI โดยมีบริษัทชั้นนำอย่าง Nvidia, AMD และ TSMC เป็นตัวแทนสำคัญ
ในปี 2025 ความต้องการฮาร์ดแวร์ AI คาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นจากการใช้งานใน Cloud Computing, รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุปกรณ์อัจฉริยะอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม แม้ความต้องการอาจจะเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนที่สูงขึ้นจากนโยบายการขึ้นภาษีในสหรัฐฯ อาจกดดันกำไรของบริษัทที่ไม่ใช่สัญชาติอเมริกัน เช่น TSMC หรือ ASML
ส่วนนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของ AI เช่น Cloud Computing และแพลตฟอร์มที่รองรับการพัฒนา AI โดยมีบริษัทใหญ่ เช่น Microsoft Azure, Google Cloud, และ Amazon Web Services (AWS) เป็นผู้นำในตลาด
ซึ่งการลงทุนสร้าง AI Infrastructure อย่างต่อเนื่องมีโอกาสทำให้กลุ่มนี้เติบโตได้ในระยะยาว แม้ในระยะสั้นจะต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน AI ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ChatGPT, Salesforce, และ CrowdStrike เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากพฤติกรรมการใช้งาน AI ในชีวิตประจำวัน
โดยบริษัทที่มีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเอง เช่น Salesforce หรือ Workday มีโอกาสในการสร้างกำไรจาก AI มากกว่าบริษัทที่ยังไม่สามารถพิสูจน์โมเดลธุรกิจได้
Source: Finnomena Funds, McKinsey as of 23/10/2024
McKinsey บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ระดับโลก ได้คาดการณ์แนวโน้มรายได้ในระยะยาวของอุตสาหกรรม Semiconductor ระหว่างปี 2022 ถึง 2040 โดยแบ่งเป็นสองสถานการณ์หลัก ได้แก่
นอกจากนี้ McKinsey ยังชี้ว่าอุตสาหกรรม Semiconductor มีศักยภาพเติบโตใน 4 ด้านหลัก ได้แก่
Source: Finnomena Funds, McKinsey as of 23/10/2024
ผลลัพธ์ที่ว่าเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ เช่น ลดเวลาการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย ตัวอย่างเช่น
บริษัทที่เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity พัฒนาแพลตฟอร์ม Falcon ซึ่งเป็นระบบป้องกันและตรวจจับภัยคุกคามไซเบอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI
ล่าสุดได้เปิดตัว Charlotte AI ซึ่งเป็น Generative AI สำหรับการสนทนา ที่ฝังตัวอยู่ในแพลตฟอร์ม Falcon เพื่อช่วยให้ลูกค้าสื่อสารกับ Falcon ได้เหมือนพูดคุยกับมนุษย์ และช่วย Automate ระบบต่าง ๆ ทำให้สามารถประหยัดเวลาทำงานได้ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน (อ้างอิงจากผล Survey ของ CrowdStrike)
ผู้นำด้าน CRM (Customer Relationship Management) ที่มีแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูลลูกค้า
ปัจจุบันพัฒนา Einstein ซึ่งเป็น Generative AI ที่เรียนรู้ข้อมูลของลูกค้าภายในแพลตฟอร์ต Salesforce CRM ซึ่งช่วยให้ค้นหา Insight ของข้อมูล และนำเสนอ Predictive Solution ให้กับลูกค้าได้
นอกจากนี้ในงบไตรมาสล่าสุด Salesforce ยังรายงานว่า 1 ใน 3 ของลูกค้ามีการใช้งาน Slack AI และค่าใช้จ่ายของ Slack AI สำหรับแพลตฟอร์ม Slack ที่ใช้เพื่อสื่อสารภายในองค์กรก็เติบโตกว่า 50% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)
บริษัทที่ให้บริการซอฟต์แวร์ด้าน HR และการจัดการทรัพยากรบุคคล โดยจากรายงานงบไตรมาส 3/2024 พบว่ากว่า 30% ของลูกค้า Workday มีการใช้งาน AI อย่างน้อย 1 ตัว และมีลูกค้าของ Workday ที่รายงานว่าสามารถลดอัตราลาออก (Turnover) ได้สูงสุดถึง 39%
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 06/12/2024
*Intel มีการคาดการณ์กำไรเป็นลบในปี 2024 ดังนั้นการเติบโตในปี 2025 จึงไม่มีความหมาย
*SK Hynix มีกำไรเป็นลบในปี 2023 ดังนั้นการเติบโตในปี 2024 จึงไม่มีความหมาย
กราฟนี้เปรียบเทียบการเติบโตของกำไร (Earnings Growth) ของบริษัทในห่วงโซ่คุณค่าของ AI ระหว่างปี 2024 และ 2025 แสดงถึงความแตกต่างในการเติบโตของแต่ละบริษัทในอุตสาหกรรม AI
โดยกลุ่ม Semiconductor แสดงการเติบโตที่สูงจากความต้องการชิป AI ขณะที่กลุ่ม AI Infrastructure และ AI Applications แสดงการเติบโตหลากหลาย ตามโมเดลธุรกิจและตลาดเป้าหมายที่แตกต่างกัน
อัตราการเติบโตของกำไรมีความผันผวนสูง บางบริษัทเติบโตดี ขณะที่บางบริษัทเติบโตต่ำหรือแม้แต่ติดลบ โดยเฉพาะในกลุ่ม AI Applications ที่มีการเติบโตหลากหลาย สะท้อนถึงความแตกต่างในผลิตภัณฑ์และบริการที่แต่ละบริษัทนำเสนอ
การเติบโตของ AI Value Chain ในปี 2025 อาจแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในผลการดำเนินงานของหุ้นในแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในปีที่ผ่านมา
Source: Finnomena Funds as of 06/12/2024
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 06/12/2024
*Earnings Growth N/A หมายถึง กำไรก่อนหน้านั้นเป็นลบ ดังนั้นตัวเลขนี้จึงไม่มีความหมาย
*Valuation S.D. N/A หมายถึง ข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับการคำนวณ
ในปี 2024 หุ้นในอุตสาหกรรม AI มีผลตอบแทนที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะกลุ่ม Semiconductor เช่น Nvidia (+192.9% YTD), TSMC (+81.3% YTD) และ Broadcom (+52.7% YTD) ซึ่งเป็นผู้นำในเทคโนโลยี AI Chip รองรับการเติบโตของ Data Center
ขณะที่กลุ่ม AI Applications เช่น Oracle (+76.6% YTD) และ Shopify (+46.5% YTD) ก็มีผลตอบแทนที่น่าสนใจจากความต้องการ AI Solutions ที่เพิ่มขึ้น
ด้านการปรับประมาณการกำไร (Earnings Revision) ปี 2025 กลุ่ม Semiconductor มีแนวโน้มเชิงบวก จากความต้องการที่ยังคงเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่ทุกบริษัทในกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มที่ดีเท่ากัน
โดย Nvidia +2.8% และ ASML +2.1% สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ AI ต้นน้ำ
ส่วนในกลุ่ม AI Applications เช่น Snowflake (+16.9%) และ Shopify (+10.0%) ได้รับการปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น
ขณะที่บางบริษัทเช่น Salesforce (-0.6%) และ Digital Realty Trust (-3.3%) ถูกปรับลดลง สะท้อนถึงความเสี่ยงที่บางบริษัทอาจไม่สามารถสร้างรายได้จาก AI ได้จริง
สำหรับการเติบโตของกำไร (Earnings Growth) ในปี 2025 กลุ่ม Semiconductor ยังคงเป็นหัวใจหลักของอุตสาหกรรม AI โดยคาดการณ์ Earnings Growth ของ Nvidia อยู่ที่ +46.2% และ AMD +50.3%
ขณะที่กลุ่ม AI Applications เช่น Salesforce (+10.9%) และ ServiceNow (+19.5%) มีแนวโน้มเติบโตจากการขยายการใช้งาน AI ในธุรกิจต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2025 Snowflake จะมีการเติบโตของกำไรที่ลดลง -16% สะท้อนถึงการแข่งขันที่ท้าทายในกลุ่ม Data Platform
ด้านการประเมินมูลค่า (Valuation) หุ้น Semiconductor อย่าง Nvidia และ AMD มีค่า Forward P/E 12 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 35.1 และ 28.4 ตามลำดับ ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง
ส่วนกลุ่ม AI Infrastructure ส่วนใหญ่มี Forward P/E 12 เดือนข้างหน้า อยู่ในช่วง 30 เท่า นำโดย Apple ที่ 32.4 เท่า ตามมาด้วย Microsoft ที่ 31.6 เท่า และ Amazon 31.1 เท่า ขณะที่ Alphabet อยู่ที่ 19.0 เท่า และ Meta 23.4 เท่า
โดย Apple, Microsoft และ Amazon มี P/E ใกล้เคียงกันที่ 31 – 32 เท่า แสดงว่าตลาดให้มูลค่าและความเชื่อมั่นต่อศักยภาพการทำกำไรของทั้ง 3 บริษัทในระดับที่ใกล้เคียงกัน
Alphabet และ Meta มี P/E ต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจสะท้อนว่าตลาดยังไม่เชื่อมั่นในศักยภาพด้าน AI ของ Alphabet และ Meta เท่ากับคู่แข่งในอุตสาหกรรม
ในกลุ่ม AI Applications เช่น Salesforce และ Workday มีค่า P/E สูงผิดปกติ สะท้อนถึงความคาดหวังที่สูงจากตลาด แต่ก็อาจทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว หากการเติบโตไม่เป็นไปตามคาด
บางบริษัทอย่าง Shopify ในกลุ่ม AI Applications มีค่า P/B สูงผิดปกติถึง 59.2 เท่า สะท้อนถึงการประเมินมูลค่าที่อาจสูงเกินจริง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงอย่าง Cloud และ Data Management
ทั้ง Biden และ Trump ต่างต้องการให้มีการผลิตชิปในสหรัฐฯ แต่จะใช้วิธีการต่างกัน
โดย Biden จะสนับสนุนการผลิตชิปผ่าน CHIPS Act โดยให้เงินสนับสนุนบริษัทต่างชาติ เช่น TSMC เพื่อลงทุนสร้างโรงงานในสหรัฐฯ
ในขณะที่ Trump จะใช้การขึ้นภาษีและนโยบายด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ เพื่อกดดันให้บริษัทมาตั้งฐานการผลิตในสหรัฐฯ
บริษัทต่างชาติ (Non-US) อย่าง ASML หรือ TSMC จะมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และอาจไม่มีทางเลือกนอกจากยอมจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทกลุ่มนี้ยังมีความสามารถในการส่งผ่านต้นทุนไปยังลูกค้า
ทำให้ผู้ออกแบบพัฒนา (Fabless) อย่าง Nvidia และ AMD มีต้นทุนที่สูงขึ้นตาม คำถามสำคัญคือบริษัทกลุ่มนี้จะสามารถส่งผ่านต้นทุน ไปยังลูกค้าได้มากแค่ไหน?
บริษัทกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน AI อย่าง Microsoft หรือ Google อาจต้องแบกรับต้นทุนบางส่วน เพราะแม้จะออกแบบชิปเองได้ แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อย
อย่างไรก็ตาม บริษัทกลุ่มนี้มีความสามารถในการส่งผ่านต้นทุนไปยังลูกค้าได้ เพราะมี Barrier to Entry สูงและผู้เล่นในตลาดน้อย
ต้นทุนในกลุ่มนี้จะสูงขึ้นจากการส่งผ่านต้นทุนของกลุ่ม AI Infrastructure โดยบริษัทที่มีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเอง เช่น Salesforce, Workday และ SAP มักจะมีอำนาจในการปรับราคาบริการได้มากขึ้น เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มีฟังก์ชันการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์ และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เฉพาะเจาะจง
ในทางกลับกัน บริษัทที่ไม่มีจุดเด่นของตัวเอง อาจเผชิญกับความยากลำบากในการปรับขึ้นราคา พราะลูกค้าสามารถหาทางเลือกอื่นได้ง่าย
ในครึ่งปีแรกของ 2025 ภาพรวมของ AI Value Chain ยังคงมีการเติบโตต่อเนื่อง แต่ก็มีความท้าทายที่บริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญ โดยไม่ใช่ทุกกลุ่มใน Semiconductor จะเป็นผู้ชนะเสมอไป ซึ่งอาจส่งผลให้กลุ่ม AI ต้นน้ำ ไม่สามารถทำผลตอบแทนได้ดีเท่าปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากการเก็บตั้งกำแพงภาษี และการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ
ในส่วนของ AI ปลายน้ำ แม้จะมีการใช้งาน AI ที่เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ AI จะสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้มากแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม บริษัทที่สามารถพัฒนาโมเดล AI ของตัวเองได้ เช่น Salesforce, Workday และ SAP ซึ่งใช้ Large Language Models (LLM) และต่อยอดเพื่อสร้าง AI solutions ให้กับลูกค้า ยังคงเป็นที่น่าสนใจในตลาด
ในขณะที่ AI กลางน้ำ ซึ่งประกอบด้วย Microsoft, Google, Amazon และ Meta ที่เป็นเจ้าของ LLM และ Cloud services ยังคงได้ประโยชน์จากลูกค้ากลุ่มปลายน้ำที่จ่ายเงินเพื่อนำ ChatGPT, Gemini, Claude และ Llama ไปใช้งาน
แม้ว่าอุตสาหกรรม Semiconductor จะยังคงเป็นกระดูกสันหลังสำคัญของเทคโนโลยีและ AI และคาดว่าจะมียอดขายเติบโต แต่ปัจจัยเสี่ยงจากการขึ้นภาษีของ Trump อาจทำให้ต้นทุนการผลิตชิปสูงขึ้น และยังไม่ทุกรายในกลุ่มนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตในทิศทางที่ดี
กลุ่ม AI Infrastructure ยังคงเติบโตต่อเนื่องจากการใช้งาน AI ที่เพิ่มขึ้นทั้งในแนวกว้างและลึก มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ แม้จะส่งผลกระทบต่อกำไรในระยะสั้น แต่คาดว่าเป็นปัจจัยชั่วคราวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตในระยะยาว
กลุ่ม AI Applications เติบโตจากการใช้งาน AI ที่เพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ด้าน โดยมีการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น แต่ไม่ทุกรายที่จะสามารถทำกำไรจาก AI ได้จริง และการแข่งขันในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง ทำให้หลายบริษัทอาจประสบปัญหาทั้งในด้านรายได้และการขยายตลาด
ในครึ่งแรกของปี 2025 คาดว่า เงินทุนจะเริ่มไหลไปยัง AI Application มากขึ้น เนื่องจากการใช้งาน AI ที่เพิ่มขึ้น และบางบริษัทเริ่มเห็นผลในการเพิ่ม Productivity จากการนำ AI มาใช้
ในส่วนของ Semiconductor พื้นฐานยังคงแข็งแกร่ง และมีการเติบโตของดีมานด์อย่างต่อเนื่อง แต่การเซอร์ไพรส์อาจน้อยลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการขึ้นกำแพงภาษี Tariff ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
สำหรับ หุ้นกลางน้ำ ที่เป็น AI Infrastructure ยังมีรายได้เติบโตจากการขยายตัวของการนำ AI ไปใช้จริง ซึ่งบริษัทในกลุ่มปลายน้ำยังคงต้องพึ่งพาบริษัทกลุ่มกลางน้ำในการสร้างสารตั้งต้นของเทคโนโลยี
ดังนั้น โฟกัสของการลงทุนในช่วงนี้ยังคงอยู่ที่ AI Infrastructure แต่ก็อาจมีการขยายการลงทุนใน AI Applications บ้าง เนื่องจากบางบริษัทในกลุ่มนี้อาจสร้างผลกำไรจาก AI ได้
ส่วนในกลุ่ม AI Applications ปลายน้ำ แม้ว่าจะมีการใช้งาน AI แต่ไม่ใช่ทุกรายที่สามารถสร้างกำไรจากการใช้งาน AI ได้
Finnomena Funds แนะนำกองทุน TISCOAIและ B-INNOTECH สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตในยุค AI โดยเน้นหุ้นที่มีความมั่นคงในระยะยาวและไม่ได้เน้นการลงทุนในหุ้นที่ต้องพึ่งพา AI Adoption อย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งสองกองทุนนี้มุ่งเน้นการลงทุนในหุ้น AI ครอบคลุมตั้งแต่บริษัทต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ปี 2024 เป็นปีที่ตลาดการเงินสร้างปรากฏการณ์มากมายอย่างที่นักลงทุนหลายท่านไม่ทันตั้งตัว
ดัชนีหุ้นสหรัฐ S&P 500 ทำผลตอบแทนรายปีสูงกว่า 20% ได้ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วง Dot Com ดัชนีดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นทำแตะ ระดับ 108 จุด เป็นรองแค่ทศวรรษ 1980, 2000, และล่าสุดในปี 2023 แต่เงินบาทกลับไม่อ่อนค่าลง นอกจากนั้น ยังมีบอนด์ยีลด์สหรัฐระยะยาวที่ปรับตัวขึ้น สวนทางกับการลดดอกเบี้ยนโยบายของ Fed และราคาทองคำที่ปิดปีใกล้จุดสูงสุดใหม่ แม้ดอกเบี้ยแท้จริงเป็นขาขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินเหล่านี้มาจากหลากหลายเหตุผล มีทั้งประเด็นที่ผมมองว่าจะเกิดขึ้นต่อ และประเด็นที่ถึงอาจถึงจุดเปลี่ยน นักลงทุนไทยจำเป็นต้องรู้ให้ทัน ว่าตลาดคาดการณ์อย่างไร และความไม่คาดฝันมีโอกาสเกิดขึ้นกับสินทรัพย์ไหน แค่ไหน
ตลาดมองว่า Fed จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง และบอนด์ยีลด์ถึงเวลาปรับตัวลง แม้ผมจะเห็นด้วยกับการลดดอกเบี้ย แต่ยีลด์อาจทรงตัวสูงต่อเนื่อง
ปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 4.50% ตลาดคาดว่าจะลดลงราว 3 ครั้งไปที่ระดับ 3.75% ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐอายุ 10 ปีคาดว่าจะปรับตัวลงไปที่ระดับ 4.1% จากปัจจุบันที่ระดับ 4.6%
ส่วนของดอกเบี้ย ผมไม่ได้มองต่างจากตลาดมากนัก เพราะจากถ้อยแถลงของ Fed ล่าสุด มีความเป็นไปได้มากที่ FOMC จะเลือกรอข้อมูลเพิ่มเติมของเศรษฐกิจหลังจากที่ Trump เข้ารับตำแหน่งก่อน เพราะความเสี่ยงสำคัญคือนโยบายการค้าที่คาดว่าจะสร้างความผันผวนให้กับทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ดี ในฝั่งบอนด์ ผมเชื่อว่าการที่ยีลด์ปรับตัวขึ้นช่วงท้ายปี 2024 เป็นประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม
สำหรับยีลด์ ไม่ใช่แค่ประเด็นการค้าเท่านั้นที่เป็นปัญหา แต่การเติบโตของเศรษฐกิจที่ดีเกิดคาด และการขาดดุลการคลังระดับสูง เป็นอีกสองปัจจัยหนุนให้ยีลด์ไม่ปรับตัวลง ทำให้ผมมองว่าอาจเป็นอีกปีที่ยีลด์สหรัฐระยะยาว อาจไม่ปรับตัวลงรวดเร็วเหมือนดอกเบี้ยระยะสั้น
ส่วนฝั่งไทยนั้น แนวโน้มอาจไม่ต่างจากปี 2024 มาก โดยคาดว่ากนง. จะปรับลดดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 1 ครั้ง ขณะที่บอนด์ยีลด์ไทยจะลดลงไปที่ระดับ 2.0%
ตลาดคาดว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลงและทองคำจะปรับตัวขึ้น ผมเองก็มองไม่ต่างกัน แต่สำหรับนักลงทุนไทยที่ลงทุนต่างประเทศ อาจต้องระวังความเสี่ยงเงินบาทแข็งเพิ่มขึ้นในปีนี้
ตลาดคาดว่า DXY จะอ่อนค่าลง 2% สู่ที่ระดับ 106 จุด ในปี 2025 ขณะที่ทองคำคาดว่าจะปรับตัวขึ้นต่อไปที่ระดับ 2,765 USD/oz
ในระยะสั้น ผมมองว่าปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับสกุลเงินหลัก ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่สูงกว่าทั่วโลก ขณะที่แนวโน้มนโยบายการเงินมีความเข้มงวดขึ้น พร้อมกับการที่สหรัฐมีตลาดหุ้นที่แข็งแกร่ง ทำให้เงินทุนกระจุกตัวในฝั่งสหรัฐ หนุนดอลลาร์แข็ง
ผมมองว่าแรงหนุนดอลลาร์เหล่านี้ จะคงอยู่ในช่วงครึ่งแรกของปี แต่มองว่านโยบายเศรษฐกิจฝั่งสหรัฐปีนี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแนวโน้ม ผมมองว่าข้อตกลงการค้าจะเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด ถ้าเกิดขึ้นจะเป็นเหตุผลหลักให้ดอลลาร์กลับตัว
ส่วนในฝั่งของทองคำ ผมเชื่อว่าแรงกดดันจากนโยบายต่างประเทศของ Trump สร้างความกังวลให้บรรดาธนาคารกลางทั่วโลกเรื่องการถือครองดอลลาร์เพิ่มเติม ในช่วงที่ยังไม่มีตัวแทนสินทรัพย์ปลอดภัยอื่น ทองคำจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด หนุนให้ราคาปรับตัวลงยากด้านเงินบาท แม้เศรษฐกิจและตลาดทุนไทยอาจไม่ได้ดึงดูดต่างชาติ แต่ด้วยทองคำที่แข็งค่าและเงินเฟ้อในประเทศที่ต่ำ เมื่อไหร่ที่ดอลลาร์กลับตัวลงและทองคำปรับตัวขึ้น เงินบาทจะกลายเป็นหนึ่งในสกุลเงินเด่นที่ต้องจับตาแน่นอน
ตลาดคาดว่าดัชนี S&P 500 จะปรับตัวขึ้นต่อจากกำไรที่เติบโต อย่างไรก็ดี ผมมองว่าความเสี่ยงสำคัญคือการเข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจเติบโต ที่ระดับมูลค่าของตลาดมักปรับตัวลง
เป้าหมาย S&P 500 เฉลี่ยปลายปี 2025 ของตลาดแบบ Top-down อยู่ที่ 6,500 และ Bottom-up ที่ 6,672 จุด บนการเติบโตของกำไร 12% ไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายและมีความเป็นไปได้สูง
อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของปี 2024 ของตลาดหุ้นสหรัฐ มาจากระดับ Long-term P/E ที่สูงขึ้นจาก 31x เป็น 36x ขณะที่ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 30ปี ซื้อขายกันแค่เพียง 24x และที่แพงกว่าปัจจุบันตั้งแต่มีการเก็บสถิติมา มีเพียงช่วงเดียวเท่านั้นคือ Dot Com ปี 1999 ที่ 38x คิดเป็น Upside จากระดับปัจจุบันเพียง 5%
ส่วนตัวผมมองว่า นโยบายเศรษฐกิจในปี 2025 ไม่ได้กดดันหุ้นใหญ่ แต่นโยบายหนุนที่หุ้นขนาดกลางและเล็ก มาในช่วงที่ตลาดหุ้นกระจุกตัวและแพง อาจส่งผลทางจิตวิทยาให้ตลาดขายทำกำไรหุ้นที่ทำผลตอบแทนดีในปีที่ผ่านมา และสลับการลงทุนไปกลุ่มอื่น จนระดับดัชนี อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากจากปัจจุบัน
โดยสรุป ผมมองว่าปรากฏการณ์ที่หลากหลายสินทรัพย์เคลื่อนไหวต่างจากอดีต หรือทำผลตอบแทนได้ดีผิดคาด มีเหตุผลรองรับและแทบทุกเหตุผล มาจากฝั่งสหรัฐดังนั้น ในปี 2025 ตลาดหรือผมจะคาดการณ์ถูกหรือผิด เศรษฐกิจสหรัฐ คือสิ่งที่ต้องจับตาที่สุดครับ
ผลตอบแทนของสินทรัพย์ในตลาดการเงินปี 2024, % USD
ที่มา: Bloomberg และ FSS
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศในปี 2568 “Easy E-Receipt 2.0” ให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท จากการซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ที่มี e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น
โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
เริ่ม 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568
(มีเวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง)
หากไม่แน่ใจว่าสินค้าหรือบริการอันไหนเข้าร่วมไม่เข้าร่วมบ้างให้สังเกตสัญลักษณ์นี้ก่อนซื้อ
สิ่งที่ขาดไม่ได้ e-Tax Invoice และ e-Receipt ต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี อากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการครับ
ที่มา: https://www.rd.go.th/…/use…/news/2567thai/news5_2568.pdf
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/easy-e-receipt-2-0/
ปกติผมจะพูดเรื่อง Factor Investing เน้นไปยัง Large Cap แต่จริง ๆ แล้ว Mid Cap ก็สามารถแยกเป็น Factor Investing ได้เหมือนกัน แล้วใครชนะละ?
ภาพที่ 1 : ผมแยกชัดเจนว่า Mid Cap Factor มีอะไรบ้าง
หลัก ๆ ก็จะมี แบบ Midcap Quality , MidCap Growth และ Midcap Value
ภาพที่ 2 US Factor Investing อะไรให้ผลตอบแทนมากที่สุด
จากที่เห็นเรียง 3 ลำดับแรก 1) momentum 2) Quality 3) Growth
ณ วันที่ · 13 กรกฎาคม 2024 จาก MSCI
ลองทดสอบย้อนหลังว่า Mid Cap Factor แบบใด
ให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือ Momentum, Quality และ Pure Growth เรียงลำดับกัน
ทดสอบจากปี 2015 to 2024(JUNE)
ทดสอบช่วง 10 ปีที่ผ่านมา Mid cap แบบ momentum ยังชนะ
กลยุทธ์การทดสอบ ใช้ ReSolve Adaptive Asset Allocation
ปกติโดยใช้ S&P500 Momentum, Growth และ Quality Factor
ปกติจะเลือกถือ 3 ตัวแล้ว Rebalance ทุกไตรมาส
Option 1 คือ +เพิ่ม XSMO(SmallCap Momentum Factor)
Option 2 คือ +เพิ่ม XMMO(Midcap Momentum Factor)
Option 3 คือ +เพิ่มทั้ง XMMO(Midcap Momentum Factor) และ XSMO(SmallCap Momentum Factor)
ทดสอบ 2017 ถึง June 2024
ผลคือ เพิ่มทั้ง 3 แบบให้ผลตอบแทนมากกว่า S&P500 โดยเฉพาะแบบที่ Option 3
ตอนนี้ทุกท่านก็ได้รู้แล้วว่าควรจะเลือกกองทุนแบบ Small หรือ Mid Cap ที่มี Factor แบบใดมาผสมในพอร์ตลงทุน เน้นเฉพาะไปยัง Factor momentum จะให้ผลดีกว่าแบบ Russell 2000 ETF อย่างเดียว
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
ปกติผมจะพูดเรื่อง Factor Investing เน้นไปยัง Large Cap แต่จริง ๆ แล้ว Small Cap ก็สามารถแยกเป็น Factor Investing ได้เหมือนกัน แล้วใครชนะละ?
ภาพที่ 1 : ผมแยกชัดเจนว่า Small Cap Factor มีอะไรบ้าง
หลัก ๆ ก็จะมี แบบ Small Cap Momentum, Small Cap Quality, Small Cap Growth และ Small Cap Value
ภาพที่ 2 US Factor Investing อะไรให้ผลตอบแทนมากที่สุด
จากที่เห็นเรียง 3 ลำดับแรก 1) momentum 2) Quality 3) Growth
ณ วันที่ · 13 กรกฎาคม 2024 จาก MSCI
ลองทดสอบย้อนหลังว่า Small Cap Factor แบบใด
ให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือ Momentum, Growth และ Quality เรียงลำดับกัน
ทดสอบจากปี 2015 to 2024(JUNE)
ทดสอบช่วง 10 ปีที่ผ่านมา Small cap แบบ Momentum ยังคงชนะ
ถ้าจะนำ Small Cap Factor แบบ momentum ที่ได้ผลตอบแทนดีที่สุด นำมาเป็นหนึ่งใน ETF ที่จะลงทุน
กลยุทธ์การทดสอบ ใช้ ReSolve Adaptive Asset Allocation ผลได้ตามตาราง การนำ Small Cap Factor แบบ momentum ช่วยให้ผลตอบแทนมากขึ้นกว่าใช้ Large Cap Momentum/Growth/Quality Factor อย่างเดียว
ทดสอบ 2017 ถึง June 2024
วันนี้ถ้ามีคนแนะนำลงทุนในกองทุนแบบ Small Cap คุณลองดูให้ลึกขึ้นว่า กองทุนแบบ Small cap นั้น มี Factor อะไรที่โดดเด่น
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลงในเดือนธันวาคมหลังถูกกดดันจากหุ้นสหรัฐฯที่มีน้ำหนักมาก โดยฝั่งของตลาดหุ้นสหรัฐฯเคลื่อนไหวในกรอบตลอดช่วงต้นเดือน ก่อนจะเคลื่อนไหวอย่างผันผวนหลังการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในช่วงปลายเดือน ทำให้ดัชนี S&P500 ปรับตัวลง -2.74% ขณะที่ Dow Jones ปรับตัวลงมากถึง -5.0% โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯถูกกดดันหลังการประชุม FOMC ประจำเดือนธันวาคมที่แม้คณะกรรมการจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 4.25-4.5% ตามที่คาดการณ์ แต่กลับส่งสัญญาณชะลอการลดดอกเบี้ยในปี 2025 เหลือเพียง 2 ครั้งจากเดิม 4 ครั้งตามข้อมูล Dot Plot ทำให้หุ้นกลุ่มเติบโต อาทิ กลุ่มเทคโนโลยีซึ่งมักทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงดอกเบี้ยขาลงถูกเทขายทำกำไรต่อเนื่องในสัปดาห์สุดท้ายของปีซึ่งสภาพคล้องเบาบาง อย่างไรก็ตามเรายังมีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นสหรัฐฯเหลังจากที่ทรั้มป์กำลังจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เรามองว่านโยบายของทรั้มป์กลุ่มที่จะก่อให้เกิดเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจ เช่น กำแพงภาษีคู่ค้าหรือการขับไล่ผู้อพยพผิดกฎหมาย ทรั้มป์จะไม่สามารถดำเนินตามที่หาเสียงไว้อย่างเต็มรูปแบบโดยจะถูกลดทอนความก้าวร้าวลงโดย รมว. คลังคนใหม่ที่มีประสบการณ์จากตลาดทุนและนักการเมืองอาวุโสในรัฐสภา คงเหลือแค่นโยบายที่หนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้นอย่างเช่น การลดภาษีและการผ่อนคลายกฎระเบียบในตลาดการเงิน รวมถึงนโยบายเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานดั้งเดิมที่ช่วยลดเงินเฟ้อด้านราคาน้ำมันลง
ด้านแนวโน้มดอกเบี้ยในปี 2025 ที่อาจลดลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังเดิมไม่ได้สร้างความกังวลให้กับเรามากนัก โดยเรามองว่าตลาด Overreact ต่อการประชุม FOMC ประจำเดือนธันวาคมมากเกินไปเนื่องจากคาดการณ์ดอกเบี้ยตามราคา SWAP ในตลาดก่อนการประชุมไม่ได้แตกต่างจาก Dot Plot ในปี 2025 มากนัก นอกจากที่คณะกรรมการ Fed จะปรับลดดอกเบี้ยลงตามที่ตลาดคาดการณ์ 0.25% แล้ว ถ้อยแถลงยังมีใจความที่ระบุว่า “เศรษฐกิจสหรัฐฯมีความแข็งแกร่ง การจ้างงานและเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสมดุล และยังเห็นด้วยกับการปรับลดดอกเบี้ยต่อเพียงแต่ต้องใช้เวลาในการหาจังหวะเหมาะสมมากขึ้น” มากไปกว่านั้น Dot Plot ที่ตลาดกังวลยังถูกโหวตโดยคณะกรรมการทุกท่านทั้งที่มีสิทธ์และไม่มีสิทธ์โหวตอัตราดอกเบี้ย ซึ่งกรรมการที่มีท่าที Hawkish ในมุมมองของเรา เช่น N. Kashkari B.Hammack T.Barkin จะไม่ได้มีสิทธ์โหวตในปี 2025 ดังนั้นแล้วอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นมากถึง 37 bps ไปอยู่ที่ระดับ 4.57% ในเดือนธันวาคม จึงเป็นจังหวะที่ดีที่จะสะสมตราสารหนี้โลกโดยเฉพาะกองทุนที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว ทั้งนี้เรายังชอบตราสารหนี้สหรัฐฯและ Credit Rating ระดับสูงจะเหมาะสมกับสถานการณ์การลงทุนในปัจจุบัน
ในฝั่งของตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นสวนตลาดโลกในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมให้หลังการประชุมนโยบายการเงินของ BoJ ซึ่งคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม 0.25% พร้อมกันกับที่ผู้ว่าฯ Ueda กล่าวว่า BoJ ต้องการติดตามข้อมูลค่าแรงแรงงานญี่ปุ่นและนโยบายการค้าของ ปธน. ทรั้มป์ก่อนจะตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งถัดไป ทำให้นักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกว่าญี่ปุ่นอาจชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไปชั่วคราว ย่างไรก็ดีในมุมมองของเราค่อนข้างกังวลกับปัจจัย 3 ด้านที่อาจทำให้ผิดความคาดหวังของตลาดได้แก่ 1. เริ่มมีกรรมการ BoJ บางท่านโหวตให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเลยในเดือนธันวาคม 2. เงินเฟ้อประเทศที่เร่งตัวขึ้นในเดือน พ.ย. 3. รมว.คลังนาย K. Kato แถลงข่าวแสดงความกังวลว่าค่าเงินเยนถูกเก็งกำไรจนอ่อนตัวรุนแรงเกินไป เราจึงมองว่าการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นญี่ปุ่นเกินระดับ 40,000 จุดในเดือน ธ.ค. เป็นจังหวะขายทำกำไร คาดว่าญี่ปุ่นจะเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบตลอดช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นในปี 2025
ภูมิภาคเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาเคลื่อนไหวอย่างผันผวนไปต่างทิศต่างทางโดยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่ลดลงช้าของสหรัฐฯ ร่วมกับการเก็งประเทศที่จะได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบจาก ปธน. คนถัดไปอย่างนายทรั้มป์ ในเรื่องกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจีนซึ่งมีน้ำหนักของตลาดหุ้นเป็นอันดับต้นๆของภูมิภาค ในฝั่งเอเชียหากไม่นับประเทศจีน ดูเหมือนจะมีทิศทางที่ดีกว่าเนื่องจากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในหลายประเทศใหญ่อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ซึ่งอาจทนทานกับภาวะดอกเบี้ยที่ปรับตัวลงช้าได้ในระยะสั้น นอกจากนั้นหลายประเทศเป็นคู่ค้าเชิงยุทธศาสตร์กับสหรัฐฯ ที่ต้องการขยายอำนาจมายังเอเชีย เช่น อินเดีย อินโนนีเซีย เวียดนาม เราจึงยังมีมุมมองเป็นกลางกับกลุ่มประเทศเอเชีย แนะนำถือครองการลงทุน ขณะที่ประเทศที่เรามองว่าเศรษฐกิจแข็งแกร่งและจะเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลชุดใหม่คืออินเดียกับอินโดนีเซีย ในฝั่งของอินเดียยังมีตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบของเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้นใน 4Q/24 แต่ระดับราคาที่ตึงตัวมากขึ้นทำให้เผชิญกับแรงเทขายทำกำไรอยู่เป็นระยะอย่างที่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคมทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานยังคงเดิม ขณะที่ในฝั่งของอินโดฯเคลื่อนไหวผันผวนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาหลัง ปธน. ปราโบโว คนใหม่ที่เข้าบริหารประเทศในเดือน ต.ค. เน้นการออกนโยบายสร้างเสถียรภาพการคลังก่อน ซึ่งเราเชื่อว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมจะยังถูกนำมาใช้ในปีถัดไป เราคาดว่าตลาดหุ้นทั้งสองประเทศเอเชียจะมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นในปี 2025 แต่ยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนคุ้มค่าความเสี่ยง แนะนำให้น้ำหนักมากกว่าตลาดและเน้นถือลงทุนระยะยาว
ภาพรวมการลงทุนประจำเดือนมกราคม 2025 คาดว่าตลาดหุ้นโลกจะเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้นหลังนักลงทุนกลับเข้าสู่ตลาดจากเทศกาลหยุดยาว เพื่อเก็งกำไรทั้งแนวโน้มการดำเนินนโยบายที่ก้าวร้าวของทรั้มป์ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในช่วงวันที่ 20 ม.ค. ร่วมกับแนวโน้มดอกเบี้ยของหลายประเทศใหญ่ที่ยังเปลี่ยนแปลงได้ตลอด เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยเรามองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯอาจเป็นตลาดเดียวที่เคลื่อนไหวในแดนบวกเนื่องจากคาดว่านโยบายของทรั้มป์จะส่งผลเป็นบวกสุทธิกับเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นไปที่เหนือระดับ 4.5% ในเดือนธันวาคมเป็นจังหวะที่ดีที่จะสะสมตราสารหนี้โลกโดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว
ที่มา: บลจ.อีสท์สปริง วันที่ 3 มกราคม 2025
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน Finnomena Port และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notificationในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก
1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น 2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
ในสัปดาห์นี้มีตัวชี้วัดในฝั่งของแรงงานออกมามากพอสมควร โดยที่หลัก ๆ แล้วตลาดแรงงานกำลังทรงตัวอยู่เพื่อรอการเข้ามารับตำแหน่งของ Donald Trump แต่ในฝั่งของภาคการบริการ มีตัวออกมาที่ไปทางบวก ทำให้ตลาดการบริการมีแนวโน้มว่าจะโตเพิ่มขึ้น ในฝั่งของสินทรัพย์ดิจิทัล ณ ตอนนี้ สกุลเงินดิจิทัลเกือบทุกตัวได้มีการขยับตัวขึ้นของราคาไปเล็กน้อย โดยคาดว่าหาก Donald Trump ได้เข้ามารับตำแหน่งตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลจะเข้าสู่ Bull Run อย่างเต็มตัว ซึ่งสามารถพิจารณาเปิดความเสี่ยงได้ในฝั่งของ Altcoins
ตัวเลขการสำรวจการจ้างงานทุกตำแหน่ง (ที่ยังว่างอยู่) ในทุกวันสุดท้ายของเดือน เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ “Job Openings and Labor Turnover Survey (JOLTS)” การสำรวจนี้จะรวบรวมข้อมูลจาก 16,400 หน่วยงานนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึงร้านค้า และโรงงาน รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลระดับกลาง ภาครัฐ และท้องถิ่นใน 50 รัฐ และ ดิสทริคต์ออฟคอลัมเบีย
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: JOLTs Job Opening มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจาก 7.744M เป็น 7.69M
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/job-offers
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของ JOLTs Job Opening แสดงให้เห็นถึงการที่ตลาดแรงงานนั้นยังแข็งแรงอยู่ อีกทั้งยังส่งผลในด้านของการลงทุน ทำให้นักลงทุนนั้นมีความมั่นใจในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นหรือว่าเข้าสู่ Risk-On นั้นเอง
รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ไม่ใช่ภาคการผลิต หรือ Non-Manufacturing Purchasing Manager Index (PMI) จากสถาบัน Institute of Supply Management (ISM) ที่ยังเป็นที่รู้จักในนามดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Service PMI) นั้นเป็นดัชนีรวมที่ได้คำนวณในฐานะเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมสำหรับธุรกิจภาคบริการ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ไม่ใช่ภาคการผลิต นี้เป็นดัชนีรวมที่ได้จากดัชนีการกระจายต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยดัชนีจำนวนสี่ประเภทที่มีน้ำหนักความสำคัญเท่าเทียมกันก็คือดัชนี: กิจกรรมทางธุรกิจที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้ว ยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้ว การจ้างงานที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้ว และการจัดส่งสินค้าของผู้จัดหา
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: JOLTs Job Opening มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจาก 7.744M เป็น 7.69M
Source :https://tradingeconomics.com/united-states/non-manufacturing-pmi
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของ ISM Services PMI แสดงให้เห็นถึงในภาคบริการได้มีการเพิ่มตัวขึ้นอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ไปในทิศทางบวกเพิ่มขึ้นได้มีด้วย และด้วยการที่ดัชนีนี้เพิ่มมากขึ้นและยังอยู่เหนือ 50 ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีของเศรษฐกิจ
Unemployment rate คือ อัตราการว่างงานเป็นสัดส่วนจากประชาการที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพตลาดแรงงาน และสะท้องถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม อัตราว่างงานที่สูงบ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจที่จะลอตัวลงหรือแม้กระทั้งหดตัวลง
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Unemployment Rate มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 4.2% เป็น 4.3%
Source :https://tradingeconomics.com/united-states/non-manufacturing-pmi
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การเพิ่มขึ้นของ Unemployment Rate แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และนักลงทุนบางส่วนได้มีการลดความเสี่ยงของการลงทุนลง โดยการที่ขายสินทรัพย์เสี่ยงและหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่าไปลงทุนแทน
Credit from LayerGG
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
8 มกราคม
9 มกราคม
11 มกราคม
Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
ในส่วนของ Funding Rate สำหรับอาทิตย์นี้ยังคงตัวอยู่ในระดับปกติ คือเป็นบวกเล็กน้อย นับว่าเป็นการปรับฐานหลังจากความร้อนแรงที่ BTC ทำจุดสูงสุดทะลุ $100,000 ได้ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการปรับฐานแบบนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่ Healthy สำหรับตลาด เนื่องจากการปรับฐานเป็นเรื่องปกติของตลาดขาขึ้น
Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest
ในฝั่งของ Bitcoin Futures Open Interest มีการปรับฐานลงจากยอด All Time High ซึ่งสอดคล้องกับราคาและข้อมูลอื่น ๆ กล่าวคือ นักลงทุนมีการ Risk-off หรือปิดสถานะลงไปบ้าง เนื่องจากตลาดเกิดการปรับฐาน อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพใหญ่ Open Interest ของ Bitcoin ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก
