Ragnarok M : Eternal Love การกลับมาสู่วัฎจักรการเติบโตครั้งที่ 2 ของ gravity

ถ้าถามว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสอะไรดังๆบ้าง หนึ่งในคำตอบนั้นก็คงไม่พ้นการกลับมาของเกมออนไลน์ในตำนานอย่าง Ragnarok

เกม Ragnarok เคยสร้างปรากกฎการณ์เป็นเกมออนไลน์ระดับขึ้นหิ้งมาแล้วเมื่อปี 2002 หรือราวๆ 16 ปีก่อน

โดยจริงๆแล้ว Ragnarok เป็นการ์ตูนชื่อดังของนักเขียนชาวเกาหลีที่ชื่อ Lee Myung Jin แต่บริษัท gravity เกิดความสนใจจึงนำมาทำเป็นเกมออนไลน์

จนบริษัท asiasoft (ซึ่งมีหุ้นในไทยด้วย ชื่อ AS ) เล็งเห็นศักยภาพจึงเอามาทำต่อในไทย

ทำให้ทั้งบริษัท gravity และ asiasoft ถึงจุด peak ของบริษัท

จนบริษัท gravity ได้เป็นบริษัทเกมบริษัทแรกของเกาหลีที่ได้ไปจดทะเบียนในตลาด NASDAQ ในชื่อ GRVY ในปี 2005

หลังจากนั้นก็ถึงช่วงตกต่ำของเกม Ragnarok จนถูกบริษัท GungHo online entertainment มา take over ไปในปี 2008

ซึ่งราคาในช่วงแรกที่เข้าตลาด NASDAQ ในปี 2005 (เทียบราคาหลังแตกพาร์) อยู่ที่ 44$ จนร่วงลงมาเหลือเพียง 2-4$ ในปี 2008 และราคาก็ไม่เคยเกิน 2 หลักอีกเลยต่อจากนั้นมา แม้จะพยายามเอา Raganrok มา remake อีกครั้ง แต่ก็ยังไม่เป็นผล จนต้นปี 2016 ราคาหุ้นของ GRVY เหลือเพียงแค่ 1.54$ ด้วยซ้ำ

แต่ gravity ก็พยายามกับเกมในตำนานอย่าง Raganrok อีกครั้ง กลับมาคราวนี้ในชื่อของ Ragnarok online และ Ragnarok M(obile) Eternal Love

แน่นอนว่าพระเอกคราวนี้คือ Ragnarok M ตามยุคที่เราเล่นเกมใน smartphone มากขึ้น และเล่นเกมใน PC น้อยลง เพราะรายได้ใน 65-80% ของ gravity มาจาก mobile game หรือก็คือ Ragnarok M นั่นเอง

ครั้งนี้จากรูปจะเห็นว่า gravity ทำการบ้านมาดีมาก เพราะเพียงแค่จะเปิดตัว Ragnarok M (และ Ragnarok online ด้วย) ในประเทศจีน ไต้หวันและเกาหลี ราคาก็ขยับจาก 4-6 บาท พุ่งไปสูงถึงทำ ATH ที่ 54$ ยิ่งขณะเปิดตัวราคายิ่งพุ่งทะยานไปอีก!!

แต่แล้วในต้นปี 2018 ราคาก็ดิ่งลงเหวอีกครั้ง เพราะการประกาศเลื่อนการเปิดตัว Ragnarok M ในประเทศอื่นๆ รวมถึงความคลุมเคลือการเปิดตัวในประเทศที่รายได้ (การเปย์) สูงอย่างญี่ปุ่น ราคาจึงร่วงลงมาที่ 16-17$ เท่านั้น

…ทั้งหมดคือประวัติอย่างย่อ(มากๆ) ของ Ragnarok และบริษัท gravity

คำถามคือต่อจากนี้ gravity และ Ragnarok M จะเดินไปทางไหนต่อ ???

ราคาที่ทะยานมาจาก 5$ ไป 50$ นั่นคือการเก็งกำไรกันเฉยๆโดยไม่มีอะไรเลยหรือเปล่า ???