Source : https://farside.co.uk/?p=997
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลเข้าสุทธิ 256 ล้านเหรียญ นับว่าเป็นสัปดาห์ที่มี Inflow ค่อนข้างน้อย หากพิจารณาข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2024 จะพบว่า มีการทยอยขายของนักลงทุนสถาบันก่อนสิ้นปี ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ราคาของ Bitcoin เกิดการปรับฐาน อย่างไรก็ตาม ตัวเลข Inflow ของวันเปิดทำการปี 2025 เริ่มเห็นการซื้อกลับแบบมหาศาล ซึ่งอาจบ่งบอกถึง Momentum ในอนาคตอันใกล้
Source : https://farside.co.uk/?p=1518
ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสเงินไหลออกทั้งสิ้น 38.1 ล้านเหรียญ แสดงถึงแนวโน้มเชิงลบต่อ Ethereum เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม แรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในเดือนธันวาคม 2024 ของ Ethereum Spot ETF นั้น มีแนวโน้มเป็นบวกอย่างมากต่อ Ethereum จนทำให้ยอดซื้อต่อมูลค่าตลาดของเหรียญนั้น แซงหน้า Bitcoin เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นี่อาจจะเป็นสัญญาณที่นักลงทุนต้องการหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า Bitcoin ก็เป็นไปได้
ในปี 2024 ที่ผ่านมา Bitcoin ได้มีการปรับตัวขึ้นกว่า 121% และ Altcoins หลายเหรียญต่างก็มีช่วงเวลาที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Solana, เหรียญกลุ่ม DeFi, และเหรียญมีม นอกจากนี้ยังมี Narrative อย่าง AI ที่มาแรง อาจจะเกิดเป็นคำถามที่ว่า Altseason จบไปแล้วหรือยัง แล้วตอนนี้เราอยู่ตรงไหนของ Cycle เนื่องจากราคาของหลาย ๆ เหรียญได้มีการปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างเยอะ
หากพิจารณาถึงวัฏจักรของคริปโตเคอร์เรนซีตามการ Halving ของ Bitcoin จะพบว่า ปัจจุบันยังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เนื่องจากจุดที่ราคา Bitcoin พีคใน Cycle ที่ผ่านมา จะเกิดขึ้นหลังผ่าน Halving ไปแล้วกว่า 350-500 วัน ซึ่งตอนนี้เพิ่งผ่านไปแค่ 250 วันเท่านั้น สามารถตีความได้ว่า ราคาของ Bitcoin ยังมีพื้นที่ให้วิ่งต่อได้
ในส่วนของ Altseason หากเปรียบเทียบกับข้อมูลใน Cycle ที่แล้ว โดยที่ปี 2021 เป็นปีที่พีคของรอบนั้น จะพบว่า ไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนหน้าจุดพีค จะเป็นช่วงที่ Bitcoin สามารถ Outperform เหรียญอื่น ๆ ได้ โดยที่ 71.6% ของเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีได้เข้าสู่ได้เข้าสู่ Bitcoin เป็นหลัก แต่ในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 จะพบว่า Bitcoin Dominace ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเม็ดเงินก็ไหลเข้าสู่ Bitcoin เพียงแค่ 30% กว่าเท่านั้น สามารถตีความได้ว่าเม็ดเงินไหลเข้า Altcoin ในสัดส่วนที่เยอะกว่า
หากเปรียบเทียบกับปัจจุบัน นับตาม Cycle ของ Halving แล้ว 2025 จะเป็นปีที่ดีสำหรับตลาดคริปโตเคอร์เรนซีโดยรวม และการก้าวเข้าสู่ไตรมาสที่ 1 ก็เป็นสัญญาณที่เม็ดเงินอาจจะไหลเข้ามาสู่ Altcoin ในสัดส่วนที่มากกว่า Bitcoin สังเกตได้จากยอดการเข้าซื้อ Ethereum Spot ETF ของนักลงทุนสถาบัน ที่ปัจจุบันได้มียอดซื้อเทียบกับมูลค่าตลาดของสินทรัพย์แซงหน้า Bitcoin ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
by Cryptomind Advisory
$BTC ดีดตัวกลับขึ้นมาทดสอบแนวต้านบริเวณ $100,000 อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ณ ราคาบริเวณนี้เป็นบริเวณแนวต้านของ Trendline ขาลงใน RSI ซึ่งอาจส่งให้เกิดการผันผวนของราคาในบริเวณนี้ได้ หากราคานั้นสามารถขึ้นไปยืนเหนือ $100,000 ได้จะเป็น Momentum ขาขึ้นที่ดี อาจส่งให้ $BTC ขึ้นไปทำ All-Time High ได้ แต่หากราคานั้นติดอยู่ในบริเวณนี้ในระยะสั้นราคาก็อาจจะ Sideway Down ออกไปเพื่อลงต่อได้เช่นกัน
แนวต้าน : $100,000 | $108,000 | $120,000
แนวรับ : $92,500 | $87,000 | $80,000
$ETH มีการ Rebound ขึ้นมาโดยในระยะสั้นมีแนวต้านอยู่บริเวณ $3,720 ที่หากสามารถยืนเหนือบริเวณแนวดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่จะทำขาขึ้นไปต่อเพื่อทดสอบแนว $4,000 อีกครั้ง อย่างไรก็ตามหากราคานั้นไม่สามารถขึ้นไปเหนือบริเวณแนวดังกล่าวได้ ราคานั้นอาจจะมีการปรับตัวลงแบบ Sideway Down ต่ออีกครั้งหนึ่งโดยมีแนวรับสำคัญอยู่บริเวณ $3,250 โดยมุมมองขาลงนั้นยังจะสอดคล้องกับ RSI ที่ถูกกดลงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
แนวต้าน : $3,720 | $4,100 | $4,800
แนวรับ : $3,450 | $3,200 | $3,000
by Cryptomind Advisory
ตลาดกำลังมองเห็นโอกาสของเกิด Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐหลังจากการลดดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดเริ่มเปิดความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมาก ๆ ต่อตลาดคริปโต โดยโดนัล ทรัมป์ และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
BITCOIN 40% SELECTIVE LARGE MARKET CAP (30-35%) SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS (10-15%) STABLECOINS 15%
Merkle Capital
ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-6th-10th-January-2025
คำเตือน
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
เมื่อพูดถึงเดือนมกราคม หลายคนอาจจะนึกถึงการเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความหวังและเป้าหมายใหม่ ๆ แต่สำหรับนักลงทุน “January Effect” กลายเป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงเสมอในช่วงต้นปี
เนื่องจากมีความเชื่อว่าเดือนนี้จะเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น แล้วมันเป็นเรื่องจริงหรือแค่ความเชื่อกันแน่? มาทำความเข้าใจทฤษฎีนี้ไปพร้อมกันเลย!
January Effect คือ ทฤษฎีที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นในเดือนมกราคม เนื่องจากนักลงทุนจะขายทำกำไรจากการลงทุนช่วงสิ้นปีก่อนหยุดยาว และช่วงเดือนมกราคมจะกลับเข้ามาลงทุนใหม่อีกครั้งในสินทรัพย์ที่ราคายังไม่แพง
โดยคำอธิบายที่เป็นไปได้อีกทางหนึ่งคือนักลงทุนซื้อคืนภาษีช่วงต้นปี หรืออาจจะนำเงินโบนัสช่วงสิ้นปีมาลงทุนในช่วงเดือนถัดไป
ปรากฏการณ์ January Effect ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะโชคช่วย แต่มาจากพฤติกรรมการลงทุน ดังนี้
เชื่อกันว่า Sidney Wachtel นักวาณิชธนกิจ (Investment Banker) เป็นผู้ที่ได้สังเกตเห็นปรากฏการณ์ January Effect เป็นครั้งแรกในปี 1942
โดยปรากฏการณ์ January Effect ไม่ได้เป็นเพียงความเชื่อในหมู่นักลงทุนเท่านั้น แต่ยังถูกนำมาศึกษาอย่างจริงจังในเชิงวิชาการ งานวิจัยหลายชิ้นได้พยายามอธิบายถึงสาเหตุและผลกระทบของปรากฏการณ์นี้ โดยเฉพาะกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ เช่น
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 25/10/2024
เรามาสำรวจข้อมูลดัชนี S&P 500 ย้อนหลัง 21 ปี (2004 – 2025) เพื่อทำความเข้าใจว่าผลตอบแทนในเดือนมกราคมสะท้อนถึงปรากฏการณ์ January Effect อย่างไร
จากสถิติย้อนหลัง 21 ปี ดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในเดือนมกราคมเพียง 0.06% ซึ่งอาจดูไม่สูง แต่หากพิจารณาในแง่ความถี่ของผลตอบแทนที่เป็นบวก จะพบว่าในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา ตลาดมีผลตอบแทนในเดือนมกราคมเป็นบวกถึง 12 ปี หรือประมาณ 57% ของช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล
จากข้อมูลดังกล่าวสามารถตีความได้ว่า ดัชนี S&P 500 มีแนวโน้มตอบสนองต่อปรากฏการณ์นี้ โดยเฉพาะในปีที่ไม่มีปัจจัยลบจากเศรษฐกิจหรือการเมืองที่โดดเด่น เช่น ปี 2019 และ 2023 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดได้รับแรงสนับสนุนจากแรงซื้อหลังสิ้นปีอย่างชัดเจน
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 25/10/2024
ในส่วนของตลาดหุ้นไทย จากสถิติย้อนหลัง 21 ปี พบว่า SET Index ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในเดือนมกราคมเป็นลบที่ –0.18% ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีที่ว่าตลาดหุ้นควรจะปรับตัวขึ้นในเดือนมกราคม และหากพิจารณาในแง่ความถี่ของผลตอบแทนที่เป็นบวก จะพบว่าในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีผลตอบแทนในเดือนมกราคมเป็นบวก 11 ปี หรือประมาณ 52% ของช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล
ความแตกต่างของ January Effect ในตลาดไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ อาจเป็นผลมาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหลายประการ โดยเฉพาะระบบภาษีที่แตกต่างกัน ทำให้แรงจูงใจในการขายทำกำไรช่วงสิ้นปีของนักลงทุนไทยน้อยกว่า
นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยมักได้รับอิทธิพลจากปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยภายนอก มากกว่าปัจจัยตามฤดูกาล (Seasonal Effect)
จากข้อมูลและงานวิจัยพบว่า
แม้ว่า January Effect จะเป็นปรากฏการณ์ที่ตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้น แต่ผลลัพธ์ในแต่ละปีอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอก การพิจารณาปัจจัยพื้นฐานอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญเสมอ ไม่ว่าเราจะเชื่อในปรากฏการณ์นี้หรือไม่
อ้างอิง: Finnomena Live, WEALTH CONNEX BY BUALUANG SECURITIES, Investopedia
รายละเอียดและเงื่อนไข https://www.ktam.co.th/upload/tb_promotion_464_1735218275.48004_file1.pdf
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ชาว iOS มีของเล่นใหม่! เปิดตัวกันไปแล้วกับฟีเจอร์ล่าสุดบนแอปฯ Finnomena เวอร์ชัน 6.2.9 อย่าง Siri Shortcuts ที่เราสามารถเรียกดูรายชื่อและข้อมูลกองทุนได้โดยไม่ต้องเข้าแอปฯ แค่สั่งการผ่าน Siri ด้วยคำสั่งเสียง ก็สามารถดูรายชื่อกองทุนยอดฮิตและกองทุนผลตอบแทนดีได้เลย
โพสนี้เลยชวนผู้อยู่เบื้องหลังฟีเจอร์นี้อย่างคุณฟิล์ม Senior Software Engineer, iOS ของ Finnomena มาเล่าสู่กันฟังให้มากขึ้นเกี่ยวกับฟีเจอร์นี้สักหน่อย
สำหรับจุดเริ่มต้นของ Siri Shortcuts นะคะ ก็ต้องขอเกริ่นแบบนี้ค่ะ คือปกติทางทีมของเรา ทุกสัปดาห์จะมี session ที่ชื่อว่า iOS innovation อยู่ค่ะ ซึ่งใน session นี้ก็จะตามชื่อเลย คือพวกเราทีม iOS จะเรียนรู้ของที่เป็นนวัตกรรม เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ จาก WWDC ของ Apple โดยที่ลองทำกันเอง ไม่ได้มี requirement จากทางทีมฝั่ง business
แล้วก็ต้องบอกก่อนว่าก่อนหน้านี้เราก็มีฟีเจอร์ลับ ๆ ออกไปแล้วเหมือนกันนะคะ
ไม่ว่าจะเป็น force touch เพื่อเปิดเมนูลัดบนแอปฯ Finnomena โดยเราสามารถกดลงที่ไอคอนแล้วปล่อย จะมีเมนูลัดขึ้นมานะคะ ตามรูปด้านล่างนี้
เปิดเมนูลัดบนแอปฯ Finnomena ผ่านฟีเจอร์ force touch
หรือจะเป็นตัว widget ที่หน้า home ที่ลูกค้าสามารถดูกองทุนได้ที่หน้า home ของมือถือนะคะ ตามรูปด้านล่างนี้เช่นกัน
ตัวอย่างการแสดงผลข้อมูลกองทุนผ่าน widget บนหน้า home
ต้องขอแอบขายของนิดดดนึงนะคะ
ทีนี้ย้อนกลับมาถึงพระเอกของเราบ้างนะคะ ก็คือตัว Siri shortcuts เนอะ จะเห็นได้ว่า 2 ฟีเจอร์ที่เล่าไปด้านบนก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นตัว force touch ลูกค้าก็จำเป็นที่จะต้องกดมาหาแอปฯ Finnomena ก่อน เพื่อจะไปที่ไอคอนเองและเลือกดูกองทุน หรือจะเป็นตัว widget ที่สะดวกขึ้นมานิดนึง แต่ว่าลูกค้าก็จำเป็นที่จะต้องเลื่อนไปหน้า home ที่ตัวเองวาง widget ไว้อยู่ดีนะคะ
ทีนี้ทีมก็เลยมาลุยกัน มา brainstorm กันดูนะคะ ว่ามันมีสิ่งหนึ่งของ Apple นะ ที่จะทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้น นั่นก็คือ Siri Shortcuts นั่นเองค่ะ ที่ลูกค้าจะสามารถเรียกดูกองทุนจาก Finnomena ที่ไหนก็ได้บนมือถือ ไม่ว่าจะเปิดแอปฯ อะไรอยู่ก็ตาม อาจจะกำลังฟัง Finnomena Live บน Facebook อยู่ก็สามารถเรียกให้เปิดกองทุนดูได้เลยนะคะ
อย่างที่ตอบไปจากคำถามก่อนนี้นะคะ ก็คือตัว Siri Shortcuts มันง่ายต่อการใช้งานของลูกค้า เพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้าสามารถเรียกดูกองทุนจาก Finnomena ได้ง่ายขึ้นมาก ๆ เลยค่ะ แค่ Hey Siri จากที่ไหนบนมือถือก็ได้ค่ะ
ตามนี้เลยค่ะ ขั้นตอนที่ 1 เปิด Siri Shortcuts ก่อน
ติดตั้ง Siri Shortcuts ผ่านหน้า Profile บนแอปฯ Finnomena
หน้าจอแสดงผลขั้นตอนการเพิ่ม Siri Shortcuts
Step 2 คุยกับ Siri ได้เลย
ตัวอย่างการแสดงผลข้อมูลกองทุนจากฟีเจอร์ Siri Shortcuts
มีแน่นอนค่ะ จะเป็นข้อมูลส่วนไหนของแอปฯ Finnomena ต้องขออุบอิบไว้ก่อนนะคะ แต่รับรองว่าจะเป็นส่วนที่มีประโยชน์กับลูกค้าแน่นอนค่ะ
จริง ๆ ขั้นตอนส่วนใหญ่ก็จะเป็นส่วนของการหาข้อมูลและ implement ฟีเจอร์ใน iOS innovation session ค่ะ พอได้ฟีเจอร์ที่เราทำเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการเอา Siri Shortcuts ไปนำเสนอกับทาง product owner และ business owner ใน POxBO session เพื่อโชว์ให้ดูฟีเจอร์ที่เรา implement และอยากจะนำไปให้ลูกค้าได้ลองใช้งานค่ะ พอทุกคนซื้อ Siri Shortcuts แล้ว ถัดมาก็จะเป็นการปรับปรุงตัวการแสดงผล (UI) ที่ใช้แสดงข้อมูลกองทุนและออกแบบการติดตั้ง Siri Shortcuts ให้ง่ายขึ้นค่ะ เพราะตอนแรกที่ไปนำเสนอ การติดตั้ง Siri Shortcuts ค่อนข้างจะ geek เลย ลูกค้าอาจจะกดเพิ่ม Siri Shortcuts ยากเกินค่ะ อันนี้ก็ต้องขอบคุณทางทีม user experience (UX) ที่มาร่วมออกแบบการติดตั้งให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นค่ะ
ต้องบอกว่าส่วนที่ท้าทายที่สุดสำหรับ developer แบบเรา ๆ ย่อมไม่ใช่การ implement code อยู่แล้วค่ะ มันคือตอนที่เข้าไปใน POxBO session เพื่อขาย Siri Shortcuts ค่ะ เพราะเรารู้สึกว่าทุกคำที่เราพูดนำเสนอไปมันค่อนข้างจะ technical มาก ๆ ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น Siri คืออะไร Shortcuts คืออะไร แล้วกองทุนที่แสดงได้ทุกที่บนมือถือมายังไง ตอนเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอเราเลยต้องใส่รูปภาพเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพได้มากที่สุด และไม่เผลอตอบคำถามด้วยศัพท์ที่เป็น technical เกินไปค่ะ
สำหรับลูกเล่นใหม่ ๆ ในอนาคตก็อาจจะเป็นการแสดงข้อมูลต่าง ๆ ของแอปฯ Finnomena ให้ลูกค้าสามารถเช็กได้ง่าย ๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องกดเข้าไปดูในแอปฯ Finnomena เอง ไม่ว่าจะเป็นสถานะของการเปิดบัญชี สถานะของการซื้อขาย หรืออาจจะเป็นคอนเทนต์พิเศษต่าง ๆ ค่ะ
เป็นการสัมภาษณ์ช่วงปีใหม่พอดี ก่อนอื่นก็ต้องขอสวัสดีปีใหม่ทุกคนก่อนเลยนะคะ ในปีนี้ Finnomena จะเสิร์ฟทุกความโฮ่งให้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแนะนำการลงทุน คอนเทนต์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุน หรือจะเป็นลูกเล่นใหม่ ๆ จากตัวแอปฯ Finnomena เอง รับรองว่าทุกอย่างที่เสิร์ฟไปถึงผู้ติดตามทุกคนจะมีความปัง ความว้าว ความจึ้งแน่นอนค่ะ
Dynamic Contrarian Model Portfolio พอร์ตการลงทุนสายสวน ย่อซื้อ ขึ้นขาย เพิ่มน้ำหนัก TISCOAI เป็น 20% เมื่อ CEO Microsoft แชร์วิสัยทัศน์ โลกกำลังเข้าสู่ The AI Agents Era
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2024 คุณสัตยา นาเดลลา CEO ของ Microsoft ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวโน้มอนาคตของเทคโนโลยี โดยกล่าวว่าธุรกิจ Software as a Service (SaaS) กำลังจะถูกแทนที่ด้วย Agentic AI ซึ่งเป็น AI ที่สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจแทนมนุษย์ได้โดยอัตโนมัติ เป้าหมายหลักของ Agentic AI คือการทำงานแทนผู้ใช้ โดยมีกระบวนการ Reasoning ที่ผสานความรู้เฉพาะของแต่ละองค์กรเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญ
Agentic AI มีความแตกต่างอย่างชัดเจนจาก Assistive AI เช่น ChatGPT ที่เรารู้จักกันดี โดย Assistive AI มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ใช้งาน แต่ Agentic AI ก้าวไปอีกขั้นด้วยการทำหน้าที่แทนผู้ใช้
นอกจากนี้ คุณแอนดรูว์ อึง (Andrew Ng) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักธุรกิจ และผู้ก่อตั้ง Google Brain ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเทคโนโลยี AI ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า Agentic AI มีการเพิ่มกระบวนการ Reflection หรือการทบทวนตัวเอง ทำให้ผลลัพธ์ของ AI มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ AI Agents จะกลายเป็นช่องทางหลักที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารและทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ในอนาคต
FundTalk มีคำแนะนำปรับสัดส่วนใน Dynamic Contrarian Model Portfolio โดยมีสัดส่วนใหม่ ณ วันที่ 7 มกราคม 2025 ดังนี้
DCM (Dynamic Contrarian Model Portfolio) เป็นพอร์ตลงทุนสไตล์ Contrarian (สายสวน) ‘ย่อซื้อ ขึ้นขาย’ เน้นลงทุนในหุ้นรายประเทศ หรือ Sector ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ราคาปรับตัวลดลง หรือขึ้นน้อย รวมถึงใช้หลักการเดียวกันในการเข้าลงทุนสินทรัพย์ Multi Assets
– ทำความรู้จักพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/finnomenafunds/dcm/
สนใจลงทุนในพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio
คลิก https://finnomena.onelink.me/10bl/dcm
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
“รายได้หลังเกษียณ” สิ่งที่ผู้เกษียณอายุต้องการมากที่สุด หลายคนมุ่งเน้นลงทุนในหุ้นปันผล เพื่อจะเก็บไว้เอาเงินปันหลังเกษียณ หลายคนจะลงทุนมุ่งเน้นไปที่หุ้นกู้เพราะกลัวความเสี่ยงหลังเกษียณ ดังนั้นยังมีความเข้าใจผิดอะไรบางจุดในการบริหารการลงทุนหลังเกษียณ
ผมแบบทดสอบดังนี้ โดยตั้งโจทย์ดังนี้
อายุปัจจุบัน 60 ปี อายุเริ่มเกษียณ 61 ปี อายุขัยสุดท้าย 90 ปี ต้องใช้เงินเดือนละ (ก่อนปรับเงินเฟ้อ) ณ ปีที่เกษียณ 50,000 กำหนดเงินเฟ้อ 3%
กลยุทธ์การถอนเงิน ถอนแบบคงที่ บวกเงินเฟ้อ การคำนวณแบบดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่ที่ปรึกษาการเงินใช้
แบบที่ 1 คือจะใช้แบบลงทุนในพอร์ตเสี่ยงต่ำแล้วค่อยถอนเงินจากพอร์ตไปใช้
จากการคำนวณจะต้องมีพอร์ตลงทุนอย่างน้อย 18 ล้าน เพื่อจะถอนใช้เงินจนอายุ 90 ปี โดยสูตรโดยทั่วไปจะใช้วิธีลงทุนไป ถอนเงินจากพอร์ตการลงทุนไป
Fiction#1
หุ้นกู้ดอกเบี้ย 3% เท่ากับ พอร์ตลงทุนแบบสะสม 3%