คำถามนี้ผมว่าน่าสนใจ และผมก็คงไม่สามารถตอบได้ถูกต้องได้เหมือนประวัติของ Ragnarok ที่ผมสามารถลอกมาจาก wikipedia ได้ แต่ผมจะลองแชร์มุมมองที่น่าสนใจของ GRVY ให้ฟังกันครับ

1. ในตอนที่มีการชะลอการเปิดตัวของ Ragnarok M ในประเทศต่างๆ ตอนต้นปี

และราคาหุ้นตกมาอยู่ที่ 16$ นั้น กำไรครึ่งปีของ GRVY อยู่ที่ 1.3$ ถ้าเราคิดหยาบๆแบบเอากำไรครึ่งปีคูณ 2 เป็นกำไรทั้งปี (แต่ไม่แนะนำให้ทำแบบนี้นะครับ แค่พิมพ์เป็นตุ๊กตาเฉยๆ) จะได้ EPS 2.6$ ถ้าเทียบกับราคา 16$ นั้น PE จะอยู่ที่ 6-7 เท่าเท่านั้น ซึ่งการเอากำไรคูณสองอาจจะไม่ถูกต้องนัก แต่เราต้องไม่ลืมว่ามันอาจจะมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ก็ได้ เพราะ Ragnarok M ยังไม่ได้ launch ออกมาในประเทศต่างๆใน pipeline เดิมเลย (รวมถึงไทยด้วย)

2. เกมมือถือมีคู่แข่งมากมาย

เกม Ragnarok เองก็มีบริษัทอื่นๆที่มีแผนจะ launch ออกมา (เพราะ Ragnarok ไม่ใช่ของ gravity คนเดียว) แม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง tencent ที่เป็นต้นตำรับ ROV ยอดฮิตของเราด้วยเช่นกัน แต่ pipeline ที่ว่านี้
อย่างเร็วที่สุดก็คือกลางปี 2019 ของบริษัท tencent (จากรูปด้านล่าง)  และ launch ออกมาเพียงแค่ในประเทศจีนก่อนเท่านั้น ส่วนบริษัทอื่นยัง launch ออกมาช้ากว่านี้มาก

ดังนั้นถ้าเอาในแง่เกม Ragnarok นี่คือช่วงเวลา “เก็บเกี่ยว” จาก Ragnarok M ให้เต็มที่ก่อนที่จะมีคู่แข่งเข้ามา และจะทำให้การแข่งขันเดายากขึ้นไปอีกมาก แต่การ launch ออกมาของ tencent ที่จีนเป็นการ launch ไปที่ตลาดเก่าของ Ragnarok M

ส่วน Ragnarok M ในต้นปีหน้า จะ launch ไปที่ญี่ปุ่น ซึ่งตลาดใหญ่กว่าเกาหลีที่เป็นรายได้หลักของ Ragnarok M ในตอนนี้ถึงประมาณ 3 เท่า และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มี ARPU (average revenue per user) หรือรายจ่ายเฉลี่ยต่อหัวของเกมสูงที่สุดในโลก (เรียกว่าเจ้าพ่อเปย์นั่นเอง)

3. กระแสตอบรับใน SEA (south east Asia) ค่อนข้างดีมาก

ทั้งในไทย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไน  Ragnarok M ติดอันดับต้นๆของเกมใน apple store ในประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และปกติการเปย์หรือรายได้จาก SEA มักจะมากกว่าประเทศเกาหลีที่เป็นรายได้หลักของ Ragnarok M ตอนนี้

แต่ถึงอย่างนั้นรายได้ของ SEA ก็มักจะยังไม่สูงเท่าญี่ปุ่น ส่วนมาก SEA ทั้งหมดรายได้ไม่ถึงครึ่งนึงของญี่ปุ่นด้วยซ้ำ ถึงแม้จะดูว่าช่วงเวลาสั้นๆ แต่ราวๆครึ่งปีเป็นอย่างน้อยต่อจากนี้ Ragnarok M จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้สูงที่สุด