Fact#1
ไม่เท่ากันเนื่องจาก หุ้นกู้ดอกเบี้ยตอนจ่ายภาษี แม้จะหักภาษีแล้วได้ดอกเบี้ย 3% ก็ยังไม่เท่ากัน
ดูได้จากตารางล่าง เนื่องจากพอร์ตแบบสะสมจะมีการลงทุนแบบทบต้นต่อเนื่อง ทำให้ผลออกมาไม่เท่ากัน ระยะสั้นอาจจะไม่แตกต่างกันมาก แต่ถ้าระยะยาวจะแตกต่างกันมาก
Fiction#2
หลังเกษียณเน้นลงทุนในหุ้นกู้แบบ 100% ดีที่สุดความเสี่ยงต่ำ
Fact #2
แบบที่ 2 ถ้าลงทุนในหุ้นกู้ในสัดส่วน 100%
ถ้าเงินเหลือใช้ให้เก็บไว้ในพอร์ตแบบสะสมเน้นตราสารหนี้และตราสารเงิน ดอกเบี้ย 3% ต่อปีหลังหักภาษี โดยเน้นหุ้นกู้ระดับ A ขึ้นไป ต้องเตรียมเงิน 3x ล้าน
แต่ถ้าใช้ดอกเบี้ย 4% ต่อปีหลังหักภาษี โดยผสมหุ้นกู้ระดับ A และระดับ BBB ขึ้นไป ต้องเตรียมเงิน 2x ล้าน
แนะนำไม่ให้ใช้ดอกเบี้ยเกิน 4% แผนมีความเสี่ยงต่ำสุดจริง ไม่ยุ่งยาก ไม่กระทบจาก Sequencing Risk ความเสี่ยงของที่เราถอนเงินจากพอร์ตหลังเกษียณไปลงทุนไป และยังมีเงินเหลือตอนสิ้นอายุขัย เพราะอย่างลืมว่า หุ้นกู้ไม่ได้เพิ่มมูลของเงินลง
เวลาเราได้เงินคืน 100% จากที่เราลงทุนยกเว้นจะเจอ Default ของหุ้นกู้ แต่การถอนเงินต้องบวกเงินเฟ้อเข้าไปด้วยเงินจะต้องถอนมากขึ้น ทำให้คุณจะต้องเก็บเงินจำนวนมากกว่าแบบเดิมประมาณ 35-80% จากการคิดคำนวณจากสูตรแบบที่ 1
Fiction #3
เน้นลงทุนในหุ้นปันผลเป็นหลัก ไม่ต้องเตรียมเงินมากเหมือนหุ้นกู้ จะมีกระแสเงินสด และหุ้นปันผลก็มีมูลค่าขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย
Fact #3
แบบที่ 3 สินทรัพย์แบบมีปันผลสูง
การมีเงินต้นน้อย คาดหวังผลตอบแทนสูงขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยง ซึ่งด้วยจำนวนเงินเท่ากับแบบที่ 1 คือ 18 ล้าน จะต้องมีเงินปันผลหลังหักภาษีแล้วอย่างน้อย 5.32% ต่อปี ซึ่งถ้าลงทุนในหุ้นกู้ จะมีการผสมหุ้นกู้แบบ Non-grade เพิ่มความเสี่ยงในการ Default Risk ของหุ้นกู้ หรือถ้าเน้นหุ้นปันผล ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านราคาของราคาหุ้นในอนาคตอีกด้วย
Fiction #4
แบ่งเงินหลังเกษียณไปลงทุนในหุ้นกู้ที่ให้กระแสเงินสดหลังเกษียณ และอีกส่วนยังคงลงทุนแบบพอร์ตสะสมเสี่ยงต่ำ น่าจะเป็น Solution ที่ดีที่สุด
Fact #4
แบบที่ 4 แบ่งเงิน 30% ลงทุนในหุ้นกู้ ที่เหลือ 70% จะลงทุนในพอร์ตแบบสะสม
กรณีที่ 1: จำนวนเงินพอร์ตเกีษยณเท่ากับแบบที่ 1 คือ 18 ล้าน จะต้องมีเงินปันผลหลังหักภาษีแล้วอย่างน้อย 5.32% ต่อปี
ซึ่งถ้าลงทุนในหุ้นกู้ จะมีการผสมหุ้นกู้แบบ Non-grade ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของ Default Risk ของหุ้นกู้
กรณีที่ 2: แต่ถ้าต้องการลดความเสี่ยงใช้ดอกเบี้ยหลังหักภาษี 3%
พอร์ตการลงทุนจะต้องเพิ่ม 21% ของจำนวนเงินพอร์ตเกีษยณเท่ากับแบบที่ 1 จากเดิม 18 ล้าน เป็น 20 ล้าน
แบบที่ 5 จะคล้ายแบบที่ 4 กรณีที่ 2 คือ แบ่งเงิน 30% ลงทุนในหุ้นกู้ดอกเบี้ยหักภาษีที่ 3%
ที่เหลือ 70% จะลงทุนในพอร์ตแบบสะสม
บทสรุป ทั้ง 5 แบบแผนการลงทุนหลังเกษียณแบบมี Income ดังนี้
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
วันนี้ (7 มกราคม 2025) ดัชนี HSCEI หรือหุ้น H-Share ของจีนปรับตัวลดลงกว่า 2% หลังจากกระทรวงกลาโหมได้เปิดเผยว่า ได้เพิ่มบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนไปในยังรายชื่อบริษัทที่ทำงานร่วมกับกองทัพจีน ซึ่งรวมถึงบริษัท Tencent Holdings ผู้นำด้านเกมในจีน และบริษัท CATL ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ให้กับ Tesla จากการเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้หุ้น Tencent ปรับตัวลงกว่า 6.94% และ หุ้น CATL ปรับตัวลง 2.75% จึงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นจีนในวันนี้ อย่างไรก็ตามทั้งสองบริษัท ได้ออกมาแถลงการณ์ว่าบริษัทนั้นไม่ใช่บริษัทที่ทำงานให้กับทางทหาร และเป็นการผิดพลาดอย่างชัดเจนที่ถูกนำไปรวมกับรายชื่อนี้
ตามกฎหมายสหรัฐฯ กระทรวงกลาโหมต้องปรับปรุงและเผยแพร่รายชื่อบริษัททหารจีนที่ดำเนินการโดยตรงหรือโดยอ้อมในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะป้องกันให้จีนในการพัฒนาเทคโนโลยีในการใช้งานกองทัพ
Finnomena Funds มองว่า การปรับตัวลงของตลาดหุ้นจีนเป็นเพียง Sentiment ในช่วงสั้น อย่างไรก็ตามความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯอาจเพิ่มขึ้นในอนาคตหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯในปีนี้
เราจึงแนะนำให้ “ลดสัดส่วน” การลงทุนในหุ้นจีน แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มเห็นปริมาณธุรกรรมที่ฟื้นตัวบ้าง แต่ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นจีนในอนาคต ขณะที่มูลค่าตลาดหุ้นจีนในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Value Investing ของเบนจามิน เกรแฮม แตกต่างจากของวอร์เรน บัฟเฟตต์
“อะไรคือ Fact และ Fiction ของ Value Factor Investing?”
ผมคิดว่า คำถามข้างบนเป็นคำถามที่นักลงทุนทั่วไปสนใจ วันนี้ผมนำเอาบทความนี้เขียนโดยผู้จัดการกองทุนจาก AQR Capital Management และศาสตราจารย์ด้านการเงินจาก University of Chicago โดยอธิบายข้อเท็จจริงและข้อผิดพลาดที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing)
หลักฐานเชิงประจักษ์จากงานวิจัยจำนวนมาก สนับสนุนว่า Value Investing สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดโดยเฉลี่ยในระยะยาว (Value Premium)
Value Investing มีประโยชน์ในการกระจายความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับกลยุทธ์อื่น ๆ เช่น Momentum Investing และการลงทุนในบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูง แม้ในสถานการณ์ที่ Value Premium หมดไป Value Investing ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการกระจายความเสี่ยง
กลยุทธ์ Value Investing ค่อนข้างเข้าใจง่าย โดยอาศัยหลักการพื้นฐานของการซื้อสินทรัพย์ที่ราคาถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริง
Value Investing ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การลงทุนในหุ้น แต่สามารถประยุกต์ใช้กับสินทรัพย์ประเภทอื่นได้ เช่น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน
ผลตอบแทนจาก Value Investing อาจมีความผันผวนในระยะสั้น และอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเห็นผลตอบแทนที่เหนือกว่า
การเลือกหุ้นที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว อาจทำให้ติดกับดัก “Value Trap” คือการลงทุนในบริษัทที่มีปัญหาพื้นฐาน ซึ่งราคาหุ้นอาจไม่ฟื้นตัว
นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าต้องมีความอดทน รอคอยให้ตลาดรับรู้มูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ และต้องมีวินัยในการลงทุน ไม่หวั่นไหวกับความผันผวนของตลาดในระยะสั้น
งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า Value Premium มีประสิทธิภาพน้อยลงในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นกลยุทธ์เดี่ยว ๆ
กลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) ของเบนจามิน เกรแฮม แตกต่างจากของวอร์เรน บัฟเฟตต์ในประเด็นสำคัญ ดังนี้
เกรแฮมเชื่อในการกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในหลากหลายหลักทรัพย์ ในขณะที่บัฟเฟตต์มุ่งเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์จำนวนน้อยที่เขาเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
บัฟเฟตต์ไม่ได้เป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ที่บริสุทธิ์ เพราะเขามักพิจารณาคุณภาพของบริษัทด้วย เช่น ศักยภาพในการเติบโตและความสามารถในการทำกำไร ในทางกลับกัน เกรแฮมให้ความสำคัญกับการซื้อสินทรัพย์ที่ราคาถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของบริษัทมากนัก
บัฟเฟตต์มีแนวทางการลงทุนแบบ “เลือกหุ้น” (Stock Picking) โดยการวิเคราะห์และเลือกหุ้นแต่ละตัวอย่างละเอียด ส่วนเกรแฮมเน้นการลงทุนแบบเป็นระบบ (Systematic) มากกว่า โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในการคัดเลือกหุ้น
ถึงแม้จะมีความแตกต่าง แต่ทั้งเกรแฮมและบัฟเฟตต์ ต่างก็เป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จากการใช้กลยุทธ์ Value Investing ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์นี้สามารถปรับใช้ได้หลากหลายรูปแบบ และประสบความสำเร็จได้ทั้งในรูปแบบการลงทุนแบบกระจุกตัว (Concentrated) และแบบกระจายความเสี่ยง (Diversified)
เรามาดู Fiction หรือความคิดเห็นที่คลาดเคลื่อนของ Value Factor Investing
1. Value Investing เป็นทักษะเฉพาะตัวที่ต้องใช้กับพอร์ตโฟลิโอที่มีความเข้มข้น
ผู้เขียนบทความไม่เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นนี้ โดยมองว่า Value Investing เชิงระบบที่เน้นการกระจายความเสี่ยงก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้ ไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นจำนวนน้อยที่ถูกวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง เหมือนกับที่ Warren Buffett ทำ ตัวอย่างของ Warren Buffett เป็นเพียงกรณีศึกษา ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นข้อมูลเชิงสถิติได้
2. Value Investing เป็นกลยุทธ์แบบ Passive และซื้อขายต่ำ