แต่มันก็มีข้อน่ากังวลอยู่เหมือนกัน

1. ถ้ามีการ delay การ launch ในบางประเทศอีก เช่น ประเทศที่อาจจะเป็นรายได้หลักๆอย่างญี่ปุ่น อาจจะส่งผลต่อ momentum ของราคาหุ้นแบบเดิมอีกครั้งได้

2. การคาดเดาผลตอบรับของเกมทำได้ค่อนข้างยาก แต่อย่างน้อยเราก็มี Ragnarok M เป็นตัวเปรียบเทียบ ซึ่งคาดว่า tencent ที่จะ launch Ragnarok love at first sight ออกมาในปีหน้า ก็น่าจะทำได้ดีไม่แพ้กับ Ragnarok M เช่นกัน

ซึ่งการที่ gravity launch Ragnarok M ที่จีนแล้ว แต่ยังไม่ได้เป็นรายได้หลัก นั่นแปลว่า gravity ทำตลาดจีนไม่เก่งมาก ต่างกับ tencent ที่ชำนาญตลาดจีนมากกว่า นอกจากตลาดจีนแล้ว ก็ต้องดูว่าตลาดที่ Ragnarok M launch ไปแล้วรวมถึงตลาดที่เพิ่ง launch ออกมาอย่าง SEA จะทำได้ดีอย่างที่คาดไหม

3. หลายคนอาจจะสงสัยว่า… แล้ว Ragnarok M เปิดตัวที่ไทยรวมถึง SEA แล้ว ราคาหุ้นของ GRVY เป็นอย่างไรบ้าง??

คำตอบคือในช่วงต้นเดือนตุลาคมราคายังอยู่ที่ 16-17$ (ดังรูปด้านล่าง)

แต่ราคาก็ค่อยๆไต่ขึ้นในวันที่เกมใกล้จะ launch จนวันที่ 30 ตุลาคม (ก่อนวันเปิดตัว 1 วัน) ราคาอยู่ที่ 24$

พอวันที่ 31 ก็กระโดดไปที่ 29$ เลย!! ส่วนราคาตอนนี้ก็อยู่ที่ราวๆ 31-32$ เรียกว่าราคาเดือนเดียวขึ้นมาเกือบเท่าตัว!!

แต่ถ้าเทียบ PE แบบเร็วๆ  PE ก็ยังอยู่ที่ราวๆ 17 เท่า  โดยยังไม่มีรายได้จาก SEA และจากแผน pipeline ในอนาคตอีกด้วย

4. การพึ่งพิงรายได้จากเกมหลักๆแค่เพียงเกมเดียว (จริงๆ gravity มีเกมอื่นๆด้วย แต่ก็ไม่ได้ทำรายได้เยอะมากนักถ้าเทียบกับ Ragnarok) ถ้าเกมมันเสื่อมความนิยมลง มันก็อาจจะเป็น history repeat itself แบบที่ gravity เคยโดนมาแล้วนั่นเอง เพราะปกติเกมก็มีอายุไม่นานมากอยู่แล้ว

แต่อย่างไรก็ดีตอนนี้ภาพของ gravity ก็สดใสขึ้นมามาก บางทีหลังจากปี 2005 เป็นต้นมา นี่อาจจะเป็นวัฎจักรการเติบโตรอบใหม่ของ Ragnarok และ gravity ก็เป็นได้

p.s. ที่ผมพิมพ์มาทั้งหมดก็ไม่ได้แปลว่า GRVY ราคาถูกหรือผมเชียร์ให้ซื้อหรือขายนะครับ

แค่ต้องการจะสื่อว่าบางทีหุ้นก็อยู่รอบๆตัวเรานี่แหละ

ROV หรือ Ragnarok M ที่ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมืองมันก็อยู่เป็นหุ้นด้วยเช่นกัน

บางทีฟาร์มหาตังในเกมกันแล้ว ก็อย่าลืมฟาร์มหาตังในชีวิตจริงกันด้วยนะครับ

แต่ถ้าถามว่าผมมีหุ้นไหม ตอบเลยว่าไม่มีนะครับ เพิ่งมาอ่านก็ตอนเปิดเล่นเกมนี่แหละ TT^TT รู้อะไรไม่สู้รู้งี้อีกแล้ว

TSF2024