แม้ Value Investing จะเป็นกลยุทธ์เชิงระบบและมีการซื้อขายหมุนเวียนต่ำ แต่ผู้เขียนบทความให้คำจำกัดความว่า กลยุทธ์แบบ Passive คือการลงทุนตามน้ำหนักตลาด ดังนั้น Value Investing ซึ่งให้น้ำหนักการลงทุนต่างจากตลาด จึงถือเป็น Active Investing การลงทุนแบบถือหุ้นเดี่ยวหรือพอร์ตของ Warren Buffett ที่มีการซื้อขายหมุนเวียนต่ำก็ไม่สามารถจัดเป็น Passive Investing ได้เช่นกัน
3. Value Investing ไม่จำเป็น เพราะซ้ำซ้อนกับปัจจัยอื่น ๆ
จากการศึกษาของ Fama and French พบว่าปัจจัย HML (Value Factor) ไม่ได้อธิบายผลตอบแทนเหนือกว่าปัจจัย 4 ตัวอื่น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนบทความแย้งว่า การศึกษาของ Fama and French ไม่ได้รวมปัจจัย Momentum ซึ่งเมื่อรวมปัจจัย Momentum และใช้ HML ที่คำนวณด้วยราคาหุ้นล่าสุดจะพบว่า HML ยังคงมีความสำคัญในการอธิบายผลตอบแทน
1. Value Investing ใช้ได้กับสินทรัพย์มากกว่าแค่หุ้น
แม้ว่างานวิจัยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่หุ้น แต่ Value Investing สามารถนำไปใช้กับสินทรัพย์ประเภทอื่นได้ เช่น พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน และดัชนีหุ้นทั่วโลกได้
นักลงทุนสามารถสร้างกลยุทธ์ Value Investing ในสินทรัพย์ประเภทอื่นได้โดยการระบุสินทรัพย์ที่ราคาถูกและแพง ตัวอย่างเช่น สำหรับพันธบัตร ผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริง (real bond yield) สามารถใช้เป็นมาตรวัดมูลค่าได้
2. การวัดมูลค่าสามารถทำได้หลายวิธี และวิธีที่ดีที่สุดคือการใช้ตัวแปรหลายตัวประกอบกัน
ไม่มีเหตุผลทางทฤษฎีที่จะสนับสนุนให้ใช้ตัวชี้วัดใดตัวชี้วัดหนึ่งเป็นตัวชี้วัดมูลค่าที่แท้จริง การใช้ตัวชี้วัดหลายตัวประกอบกัน เช่น อัตราส่วนราคาต่อกำไร (price-to-earnings ratio), อัตราส่วนราคาต่อกระแสเงินสด (price-to-cash flow ratio) และอัตราส่วนผลตอบแทนจากเงินปันผล (dividend yield) ช่วยลดข้อผิดพลาดและสร้างพอร์ตโฟลิโอที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
3. Value Investing เพียงอย่างเดียวนั้นค่อนข้างอ่อนแอในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่
แม้ว่าการคาดการณ์ผลตอบแทนจะแข็งแกร่งกว่าในกลุ่มหุ้นขนาดเล็ก หลักฐานแสดงให้เห็นว่าไม่มีค่าพรีเมี่ยมที่แข็งแกร่งในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ในช่วงเวลาตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม Value Investing ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับโมเมนตัมหรือความสามารถในการทำกำไร
4. ความสามารถในการทำกำไร (profitability) สามารถใช้เพื่อปรับปรุง Value Investing
และยังคงสอดคล้องกับคำอธิบาย Value Investing ตามทฤษฎีความเสี่ยงได้ การใช้ความสามารถในการทำกำไรเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ value investing สอดคล้องกับทั้งมุมมองของตลาดที่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิภาพ
5. “Fundamental indexing” เป็นเพียงแค่ value investing อย่างเป็นระบบ
Fundamental indexing ให้น้ำหนักหุ้นตามปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ เช่น มูลค่าตามบัญชี เงินปันผล กระแสเงินสด ยอดขาย กำไร ฯลฯ ซึ่งตรงข้ามกับการใช้น้ำหนักตามมูลค่าตลาด ในขณะที่ผู้สนับสนุน fundamental indexing อ้างว่าแตกต่างและดีกว่า value investing แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นเพียงกลยุทธ์ Value Investing อย่างเป็นระบบแบบง่าย ๆ
บทความค่อนข้างยาว แต่มีรายละเอียดเยอะมาก ใครมีเวลาลองหามาอ่านได้เป็นประโยชน์มาก ๆๆ
ลองหาคำว่า Fact, Fiction, and Value Investing AQR Capital Management
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
Finnomena Funds เปิดศักราชปี 2025 ลุ้น January Effect พร้อมอัปเดตกองทุนเด่น ต่อยอดโอกาสการเติบโต รับกลยุทธ์การลงทุนประจำปี
January Effect เป็นทฤษฎีที่เชื่อกันว่าในเดือนมกราคมของทุกปี ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นพิเศษกว่าเดือนอื่น ๆ ทำให้นักลงทุนหลายคน มักจะรอคอยจังหวะนี้ในการเข้าลงทุนเพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี โดยสาเหตุก็มีตั้งแต่การที่นักลงทุนขายหุ้นเพื่อทำกำไรในช่วงปลายปีแล้วกลับเข้ามาซื้อในช่วงต้นปี, หลายประเทศมีการจัดเก็บ Capital Gain Tax ทำให้เกิดการขายหุ้นที่ขาดทุนเพื่อลดภาษีส่วนนี้ รวมถึงการทำ Window Dressing ของนักลงทุนสถาบัน
อย่างไรก็ดี งานวิจัยเกี่ยวกับ January Effect พบว่าในตลาดสหรัฐฯ ทฤษฎีนี้มีผลกระทบต่อหุ้นขนาดเล็กมากกว่า และมักเกิดขึ้นกับดัชนีหุ้นแบบ equal weight เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่าความมีประสิทธิภาพของตลาด (Market Efficiency) และกลยุทธ์นักลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผลของทฤษฎีนี้ลดลงตามกาลเวลา
สำหรับมุมมองการลงทุน Finnomena Funds ยังคงเน้นการ Selective Buy จากแนวโน้มเศรษฐกิจไม่ถดถอย เงินเฟ้อชะลอลง ทิศทางเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า และตลาดหุ้นลดความกระจุกตัวลง เราจึงแนะนำหุ้นสหรัฐฯ ที่ Valuation ยังไม่แพงมาก เช่น Small Caps, Value หรือ Equal Weight
พร้อมกับให้น้ำหนัก ตราสารหนี้โลก ตราสารหนี้เอเชีย และ BTC/Blockchain เป็น Positive เพราะการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ จะได้รับประโยชน์จากทิศทางดอกเบี้ยขาลงเช่นเดียวกับเงินเฟ้อ รวมถึง Yield ก็อยู่ในระดับสูง ด้านบิทคอยน์กับบล็อกเชนจะได้รับแรงหนุนจากนโยบายสนับสนุนของ Trump ประกอบกับ Fund Flow ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ มีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้น Developed Markets, หุ้นอินเดีย, หุ้นเวียดนาม, หุ้นธีมเทคโนโลยี AI, ทองคำ, ตราสารหนี้ไทย และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโลก
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
1.) ASP-USSMALL-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นขาดกลาง-เล็กในสหรัฐฯ เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น ธุรกิจการเงิน ทำให้จะได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Trumponomics ที่เตรียมลดภาษีนิติบุคคล หนุนบริษัทเอกชนในประเทศ
2.) KT-ENERGY (ความเสี่ยงระดับ 7)
กองทุนหุ้นพลังงาน ยังคงมุมมองบวกจากนโยบายขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ส่งผลให้แนวโน้มของกลุ่ม Energy Stock มีโอกาสฟื้นตัวกลับมาได้
3.) B-INNOTECH (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี โดยยึดหลักการลงทุนสไตล์ Contrarian ที่เน้นคัดหุ้นกลุ่ม High Quality Growth เติบโตต่อเนื่อง กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และราคาไม่แพง รวมทั้งยังทนทานต่อความผันผวนในระยะสั้นได้ดี
โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
1.) ASP-DIGIBLOC (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ยังมีแนวโน้มทะยานต่อได้จากนโยบายสนับสนุนของ Trump ที่เตรียมนำคริปโตมาเป็นเงินทุนสำรอง ทำให้ราคา Bitcoin มีโอกาสยืนแกร่งที่ 100,000 เหรียญ ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า
2.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเวียดนาม เชื่อว่ารอบของการปรับฐานจบลงแล้ว หลังดัชนี VN30 ปรับตัวลงมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน อีกทั้งก็มีปัจจัยหนุนเชิงพื้นฐานเรื่องการได้ประโยชน์ China+1 จึงเตรียมเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้ง
3.) SCBSEMI(A) (ความเสี่ยงระดับ 7)
กองทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เป็นธีม Growth Stock ที่มีโอกาสทะยานสู่จุดสูงสุดใหม่ พร้อมรับแนวโน้มเชิงบวกจากปรากฏการณ์ Santa Claus Rally และ January Effect
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis
1.) B-INNOTECH (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยี เน้นคัดเลือกหุ้น Value Play โดยการเข้าซื้อหุ้นเติบโตในราคาไม่แพง ขณะเดียวกันปัจจัยเชิงพื้นฐานเฉพาะตัวยังคงดี เพราะประมาณการกำไรของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือว่าเติบโตในระดับ 2 หลัก
2.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดที่ถูกและดี ประกอบกับการมาของ Trump เร่งให้เกิด China+1 ในการย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีนเร็วขึ้น ซึ่งเวียดนามคือหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ รวมทั้งยังมีปัจจัยหนุนอื่น ๆ เช่น ความคืบหน้าเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปี 2025 และการถูกปรับประมาณกำไรเพิ่มเติม
3.) UGIS-N และ KFSINCFX-A (ความเสี่ยงระดับ 5)
กองทุนตราสารหนี้โลก เป็นจังหวะเก็บสะสมหลังเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในกรอบ กดให้ Bond Yield ปรับตัวลดลง จึงเป็นผลบวกต่อกองทุนตราสารหนี้ โดยเฉพาะกองทุนตราสารหนี้ที่บริหารแบบ Active มีการปรับ Duration ยืดหยุ่นสอดรับกับสถานการณ์ตลาด
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299